ฉ่อย
ฉ่อย เป็นเพลงพื้นเมืองที่มีการแสดงท่าทาง และการร้องคล้ายกับลำตัด โดยมีผู้แสดงประกอบด้วย ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ฝ่ายละประมาณ 2-3 คน ในขณะที่พ่อเพลงแม่เพลงร้องโต้ตอบกันผู้เล่นคนอื่น ๆ จะทำหน้าที่เป็นลูกคู่ เนื้อหาที่ร้องส่วนใหญ่มีทั้งเรื่อง ทางโลก ทางธรรม ชิงชู้ และมักจะมีถ้อยคำที่มีความหมายสองแง่สองง่าม
การแสดงเพลงฉ่อยจะไม่มีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ แต่จะใช้การตบมือเป็นจังหวะแทน และสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของเพลงฉ่อยคือ ลูกคู่จะร้องรับด้วยคำว่า “เอ่ ชา เอ้ชา ชา ชาชาชา หน่อยแม่” ตัวอย่างเช่น
- (แม่เพลง) เอ่ง เงอ เงย…
- เรากันหนาเรามาพากันหนี ก็ไปมั่งไปมีมีถมไป
- เรารักกันหนอมาขึ้นหอลงโรง กุศลไม่ส่งละมันก็ต้องฉิบหาย
- เอาพระสงฆ์มาเป็นองค์ประธาน สวดเจ็ดตำนานพระก็เหนื่อยแทบตาย
- พี่มารักน้องคำหนึ่งก็พาสองคำก็พา ของฉันไม่ได้ราคาสองไพ
- ของฉันราคานะเป็นหมื่นหนอเป็นแสน ของฉันไม่ใช่แหวนหนอจะมาสวมใส่
- พี่จะเอาเงินมาดองจะเอาทองมาให้ ถ้าพี่จะเอาอีแปะจนใจน้องจะแกะให้ไม่ได้
- พ่อแม่น้องเลี้ยงน้องมายาก เขาจะกินขันหมากน้องให้ได้ (ให้ได้)
- ถ้ารักน้องจริงจะให้มาสู่ขอกะพ่อแม่ ถ้าพี่ชายมารักแลก็เฉยไป
- ถ้ารักน้องจริงก็อย่าทิ้งน้องนะ ขอให้คุณพระช่วยเป็นประธานให้
- (ลูกคู่รับ) เอ่ ชา เอ๊ ช้า ชา ฉ่า ชา นอย แม่ เอย
เพลงฉ่อยมีการแสดงอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลาง เช่น สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา
ประวัติ
[แก้]เพลงฉ่อย มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า เพลงไอ้เป๋หรือ เพลงเป๋ เนื่องจากพ่อเพลงฉ่อย ยุคแรกชื่อ ตาเป๋ มี ยายมา เป็นภรรยา เริ่มแรกเพลงฉ่อย หรือ เพลงเป๋ เป็นที่นิยมในแถบ จังหวัดฉะเชิงเทรา และ จังหวัดใกล้เคียง ประมาณก่อนยุค พ.ศ. 2437 เป็นต้นมา ส่วนครูเพลงฉ่อย ยุคแรกเริ่มก็มี ครูเปลี่ยน, ครูเป๋, ครูฉิม, ครูศรี, ครูบุญมา ���ละครูบุญมี ครูเพลงเหล่านี้มีแค่ชื่อ และ ตำนานส่วนประวัติไม่มีเลย เพลงฉ่อย นี้ปรับปรุงและดัดแปลงมาจาก เพลงโคราช, เพลงเรือ และเพลงปรบไก่ เป็นต้น ก็สาเหตุเนื่องจาก เวลาปรบมือเป็นจังหวะเพลงปรบไก่ ร้องบทไหว้ครูและเกริ่นอย่างเพลงโคราช ใช้กลอนก็ใช้คล้ายกับเพลงเรือ แต่อย่างไรเพลงฉ่อย ก็น่าจะอยู่ในยุคต้นสมัยรัชกาลที่ 5
นอกจากนี้แล้วเพลงฉ่อย ยังมีชื่ออื่นอีก "ฝ่ายเหนือ" อาจหมายถึงจังหวัดทางล่างเช่น จังหวัดอุทัยธานี, จังหวัดนครสวรรค์, จังหวัดอ่างทอง และ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น
ส่วนคำว่า "เพลงตะขาบ" (ต้นฉบับเดิมใช้ ข.ขวด) คนเพลงเก่า ๆ เรียก "เพลงวง" เพราะของเดิมยืนเป็นวง เล่นกับลานดิน เนื่องจากสมัยนั้นไม่มีเวที ดั่งกับปัจจุบันนี้ ส่วนบ้างคนก็เรียกว่า "เพลงฉ่า" เพราะเวลารับเพลง รับว่า "เอ่ชา เอ๊ช้า ชาฉ่าชา ชา หนอยแม่" เลยเรียกติดกัน จนปัจจุบันคนก็ยังเอามาร้อง เล่นกันส่วนมากเป็นท่อนนี้ ชาวโพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ก็เรียกศัพย์บัญญัติแปลก ๆ พิสดารอีกว่า "เพลงทอดมัน"
ปัจจุบัน นักแสดงเพลงฉ่อยที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ขวัญจิต ศรีประจันต์ และ สามน้า (โย่ง เชิญยิ้ม นง เชิญยิ้ม พวง เชิญยิ้ม)
เอกลักษณ์เพลงฉ่อยบางส่วน
[แก้]- การขึ้นเพลงทั่วไป จะขึ้นว่า ฉัดช่าฉัดชา ฉัดช่าฉัดฉ่า เอิงเอิงเออฉะเอิงเอ้ย
- ในการแสดงสดสามน้า ในการทอร์คโชว์อาจารย์จตุพล ชมพูนิช น้าพวง ขึ้นว่า เอ้อ เอิงเออ เอิงเออ เออเอ้อเออเหอ เอ้อเออ เอิงเงย ฉัดช่าฉัดชา ฉัดช่าฉัดฉ่า เอิงเอิงเออฉะเอิงเอ้ย
- ทางจังหวัดอุทัยธานี - จังหวัดนครสวรรค์ รับเพลงว่า เอ่ชา เอชา เอ๊ชา ชาฉ่าชา
- ส่วนทาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา - จังหวัดอ่างทอง - จังหวัดสุพรรณบุรี รับเพลงว่า เอ่ชา ชา ชาฉ่าชา
- ส่วนทางกรุงเทพมหานคร ทำนองผู้ชาย รับเพลงว่า เอ่ชา เอ๊ชา ชา ชาฉ่าชา นอยแม่ และทำนองผู้หญิง รับเพลงว่า เอ่ชา ชา ชาฉ่าชา นอยแม่
- ส่วนทางราชบุรี รับวา เอ่ชา เอชา ชาชาฉ่าชา หนอยแม่
อ้างอิง
[แก้]- สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์. โคลงพระราชพิธีทวาทศมาศ พระนิพนธ์. หน้า 96
- เอนก นาวิกมูล. "เพลงนอกศตวรรษ" ใน ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ. สำนักพิมพ์ มติชน จำกัด (มหาชน). หน้า 525