การเฝ้ายามกลางคืน
การเฝ้ายามกลางคืน | |
---|---|
ดัตช์: De Nachtwacht | |
ศิลปิน | แร็มบรันต์ |
ปี | ค.ศ. 1642 |
สื่อ | จิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ |
ขบวนการ | บารอก, จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์ |
มิติ | 363 cm × 437 cm (142.9 in × 172.0 in) |
สถานที่ | พิพิธภัณฑ์อัมสเตอร์ดัมยืมถาวรจากริกส์มิวเซียม อัมสเตอร์ดัม |
เว็บไซต์ | Amsterdam Collection online |
การเฝ้ายามกลางคืน (ดัตช์: De Nachtwacht, อังกฤษ: The Night Watch) หรือ กองทหารรักษาการณ์เขตที่สองภายใต้บังคับบัญชาของร้อยเอกฟรันส์ บันนิง โกก (Militia Company of District II under the Command of Captain Frans Banninck Cocq)[1] เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนผ้าใบที่วาดโดยแร็มบรันต์ จิตรกรชาวดัตช์ในปี ค.ศ. 1642 ภาพนี้เป็นหนึ่งในชุดสะสมของพิพิธภัณฑ์อัมสเตอร์ดัม ปัจจุบันถูกจัดแสดงที่ริกส์มิวเซียมในกรุงอัมสเตอร์ดัม
ราวปี ค.ศ. 1638–1639 แร็มบรันต์ได้รับการว่าจ้างจากฟรันส์ บันนิง โกก นายกเทศมนตรีเมืองอัมสเตอร์ดัม และทหารรักษาการณ์ 17 นายให้วาดภาพหมู่เพื่อใช้ประดับในงานเลี้ยงที่ศูนย์บัญชาการ Kloveniersdoelen เป็นเงิน 1600 กิลเดอร์[2] แร็มบรันต์วาดภาพนี้เสร็จในปี ค.ศ. 1642 การเฝ้ายามกลางคืน เป็นภาพกองทหารรักษาการณ์ นำโดยบันนิง โกก (ชุดดำ สายสะพายสีแดง) และร้อยโทวิลเลิม ฟัน เรยเตินบืร์ช (ชุดเหลือง สายสะพายสีขาว) มีขนาดเกือบเท่าคนจริง ภาพนี้ถูกจัดแสดงในโถงใหญ่ที่ Kloveniersdoelen ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่ศาลากลางของกรุงอัมสเตอร์ดัมในปี ค.ศ. 1715 และภาพถูกตัดออกบางส่วน เมื่อนโปเลียนยึดครองเนเธอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1810 ภาพถูกย้ายไปไว้ที่คฤหาสน์ Trippenhuis ซึ่งนโปเลียนมีรับสั่งให้นำกลับมาไว้ที่ศาลากลางเช่นเดิม เมื่อการยึดครองสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1813 ภาพถูกนำกลับไปไว้ที่คฤหาสน์ Trippenhuis ซึ่งต่อมากลายเป็นที่ตั้งของสถาบันศิลปะ��ละวิทยาศาสตร์เนเธอร์แลนด์ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1885 การเฝ้ายามกลางคืน ถูกนำไปจัดแสดงที่ริกส์มิวเซียมจนถึงปัจจุบัน[3]
การเฝ้ายามกลางคืน เป็นหนึ่งในผลงานของแร็มบรันต์ที่เป็นที่รู้จักดีที่สุด และเป็นหนึ่งในภาพวาดที่โดดเด่นของยุคทองของเนเธอร์แลนด์[4] มีการใช้เทคนิคที่เรียกว่า tenebrism ที่ใช้แสงเงาช่วยให้ภาพดูสมจริง พร้อมทั้งเพิ่มความเป็นนาฏกรรมและสื่ออารมณ์ได้มากยิ่งขึ้น[5] ในบรรดาบุคคล 34 คนในภาพ มีเพียง 18 คนที่มีตัวตนอยู่จริง นอกเหนือจากนั้นเป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่แร็มบรันต์ใช้อุปมาถึงกองทหาร[6]
อนึ่ง ภาพคัดลอกของ การเฝ้ายามกลางคืน โดยแคร์ริต ลันเดนส์ ที่แสดงขนาดเดิมของภาพ ถูกจัดแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Militia Company of District II under the Command of Captain Frans Banninck Cocq เก็บถาวร 2014-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at rijksmuseum.nl. The original Dutch: Schutters van wijk II onder leiding van kapitein Frans Banninck Cocq
- ↑ Stanska, Zuzanna (July 8, 2019). "15 Things You May Not Know About The Night Watch by Rembrandt". DailyArtMagazine.com. สืบค้นเมื่อ August 4, 2019.
- ↑ "Rembrandt van Rijn's The Night Watch" (PDF). Mupart. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-04. สืบค้นเมื่อ August 4, 2019.
- ↑ "Dutch Golden Age Painting". WorldAtlas.com. สืบค้นเมื่อ August 4, 2019.
- ↑ "Rembrandt van Rijn's 'The Night Watch', A Masterpiece with a Violent History". Sotheby. สืบค้นเมื่อ August 4, 2019.
- ↑ Farthing, Stephen (2016). 1001 Paintings You Must See Before You Die. London, Great Britain: Octopus Publishing Group. p. 251. ISBN 9781844039203.
- ↑ "The Company of Captain Banning Cocq ('The Nightwatch')". Nationalgallery.org.uk. สืบค้นเมื่อ 2013-02-19.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Bikker, Jonathan (2013). The Night Watch. Amsterdam: Rijksmuseum. ISBN 978-90-71450-86-0.
- Müller, Jürgen (2015). Der sokratische Künstler. Studien zu Rembrandts Nachtwache. Leiden: Brill. pp. 226–308. ISBN 978-90-04-28525-5.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การเฝ้ายามกลางคืน