ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิโชมุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิโชมุ
聖武天皇
พระบรมสาทิสลักษณ์ของจักรพรรดิโชมุ, คริสต์ศตวรรษที่ 13
จักรพรรดิญี่���ุ่น
ครองราชย์3 มีนาคม ค.ศ. 724 – 19 สิงหาคม ค.ศ. 749
ก่อนหน้าเก็นโช
ถัดไปโคเก็ง
ประสูติ22 กันยายน ค.ศ. 701
โอบิโตะ ()
สวรรคต4 มิถุนายน ค.ศ. 756(756-06-04) (54 ปี)
นาระ ประเทศญี่ปุ่น
ฝังพระศพซาโยามะ โนะ มินามิ โนะ มิซาซางิ (佐保山南陵; นาระ)
คู่อภิเษกฟูจิวาระ โนะ อาซูกาเบะ-ฮิเมะ
พระราชบุตร
พระสมัญญานาม
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดิโชมุ (聖武天皇)
จักรพรรดิโชโฮ-คันจิง-โชมุ (勝宝感神聖武皇帝)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
อาเมชิรูชิกูนิโอชิฮารากิโตโยซากูราฮิโกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (天璽国押開豊桜彦天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิมมมุ
พระราชมารดาฟูจิวาระ โนะ มิยาโกะ
ศาสนาพุทธ

จักรพรรดิโชมุ (ญี่ปุ่น: 聖武天皇โรมาจิShōmu-tennō; 22 กันยายน ค.ศ. 701 – 4 มิถุนายน ค.ศ. 756) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 45[1] อ้างอิงจากการสืบราชสันตติวงศ์ตามประเพณี[2] รัชสมัยของจักรพรรดิโชมุทอดยาวจากปี ค.ศ. 724 ถึง 749 ระหว่างยุคนาระ[3]

จักรพรรดิโชมุนับเป็นจักรพรรดิองค์แรกที่ได้เป็น ไดโจโฮโอ (มหาธรรมราชา)

พระราชประวัติ

[แก้]

ก่อนขึ้นสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ จักรพรรดิโชมุพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ)[4] ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัด แต่พระองค์รู้จักกันในนาม โอชิ-ฮิรากิ โทโยซากูระ-ฮิโกะ-โนะ-มิโกโตะ[5]

โชมุเป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิมมมุกับฟูจิวาระ โนะ มิยาโกะ ธิดาในฟูจิวาระ โนะ ฟูฮิโตะ[6]

โชมุมีพระมเหสี 5 พระองค์และพระราชโอรสธิดารวม 6 พระองค์[7]

เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิโชมุ

[แก้]

จักรพรรดิโชมุยังทรงพระเยาว์ตอนที่พระราชบิดาสวรรคต ดังนั้น พระอัยยิกาของพระองค์ จักรพรรดินีเก็มเม และพระปิตุจฉา จักรพรรดินีเก็นโช จึงครองราชบัลลังก์ก่อนที่พระองค์จะครองราชบัลลังก์[6]

  • ค.ศ. 724 (ปีโยโรที่ 8, เดือน 1): ในปีที่ 9 ของรัชสมัยจักรพรรดินีเก็นโช (元正天皇九年) จักรพรรดินีสละราชบัลลังก์และพระราชนัดดาของพระนางได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อ หลังจากนั้นไม่นาน จักรพรรดิโชมุได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์[8]
  • 31 มกราคม ค.ศ. 724 (ปีจินกิที่ 1): เปลี่ยนชื่อศักราชเพื่อแสดงถึงการขึ้นสืบราชบัลลังก์ของจักรพรรดิโชมุ[9]
  • ค.ศ. 735–737: ไข้ทรพิษระบาดใหญ่ทั่วญี่ปุ่นมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 25% ถึง 35%[10]

จักรพรรดิโชมุยังคงประทับที่พระราชวังเฮเซ[6]

รัชสมัย

[แก้]

ปีในรัชสมัยของโชมุมีมากกว่าหนึ่งชื่อศักราชหรือ เน็งโง[11]

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา

[แก้]

พระราชพงศาวลี

[แก้]

[12]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 聖武天皇 (45)
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 57.
  3. Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 272–273; Varley, H. Paul. Jinnō Shōtōki, pp. 141–143; Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 67–73., p. 67, ที่กูเกิล หนังสือ
  4. Brown, pp. 264; prior to Emperor Jomei, the personal names of the emperors (their imina) were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
  5. Brown, p. 272; Varley, p. 141.
  6. 6.0 6.1 6.2 Varley, p. 141.
  7. Brown, p. 272.
  8. Titsingh, p. 67, p. 67, ที่กูเกิล หนังสือ; Varley, p. 44; a distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami.
  9. Titsingh, p. 67, p. 67, ที่กูเกิล หนังสือ.
  10. Farris, William Wayne (1985). Population, Disease, and Land in Early Japan, 645–900. Harvard University Asia Center. pp. 65–66. ISBN 9780674690059.
  11. Titsingh, p. 67; Brown, p. 273.
  12. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). April 30, 2010. สืบค้นเมื่อ 27 January 2018.

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Emperor Shomu