การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ
การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิก, สงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
กลุ่มเมฆรูปดอกเห็ดของ "ลิตเติลบอย" และ "แฟตแมน" ที่ทิ้งใส่เมืองฮิโรชิมะ(ซ้าย) และเหนือเมืองนางาซากิ (ขวา) | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหรัฐอเมริกา โครงการแมนฮัตตัน: สหราชอาณาจักร แคนาดา | ญี่ปุ่น | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
William S. Parsons Paul W. Tibbets, Jr. Charles Sweeney Frederick Ashworth | Shunroku Hata | ||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
Manhattan District: 50 U.S., 2 British 509th Composite Group: 1,770 U.S. |
Second General Army: Hiroshima: 40,000 (5 Anti-aircraft batteries) Nagasaki: 9,000 (4 Anti-aircraft batteries) | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เชลยศึก ชาวบริติช, ชาวดัตช์,และ อเมริกัน 20 คน เสียชีวิต |
ฮิโรชิมะ:
นางาซากิ:
|
การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ เป็นการโจมตีจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง โดยคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี เอส. ทรูแมน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม และวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากการโจมตีทิ้งระเบิดเพลิงตามเมืองต่าง ๆ 67 เมืองของญี่ปุ่นอย่างหนักหน่วงเป็นเวลาติดต่อกันถึง 6 เดือน สหรัฐอเมริกาจึงได้ทิ้ง "ระเบิดปรมาณู" หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่มีชื่อเล่นเรียกว่า "เด็กน้อย" หรือ "ลิตเติลบอย" ใส่เมืองฮิโรชิมะในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 (ปีโชวะที่ 20) ตามด้วย "ชายอ้วน" หรือ "แฟตแมน" ลูกที่สองใส่เมืองนางาซากิโดยให้จุดระเบิดที่ระดับสูงเหนือเมืองเล็กน้อย นับเป็นระเบิดนิวเคลียร์เพียง 2 ลูกเท่านั้นที่นำมาใช้ในประวัติศาสตร์การทำสงคราม
การระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิตที่ฮิโรชิมะ 140,000 คนและที่นางาซากิ 80,000 คนโดยนับถึงปลายปี พ.ศ. 2488 จำนวนคนที่เสียชีวิตทันทีในวันที่ระเบิดลงมีจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่กล่าวนี้ และในระยะต่อมาก็ยังมีผู้เสียชีวิตด้วยการบาดเจ็บหรือจากการรับกัมมันตรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการระเบิดอีกนับหมื่นคน ผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดในทั้ง 2 เมืองเป็นพลเรือน
หลังการทิ้งระเบิดลูกที่สองเป็นเวลา 6 วัน ญี่ปุ่นประกาศตกลงยอมแพ้สงครามต่อฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และลงนามในตราสารประกาศยอมแพ้สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกที่นับเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 (นาซีเยอรมนีลงนามตราสารประกาศยอมแพ้และยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2488) การทิ้งระเบิดทั้งสองลูกดังกล่าวมีส่วนทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้องยอมรับหลักการ 3 ข้อว่าด้วยการห้ามมีอาวุธนิวเคลียร์
เป็นส่วนหนึ่งของ |
ประวัติศาสตร์จักรวรรดิญี่ปุ่น |
---|
โครงการแมนฮัตตัน
[แก้]สหรัฐอเมริกา อังกฤษและแคนาดา ได้ร่วมมือกันตั้งโครงการลับ "ทูบอัลลอยด์" และ "สถานีวิจัยคลาค รีเวอร์" เพื่อออกแบบและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ลูกแรก ภายใต้โครงการที่เรียกว่า "โครงการแมนฮัตทัน" ภายใต้การค้นคว้าวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ และนักฟิสิกส์อเมริกัน นาม เจ. โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ ระเบิดปรมาณูที่ใช้ถล่มเมืองฮิโรชิมะของญี่ปุ่น ที่ชื่อ "ลิตเติลบอย" นั้น ได้ใช้ ยูเรเนียม - 235, ลูกระเบิดลูกแรกถูกทดสอบที่ ทรีนิตี้, นิวเม็กซิโก ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2488 ส่วนระเบิดที่ชื่อ “แฟตแมน” ซึ่งใช่ถล่มนางาซากินั้นใช้ พลูโตเนียม - 239
การเลือกเป้าหมายทิ้งระเบิด
[แก้]ในวันที่ 10 - 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ได้มีการคัดเลือกเป้าหมายที่ Los Alamos โดยด็อกเตอร์ เจ. โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ นักฟิสิกส์ ใน "โครงการแมนฮัตทัน" ได้แนะนำ เป้าหมายสำหรับระเบิดลูกแรก คือ เมืองเกียวโต, ฮิโรชิมะ และ โยโกฮามา โดยใช้เงื่อนไขที่ว่า:
- เป้าหมายต้องมีพื้นที่ขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 ไมล์และเป็นเขตชุมชุนที่สำคัญขนาดใหญ่
- ระเบิดต้องสามารถทำลายล้างและสร้างความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เป้าหมายมียุทโธปกรณ์และที่ตั้งของทหารต้องได้รับการระบุที่ตั้งแน่นอน เพื่อป้องกันหากการทิ้งระเบิดเกิดข้อผิดพลาด
ฮิบะกุชะ
[แก้]ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดในครั้งนั้น เรียกจุดที่ระเบิดถูกทิ้งลงใส่ฮิโรชิมะ ว่า "ฮิบะกุชะ" ในภาษาญี่ปุ่นหรือแปลเป็นภาษาไทยว่า "จุดระเบิดที่มีผลกระทบต่อชาวญี่ปุ่น" ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงมีนโยบายต่อต้านการใช้ระเบิดปรมาณู ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และประกาศเจตนาให้โลกรู้ว่า ญี่ปุ่นมีนโยบายจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ ในวันที่ 31 เดือนมีนาคม 2551 "ฮิบะกุชะ" มีรายชื่อผู้เสียชีวิตจากทั้งสองเมืองของญี่ปุ่น ที่ถูกจารึกไว้ประมาณ 243,692 คน และในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน มีรายชื่อผู้เสียชีวิตที่ถูกจารึกไว้เพิ่มขึ้นมากกว่า 400,000 คน โดยแบ่งออกเป็นเมืองฮิโรชิมะ 258,310 คน และเมืองนางาซากิ 145,984 คน
ผู้รอดชีวิตชาวเกาหลี
[แก้]ในระหว่างสงครามนั้น ญี่ปุ่นได้เกณฑ์แรงงานชาวเกาหลีไปใช้งานอย่างทาสในทั้งสองเมือง ทั้งฮิโรชิมะ และนางาซากิ ปัจจุบันคาดการณ์ว่ามีชาวเกาหลีที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดนิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น ที่เมืองฮิโรชิมะ ประมาณ 20,000 คน และอีกประมาณ 2,000 คน เสียชีวิตที่เมืองนางาซากิ ซึ่งประชากรเกาหลีที่เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้มากถึง 1 ใน 7 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ชาวเกาหลีพยายามต่อสู้เพื่อรับการดูแลรักษาผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ อย่างไรก็ตาม ทุกคนได้รับการเยียวยาภายใต้กฎหมายในปัจจุบัน
คณะกรรมการเหยื่อระเบิดนิวเคลียร์
[แก้]คณะกรรมการเหยื่อระเบิดนิวเคลียร์ (Atomic Bomb Casualty Commission - ABCC) เป็นคณะกรรมการที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1946 ตามคำสั่งประธานาธิบดีของ Harry S. Truman วัตถุประสงค์เดียวของคณะกรรมการนี้คือการศึกษาผลกระทบจากระเบิดนิวเคลียร์ต่อผู้รอดชีวิต เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าพวกเขาจะไม่มีโอกาสอีกครั้งจนกว่าจะเกิดสงครามโลกครั้งถัด��ป.[1][2] ดังนั้น คณะกรรมการนี้จึงศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพของฮิบาคูชะ (ผู้รอดชีวิตจากระเบิดนิวเคลียร์) แต่ไม่ได้ให้การรักษาพวกเขา ผู้นำอเมริกันมองว่าการรักษาผู้รอดชีวิตจากระเบิดนิวเคลียร์เป็นการยอมรับความรับผิดชอบต่อการบาดเจ็บของพวกเขา ผลที่ตามมาคือ ฮิบาคูชะรู้สึกว่าตนเองถูกปฏิบัติราวกับเป็น หนูทดลอง โดยคณะกรรมการ ABCC.[1][3][4][5]
คณะกรรมการ ABCC ยังมุ่งเน้นไปที่เขต Nishiyama ของนางาซากิ ระหว่างจุดศูนย์กลางการระเบิดและ Nishiyama มีภูเขาขวางอยู่ ซึ่งทำให้รังสีและความร้อนจากการระเบิดไม่สามารถถึง Nishiyama ได้โดยตรง และไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น แต่เนื่องจากเถ้าถ่านและฝนที่ตกลงมา ทำให้พบว่ามีรังสีจำนวนมากอยู่ที่นั่น ในช่วงหลังสงครามจึงมีการดำเนินการศึกษาสุขภาพโดยไม่แจ้งให้ประชาชนทราบถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษา[6] ในตอนแรกการศึกษาใน Nishiyama ได้ดำเนินการโดยกองทัพสหรัฐ แต่ภายหลังได้ถูกส่งต่อให้กับคณะกรรมการ ABCC
ไม่กี่เดือนหลังจากการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ ผู้คนใน Nishiyama มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในจำนวนเม็ดเลือดขาว ในสัตว์ การเกิดโรคเลือดขาว (leukemia) อาจเกิดขึ้นหลังจากการสัมผัสรังสีทั่วทั้งร่างกาย ดังนั้นจึงต้องการศึกษาว่าเกิดอะไรขึ้นกับมนุษย์ นอกจากนี้ยังพบการเกิด osteosarcoom ในมนุษย์หลังจากการรับสารกัมมันตภาพรังสีทางปาก[6][7] ตามรายงานที่เขียนโดยคณะกรรมการ ABCC จึงพบว่าผู้อยู่อาศัยในเขต Nishiyama ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์เป็นกลุ่มประชากรที่เหมาะสมสำหรับการสังเกตผลกระทบจากรังสีตกค้าง[6][7]
สหรัฐอเมริกายังคงการศึกษารังสีตกค้างต่อไปหลังจากที่ญี่ปุ่นได้รับเอกราชแล้ว แต่ผลการศึกษานั้นไม่เคยถูกส่งต่อให้กับประชาชนในเขต Nishiyama.[8] ผลที่ตามมาคือหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้อยู่อาศัยยังคงทำการเกษตร และจำนวนผู้ป่วยโรคเลือดขาว (leukemia) เพิ่มขึ้นและมีผู้เสียชีวิตมากขึ้น.[8]
หลังจากการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นต้องการทำการศึกษาเพื่อช่วยให้ฮิบากุชะหายจากโรค แต่ SCAP ไม่อนุญาตให้ชาวญี่ปุ่นทำการศึกษาเกี่ยวกับความเสียหายจากระเบิดนิวเคลียร์.[6] โดยเฉพาะกฎระเบียบจนถึงปี 1946 ค่อนข้างเข้มงวด ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากรังสีเพิ่มขึ้น.[9]
หากฮิบากุชะปฏิเสธที่จะเข้ารับการตรวจสุขภาพตามปกติ ABCC ขู่ว่าจะนำพวกเขาไปขึ้นศาลทหารฐานข้อหาก่ออาชญากรรมสงคราม นอกจากนี้ หากฮิบากุชะเสียชีวิต ABCC จะไปเยี่ยมบ้านของพวกเขาเป็นการส่วนตัวและนำร่างไปทำการชันสูตรศพ.[10] คณะกรรมการ ABCC ยังพยายามนำร่างของฝาแฝดที่ตายตั้งแต่เกิดไปทำการศึกษาอีกด้วย.[11] เชื่อกันว่าอย่างน้อย 1,500 อวัยวะถูกส่งไปยัง Armed Forces Institute of Pathology ในกรุงวอชิงตัน.[10]
หนังสือและเอกสารอ่านเพิ่มเติม
[แก้]เอกสารเกี่ยวกับการทิ้งระเบิดปรมาณูมีมากมาย ทั้งที่เกี่ยวกับการต��ดสินใจทิ้งระเบิด การตัดสินใจใช้ระเบิด การยอมจำนนของญี่ปุ่น รายการข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างผลงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้
- Hein, Laura and Selden, Mark (Editors) (1997). Living with the Bomb: American and Japanese Cultural Conflicts in the Nuclear Age. M. E. Sharpe. ISBN 1-56324-967-9.
- Sherwin, Martin J. (2003). A World Destroyed: Hiroshima and its Legacies. Stanford University Press. ISBN 0-8047-3957-9.
- Sodei, Rinjiro (1998). Were We the Enemy? American Survivors of Hiroshima. Westview Press. ISBN 0-8133-3750-X.
- Ogura, Toyofumi (1948). Letters from the End of the World: A Firsthand Account of the Bombing of Hiroshima. Kodansha International Ltd.. ISBN 4-7700-2776-1.
- Sekimori, Gaynor (1986). Hibakusha: Survivors of Hiroshima and Nagasaki. Kosei Publishing Company. ISBN 4-333-01204-X.
- The Committee for the Compilation of Materials on Damage Caused by the Atomic Bombs in Hiroshima and Nagasaki (1981). Hiroshima and Nagasaki: * The Physical, Medical, and Social Effects of the Atomic Bombings. Basic Books. ISBN 0-465-02985-X.
- Hogan, Michael J. (1996). Hiroshima in History and Memory. Cambridge University Press. ISBN 0-521-56206-6.
- Knebel, Fletcher and Bailey, Charles W. (1960). No High Ground. Harper and Row. ISBN 0-313-24221-6. A history of the bombings, and the decision-making to use them.
- Sweeney, Charles, et al (1999). War's End: An Eyewitness Account of America's Last Atomic Mission. Quill Publishing. ISBN 0-380-78874-8.
- R hodes, Richard (1977). Enola Gay: The Bombing of Hiroshima. Konecky & Konecky. ISBN 1-56852-597-4.
- Richard H. Campbell (2005). "Chapter 2: Development and Production", The Silverplate Bombers: A History and Registry of the Enola Gay and Other B-29s Configured to Carry Atomic Bombs. McFarland & Company, Inc.. ISBN 0-7864-2139-8.
- Goldstein, Donald M; Dillon, Katherine V. & Wenger, J. Michael Rain of Ruin: A Photographic History of Hiroshima and Nagasaki (1995, Brasseys,
- Washington & London) ISBN 1-57488-033-0
Murakami, Chikayasu (2007). Hiroshima no shiroi sora ~The white sky in Hiroshima~. Bungeisha. ISBN 4-286-03708-8.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "The Effects of the Atomic Bombings of Hiroshima and Nagasaki". U.S. Strategic Bombing Survey (1946).
- "Scientific Data of the Nagasaki Atomic Bomb Disaster". Atomic Bomb Disease Institute, Nagasaki University.. Retrieved on April 28, 2007.
- "Correspondence Regarding Decision to Drop the Bomb". NuclearFiles.org.
- "The Decision To Use The Atomic Bomb; Gar Alperovitz And The H-Net Debate".
- Dietrich, Bill (1995). "Pro and Con on Dropping the Bomb". The Seattle Times.
- "Tale of Two Cities: The Story of Hiroshima and Nagasaki". Retrieved on 2007-07-09.
- "Documents on the Decision to Drop the Atomic Bomb". The Harry S. Truman Library.
- "The Atomic Bombings of Hiroshima and Nagasaki". Manhattan Project, U.S. Army (1946).
- Burr, William (Editor) (2005). "The Atomic Bomb and the End of World War II: A Collection of Primary Sources". National Security Archive.
- Hiroshima Peace Memorial Museum, official homepage.
- Nagasaki Atomic Bomb Museum, official homepage.
- The Atomic Bomb and the End of World War II, A Collection of Primary Sources, National Security Archive Electronic Briefing Book No. 162.
- Above and Beyond a 1952 MGM feature film with the love story behind the billion dollar secret, about Paul & Lucey Tibbets
- Enola Gay: The Men, the Mission, the Atomic Bomb a 1980 film for TV
- Tale of Two Cities, 1946 Documentary (videostream)
- ↑ 1.0 1.1 How a secretive agency discovered the A-bomb’s effect
- ↑ The Origins of ‘Hibakusha’ as a Scientific and Political Classification of the Survivor
- ↑ How a Secretive U.S. Agency Discovered the A-Bomb’s Effect on People
- ↑ For Whom does RERF Exist? -TSS Special Documentary for 75 Years Since the Atomic Bombing- TSS-TV Co., Ltd.
- ↑ [Radiation research foundation to apologize for studying but not treating hibakusha https://mainichi.jp/english/articles/20170617/p2a/00m/0na/016000c]
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "The Hidden Truth of the Initial A-bomb Surveys (Part 1) NHK". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-02-21. สืบค้นเมื่อ 2024-12-10.
- ↑ 7.0 7.1 "Recommendations for Continued Study of the Atomic Bomb Casualties", Papers of James V. Neel, M.D., Ph.D. Manuscript Collection No. 89 of the Houston Academy of Medicine, Texas Medical Center Library.
- ↑ 8.0 8.1 "The Hidden Truth of the Initial A-bomb Surveys (Part 2) NHK". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-02-21. สืบค้นเมื่อ 2024-12-10.
- ↑ NHK Special (2023). Atomic bomb initial investigation The hidden truth:Hayakawa Shobo pp. 124–125. (原爆初動調査 隠された真実 (ハヤカワ新書) NHKスペシャル取材班 (著) pp. 124–125.) ISBN 978-4-153-40012-2
- ↑ 10.0 10.1 プロデュースされた〈被爆者〉たち 岩波書店 柴田 優呼 pp121-122 ISBN:9784000614580
- ↑ Hibakusha: 2nd gen. Korean who met pope in Hiroshima vows to pass on A-bomb truth