ข้ามไปเนื้อหา

รัฐปัญจาบ

พิกัด: 30°47′N 75°50′E / 30.79°N 75.84°E / 30.79; 75.84
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐปัญจาบ
โลโกอย่างเป็นทางการของรัฐปัญจาบ
Logo
ที่มาของชื่อ: ปัญจ (ห้า) และ อาบ (น้ำ)
ที่ตั้งของปัญจาบในประเทศอินเดีย
ที่ตั้งของปัญจาบในประเทศอินเดีย
พิกัด (จัณฑีครห์): 30°47′N 75°50′E / 30.79°N 75.84°E / 30.79; 75.84
ประเทศ อินเดีย
เมืองหลวงจัณฑีครห์
เมืองใหญ่สุดลุธิอาณา
อำเภอ22 อำเภอ
การปกครอง
 • ราชยปาลวิชาเยนทรปาล สิงห์ (Vijayendrapal Singh)
 • มุกขยมนตรีกัปตันอมรินทร สิงห์ (Captain Amarinder Singh)
(พรรค INC)
 • นิติบัญญัติระบบสภาเดี่ยว (117 ที่นั่ง)
 • โลกสภาโลกสภา (13 ที่นั่ง)
ราชยสภา (7 ที่นั่ง)
 • ศาลสูงศาลสูงปัญจาบและหรยาณา††
พื้นที่
 • ทั้งหมด50,362 ตร.กม. (19,445 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 20
ความสูงจุดสูงสุด551 เมตร (1,808 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด150 เมตร (490 ฟุต)
ประชากร
 (2011)[1]
 • ทั้งหมด27,743,338 คน
 • อันดับอันดับที่ 16
 • ความหนาแน่น550 คน/ตร.กม. (1,400 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมชาวปัญจาบ (Punjabi)
จีดีพี (2018–19)[2][3]
 • รวม₹5.18ข้อผิดพลาดนิพจน์: "lc" เป็นคำที่ไม่รู้จัก
 • ต่อประชากร₹153,061
เขตเวลาUTC+05:30 (IST)
รหัส ISO 3166IN-PB
เอชดีไอ (2018)เพิ่มขึ้น 0.723 (สูง)[4] · 9th
การรู้หนังสือ (2011)76.68%
ภาษาทางการภาษาปัญจาบ[5]
เว็บไซต์punjab.gov.in
^† เมืองหลวงร่วมกับรัฐหรยาณา
††เก่นกันทั้งในปัญจาบ หรยาณา และจัณฑีครห์
สัญลักษณ์ของรัฐปัญจาบ
ตราตราสัญลักษณ์ปัญจาบ (เสาอโศก ต้นข้าว และดาบไขว้)
ภาษาภาษาปัญจาบ
การแสดงภังครา, Giddha
สัตว์แอนทิโลปอินเดีย
สัตว์ปีกNorthern goshawk[6] (Accipiter gentilis)

ปัญจาบ (ปัญจาบ: ਪੰਜਾਬ) เป็นรัฐหนึ่งในตอนเหนือของประเทศอินเดีย ติดกับรัฐชัมมูและกัศมีร์ทางตอนเหนือ, รัฐหิมาจัลประเทศทางตะวันออก, รัฐหรยาณาทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้, รัฐราชสถานทางตะวันตกเฉียงใต้ และแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถานทางตะวันตก รัฐปัญจาบครอบคลุมพื้นที่ 50,362 ตารางกิโลเมตร หรือ 1.53% พื้นที่ในประเทศอินเดีย คิดเป็นรัฐที่ใหญ่ท���่สุดเป็นอันดับที่ 20 ของประเทศ มีประชากร 27,704,236 คน (2011) คิดเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 16 ของประเทศ และประกอบด้วย 22 เขต ประชากรใช้ภาษาหลักคือภาษาปัญจาบ อันเป็นภาษาราชการของรัฐ กลุ่มชาติพันธุ์ประกอบด้วยชาวปัญจาบ และมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาซิกข์ ราว 58% ของประชากรในรัฐ เมืองหลวงของรัฐคือจัณฑีครห์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงร่วมกับรัฐหรยาณาซึ่งอยู่ติดกัน

ในอดีจบริเวณรัฐปัญจาบเป็นที่ตั้งของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ จนถึงประมาณ 1900 ปีก่อนคริสตกาล ได้ถูกรุกรานโดยอเล็กซานเดอร์มหาราช เมื่อ 330 ปีก่อนคริสตกาล และต่อมาถูกปกครองโดยพระเจ้าจันทรคุปตเมารยะ กษัตริย์ไชนะ ภายใต้คำแนะนำของปราชญ์นามว่าจาณักยะ ปัญจาบกลายมาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรคุปตะ, อาณาจักรของชาว Alchon Huns, อาณาจักรของพระเจ้าหรรษวรรธนะ แห่งอาณาจักร Pushyabhuti และอาณาจักรมองโกล ต่อมาประมาณ ค.ศ. 1000 ถูกรุกรานโดยมุสลิมและกลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสุลต่านเดลี และ อาณาจักรโมกุล ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันศาสนาซิกข์ก็ถือกำเนิดขึ้นในปัญจาบ และสมาพันธรัฐซิกข์ (Sikh Confederacy) ก็ถือกำเนิดขึ้นและเข้าปกครองบริเวณปัญจาบหลังการล่มสลายของอาณาจักรโมกุล และรวมเป็นอาณาจักรซิกข์โดยมหาราชารันจิต สิงห์ หลังการเข้ามาของบริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตนและสงครามอังกฤษ-ซิกข์ในปี 1849 จังหวัดปัญจาบของบริทิชอินเดียได้ถูกแบ่งเป็นปัญจาบตะวันตกและปัญจาบตะวันออก ตามความแตกต่างทางศาสนา ซึ่งต่อมาปัญจาบตะวันตกรวมเข้ากับประเทศมุสลิม ปากีสถาน และปัญจาบตะวันออก (ต่อมาเรียกว่า ปัญจาบของอินเดีย) ถูกรวมเข้ากับ PEPSU ก่อนจะถูกแบ่งอาณาเขตใหม่ตามภาษาพูด เป็นรัฐหรยาณา ซึ่งเป็นชนกลุ่มพูดสำเนียงหรยาณีของภาษาฮินดี, รัฐหิมาจัลประเทศซึ่งพูดภาษาปหารี และรัฐปัญจาบซึ่งพูดภาษาปัญจาบในปัจจุบัน

เศรษฐกิจของปัญจาบขับเคลื่อนด้วยเกษตรกรรมเป็นหลัก ด้วยแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์[7] อุตสาหกรรมอื่น ๆ ประกอบด้วยชิ้นส่วนทางวิทยาศาสตร์ ผลิตผลทางการเกษตร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ บริการด้านการเงิน เครื่องจักรเครื่องกล ผ้าดิบ เสื้อผ้า เครื่องจักรเย็บผ้า อุปกรณ์กีฬา แป้ง ปุ๋ย จักรยาน น้ำมันสน น้ำตาล และการท่องเที่ยว นอกจากนี้ปัญจาบมีโรงงานกลึงโลหะ (metal rolling) มากที่สุดในอินเดีย โดยเฉพาะใน "เมืองเหล็กกล้า" หรือ Mandi Gobindgarh ใน Fatehgarh Sahib district

ศัพทมูล

[แก้]

ในอดีต บริเวณนี้เรียกว่า สัปตะสินธุ (Sapta Sindhu)[8] ดินแดนในยุคพระเวท อันประกอบด้วยแม่น้ำเจ็ดสายไหลรวมกันลงมหาสมุทร[9] ชื่อสันสกฤตของบริเวณนี้เท่าที่ปรากฏในรามายณะ และมหาภารตะ คือ "ปัญจนาท" (Panchanada) อันแปลว่า ดินแดนแห่งแม่น้ำห้าสาย ซึ่งต่อมาเมื่อแปลเป็นภาษาเปอร์เซียกลายเป็นคำว่า "ปัญจาบ" (Punjab) ภายหลังการปกครองโดยชาวมุสลิม[10][11] คำว่า "ปัญจาบ" เป็นภาษาเปอร์เซียมาจากคำว่า "ปัญจ-" ที่แปลว่า ห้า และ "-าบ" ที่แปลว่า สายน้ำ ปัญจาบจึงรวมแล้วแปลว่า "แม่น้ำห้าสาย" แม่น้ำห้าสายนั้นประกอบด้วย แม่น้ำสตลุช, แม่น้ำบีอาส, แม่น้ำราวี, แม่น้ำจนาพ และ แม่น้ำเฌลัม

ชาวกรีกเรียกดินแดนตรงนี้ว่า "เพนตาโปเตเมีย" (pentapotamia) อันแปลว่า ดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่เกิดจากแม่น้ำห้าสาบ (an inland delta of five converging rivers)[12]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
อำเภอในประเทศปัญจาบและที่ตั้งสำนังานอำเภอ
มณฑลในรัฐปัญจาบ

รัฐปัญจาบประกอบ 22 อำเภอ (districts) ซึ่งแบ่งตามภูมิภาคออกเป็นภูมิภาค Majha, Malwa, Doaba และ Poadh อำเภอต่าง ๆ รวมกันเป็นมณฑล (division) จำนวน 5 มณฑล ได้แก่: ปติอะลา (Patiala), รูปนคร (Rupnagar), ชลันธร (Jalandhar), ฟารีดโกต (Faridkot) และ ฟีโรเซปุระ (Firozepur)[13] ด้านล่างนี้คือรายชื่อทั้ง 22 อำเภอแบ่งตามภูมิภาค

เมืองหลวงของรัฐคือจัณฑีครห์ และเมืองใหญ่สุดคือลุเธียนา ประชากรทั้งรัฐที่อาศัยในเขตนคร (urban) อยู่ที่ 37.48% เมืองสำคัญในรัฐนอกจากลุเธียนาแล้วได้แก่ อมฤตสระ, ชลันธร (Jalandhar), ปาเตียลา (Patiala), พถินดา (Bathinda) และ SAS-นคร (SAS Nagar)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Punjab Profile" (PDF). censusindia.gov.in. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.
  2. "MOSPI Gross State Domestic Product". Ministry of Statistics and Programme Implementation, Government of India. 1 March 2019. สืบค้นเมื่อ 9 June 2019.
  3. "STATE WISE DATA" (PDF). esopb.gov.in. Economic and Statistical Organization, Government of Punjab. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2017. สืบค้นเมื่อ 17 February 2017.
  4. "Sub-national HDI - Area Database". Global Data Lab (ภาษาอังกฤษ). Institute for Management Research, Radboud University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
  5. "Report of the Commissioner for linguistic minorities: 50th report (July 2012 to June 2013)" (PDF). Commissioner for Linguistic Minorities, Ministry of Minority Affairs, Government of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 July 2016. สืบค้นเมื่อ 4 December 2016.
  6. "State Bird is BAAZ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2014.
  7. "Punjab". Overseas Indian Facilitation Centre. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 ตุลาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2011.
  8. D. R. Bhandarkar, 1989, Some Aspects of Ancient Indian Culture: Sir WIlliam Meyers Lectures, 1938-39, Asia Educational Services, p. 2.
  9. A.S. valdiya, "River Sarasvati was a Himalayn-born river", Current Science, vol 104, no.01, ISSN 0011-3891.
  10. "Yule, Henry, Sir. Hobson-Jobson: A glossary of colloquial Anglo-Indian words and phrases, and of kindred terms, etymological, historical, geographical and discursive. New ed. edited by William Crooke, B.A. London: J. Murray, 1903". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-04.
  11. "Macdonell, Arthur Anthony. A practical Sanskrit dictionary with transliteration, accentuation, and etymological analysis throughout. London: Oxford University Press, 1929". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-04.
  12. "WHKMLA : History of West Punjab". zum.de. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2017.
  13. "Punjab District Map". Maps of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2017. สืบค้นเมื่อ 6 December 2019.