วีรชน สุคนธปฏิภาค
วีรชน สุคนธปฏิภาค | |
---|---|
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ สุณิสา เลิศภควัต |
ถัดไป | รัชดา ธนาดิเรก ไตรศุลี ไตรสรณกุล |
ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 |
ศาสนา | พุทธ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย กระทรวงกลาโหม |
ประจำการ | พ.ศ. 2529 - ปัจจุบัน |
ยศ | ไฟล์:RTA OF-8 (General).svg : พลเอก |
พลเอก วีรชน สุคนธปฏิภาค ชื่อเล่น โหน่ง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลประยุทธ์ 1[1] อดีตรองผู้บัญชาการโรงเรียนข่าวทหารบก อดีตรองโฆษกกองทัพบก อดีตโฆษกกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย
ประวัติ
[แก้]พลเอก วีรชน สุคนธปฏิภาค มีชื่อเล่นว่า โหน่ง เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 สื่อมวลชนจึงมักเรียกว่า เสธ.โหน่ง โดยต้นตระกูลมีเทือกเถาเหล่ากอมาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา[2] จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 22 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 33 เริ่มรับราชการที่ยศร้อยตรีเมื่อปี พ.ศ. 2529 ตำแหน่ง ผู้บังคับหมวด กองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) ปี พ.ศ. 2533 เลื่อนยศขึ้นเป็นร้อยเอกกองการต่างประเทศ ที่กรมข่าวทหารบก ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นรองผู้อำนวยการกองข่าว กรมข่าวทหารบก แล้วจึงเลื่อนเป็นผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ กรมข่าวทหารบก จากนั้นเลื่อนเป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนข่าวทหารบก[3] ผู้ชำนาญการกองทัพบก และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบกตามลำดับ
ในวันที่ 5 กันยายน 2562 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค เป็นผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป[4]
เคยถูกส่งไปร่วมงานรักษาสันติภาพร่วมกับสหประชาชาติ ที่ประเทศเซียร์ราลีโอน เป็นเวลา 1 ปี ได้ทุนการศึกษาของกระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย ศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาการป้องกันประเทศ มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์[5]
หลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลตรี วีรชน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโฆษกกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยทำหน้าที่เป็นผู้แถลงข่าวภาษาอังกฤษ ต่อมาในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับพระราชทานยศ พลโท เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2547 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[8]
- พ.ศ. 2539 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ครม.ตั้งพล.ต.วีรชนสุคนธปฏิภาคนั่งรองโฆษกรัฐบาล
- ↑ "รายการวิเคราะห์คอลัมนิสต์". ฟ้าวันใหม่. 2018-08-17. สืบค้นเมื่อ 2018-08-17.
- ↑ ทำความรู้จัก ทีมโฆษกทบ. | เดลินิวส์
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (ลำดับที่ 37 พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม)" (PDF). ราชกิจจานุเกบษา. 2019-09-07. สืบค้นเมื่อ 2019-09-07.
- ↑ "วีรชน สุคนธปฏิภาค โฆษก คสช.ภาคอังกฤษ : ข่าวสดออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-05-26.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๑๖, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อ���นเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๑๐, ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒๒, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙
ก่อนหน้า | วีรชน สุคนธปฏิภาค | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ สุณิสา เลิศภควัต |
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562) |
รัชดา ธนาดิเรก ไตรศุลี ไตรสรณกุล |