ข้ามไปเนื้อหา

ทะเลสาบเผวา

พิกัด: 28°12′51″N 83°56′50″E / 28.21417°N 83.94722°E / 28.21417; 83.94722
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทะเลสาบเผวา
Phewa Tal, Baidam Tal
ทะเลสาบเผวาและเงาสะท้อนของเทือกเขาอันนปูรณะ
ทะเลสาบเผวาตั้งอยู่ในประเทศเนปาล
ทะเลสาบเผวา
ทะเลสาบเผวา
ที่ตั้งกาสกิ
พิกัด28°12′51″N 83°56′50″E / 28.21417°N 83.94722°E / 28.21417; 83.94722
ชนิดของทะเลสาบน้ำจืด
ชื่อในภาษาแม่फेवा ताल (เนปาล)
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักHarpan, Adheri khola & Phirke Khola
พื้นที่รับน้ำ122.53 km2 (47.31 sq mi)
ประเทศในลุ่มน้ำเนปาล
ช่วงยาวที่สุด4 km (2.5 mi)
ช่วงกว้างที่สุด2 km (1.2 mi)
พื้นที่พื้นน้ำ5.7260 km2 (2.2 sq mi)
ความลึกโดยเฉลี่ย8.6 m (28 ft)
ความลึกสูงสุด24 m (79 ft)
ปริมาณน้ำ0.046 km3 (0.011 cu mi)
ความสูงของพื้นที่742 m (2,434 ft)
แข็งตัวไม่แข็ง
เกาะTal Barahi (तालबाराही)
เมืองโปขรา, สรัณโกฏ, กาสกิโกฏ, ธิกูรโปขรี
แผนที่

ทะเลสาบเผวา หรือ ทะเลสาบเฟวา (เนปาล: फेवा ताल, [ˈpʰewa tal]; Phewa Lake) เป็นทะเลสาบน้ำจืดในประเทศเนปาล ตั้งอยู่ทางใต้ของที่ราบสูงโปขรา กินพื้นที่ของโปขรา, บางส่วนของสราณโกฏ และ กาสกิโกฏ ทะเลสาบรับน้ำจากลำธารและมีเขื่อนควบคุมปริมาณน้ำอยู่หนึ่งจุด จึงจัดว่าทะเลสาบนี้เป็นทะเลสาบน้ำจืดกึ่งธรรมชาติ[1] ทะเลสาบเผวาถือเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในรัฐคัณฑกีประเทศ และเป็นอันดับสองของประเทศเนปาล รองจากทะเลสาบรารา[2] นอกจากนี้ยังเป็นทะเลสาบที่เป็นที่นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศเนปาล ทะเลสาบเผวาตั้งอยู่ที่ความสูง 742 เมตร (2,434 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล และกินพื้นที่ 5.7 ตารางกิโลเมตร (2.2 ตารางไมล์)[3] มีความลึกเฉลี่ยราว 8.6 เมตร (28 ฟุต) และจุดลึกสุดมีความลึก 24 เมตร (79 ฟุต)[4] ปริมาตรน้ำที่รับได้ของทะเลสาบมากสุดอยู่ที่ราว 43,000,000 ลูกบาศก์เมตร (35,000 เอเคอร์-ฟุต)[5] ห่างออกไปจากทะเลสาบ 28 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ของเทือกเขาอันนปูรณะ[6]

ทะเลสาบเป็นที่รู้จักเพราะเงาสะท้อนของเขามาฉาปูฉเร และยอดเขาอื่น ๆ ของทั้งอันนปูรณะ และ ธาวลคีรี ที่สะท้อนในทะเลสาบ[7] ใจกลางของทะเลสาบเป็นที่ตั้งของเกาะที่มีวิหารตาลพาราหี (Tal Barahi Temple) ตั้งอยู่[8]

ที่มา

[แก้]

ผลการวิเคราะห์ตะกอนในทะเลสาบพบว่าทะเลสาบมีอายุราว 12640 - 12025 ปีก่อนคริสต์กาล กระนั้น เป็นที่ยอมรับกันว่าทะเลสาบก่อตัวขึ้นในราว 13000 ปีก่อนคริสต์กาล[9]

เศรษฐกิจ

[แก้]

กิจกรรมกีฬาทางน้ำในทะเลสาบเผวาเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวของโปขรา นอกจากนี้ ชายฝั่งทางเหนือของทะเลสาบยังได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักกันในชื่อเลกซายด์ ซึ่งมีโรงแรม ภัตตาคาร และร้านนั่งดื่มสำหรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากเปิดให้บริการ[10] สายน้ำขาออกของทะเลสาบยังใช้สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยมีโรงผลิตไฟฟ้าตั้งอยู่ที่ 1.5 km (0.93 mi) ทางใต้ของทะเลสาบ[11] บางส่วนของทะเลสาบยังใช้งานเป็นพื้นที่สำหรับการเลี้ยงประมงในกระชัง[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Shrestha, P; Janauer, G. A. (2001). "Management of Aquatic Macrophyte Resource: A Case of Phewa Lake, Nepal" (PDF). Environment and Agriculture: Biodiversity, Agriculture and Pollution in South Asia. Ecological Society (ECOS): 99–107. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 2012-04-25.
  2. Aryal, Vijay (28 October – 2 November 2007). "Phewa Lake Watershed Area: A Study on the Challenges to Human Encroachment" (PDF). Proceedings of Taal 2007: The 12th World Lake Conference, Jaipur, India. International Lake Environment Committee: 2292–2299.
  3. Rai, Ash Kumar (2000). "Evaluation of natural food for planktivorous fish in Lakes Phewa, Begnas, and Rupa in Pokhara Valley, Nepal". Limnology. 1 (2): 81–89. doi:10.1007/s102010070014. S2CID 23782376.
  4. Shrestha, Purushottam (2003). "Conservation and management of Phewa Lake ecosystem, Nepal" (PDF). Aquatic Ecosystem Health and Management Society. pp. 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-08. สืบค้นเมื่อ 2012-04-25.
  5. Pokharel, Shailendra (2003). "Lessons from Nepal on Developing a Strategic Plan for the Integrated Lake Basin Management: Conservation of Phewa Lake of Pokhara, Nepal" (PDF). International Lake Environment Committee: World Lake Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-02-03. สืบค้นเมื่อ 2012-04-25.
  6. Gulia, K. S. (2007). "Himalayan Treks in Nepal". Discovering Himalaya: Tourism of Himalayan Region. Delhi, India: Isha Books. p. 63. ISBN 978-81-8205-410-3.
  7. Giri, Bikash; Chalise, Mukesh Kumar (2008). "Seasonal Diversity and Population Status of Waterbirds in Phewa Lake, Pokhara, Nepal". Journal of Wetlands Ecology. 1 (1/2): 3–7. doi:10.3126/jowe.v1i1.1568.
  8. Shrestha, Nanda R. (1997). "Pot Goes Pop on Kathmandu's Freak Street". In the Name of Development: A Reflection on Nepal. Lanham, Maryland: University Press of America. pp. 163. ISBN 0-7618-0758-6.
  9. Yoshida, M.; Konagaya, Y.; Suganuma, Y.; Ito, T.; Upreti, B.N. (2005-10-01). "Field Workshop on Geology and Natural Hazards Along the Kaligandaki Valley, Central–West Nepal Himalaya". Gondwana Research. 8 (4): 631–634. Bibcode:2005GondR...8..631Y. doi:10.1016/s1342-937x(05)71168-0. ISSN 1342-937X.
  10. Gurung, Tek B.; Wagle, Suresh K.; Bista, Jay D.; Dhakal, Ram P.; Joshi, Purushottam L.; Batajoo, Rabindra; Adhikari, Pushpa; Rai, Ash K. (2005). "Participatory fisheries management for livelihood improvement of fishers in Phewa Lake, Pokhara, Nepal". Himalayan Journal of Sciences. 3 (5). ISSN 1727-5210.
  11. Rai, Ash Kumar (2008). "Environmental Impact from River Damming for Hydroelectric Power Generation and Means of Mitigation". Hydro Nepal: Journal of Water, Energy and Environment. 1 (2): 22–25. doi:10.3126/hn.v1i0.881. ISSN 1998-5452.
  12. Pantha, M. B. (19–21 October 1994). "Sustainable Development of Inland Fisheries Under Environmental Constraints in Nepal". Regional Symposium on Sustainable Development of Inland Fisheries Under Environmental Constraints. Bangkok, Thailand: Indo-Pacific Fishery Commission, IPFC Working Party on Inland Fisheries. FAO Fisheries Report (FIRI/R512 Suppl): 129–140. ISSN 0429-9337.