ข้ามไปเนื้อหา

ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1942)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เรียงลำดับเหตุการณ์เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1942

ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง
เรียงตามลำดับเวลา
1939
1940
1941
1942
1943
1944
1945
เพิ่มเติม

แนวรบด้านตะวันออก
โครงการแมนฮัตตัน

มกราคม

[แก้]
  • 1: ก่อตั้ง "สหประชาชาติ" โดยมีฝ่ายสัมพันธมิตร 26 ประเทศร่วมลงนามในการประกาศต่อต้านฝ่ายอักษะ เป็นครั้งแรกที่มีการใช้คำว่า "สหประชาชาติ" แทนความหมายของฝ่ายสัมพันธมิตร
  • 2: มะนิลาถูกญี่ปุ่นยึดไว้ได้; ทหารอเมริกันล่าถอยไปยังคาบสมุทรบาตาน
  • 5: กองทัพแดงเริ่มการรุกคืบครั้งใหญ่ภายใต้การนำของนายพลเกออร์กี จูคอฟ
  • 6: ประธานาธิบดีโรสเวลต์ให้คำสัญญาจะช่วยเหลืออังกฤษมากขึ้น ทั้งด้านเครื่องบินและกำลังทหาร
  • 7: มอลตาถูกทิ้งระเบิดขนานใหญ่ ประมาณว่าปริมาณระเบิดที่ทิ้งบนเกาะคราวนี้มากเป็นส��งเท่าของเมื่อครั้งโจมตีกรุงลอนดอน
  • 11: ญี่ปุ่นยึดกัวลาลัมเปอร์และมาลายา; ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับเนเธอร์แลนด์ และโจมตีหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์
  • 12: ญี่ปุ่นรุกรานอินโดนีเซีย ยกพลขึ้นบกที่เกาะเซลีเบส
  • 13: กองเรืออูของเยอรมนีเข้าใกล้ชายฝั่งสหรัฐอเมริกา
  • 19: ญี่ปุ่นจับตัวทหารชาวอังกฤษจำนวนมากเป็นนักโทษในสิงคโปร์
  • 24: ทัพอเมริกันขึ้นเกาะซามัว ซึ่งเป็นส่วนของแผนป้องกันการรุกคืบของญี่ปุ่นในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก
  • 25: ประเทศไทยประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร; ทัพญี่ปุ่นรุกรานหมู่เกาะโซโลมอน
  • 26: ทัพอเมริกันกลุ่มแรกไปถึงยุโรป โดยขึ้นฝั่งทางด้านเหนือของไอร์แลนด์
  • 27: กองทัพอังกฤษถอนกำลังทั้งหมดไปยังสิงคโปร์
  • 28: บราซิลตัดสัมพันธ์กับฝ่ายอักษะ
  • 30: ฮิตเลอร์ปราศรัยที่เบอร์ลิน สปอร์ต พาเลซเกี่ยวกับการทำลายล้างชาวยิว รวมถึงแจ้งว่า ความล้มเหลวในการบุกโซเวียตเนื่องมาจากสภาพอากาศไม่ดี
  • 31: เยอรมันถอนทัพจากแนวรบด้านตะวันออกหลายจุด

กุมภาพันธ์

[แก้]
  • 1: กองทัพเยอรมันภายใต้การบัญชาการของนายพลรอมเมลยึดเมืองเอล กาซาลาที่ชายแดนลิเบีย
  • 2: นายพลโจเซฟ สติลเวล ได้เป็นหัวหน้าที่ปรึกษาของเจียง ไคเช็ค ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพสัมพันธมิตรในประเทศจีน
  • 3: กองทัพอากาศญี่ปุ่นมุ่งไปโจมตีเกาะชวา
  • 8: กองทัพเยอรมันในสหภาพโซเวียตถูกขับออกจากเคิร์สค์ ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในแผนการของเยอรมนี
  • 9: ทัพอังกฤษเสริมกำลังพลไปยังสิงคโปร์เพื่อเตรียมการต่อสู้ครั้งสุดท้าย
  • 9: ผู้นำทางทหารของสหรัฐอเมริกาประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของกองทัพสหรัฐอเมริกา
  • 11:"การตีฝ่าช่องแคบ" เรือประจัญบานเยอรมัน ชาร์นฮอร์ชตและไกเซเนา พร้อมด้วยเรือลาดตระเวนหนัก พรินซ์ ยูจีน ได้แล่นออกจากแบร็สต์ผ่านช่องแคบอังกฤษเพื่อไปที่ท่าเรือตอนเหนือ รวมทั้ง Wilhelmshaven เยอรมนี หน่วยกองเรืออังกฤษได้ล้มเหลวในการจมเรือของพวกเขา
เรือบรรทุกอากาศยาน ยูเอสเอส ซาราโตกา ได้โจมตีทำลายเรือดำน้ำของญี่ปุ่นที่ชื่อว่า I-6 ด้วยระยะห่าง 480 ไมล์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเพิร์ลฮาร์เบอร์
  • 15: สิงคโปร์ยอมจำนนต่อญี่ปุ่น เป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ของกองทัพอังกฤษ
  • 19: แคนาดาประกาศเกณฑ์ทหาร
  • 19: กองทัพอากาศญี่ปุ่นโจมตีดาร์วิน
  • 20: กองทัพญี่ปุ่นข้ามแม่น้ำสาละวิน; ญี่ปุ่นรุกรานบาหลีและติมอร์
  • 22: ประธานาธิบดีโรสเวลต์ออกคำสั่งให้นายพลดักลาส แมกอาเธอร์ถอนตัวออกจากฟิลิปปินส์
  • 23: เรือดำน้ำญี่ปุ่นไอ-17 โจมตีแผ่นดินใหญ่สหรัฐอเมริกาได้เป็นครั้งแรก โดยถล่มโรงกลั่นน้ำมันในเอลวูด รัฐแคลิฟอร์เนีย
  • 25: การกักตัวพลเมืองชาวอเมริกัน-ญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นในสหรัฐอเมริกาจากความวิตกที่เพิ่มมากขึ้น

มีนาคม

[แก้]
  • 1: การรุกของกองทัพแดงในคาบสมุทรไครเมียเริ่มต้นขึ้น
  • 5: ได้มีการออกกฎหมายการเกณฑ์ทหารฉบับใหม่ในสหราชอาณาจักร ซึ่งรวมไปถึงชายหญิงทุกคนจนถึงอายุ 45 ปี
  • 6: ญี่ปุ่นตีเมืองย่างกุ้งแตก
  • 11: นายพลดักลาส แมกอาเธอร์ได้รับคำสั่งให้ถอยออกจากฟิลิปปินส์ เขาได้กล่าวถ้อยคำที่เป็นที่จดจำเอาไว้ว่า "แล้วผมจะกลับมา" (I shall return.); กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกบนเกาะมินดาเนา
  • 14: กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกบนหมู่เกาะโซโลมอน
  • 17: นายพลแมกอาเธอร์เดินทางมาถึงออสเตรเลีย
  • 25: กองทัพอากาศอังกฤษส่งเครื่องบินไปทำลายเป้าหมายหลายแห่งในฝรั่งเศสและเยอรมนี
  • 26: ชาวยิวในกรุงเบอร์ลินต้องระบุบ้านของพวกเขาไว้อย่างชัดเจน
  • 28: กองทัพอากาศหลวงได้ถูกส่งไปโจมตีฉาปฉวยที่ลือเบค เมืองได้ถูกทำลายไปกว่า 30 % และศูนย์กลางยุคกลาง 80% ทำให้ฮิตเลอร์โกรธเป็นอย่างมาก
หน่วยคอมมานโดอังกฤษได้เริ่มปฏิบัติการแชร์เรียท(Operation Chariot )โจมตีบนท่าเรือที่แซ็ง-นาแซร์ ฝรั่งเศส เรือ HMS Campbeltown ที่บรรจุไปด้วยระเบิดแบบสายชนวนตั้งเวลา, ได้พุ่งชนประตูเทียบท่าเรือและหน่วยคอมมานโดได้ทำลายส่วนอื่นๆของพื้นที่ทา���ทะเล ท่าเรือได้ถูกทำลายอย่างสิ้นเชิงและไม่สามารถใช้งานได้จนถึงปี ค.ศ. 1947 อย่างไรก็ตาม จำนวนราวประมาณสอง-สามส่วนของกองกำลังจู่โจมต้องพบกับความสูญเสีย

เมษายน

[แก้]
  • 2: กองทัพผสมอเมริกัน-ฟิลิปปินส์ถูกปิดล้อมที่คาบสมุทรบาตาน; กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่เกาะนิวกินี
  • 5: กองทัพเรือแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นโจมตีกรุงโคลัมโบ บนเกาะศรีลังกา
  • 8: กองทัพเยอรมันเริ่มการบุกในคาบสมุทรไครเมีย
  • 9: กองทัพญี่ปุ่นยึดครองคาบสมุทรบาตาน เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรถูกบังคับให้เดินเท้าไปยังค่ายกักกันทางตอนเหนือ
  • 10: กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่เกาะเซบู

พฤษภาคม

[แก้]
  • 1: แมนดาเลและเมืองท่าอื่น ๆ ในพม่าอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น
  • 4: ยุทธนาวีทะเลคอรอลเริ่มต้นขึ้น
  • 5: กองทัพอังกฤษเริ่มต้นปฏิบัติการไอรอนแคลด: เริ่มการบุกมาดากัสการ์ของวิชีฝรั่งเศส เพื่อป้องกันการโจมตีจากจักรวรรดิญี่ปุ่น
  • 12: กองทัพโซเวียตเริ่มต้นการโจมตีครั้งใหญ่ที่เมืองคาร์คอฟ
  • 20: ญี่ปุ่นยึดครองพม่าอย่างสมบูรณ์
  • 22: เม็กซิโกประกาศสงครามกับฝ่ายอักษะ
  • 26: ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาอังกฤษ-โซเวียต โดยทั้งสองฝ่ายตกลงว่าจะไม่มีการลงนามเป็นพันธมิตรกับชาติใด ๆ โดยต้องได้รับการรับรองจากอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อน
  • 31: กองทัพเยอรมันได้รับชัยชนะที่เมืองคาร์คอฟ

มิถุนายน

[แก้]
  • 4: ยุทธนาวีแห่งมิดเวย์เริ่มต้นขึ้น
  • 5: สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามกับบัลแกเรีย ฮังการีและโรมาเนีย
  • 12: กองทัพเยอรมันขับไล่กองทัพสัมพันธมิตรออกจากแนวกาซาลา
  • 18: โครงการแมนฮัดตันถูกก่อตั้งขึ้น ซึ่งได้นำไปสู่การผลิตระเบิดปรมาณูในเวลาต่อมา
  • 21: กองทัพเยอรมันสามารถยึดเมืองโทรบรุคคืนได้ กองทัพอังกฤษล่าถอยไปยังอียิปต์ด้วยขวัญกำลังใจที่ตกต่ำ
  • 24: กองทัพอังกฤษล่าถอยไปยังเมืองเอล อาลาเมน ซึ่งอยู่ห่างจากนครอเล็กซานเดรีย 60 ไมล์ เพื่อเตรียมตัวต่อสู้ครั้งสุดท้าย
  • 26: กองทัพเยอรมันมุ่งหน้าไปยังเมืองรอสตอฟ
  • 28: ปฏิบัติการสีน้ำเงินเริ่มต้นขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะยึดครองสตาลินกราดและเทือกเขาคอเคซัส
  • 30: กองทัพเยอรมันเคลื่อนทัพมาถึงเอล อาลาเมน

กรกฎาคม

[แก้]
  • 1: ยุทธการแห่งเอล อาลาเมนครั้งที่หนึ่งเริ่มต้นขึ้น เมื่อนายพลรอมเมลเริ่มการโจมตีแนวตั้งรับของอังกฤษเป็นครั้งแรก
  • 1: กองทัพเยอรมันสามารถยึดเมืองซาเวสโตปอลได้สำเร็จ เป็นการยุติการรบต้านทานของทหารโซเวียตในคาบสมุทรไครเมีย
  • 3: กองทัพญี่ปุ่นยึดเกาะกัวดาคาแนล
  • 11: กองทัพเยอรมันหยุดชะงักที่เอล อาลาเมน เนื่องจากขาดแคลนเครื่องกระสุน
  • 24: กองทัพเยอรมันยึดเมืองรอสตอฟ-ดอน-วอน กองทัพโซเวียตล่าถอยไปตามแม่น้ำดอน

สิงหาคม

[แก้]
  • 8: ยุทธนาวีเกาะซาโวเกิดขึ้นใกล้กับเกาะกัวดาคาแนล เรือรบฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับความเสียหายจำนวนหนึ่ง
  • 9: มหาตมะ คานธีถูกจับกุมตัว เนื่องจากการก่อจลาจลในอินเดีย
  • 13: พลโท เบอร์นาร์ต มอนโกเมอรี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองทัพที่แปดแห่งสหราชอาณาจักรในแอฟริกาเหนือ
  • 22: บราซิลประกาศสงครามกับประเทศฝ่ายอักษะจำนวน 6 ประเทศ
  • 27: จอมพล เกออร์กี จูคอฟ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการการป้องกันในนครสตาลินกราด; สตาลินกราดถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักจากกองทัพอากาศเยอรมัน
  • 30: ยุทธการแห่งอลาม เอล ฮัลฟา ไม่ไกลจากเอล อาลาเมนเกิดขึ้น เป็นความพยายามที่จะเจาะทะลุแนวป้องกันของอังกฤษ
  • 30: ลักเซมเบิร์กถูกผนวกเข้ากับเยอรมนีอย่างเป็นทางการ

กันยายน

[แก้]
  • 13: นครสตาลินกราดถูกปิดล้อมโดยกองทัพเยอรมัน; นายพล วาซิลี ซุยคอฟ ได้รับแต่งตั้งให้บัญชาการการป้องกันเมือง
  • 18: กองทัพเยอรมันบางส่วนถูกผลักดันออกไป; ทหารโซเวียตส่งกำลังข้ามแม่น้ำโวลก้าในยามค่ำคืน
  • 23: นายพลรอมเมลถูกส่งกลับเยอรมนีเพื่อรักษาตัว

ตุลาคม

[แก้]
  • 11: ยุทธนาวีแห่งแหลมเอสเปอเรนซ์ ทางชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกัวดาคาแนล กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาสามารถขัดขวางการเสริมกำลังทางเรือของญี่ปุ่นได้
  • 12: การรุกของกองทัพเยอรมันในสตาลินกราดหยุดชะงัก
  • 18: ฮิตเลอร์ออกคำสั่งคอมมานโด โดยให้ประหารหน่วยคอมมานโดของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ถูกจับได้ในทันที
  • 22: การเกณฑ์ทหารในสหราชอาณาจักรถูกจำกัดอายุลงเหลือ 18 ปี
  • 23: ยุทธการแห่งเอล อาลาเมนครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้น ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดที่ตั้งของกองทัพเยอรมันอย่างหนัก
  • 25: นายพลรอมเมลถูกส่งกลับไปบัญชาการรบที่เอล อาลาเมน แม้ว่าจะยังไม่หายจากอาการเจ็บป่วย
  • 26: ยุทธนาวีแห่งซานตา ครูซเริ่มต้นขึ้น
  • 29: ฝ่ายญี่ปุ่นได้เสริมกำลังของตนไปยังเกาะกัวดาคาแนล
  • 31: ยานเกราะฝ่ายสัมพันธมิตรเจาะผ่านแนวตั้งรับของเยอรมนี ทุ่งระเบิดไม่ประสบผลในการรุกครั้งนี้

พฤศจิกายน

[แก้]
  • 1: ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มตีฝ่าออกจากเอล อาลาเมน
  • 3: กองทัพเยอรมันล่าถอยจากเอล อาลาเมนในยามค่ำคืน
  • 8: ปฏิบัติการคบเพลิง: ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่อัลจีเรียและโมร็อกโก
  • 10: นาซีเยอรมนีรุกรานวิชีฝรั่งเศส เนื่องจากได้มีการลงนามข้อตกลงหยุดยิงกับฝ่ายสัมพันธมิตร
  • 10: พลโทมอนโกเมอรีเริ่มต้นการบุกที่โซลลุมตามแนวชายแดนลิเบีย-อียิปต์; เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นอัศวินและเลื่อนยศขึ้นเป็นพลเอก
  • 13: กองทัพที่แปดแห่งสหราชอาณาจักรปลดปล่อยนครโทรบรุค
  • 15: แม้ว่ากองทัพเรือสหรัฐอเมริกาจะประสบความสูญเสียใหญ่หลวงในยุทธนาวีรอบเกาะกัวดาคาแนล แต่ยังคงควบคุมน่านน้ำได้อยู่
  • 15: กองทัพอังกฤษมุ่งหน้าต่อไปยังตูนิเซีย
  • 19: กองทัพโซเวียตภายใต้การบัญชาการของจอมพล เกออร์กี จูคอฟ เริ่มต้น ปฏิบัติการยูเรนัส โดยมีเป้าหมายเพื่อโอบล้อมกองทัพเยอรมันในสตาลินกราด
  • 25: กองทัพเยอรมันถูกปิดล้อมที่นครสตาลินกราด; ฮิตเลอร์สั่งให้นายพลพอลลัสห้ามถอยออกจากนคร

ธันวาคม

[แก้]