มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
Rajamangala University of Technology Krungthep | |
ชื่อเดิม | สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ |
---|---|
ชื่อย่อ | มทร.กรุงเทพ / RMUTK, UTK |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 18 มกราคม พ.ศ. 2548 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ | คณะวิชา |
งบประมาณ | 658,646,300 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาฯ | รองศาสตราจารย์ ชาญ ถนัดงาน |
อธิการบดี | รองศาสตราจารย์ พิชัย จันทร์มณี |
อาจารย์ | 516 คน (พ.ศ. 2567) |
บุคลากรทั้งหมด | 875 คน (พ.ศ. 2567) |
ผู้ศึกษา | 9,941 คน (พ.ศ. 2566)[2] |
ที่ตั้ง |
|
วิทยาเขต | ศูนย์ของมหาวิทยาลัย 2
|
เพลง | ขวัญใจมหาเมฆ |
ต้นไม้ | สาธร |
สี | เขียว |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Krungthep; อักษรย่อ: มทร.กรุงเทพ – RMUTK, UTK) เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เน้นการจัดการศึกษาเพื่อให้บัณฑิต มีคุณลักษณะที่มีทักษะด้านอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรม การท่องเที่ยว โรงแรม ภาษา คหกรรม เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย บริหารธุรกิจและทักษะด้านธุรกิจรวมทั้งการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติ นักศึกษาสามารถปฏิบัติงานได้จริงมีความคิดสร้างสรรค์ ที่ทำให้สามารถประกอบอาชีพได้หลายอาชีพ
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้รับการจัดอันดับด้านการจัดการเรียนการสอนดีเด่น จาก
- สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อ พ.ศ. 2549 ในอันดับที่ 5 จาก 50 อันดับมหาวิทยาลัยไทย
- กระทรวงศึกษาธิการ ของประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี พ.ศ. 2548[3]ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไว้ในอันดับที่ 19 ของมหาวิทยาลัยไทยดีเด่นด้าน วิศวกรรมศาสตร์-วิทยาศาสตร์
จึงนับเป็นข้อดีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ที่เป็นแหล่งรวมความรู้ด้านวิชาชีพจากสถานศึกษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งจะส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนจะพัฒนาก้าวหน้าไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]-
ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
สีประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ คือ สีเขียว ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นสาธร และเพลงประจำมหาวิทยาลัย คือ เพลงขวัญใจมหาเมฆ
ประวัติ
[แก้]ยุคก่อตั้ง
[แก้]วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ
[แก้]หลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลไทยโดย ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ทำความตกลงกับ องค์การส่งเสริมความมั่นคงร่วมกันของสหรัฐอเมริกา (Mutual Security Agency; M.S.A.) ส่งเสริมการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษาของชาติให้ดียิ่งขึ้น จึงเห็นว่าควรจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคในจังหวัดพระนคร โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เยาวชนของชาติได้มีโอกาสฝึกฝนอบรมวิชาชีพอย่างกว้างขวางและ ยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้สูงกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ปีพุทธศักราช 2495 รัฐสภาได้อนุมัติงบประมาณ 3,961,450.- บาท จัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคในจังหวัดพระนครขึ้น โดยกระทรวงการคลังได้อนุมัติให้ใช้ที่ดินราชพัสดุบริเวณ ตำบลทุ่งมหาเมฆ เนื้อที่ 108 ไร่ เป็นที่ตั้งวิทยาลัยเทคนิค เปิดสอนปีแรกเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2495 ระหว่างที่ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน โรงฝึกงาน ได้ฝากนักศึกษาเรียนที่สถาบันอื่นดังนี้
- แผนกวิทยุ มีนักศึกษา 27 คน ฝากเรียนที่โรงเรียนช่างกลปทุมวัน ปัจจุบันคือ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
- แผนกฝึกหัดครูมัธยมอาชีวศึกษา มีนักศึกษา 13 คน ฝากเรียน���ี่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย
- แผนกช่างก่อสร้าง มีนักศึกษา 30 คน ฝากเรียนที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย
- แผนกพาณิชยการ มีนักศึกษา 21 คน ฝากเรียนที่โรงเรียนพณิชยการพระนคร
ในปี 2496 จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นประธานในพิธีเปิดวิทยาลัยเทคนิค วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2496
ปีพุทธศักราช 2498 วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ได้นำหุ่นยนต์แสดงในงานศิลปหัตกรรมนักเรียน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทอดพระเนตร หุ่นยนต์และรถแทรคเตอร์ที่นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ สร้างขึ้นด้วยความสนพระทัย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานทรัพย์จัดสร้าง หุ่นยนต์ขนาดเท่าคนจริงเดินได้ตัวแรกของเมืองไทย เป็นผลงานของนักศึกษาแผนช่างวิทยุ โดยการออกแบบและควบคุมงานของ อาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ ลักษณะของหุ่นมีหน้าและมือ เหมือนหุ่นโชว์ แขนและขา เป็นโครงเหล็ก หลังจากออกแสดงในงานศิลปหัตกรรมนักเรียนแล้ว ได้จัดทำเสื้อสวมเป็นหุ่นคุณหมอ อัดเสียงพูดเชิญชวนให้บริจาคสมทบทุนสภากาชาดไทย ในงานกาชาด ณ สถานเสาวภา พ.ศ. 2498 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จทอดพระเนตรกิจกรรมการปฏิบัติของนักศึกษาแแผนกวิชาช่างพิมพ์ และแผนกวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ ในงานศิลปหัตกรรมนักเรียน ประจำปี 2498
ปีพุทธศักราช 2499 มหาวิทยาลัยเวนสเตท (Wayne State University) สหรัฐอเมริกา ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญ ด้านเทคนิคมาช่วยสอน จำนวน 27 คน และให้ทุนครู อาจารย์ของวิทยาลัยไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ปีพุทธศักราช 2503 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จฯ มาวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ให้นักศึกษาแผนกวิชาช่างภาพ ฉายพระฉายาลักษณ์ในงานเมตตาบันเทิง วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503
ปีพุทธศักราช 2514 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ งานชุมนุมแม่บ้านครั้งที่ 14 ของสมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ณ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2514
ปีพุทธศักราช 2518 วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
วิทยาเขตบพิตรพิมุข มหาเมฆ
[แก้]วิทยาเขตบพิตรพิมุข แต่เดิมเป็นโรงเรียนราษฎร์ มีชื่อเดิมว่า โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข[4] ตั้งชื่อตามชื่อวัดบพิตรพิมุขหรือวัดเชิงเลน บพิตรพิมุข เป็นสถานศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนมาช้านาน ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีพระภิกษุสามเณรผู้ทรงความรู้เป็นครูผู้สอน และใช้กุฎิศาลาการเปรียญ หรือศาลารายภายในวัดเป็นสถานที่เรียน ต่อมาเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศตั้งโรงเรียนบพิตรพิมุขขึ้น เป็นโรงเรียนหลวงรุ่นแรกสำหรับราษฎรได้ศึกษาเล่าเรียน โดยมีขุนอนุกิจวิธูร (น้อย จุลวิธูร) เป็นครูใหญ่คนแรก และมีนักเรียนเพียง 34 คน
จากนั้นการจัดการเรียนการสอนของบพิตรพิมุขก็มีพัฒนาการมาเรื่อย ๆ ดังนี้
- ปีพุทธศักราช 2456 เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษา จึงเรียกชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนมัธยมวัดบพิตรพิมุข"
- ปีพุทธศักราช 2477 เปิดสอนชั้นมัธยม ปีที่ 7-8 แผนกวิสามัญ สอนภาษาต่างประเทศ ซึ่งต้องเรียนภาษาอังกฤษ เป็นวิชาบังคับและเรียนภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน จีน ญี่ปุ่น
- ปีพุทธศักราช 2503 โรงเรียนมีนโยบายที่จะขยายการศึกษาด้านอาชีวศึกษาชั้นสูง จึงได้เริ่มยุบชั้นมัธยมปีที่ 1-6 ลงปีละชั้น คงเหลือแต่แผนกอาชีวศึกษาชั้นสูง แผนกภาษาต่างประเทศและเลขานุการ เมื่อปี พ.ศ. 2509
- ปีพุทธศักราช 2516 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะโรงเรียนขึ้นเป็น "วิทยาลัยบพิตรพิมุข"
- ปีพุทธศักราช 2520 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ภาคค่ำและโอนจากกรมอาชีวศึกษาไปสังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาโดยเรียกชื่อโรงเรียนว่า "วิทยาเขตบพิตรพิมุข"
- ปีพุทธศักราช 2526 กระทรวงศึกษาธิการประกาศแยกเป็น 2 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ และวิทยาเขตบพิตรพิมุข มหาเมฆ
วิทยาเขตพระนครใต้
[แก้]วิทยาเขตพระนครใต้ ก่อตั้งครั้งแรกเป็นโรงเรียนสตรีบ้านทวาย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 โดยมีสัญลักษณ์ คือใบclover 4 กลีบ ซึ่งปัจจุบันนี้ตราสัญลักษณ์ ยังคงมีหลักฐานให้เห็นที่ อาคาร2 คณะเทคโนโลยีคหกกรมศาสตร์ พื้นที่พระนครใต้ เปิดสอนวิชาสามัญตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมปีที่ 6 และประกาศนียบัตรประโยควิสามัญการช่าง
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2482 ได้แยกส่วนวิชาสามัญไปสังกัดกรมสามัญศึกษา เรียกว่าโรงเรียนสตรีบ้านทวาย (ปัจจุบันคือโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย) ส่วนวิชาการช่างมาสังกัดกรมอาชีวศึกษาพร้อมทั้งเปลี่ยนพ้าชื่อเป็น "โรงเรียนการช่างสตรีพระนครใต้" เพื่อทำการสอนวิชาด้านคหกรรมศาสตร์ในระดับ ปวช. และปวส. และได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครใต้ เมื่อ พ.ศ. 2515 เปิดสอนระดับปวช. ปวส. และปม. ในปี พ.ศ. 2518 ได้โอนจากกรมอาชีวศึกษามาสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาโดยใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตพระนครใต้”
ยุคมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
[แก้]พ.ศ. 2548 เปลี่ยนสถานะเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548
รายนามอธิการบดี
[แก้]มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ | |
รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เฉลิม มัติโก | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548[5] – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552 |
2. สาธิต พุทธชัยยงค์ | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552[6] – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556[7] – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2560 |
3. สุกิจ นิตินัย | 8 กันยายน พ.ศ. 2560[8] – 30 กันยายน พ.ศ. 2562 (หยุดปฏิบัติหน้าที่)[9] |
สมพร ปิยะพันธ์ (ปฏิบัติหน้าที่แทน)[10] | พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564 |
4. รองศาสตราจารย์ พิชัย จันทร์มณี | พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน |
คณะและสาขาวิชา
[แก้]คณะ | ภาควิชา | สาขาวิชา | หลักสูตร | เว็บไซต์คณะ |
---|---|---|---|---|
วิศวกรรมศาสตร์ | วิศวกรรมไฟฟ้า | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า | http://www.eng.rmutk.ac.th/ | |
วิศวกรรมอิเล็คทรอนิคส์และโทรคมนาคม | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็คทรอนิคส์และโทรคมนาคม | |||
วิศวกรรมโยธา | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา | |||
วิศวกรรมสำรวจ | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ | |||
วิศวกรรมเครื่องกล | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล | |||
วิศวกรรมอุตสาหการ | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | |||
วิศวกรรมเคมี | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี | |||
วิศวกรรมการผลิตความแม่นยำสูง | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตความแม่นยำสูง | |||
วิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน | |||
วิศวกรรมอัตโนมัติและหุ่นยนต์ | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอัตโนมัติและหุ่นยนต์ | |||
ครุศาสตร์อุตสาหกรรม | วิศวกรรมเครื่องกล | ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล | http://www.tech-ed.rmutk.ac.th/ | |
วิศวกรรมอุตสาหการ | ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | |||
เทคโนโลยีอุตสาหการ | ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ | |||
เทคโนโลยีวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | |||
เทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ | อาหารและโภชนาการ | คหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ | ||
ธุรกิจอาหาร | คหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอาหาร | |||
เทคโนโลยีเสื้อผ้าและแพตเทิร์น | คหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเสื้อผ้าและแพตเทิร์น | |||
การออกแบบแฟชั่น | เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่น | |||
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร | |||
การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร | |||
คหกรรมศาสตร์ศึกษา | ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ศึกษา | |||
ศิลปศาสตร์ | ภาษาต่างประเทศและอุตสาหกรรมการบริการ | ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล | ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล | http://www.larts.rmutk.ac.th/ |
ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร | ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร | |||
ภาษาญี่ปุ่น | ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น | |||
การท่องเที่ยว | ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว | |||
การโรงแรม | ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการโรงแรม | |||
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย | ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย | |||
อุตสาหกรรมสิ่งทอ | นวัตกรรมสิ่งทอ | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมสิ่งทอ | http://www.textiles.rmutk.ac.th/ | |
ออกแบบสิ่งทอและแฟชั่น | เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบสิ่งทอและแฟชั่น | |||
เทคโนโลยีสิ่งทอ | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ | |||
บริหารธุรกิจ | การบัญชีและการเงิน | การบัญชี | บัญชีบัณฑิต | http://www.bu.rmutk.ac.th/ |
การเงินและนว้ตกรรมทางการเงิน | บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน | |||
การประเมินราคาทรัพย์สิน | บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการประเมินราคาทรัพย์สิน | |||
การตลาดและการจัดการ | การตลาด | บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด | ||
การจัดการ | บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ | |||
การสื่อสารธุรกิจระหว่างประเทศ | บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารธุรกิจระหว่างประเทศ | |||
การบัญชีและการเงิน | ระบบสารสนเทศ | บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศ | ||
เทคโนโลยีสารสนเทศและธุรกิจดิจิทัจ | เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและธุรกิจดิจิทัจ | |||
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | เคมี | วิทยาศาสตรบัณฑิตเคมี | http://www.sci.rmutk.ac.th/ | |
เทคโนโลยีและการจัดการความปลอดภัยของอาหาร | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการความปลอดภัยของอาหาร | |||
วิทยาการคอมพิวเตอร์ | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ | |||
เทคโนโลยีสารสนเทศ | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ | |||
วิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพและความงาม | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิ���ยาศาสตร์เพื่อสุขภาพและความงาม | |||
ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม | เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม | |||
เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ | เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ | |||
เทคโนโลยีการพิมพ์ | เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ | |||
เทคโนโลยีเครื่องเรือนและการออกแบบ | เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องเรือนและการออกแบบ | |||
เทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง | เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง | |||
วิทยาลัยนานาชาติ | ||||
Business Administration | Marketing | http://www.ic.rmutk.ac.th/ | ||
Information Systems | ||||
International Business Management | ||||
Accounting | ||||
Liberal Arts | Tourism and Hospitality |
พื้นที่จัดการศึกษา
[แก้]มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีพื้นที่จัดการศึกษา 3 แห่งคือ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ศูนย์เทคนิคกรุงเทพฯ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ศูนย์บพิตรพิมุข มหาเมฆ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ศูนย์พระนครใต้
บุคคลจากมหาวิทยาลัย ที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ชูชัย บัวบูชา นายกสมาคมผู้ตัดสินกีฬาฟุตบอลอาชีพแห่งประเทศไทย (ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักศึกษา)
- ดุษฎี สินเจิมสิริ อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
- พยนต์ ยุทธไตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายบริหาร โทรทัศน์ ช่อง3
- ไพโรจน์ สังวริบุตร นักแสดงชั้นนำ
- หม่อมหลวงชัยวัฒน์ ชยางกรู ผอ.และ CEO บ.เอกชน หลายแห่ง
- พิมพ์อักษิพร วินโกมินทร์ คัดกิ่งรักส์ คิดคิดสะระณัง(เมจิ) นักแสดงช่องสาม
- สรินยา ทองงอก (แยม) มิสมอเตอร์โชว์ 2006
- นราธิป กาญจนวัฒน์ ศิลปินนักร้องวงชาตรี
- สมบัติ เมทะนี นักแสดงอาวุโส
- พิษณุ นิ่มสกุล (บอย พิษณุ) นักแสดงที่มีชื่อเสียงจากรายการเรียลลิตี้โชว์ ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย ปี 2
- พีรฉัตร จิตรมาส (เอี๊ยบ-ซับเทนชั่น) นักร้องนำวงซับเทนชั่น สังกัดอาร์.เอส เจ้าของเพลงดัง "ขอเป็นคนสุดท้าย"
- ภัคจีรา วรรณสุทธิ์ นักแสดง
- ภาณุ สุวรรณโณ นักแสดง
- ศันสนีย์ สีดาว อดีตนักแสดง
- นันทวัน วรรณจุฑา รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 World Super Model Contest 2011 และรองชนะเลิศอันดับ 1 MISS SUPRANATIONAL 2012
- เนฐนภาดา กัลยานนท์ มิสทิฟฟานี่ ยูนิเวิร์ส 2013
- กฤษดา แซ่โค้ว มิสทิฟฟานี่ ยูนิเวิร์ส 2015
- อนันต์ ภักดิ์ประไพ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ปภาวดี ชาญสมอน นักแสดงสังกัดช่อง 7HD
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓๒, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ↑ http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?t=6933&start=0&postdays=0&postorder=asc&highlight=&sid=5344119f75b53067499e50412b0ce56f เก็บถาวร 2016-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน อันดับมหาวิทยาลัย ของ มทร.กรุงเทพ โดย สิงคโปร์]
- ↑ “บพิตรพิมุข จักรวรรดิ” ความทรงจำ วิวัฒน์การศึกษาแห่งสยามประเทศ
- ↑ ประกาศวำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 ราย เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจานุเบกษา เล่ม 122 ตอน 88ง วันที่ 20 ตุลาคม 2548
- ↑ ประกาศวำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอ���ิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพราชกิจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษ 151ง วันที่ 13 ตุลาคม 2552
- ↑ ประกาศวำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพราชกิจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนพิเศษ 88ง วันที่ 25 กรกฎาคม 2556
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/226/7.PDF
- ↑ จับตาวาระสภาฯพรุ่งนี้ 'สุกิจ นิตินัย' กลับอธิการบดีมทร.กรุงเทพ?... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/education/828088
- ↑ ผู้บริหารราชมงคล