ประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม
ประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม (ภาษาอังกฤษ: History of painting) เริ่มสร้างกันมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์���ละเผยแพร่ไปในทุกวัฒนธรรมและทุกที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในโลกจนกระทั่งปัจจุบันนี้[1] จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรที่ 20 จิตรกรรมจะเป็นการเขียนศิลปะแสดงลักษณ์ (Representational art), ศิลปะศาสนา หรือศิลปะคลาสสิก หลังจากนั้นจึงมีการเริ่มเขียนจิตรกรรมที่เป็นแต่เพียงศิลปะนามธรรม (Abstract art) และต่อมาศิลป์มโนทัศน์ (Conceptual art)
การวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันตกคล้ายคลึงกับการวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันออกโดยทั่วไปในสองสามร้อยปีหลัง[2] ศิลปะแอฟริกา, ศิลปะอิสลาม, ศิลปะอินเดีย,[3] ศิลปะจีน, และศิลปะญี่ปุ่น[4] แต่ละอย่างที่กล่าวมาต่างก็มีอิทธิพลสำคัญต่อศิลปะตะวันตก และในที่สุดศิลปะก็กลับไปมีอิทธิพลต่อศิลปะตะวันออก[5]
จิตรกรรมก่อนประวัติศาสตร์
[แก้]-
“ม้า” ลาส์โกซ์, ฝรั่งเศส
-
จิตรกรรมขูดหิน (Petroglyph) ของสวีเดนในยุคสำริด
-
Pictographจากหุบเขาฮอร์สชู, ยูทาห์, ราว 1500 ก่อนคริสต์ศักราช
จิตรกรรมที่เก่าที่สุดพบที่ถ้ำโชเวท์ (Grotte Chauvet) ในประเทศฝรั่งเศสที่นักประวัติศาสตร์อ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปี เป็นภาพที่แกะและทาสารสีแดงและดำเป็นภาพม้า, แรด, สิงห์โต, ควาย, ช้างแมมมอธ, และมนุษย์ที่ส่วนใหญ่อยู่ในท่าล่าสัตว์ นอกจากฝรั่งเศสแล้วจิตรกรรมผนังถ้ำก็ยังพบทั่วโลกเช่นในที่อื่นในประเทศฝรั่งเศส, อินเดีย, สเปน, โปรตุเกส, จีน, ออสเตรเลียและอื่นๆ ความเห็นถึงสาเหตุที่เขียนและความหมายของภาพก็มีกันไปต่างๆ มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อาจจะเขียนภาพสัตว์เพื่อ “ยึด” เอาวิญญาณของสัตว์เพี่อจะได้ทำให้การล่าสัตว์ง่ายขึ้น หรืออาจจะเป็นการเขียนเพื่อสักการะธรรมชาติรอบข้าง หรืออาจจะเป็นความต้องการธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ที่ต้องการแสดงออก หรืออาจจะเป็นการเขียนเพื่อเป็นการสื่อความหมายที่มีประโยชน์ก็ได้
ในยุคหินเก่าแก่ภาพเขียนรูปมนุษย์ในถ้ำจึงแบบว่าหาดูได้ยาก ภาพเขียนส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ที่และไม่แต่สัตว์สำหรับการบริโภคแต่รวมทั้สัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่งด้วยเช่นแรด หรือ สัตว์ตระกูลเสือแมวเช่นภาพในถ้ำโชเวท์ บางครั้งก็จะมีเครื่องหมายจุด แต่ภาพมนุษย์เป็นแต่เพียงภาพพิมพ์ของมือหรือรูกึ่งสัตว์กึ่งคน ส่วนภาพเขียนในถ้ำอัลตามิรา (Cave of Altamira) ในประเทศสเปนมีอายุราวระหว่าง 14,000 ถึง 12,000 ก่อนคริสต์ศักราชมีภาพต่างๆ ที่รวมทั้งไบซอน
ในโถงวัวของลาส์โกซ์ในดอร์ดอญในฝรั่งเศสมีจิตรกรรมผนังถ้ำที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดที่เขียนระหว่าง 15,000 ถึง 10,000 ก่อนคริสต์ศักราช ความหมายของการเขียนไม่เป็นที่ทราบ ตัวถ้ำไม่ได้อยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัยของผู้วาดซึ่งอาจจะหมายถึงว่าเป็นสถานที่ที่ใช้เฉพาะฤดูในประเพณีอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์แต่ละตัวก็มีเครื่องหมายซึ่งอาจจะมีความหมายทางเวทมนตร์ สัญลักษณ์ที่คล้ายศรในลาส์โกซ์บางครั้งก็ตีความหมายกันว่าเป็นปฏิทินหรือหนังสืออัลมาแนค แต่ก็ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปอะไรได้แน่นอน[6]
งานที่สำคัญที่สุดของยุคหินกลางคือภาพการเดินทัพของนักการสงครามที่เป็นจิตรกรรมผนังหินที่ชิงเกิลเดอลาโมลา (Cingle de la Mola) ในกัสเตยอง (Castellón) ในประเทศสเปนที่เขียนราวระหว่าง 7,000 ถึง 4,000 ก่อนคริสต์ศักราช วิธีเขียนอาจจะเป็นการพ่นสารสีบนผนัง การเขียนมีลักษณะเป็นธรรมชาติแต่ก็ตกแต่งเพิ่มบ้าง รูปที่วาดมีลักษณะเป็นสามมิติแต่ทับกัน
งานศิลปะของอินเดียที่เก่าที่สุดเป็นจิตรกรรมผนังหินจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ จิตรกรรมขูดหิน (Petroglyph) ที่พบในที่ต่างๆ เช่นที่หลบหินที่บิมเบ็ตคา บางแห่งก็มีอายุเก่ากว่า 5500 ก่อนคริสต์ศักราช งานเขียนประเภทนี้ทำต่อกันมาเป็นเวลาหลายพันปี ในคริสต์ศตวรรที่ 7 เสาสลักแห่งอจันตา (Ajanta) ในรัฐมหาราษฏระในประเทศอินเดียแสดงให้เห็นถึงความงดงามของจิตรกรรมของอินเดียและสีที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นสีแดงและส้มเป็นสีที่ทำมาจากแร่ธาตุ
จิตรกรรมตะวันออก
[แก้]จิตรกรรมเอเชียใต้
[แก้]-
กลุ่มสตรีจากตอนใต้ของอินเดีย, Hindupur, ราว ค.ศ. 1540.
-
"พระกฤษณะกอดนางโคปี (หญิงเลี้ยงโค), จากหนังสือ Gîtâ-Govinda ค.ศ. 1760-1765.
-
“ร่ายรำ” (Floating Figures Dancing) จิตรกรรมฝาผนังจาก ราว ค.ศ. 850.
-
“การล่าหมูป่า” ราว ค.ศ. 1540.
-
“ล่าด้วยเหยี่ยว” (Chand Bibi Hawking) แบบ Deccan จากคริสต์ศตวรรษที่ 18
-
สตรีฟังเพลง ราว ค.ศ. 1750.
-
หนังสือ Rasamañjarî ของ Bhânudatta, ค.ศ. 1720.
-
ชิ้นส่วนจากจิตรกรรมฝาผนังสตรีกางร่ม ราว ค.ศ. 700.
-
จิตรกรรม Bahsoli เป็นภาพการถกระหว่าง Radha และ Krishna ราว ค.ศ. 1730.
-
จิตรกรรม Bahsoli ของมหาราชา Sital Dev of Mankot ในท่าสักการะ ราว ค.ศ. 1690.
-
ภาพเหมือนของชาห์อิบราฮิม อาดิลที่ 2 แห่ง Bijapur ราว ค.ศ. 1615.
-
“บัลลังก์แห่งความมั่งคั่ง” จากหนังสือ Nujûm-al-' Ulûm ค.ศ. 1570.
-
ช้างและลูกช้างออกจากโรงช้างของกษัตริย์โมกุลในคริสต์ศตวรรษที่ 17
-
“Mihrdukht ยิงธนูผ่านวงแหวน” ค.ศ. 1564-1579.
-
ภาพเหมือนของ Govardhân Chand, แบบปัญจาบ ราว ค.ศ. 1750.
-
ราวณะลักนางสีดาและประหารนกฆ่าชฏายุ, ราชา รวิ วรรมา, ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19
-
“Akbar และ Tansen ไปเยี่ยม Haridas ใน Vrindavan” แบบรัฐราชสถาน ราว ค.ศ. 1750.
-
ชายกับลูก แบบปัญจาบ ค.ศ. 1760.
-
“นางราธาจับพระกฤษณะ” แบบปัญจาบ ค.ศ. 1770.
-
“พระรามกับสีดาในป่า” แบบปัญจาบ ค.ศ. 1780.
จิตรกรรมอินเดีย
[แก้]จิตรกรรมอินเดียตามประวัติศาสตร์แล้ววิวัฒนาการมากจากการเขียนภาพบุคคลในศาสนาและพระมหากษัตริย์ จิตรกรรมอินเดียเป็นคำที่มาจากตระกูลการเขียนหลายตระกูลที่เกิดขึ้นในอนุทวีปอินเดีย จิตรกรรมแตกต่างกันไปมีตั้งแต่จิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ของถ้ำอจันต้า (Ajanta) ไปจนถึงงานที่ละเอียดละออของจุลจิตรกรรมของจิตรกรรมโมกุล และงานโลหะจากตระกูล Tanjore ส่วนจิตรกรรมจากแคว้นคันธาระ-ตักกสิลา เป็นจิตรกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากจิตรกรรมเปอร์เซียทางตะวันตก จิตรกรรมในอินเดียตะวันออกวิวัฒนาการในบริเวณตระกูลการเขียนของนาลันทาที่เป็นงานที่ได้รับอิทธิพลจากตำนานเทพอินเดีย
จิตรกรรมเอเชียตะวันออก
[แก้]-
จิตรกรรมบนเสื้อคลุมจากราชวงศ์ฮั่น (202 ก่อนคริสต์ศตวรรษ - ค.ศ. 220), จีน
-
ตุ๊กตาสาวใช้และที่ปรึกษาชายจากราชวงศ์ฮั่น (202 ก่อนคริสต์ศตวรรษ - ค.ศ. 220 AD) , จีน
-
“Luoshenfu” โดย Gu Kaizhi (ค.ศ. 344-406), จีน
-
จักรพรรดิซุนกวน ใน “Thirteen Emperors Scroll and Northern Qi Scholars Collating Classic Texts” โดย Yan Liben (ราว ค.ศ. 600-673), จีน
-
“การออกไปในฤดูใบไม้ผลิของราชสำนักราชวงศ์ถัง”, โดย Zhang Xuan คริสต์ศตวรรษที่ 8, จีน
-
“Paradise of the Buddha Amitabha” คริสต์ศตวรรษที่ 8, จีน
-
“สตรีทำไหม” ทำเลียนแบบต้นตำรับจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 โดย Zhang Xuan โดย จักรพรรดิซ่งฮุ่ยจง ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12, จีน
-
จิตรกรรม sutra จากยุคนารา คริสต์ศตวรรษที่ 8, ญี่ปุ่น
-
“สตรีเล่นเกม”, โดย Zhou Fang (ค.ศ. 730-800), จีน
-
“เล่นดนตรีกลางลาน”, คริสต์ศตวรรษที่ 10, จีน
-
“The Xiao and Xiang Rivers”, โดย Dong Yuan (ราว ค.ศ. 934-962), จีน
-
ภาพเหมือนของจักรพรรดิซ่งเสินจง (ราว ค.ศ. 1067-1085), จีน
-
“ไก่ป่าและกุหลาบ”, โดยจักรพรรดิซ่งฮุ่ยจง (ราว ค.ศ. 1100-1126), จีน
-
“ฟัง Guqin” โดยจักรพรรดิซ่งฮุ่ยจง (ค.ศ. 1100-1126), จีน
-
“เด็กเล่น”, โดย Su Han Chen, ราว ค.ศ. 1150, จีน
-
จิตรกรไม่ทราบนามจากคริสต์ศตวรรษที่ 12 ราชวงศ์ซ่ง
-
ภาพเหมือนขอ��พระเซน Wuzhun Shifan ค.ศ. 1238, จีน
-
Ma Lin ค.ศ. 1246, จีน
-
“ชายและม้าในทุ่งโล่ง”, โดย Zhao Mengfu (ค.ศ. 1254-1322), จีน
-
ภูมิทัศน์ฤดูใบไม้ร่วง โดย Sesshu Toyo (ค.ศ. 1420-1506), ญี่ปุ่น
-
“พระโพธิสัตว์แห่งความกรุณา”, โดย Kanō Motonobu (ค.ศ. 1476-1559), ญี่ปุ่น
-
“เรือ Nanban มาค้าขายที่ญี่ปุ่น” คริสต์ศตวรรษที่ 16, ญี่ปุ่น
-
ฉากภาพคนเล่นหมากล้อม โดย Kanō Eitoku (ค.ศ. 1543-1590), ญี่ปุ่น
-
“ต้นสน” ฉากหกหน้า โดย Hasegawa Tohaku (ค.ศ. 1539-1610), ญี่ปุ่น
-
“Night Revels” งานจากราชวงศ์ซ่ง สร้างจากงานเดิมของคริสต์ศตวรรษที่ 10 โดย Gu Hongzhong
-
ม้วนอักษรวิจิตรพระโพธิธรรม (ค.ศ. 1686 to 1769), ญี่ปุ่น
-
“ดอกโบตั๋น”, โดย Yun Shouping (ค.ศ. 1633-1690), จีน
-
“Genji Monogatari” โดย Tosa Mitsuoki (ค.ศ. 1617–1691), ญี่ปุ่น
-
Ike no Taiga (ค.ศ. 1723-1776), “ปลาในฤดูใบไม้ผลิ”, ญี่ปุ่น
-
“สน, ไม้ไผ่, พลัม,” ฉากหกหน้าโดย Maruyama Ōkyo (ค.ศ. 1733–1795), ญี่ปุ่น
-
A tanuki (raccoon dog) as a tea kettle, โดย Katsushika Hokusai (ค.ศ. 1760—1849), ญี่ปุ่น
-
“มังกรพ่นควันหนีจากภูเขาฟูจิ” โดย Katsushika Hokusai, ญี่ปุ่น
-
ไม่มีชื่อโดย Miyagawa Isshō, ญี่ปุ่น
-
“Two Divinities Dancing” (ค.ศ. 1837-1924), ญี่ปุ่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Art of the Western World: From Ancient Greece to Post Modernism (Paperback) by Bruce Cole, Simon and Shuster, 1981,[1] accessed 27 October 2007
- ↑ “การพบปะระหว่างศิลปะตะวันออกและศิลปะตะวันตก” ฉบับปรับปรุงและขยายความ โดยไมเคิล ซัลลิแวน
- ↑ [2] นิวยอร์กไทมส, ฮอลแลนด์ ค็อตเตอร์ , accessed 27 ตุลาคม ค.ศ. 2007]
- ↑ ญี่ปุ่น: อิทธิพลของศิลปะญี่ปุ่นต่อศิลปะตะวันตกตั้งแต่ ค.ศ. 1858 โดยซิกฟรีด วิคแมน, เทมส์และฮัดสัน; ฉบับใหม่ (19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999), ISBN-10: 0500281637, ISBN-13: 978-0500281635
- ↑ “การพบปะระหว่างศิลปะตะวันออกและศิลปะตะวันตก” ฉบับปรับปรุงและขยายความ โดยไมเคิล ซัลลิแวน, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (1 มิถุนายน ค.ศ. 1989), ISBN-10 0520059026, ISBN-13 978 0520059023
- ↑ M. Hoover, Art of the Paleolithic and Neolithic Eras]", from Art History Survey 1, San Antonio College (July 2001; accessed 11 June 2005).
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จิตรกรรม วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จิตรกรรมแบ่งตามยุค วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จิตรกรรมผนังถ้ำ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จิตรกรรมผนังหิน วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จิตรกรรมจากอินเดีย