บัณฑูร ล่ำซำ
บัณฑูร ล่ำซำ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 มกราคม พ.ศ. 2496 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | อุษา จิรพงศ์ (สมรส 2531)[1] |
บุตร | สงกานดา ล่ำซำ กรพัฒน์ ล่ำซำ นาถพิชญ์ ล่ำซำ |
บุพการี | บัญชา ล่ำซำ ท่านผู้หญิงสำอางวรรณ ล่ำซำ |
อาชีพ | นักธุรกิจ |
บัณฑูร ล่ำซำ (เกิด 15 มกราคม พ.ศ. 2496) ชื่อเล่น ปั้น[2] เป็นทายาทธุรกิจตระกูลล่ำซำ ผู้เป็นบุตรของบัญชา ล่ำซำ และท่านผู้หญิงสำอางวรรณ ล่ำซำ มารดาเป็นพี่สาวต่างมารดาของหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นนัดดาในหม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล
ประวัติ
[แก้]บัณฑูร ล่ำซำเกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2496 เป็นบุตรของบัญชา และท่านผู้หญิงสำอางวรรณ ล่ำซำ (นามเดิม หม่อมราชวงศ์สำอางวรรณ เทวกุล) ซึ่งเป็นธิดาของพลตรี หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล กับหม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช มีน้องสาวสองคน บัณฑูร ล่ำซำ เป็นหลานปู่ของโชติ ล่ำซำ ผู้ก่อตั้งธนาคารกสิกรไทยในปี พ.ศ. 2488
บัณฑูร ล่ำซำ สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และ Phillip Exeter Academy สหรัฐอเมริกา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (BA in Chemical Engineering) จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน และระดับปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ (MBA) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา
หลังจบการศึกษา บัณฑูร ล่ำซำ เข้ารับราชการทหารประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม เป็นเวลา 2 ปี ก่อนที่จะเข้าทำงานที่ฝ่ายกิจการต่างประเทศ ธนาคารกสิกรไทย ในปี 2522 โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายกิจการต่างประเทศในปี 2529 จากนั้นได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบริการธนาคารในปี 2530 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ในปี 2533 ดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ในปี 2534 และดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ในปี 2535
ในปี 2537 ก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ (วิกฤติต้มยำกุ้ง) ในปี 2540 บัณฑูร ล่ำซำ เป็นบุคคลแรกที่ริเริ่มนำการรื้อปรับกระบวนการทำงาน (Reengineering) มาใช้ในธุรกิจการเงินและเป็นองค์กรแรกของประเทศไทย
บัณฑูร ล่ำซำ ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ในปี 2545 และในปีถัดมาได้ปรับภาพลักษณ์องค์กรครั้งใหญ่ โดยเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษของธนาคารจาก Thai Farmers Bank เป็น KASIKORNBANK เปลี่ยนตราสัญลักษณ์ของธนาคารและปรับรูปแบบการเขียนตัวอักษร K โดยใช้พู่กันจีน ในปี 2553 เมื่อ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เพื่อไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย บัณฑูร จึงเข้าดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ และปรับโครงสร้างการบริหารของธนาคารกสิกรไทยเป็น 4 ภูมิ (Domain) มีผู้ประสานงานภูมิ (Domain Coordinators) 4 คน ได้แก่ Business Domain, Risk Domain, Infrastructure Domain, และ Resource Domain
บัณฑูร ล่ำซำ ได้ขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการและประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย ต่อคณะกรรมการธนาคาร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563[3]
ในปี 2556 บัณฑูรได้เปิดตัวผลงานนิยายรักโรแมนติกที่เสมือนรวบรวมอัตชีวประวัติของตนเองชื่อ สิเนหามนตาแห่งลานนา เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และตำนานจังหวัดน่าน ซึ่งเขาใช้เวลาว่างในการเขียนและศึกษาค้นคว้าข้อมูลเป็นระยะเวลาร่วม 1 ปี 1 เดือน โดยทำยอดจัดพิมพ์ 3 ครั้งในช่วง 2 เดือนแรกที่ 20,000 เล่ม
บัณฑูร ล่ำซำ มีกิจกรรมยามว่างคือ เล่นดนตรีไทย เล่นแซกโซโฟน พายเรือแคนูที่แม่น้ำเจ้าพระยาในยามเย็น ที่บริเวณข้างสำนักงานใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย
หน้าที่การงานในปัจจุบัน
[แก้]- ประธานกรรมการและผู้จัดการ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- กรรมการสภากาชาดไทย
- กรรมการมูลนิธิสายใจไทย
- กรรมการสภาที่ปรึกษา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ไวยาวัจกร วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
- ไวยาวัจกร วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
- กรรมการมูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
การทำงาน
[แก้]2520-2522 รับราชการทหารประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม
2522-2530 ฝ่ายกิจการต่างประเทศ ธนาคารกสิกรไทย
2530-2533 ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบริการธนาคาร
2533-2534 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย
2534-2535 รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย
2535-2544 กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย
2541-2543 ประธานสมาคมธนาคารไทย
2545-2546 ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย
2546-2553 ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย
2553-2556 ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย
2556-2563 ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย
2563- ประธานกิตติคุณ ธนาคารกสิกรไทย
การศึกษา
[แก้]2501-2504 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
2504-2510 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
2510-2514 Phillips Exeter Academy (New Hampshire, U.S.A.)
2514-2518 ปริญญาตรี ทางวิศวกรรมเคมี (B.S.E.) (เกียรตินิยม) Princeton University, U.S.A.
2518-2520 ปริญญาโท ทางบริหารธุรกิจ (M.B.A) Harvard University, U.S.A.
2538 ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2544 ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
2546 ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2561 ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การพัฒนาชุมชน) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[5]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[7]
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]2537 นายธนาคารแห่งปี 2537 จากวารสารการเงินธนาคาร
2541 นักธนาคารแห่งปี 2541 จากนิตยสารดอกเบี้ย
2542 นักธนาคารแห่งปี 2542 จากนิตยสารดอกเบี้ย
นักการเงินแห่งปี 2542 จากวารสารการเงินธนาคาร
2543 สตาร์ ออฟ เอเชีย สาขานักการเงิน จากนิตยสารบิสซิเนส วีค
2546 Best CEO 2003 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและวารสารการเงินธนาคาร
2552 นักการเงินแห่งปี 2552 จากวารสารการเงินธนาคาร
2553 นักการธนาคารที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประเทศไทย จากนิตยสาร ดิ เอเชียน แบงก์เกอร์
2554 ผู้บริหารยอดเยี่ยมของเอเชีย จากวารสารคอร์เปอเรท กัฟเวอร์แนนซ์ เอเชีย
2555 ผู้บริหารยอดเยี่ยมของเอเชียจากวารสาร Corporate Governance Asia
Asia Best CEO (Investor Relations) จากวารสาร Corporate Governance Asia
รางวัล CEO ยอดเยี่ยมจากงาน SAA Awards for Listed Company 2012 โดยสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์
2557 รางวัล CEO ยอดเยี่ยมจากงาน SAA Awards for Listed Company 2013
Best Investor Relations by a CEO จาก IR Magazine
2558 Asia’s Best CEO (Investor Relations)
Best CEO Award
2559 The Asian Banker Leadership Achievement in Thailand Award from the Asian Banker
Asia’s Best CEO (Investor Relations) จากวารสาร Corporate Governance Asia
2561 Asia’s Best CEO (Investor Relations) จากวารสาร Corporate Governance Asia
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Thairath Newspaper. บัณฑูร ล่ำซำ (Bantoon Lamsam)". สืบค้นเมื่อ November 27, 2013.
- ↑ โลโก้ใหม่. หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน. ปีที่ 35 ฉบับที่ 12444. วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน 2555. ISSN 1686-8188. หน้า 17
- ↑ 'บัณฑูร' ไขก๊อกประธานบอร์ดกสิกรไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2008-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒, ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๓๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2496
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักธุรกิจชาวไทย
- มหาเศรษฐีชาวไทย
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- ราชสกุลเทวกุล
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
- นักการธนาคารชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- สกุลล่ำซำ
- สกุลอึ๊งภากรณ์
- นักเขียนชาวไทย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย