ข้ามไปเนื้อหา

พระแม่คายตรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระแม่คายตรี
(Gayatri Goddess)
เทวีในศาสนาฮินดู เทวีแห่งพระเวท , บุคลาธิษฐานแห่งพระคาถาคายตรี
ส่วนหนึ่งของ ประกฤติ (Prakriti / Pancha Prakriti)[1]
จิตรกรรมเจ้าแม่คายตรีเทพี ศิลปะอินเดียแบบประเพณีในปัจจุบัน โดย ราชา รวิ วรรมา
ชื่ออื่นสาวิตรี (Savitri), เวทมารดร (Vedmata)
ชื่อในอักษรเทวนาครีगायत्री
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตgāyatrī
ส่วนเกี่ยวข้องเทวีในศาสนาฮินดู, พระสุรัสวดี, มหาเทวี, พระปารวตี, ทุรคา, พระลักษมี
ที่ประทับสัตยโลก, มณีทวีป
มนตร์พระคาถาคายตรี
สัญลักษณ์พระเวท
พาหนะหงส์
เทศกาลคายตรี ชยันตี (Gayatri Jayanti), สรัสวดีบูชา (Saraswati puja)
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองท้าวมหาพรหม (ตามปุราณะส่วนใหญ่)
พระสทาศิวะ (ในคติลัทธิไศวะ)
พระพิษณุกรรม (ตามปุราณะท้องถิ่น)[2]
ราชวงศ์อภิรา ( Abhira )/ ยาทพ ( Yadava )

คายตรี (Sanskrit: गायत्री, IAST:gāyatrī)เป็นเทวีในศาสนาฮินดูและเป็นบุคลาธิษฐานแห่งพระคาถาคายตรีของพระเวท อันเป็นมนตร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากพระเวท[3] นามคำไวพจน์ของเจ้าแม่อันเป็นที่นิยมอื่น ๆ คือ สาวิตรี และ เวทมารดร (มารดรแห่งพระเวท) พระนางมีความเกี่ยวข้องกับพระสาวิตรี, พระสุริยเทพในพระเวท[4][5] และตามในคัมภึร์ สกันทะปุราณะ, คายตรี เป็นคำไวพจน์นามหนึ่งของพระสุรัสวดี หรือ เป็นเทพีภริยาอีกองค์หนึ่งของท้าวมหาพรหมธาดา[6] แต่ในลัทธิไศวะ, พระนางคือ พระเทพีมหาคายตรี อันเป็นเทพีภริยาศักติของพระศิวะ, ในภาคพระสทาศิวะอันมีห้าพักตร์สิบกรตามเทวประติมานวิทยา[7][8]ในบางท้องถิ่นพระนางคือเทพีภริยาศักติของพระวิษณุกรรม[9]

เทพปกรณัม

[แก้]

ในบางปุราณะ, คายตรีเป็นคำไวพจน์นามหนึ่งของพระสุรัสวดี, เทพีเอกภริยาของพระพรหม[10] ตามคัมภีร์มัตยะปุราณะ, พลังของวรกายด้านซ้ายของพระพรหม คือ สตรี, ซึ่งคือพระสุรัสวดี, สาวิตรีและคายตรี[11] ในคัมภีร์กูรมะปุราณะพระฤๅษีโคดมได้รับการประสิทธิ์ประสาทพรจากเทวีในศาสนาฮินดูคายตรีและสามารถขจัดอุปสรรคที่ท่านเผชิญในชีวิตได้ และตามคัมภีร์สกันทะปุราณะ กล่าวว่าพระนางคายตรีเป็นสตรีอันได้เสกสมรสกับพระพรหม, ซึ่งเป็นอนุภริยารองจากพระสุรัสวดี[12]

คัมภีร์ปุราณะไม่กี่เล่มกล่าวว่าพระแม่คายตรีเป็นเทวีอีกองค์หนึ่งอันมิใช่องค์กับพระสุรัสวดีและเสกสมรสกับพระพรหม ตามคัมภีร์ปัทมะปุราณะ นางคยาตรีคือ สตรีสามัญชนอันเป็นมนุษย์ชนชาติอภิระ (Abhira tribe) อันได้ช่วยเหลือพระพรหมในพิธีกรรมยัญโหมกูณฑ์ ณ นครบุษปกรสมบูณ์สัมฤทธิผล[13]

โดยเอกภรรยาองค์ของพระพรหมคือ สาวิตรีและ คายตรี คืออนุภรรยา เรื่องราวยังปรากฏต่อไปว่าพระแม่สาวิตรีทรงพิโรธและไม่พอพระทัยในการเสกสมรสของพระพรหมกับนางคายตรี และกล่าวคำสาปแด่เทพบุรุษและเทพีทั้งมวลที่มีส่วนร่วมในพิธีครั้งนี้[14][15]

อย่างไรก็ตาม ปัทมะปุราณาได้กล่าวต่อไปว่า หลังจากที่พระเทพีสาวิตรีได้ทรงรับการขออภัยโทษจากพระพรหม พระวิษณุ และพระลักษมี ให้ทรงหายพิโรธแล้ว นางจึงยอมรับคยาตรี ซึ่งเป็นสตรีมุนษย์ชนชาติอภิระ โดยมีฐานะดังเช่นเป็นขนิษฐาของพระนางอย่างเกษมสันต์[16]

เรื่องราวของพระแม่ได้รับการพัฒนาขนานนามต่อไปเป็นเทพีที่ทรงมีเทพลักษณะดุร้ายซึ่งสามารถสังหารปีศาจได้ ตามวราหะปุราณะ และ มหาภารตะ, พระแม่คายตรีได้ทรงปราบปรามปีศาจ เวตรสุระ (Vetrasura), บุตรชายของวฤตอสูร อันเกิดจากแม่น้ำเวตรวดี (Vetravati), อันตรงกับวันเทศกาลนวมี (Navami)[17][18]

ในลัทธิไศวะ มองว่า คายตรี เป็นมเหสีของ Parashiva ผู้สมบูรณ์ที่มีความสุขชั่วนิรันดร์ซึ่งปรากฏในรูปแบบของ พระสทาศิวะ มโนมณีมเหสีของพระสทาศิวะไม่ใช่ใครอื่นนอกจากรูปแบบมนต์ของคยาตรี ซึ่งครอบครองพลังของสามีของเธอ ภรกา ซึ่งอยู่ภายในตัวเธอ รูปแบบยอดนิยมของคายตรีที่มีห้าเศียรสิบกรพบครั้งแรกในภาพสัญลักษณ์ Saivite ของมโนมณีในอินเดียตอนเหนือเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ทัศนะของชาวไศวะเกี่ยวกับคายตรีดูเหมือนจะมีการพัฒนาในภายหลังจากการผสมผสานระหว่างการปฏิบัติพระเวทเกี่ยวกับความเคารพนับถือของคายตรีและการรวมชาวไศวะเข้าด้วยกันเป็นการสำแดงของ ศักติ นี่อาจเป็นที่มาของแง่มุมอันประเสริฐของ คายตรี ที่อธิบายไว้ในปุราณะในเวลาต่อมาว่านักฆ่าปีศาจ Vetra ระบุตัวเธอกับอาทิปราศักติ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ludo Rocher (1988). The Purāṇas (A History of Indian Literature.
  2. https://www.answers.com/Q/What_is_the_name_of_Lord_Vishwakarma_wife
  3. Bradley, R. Hertel; Cynthia, Ann Humes (1993). Living Banaras: Hindu Religion in Cultural Context. SUNY Press. p. 286. ISBN 9780791413319. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
  4. Constance Jones, James D. Ryan (2005), Encyclopedia of Hinduism, Infobase Publishing, p.167, entry "Gayatri Mantra"
  5. Roshen Dalal (2010), The Religions of India: A Concise Guide to Nine Major Faiths, Penguin Books India, p.328, entry "Savitr, god"
  6. Dalal, Roshen (2010). Hinduism: An Alphabetical Guide (ภาษาอังกฤษ). Penguin Books India. ISBN 978-0-14-341421-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 2020-10-01.
  7. Margaret Stutley (2006). Hindu Deities: A Mythological Dictionary with Illustrations. Munshiram Manoharlal Publishers. ISBN 9788121511643. เก็บจากแห��่งเดิมเมื่อ 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
  8. Omacanda Hāṇḍā (1992). Śiva in art: a study of Śaiva iconography and miniatures. Indus Pub. House.
  9. https://hinduism.stackexchange.com/questions/43169/who-is-goddess-gayatri-is-she-another-form-of-saraswati-or-saraswati-in-parasha
  10. Guru Granth Sahib an Advance Study. Hemkunt Press. p. 294. ISBN 9788170103219. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
  11. Ludvík, Catherine (2007). Sarasvatī, Riverine Goddess of Knowledge: From the. Brill. p. 119. ISBN 9789004158146. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
  12. Kennedy, Vans (1831). Researches Into the Nature and Affinity of Ancient and Hindu Mythology by Vans Kennedy. Longman, Rees, Orme, Brown and Green. pp. 317–324.
  13. Nambiar, K. Damodaran (1979). Nārada Purāṇa, a Critical Study. All-India Kashiraj Trust, 1979. p. 145.
  14. Sharma, Bulbul (2010). The book of Devi. Penguin Books India. pp. 72–75. ISBN 9780143067665. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
  15. Bansal, Sunita Pant (2005). Hindu Gods and Goddesses. Smriti Books. p. 23. ISBN 9788187967729. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-14. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
  16. Holdrege, Barbara A. (2012). Hindu Mythology, Vedic and Puranic. SUNY Press. ISBN 9781438406954. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-20. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
  17. B K Chaturvedi (2017). Varaha Purana. Diamond Pocket Books Pvt Ltd. p. 108. ISBN 9788128822261.
  18. Bibek, Debroy (2002). The holy Puranas Volume 2 of The Holy Puranas: Markandeya, Agni, Bhavishya, Brahmavaivarta, Linga, Varaha. B.R. Pub. Corp. p. 519. ISBN 9788176462969. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]