การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซีย
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซีย | |
---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ สงครามรัสเซีย–เซอร์แคสเซีย | |
ภาพเขียนแสดงภาพชาวเซอร์แคสเซียกำลังอพยพออกจากหมู่บ้านในขณะที่กองทัพรัสเซียกำลังรุกคืบเข้ามา | |
ประชากรเซอร์แคสเซียที่เหลืออยู่ในเซอร์แคสเซียหลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หลังเหตุการณ์นี้ มีเพียงผู้ที่ถูกเนรเทศ ผู้ที่ซ่อนตัวอยู่ตามหนองบึงและถ้ำ และผู้ที่ตกลงกับรัสเซียได้เท่านั้นที่รอดชีวิต | |
ชื่อท้องถิ่น | เซิตซาเกฺวิน |
สถานที่ | เซอร์แคสเซียระหว่างการรุกรานของรัสเซีย |
วันที่ | ค.ศ. 1800 – คริสต์ทศวรรษ 1870 (การสังหารหมู่อย่างเป็นระบบเริ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1800 ประชากรเซอร์แคสเซียที่รอดชีวิตถูกเนรเทศไปยังจักรวรรดิออตโตมันระหว่าง ค.ศ. 1864 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1870) |
เป้าหมาย | ชาวเซอร์แคสเซีย |
ประเภท | การสังหารหมู่, การข่มขืนเชิงฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, การทรมาน, การเนรเทศ, การเดินแถวมรณะ |
ตาย | |
ผู้เสียหาย | |
ผู้ก่อเหตุ | จักรวรรดิรัสเซีย |
เหตุจูงใจ | จักรวรรดินิยม, ความเกลียดกลัวอิสลาม, การทำให้เป็นรัสเซีย, การทำให้เป็นคริสต์ศาสนิกชน, สงครามรัสเซีย–เซอร์แคสเซีย |
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซีย (อังกฤษ: Circassian genocide)[6][7] หรือ เซิตซาเกฺวิน (อูบึก: цӀыцӀэкӀун,[8][a] ออกเสียง: [tsʼətsʼakʷʼən]) คือพฤติการณ์ของจักรวรรดิรัสเซียระหว่างและหลังสงครามรัสเซีย–เซอร์แคสเซีย (ค.ศ. 1763–1864) ที่ประกอบด้วยการสังหารหมู่ การล้างชาติพันธุ์ และการขับไล่ชาวเซอร์แคสเซียร้อยละ 80–97[9][10] (ประมาณ 800,000–1,500,000 คน)[9][11][12] อย่างเป็นระบบ ถึงแม้ชาวเซอร์แคสเซียจะตกเป็นเป้าหมายหลักของการกำจัด แต่มุสลิมกลุ่มอื่น ๆ ในภูมิภาคคอเคซัสก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน[13] มีรายงานว่ากองกำลังรัสเซียใช้วิธีการต่าง ๆ นานา เช่น การทำลายพืชผลแล้วปล่อยให้อดอยาก การเผาหมู่บ้านและชาวบ้านทั้งเป็น การแทงและแหวะท้องหญิงมีครรภ์[4][14] บรรดานายพลของรัสเซีย เช่น กรีโกรี ซัสส์ เหยียดหยามชาวเซอร์แคสเซียว่าเป็น "สิ่งโสโครกที่ต่ำกว่ามนุษย์" ยกย่องการสังหารหมู่พลเรือนเซอร์แคสเซีย[4][15][16] อ้างว่าจะนำอวัยวะของผู้เสียชีวิตไปทดลองวิทยาศาสตร์[17] และอนุญาตให้ทหารใต้บังคับบัญชาของตนข่มขืนหญิงชาวเซอร์แคสเซีย[4]
ในช่วงสงครามรัสเซีย–เซอร์แคสเซีย จักรวรรดิรัสเซียใช้กลยุทธ์ล้างเผ่าพันธุ์ด้วยการสังหารหมู่พลเรือนเซอร์แคสเซีย ผู้ที่รอดพ้นไปได้คือชาวเซอร์แคสเซียส่วนน้อยที่ยอมรับการกลืนกลายเป็นรัสเซียและยอมออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่ภายในจักรวรรดิรัสเซีย ในขณะที่ชาวเซอร์แคสเซียที่เหลือถูกตีแตกกระจัดกระจายหรือไม่ก็ถูกเข่นฆ่า[18] เลโอ ตอลสตอย รายงานว่าทหารรัสเซียจะจู่โจมบ้านเรือนในเวลากลางคืน[19] วิลเลียม พอลเกรฟ นักการทูตชาวอังกฤษผู้เห็นเหตุการณ์ เสริมว่า "ความผิดเพียงอย่างเดียวของพวกเขาคือการไม่ได้เป็นชาวรัสเซีย"[20] ใน ค.ศ. 1864 ชาวเซอร์แคสเซียร่วมลงนามใน "คำร้องทุกข์จากผู้นำเซอร์แคสเซียถึงสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" เพื่อขอความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากจักรวรรดิบริติช[21][22][23] อย่างไรก็ตาม ในปีเดียวกันนั้นจักรวรรดิรัสเซียได้เริ่มการเนรเทศชาวเซอร์แคสเซียที่รอดชีวิตก่อนสงครามสิ้นสุดใน ค.ศ. 1864 และเสร็จสิ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อถึง ค.ศ. 1867[24] ชาวเซอร์แคสเซียที่ถูกเนรเทศบางคนเสียชีวิตจากโรคระบาด ความอดอยาก และความอิดโรย โดยมีรายงานว่าศพบางศพถูกสุนัขกัดกิน[20] บางคนเสียชีวิตเมื่อเรือโดยสารอับปางกลางทะเลเนื่องจากพายุ[12] หรือเนื่องจากผู้ขนส่งบรรทุกผู้โดยสารเกินพิกัดเพราะหวังผลกำไรสูงสุด[25] ชาวเซอร์แคสเซียบางคนยังต้องขายปศุสัตว์ ขายทรัพย์สิน หรือแม้กระทั่งขายตนเองไปเป็นทาสเพื่อหาเงินจ่ายค่าเดินทางอีกด้วย[26][27]
จากการคำนวณที่คำนึงถึงตัวเลขจากจดหมายเหตุของรัฐบาลรัสเซียด้วยนั้น ประมาณกันว่าประชากรเซอร์แคสเซียร้อยละ 80–97[28][29][30] ได้สูญไประหว่างกระบวนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ ผู้พลัดถิ่นส่วนใหญ่ตั้งรกรากอยู่ที่จักรวรรดิออตโตมัน[4] แหล่งข้อมูลระบุว่าชาวเซอร์แคสเซียมากถึง 1 ถึง 1.5 ล้านคนจำต้องหลบหนีออกจากบ้านเกิด แต่มีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่รอดไปขึ้นฝั่ง[1][2] จดหมายเหตุสมัยจักรวรรดิออตโตมันแสดงให้เห็นว่ามีผู้คนจากคอเคซัสเกือบ 1 ล้านคนอพยพเข้ามาในเขตจักรวรรดิเมื่อถึง ค.ศ. 1879 แต่เกือบครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้เสียชีวิตที่ชายฝั่งเนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บ[3] หากตัวเลขจากจดหมายเหตุออตโตมันนั้นถูกต้อง เหตุการณ์นี้ก็จะเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 19[31] และอันที่จริง สำมะโนประชากรรัสเซียใน ค.ศ. 1897 ก็สนับสนุนความน่าเชื่อถือของจดหมายเหตุออตโตมัน เนื่องจากสำมะโนดังกล่าวระบุว่าในเซอร์แคสเซีย (ซึ่งถูกพิชิตแล้ว) เหลือประชากรเซอร์แคสเซียเพียง 150,000 คน[32][33] ซึ่งคิดเป็นหนึ่งในสิบของจำนวนประชากรเซอร์แคสเซียดั้งเดิม
ณ ค.ศ. 2021 จอร์เจียเป็นเพียงประเทศเดียวที่รับรองว่าเกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซียขึ้น[34] ส่วนรัสเซียปฏิเสธอย่างแข็งขันว่าไม่เคยมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซีย[35][36][37] และจำแนกเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็นปรากฏการณ์ย้ายถิ่นของชาวเซอร์แคสเซีย (รัสเซีย: Черкесское мухаджирство) นักชาตินิยมรัสเซียบางส่วนในภูมิภาคคอเคซัสยังคงเฉลิมฉลองวันเริ่มการเนรเทศชาวเซอร์แคสเซีย กล่าวคือ วันที่ 21 พฤษภาคม (ตามปฏิทินเก่า) เป็น "วันพิชิตชัยอันศักดิ์สิทธิ์" ในขณะที่ชาวเซอร์แคสเซียถือเอาวันที่ 21 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันไว้อาลัยเซอร์แคสเซียเพื่อรำลึกถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[38] ในวันดังกล่าว ชาวเซอร์แคสเซียทั่วโลกจะออกมาประท้วงต่อต้านรัฐบาลรัสเซีย โดยเฉพาะในเมืองที่มีประชากรเซอร์แคสเซียจำนวนมากอย่างคัยเซรีและอัมมาน รวมถึงเมืองใหญ่อื่น ๆ อย่างอิสตันบูลเป็นต้น[39][40]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ คำนี้เป็นคำที่ชาวเซอร์แคสเซียใช้เรียกเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยมีรากศัพท์มาจากคำในภาษาอูบึกว่า tsʼətsʼa ("คน") และ kʷʼə- ("ฆ่า") เมื่อถามถึงความหมายเต็มของคำนี้ เทฟิค เอเซนช์ ผู้พูดภาษาอูบึกคนสุดท้ายของโลก ระบุว่าหมายถึง "การสังหารหมู่ที่ชั่วร้ายเสียจนมีแต่ซาตานเท่านั้นที่คิดได้"
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Karpat, Kemal H. (1985). Ottoman population 1830–1914.
- ↑ 2.0 2.1 Levene, Mark. Genocide in the Age of the Nation-State. p. 297.
- ↑ 3.0 3.1 Neumann, Karl Friedrich (1840). Russland und die Tscherkessen [Russia and the Circassians] (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Richmond 2013, back cover.
- ↑ Ahmed 2013, p. 161.
- ↑ Richmond 2013, p. [ต้องการเลขหน้า]; Shenfield 1999, p. 154; King 2008; Jones 2016, p. 109
- ↑ * "UNPO: The Circassian Genocide". unpo.org. สืบค้นเมื่อ 26 September 2020.
- Javakhishvili, Niko (20 December 2012). "Coverage of The tragedy public Thought (later half of the 19th century)". justicefornorthcaucasus.info. Tbilisi State University. สืบค้นเมื่อ 1 June 2015.
- "Postanovleniye Verkhovnogo Soveta K-BSSR ob osuzhdenii genotsida cherkesov ot 7 fevralya 1992 g. N° 977-XII-B" Постановление Верховного Совета К-БССР об осуждении геноцида черкесов от 7 февраля 1992 г. N° 977-XII-B [Decree of the Supreme Council of the K-BSSR on the condemnation of the genocide of the Circassians of February 7, 1992 N ° 977-XII-B]. elot.ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2012. สืบค้นเมื่อ 13 August 2012.
- "Postanovleniye Parlamenta Kabardino-Balkarskoy Respubliki ot 12.05.1994 № 21-P-P (ob obrashchenii v Gosdumu s voprosom priznaniya genotsida cherkesov) Nedostupnaya ssylka" Постановление Парламента Кабардино-Балкарской Республики от 12.05.1994 № 21-П-П (об обращении в Госдуму с вопросом признания геноцида черкесов) Недоступная ссылка [Decree of the Parliament of the Kabardino-Balkarian Republic of May 12, 1994 No. 21-P-P (on applying to the State Duma with the issue of recognizing the genocide of the Circassians) Unavailable link]. parlament-kbr.ru (ภาษารัสเซีย). September 2021.[ลิงก์เสีย]
- "Постановление ГС — Хасэ Республики Адыгея от 29.04.1996 № 64-1 «Об обращении к Государственной Думе Федерального Собрания Российской Федерации»" [Decree of the State Council - Khase of the Republic of Adygea dated April 29, 1996 No. 64-1 "On Appeal to the State Duma of the Federal Assembly of the Russian Federation"]. pravoteka.ru (ภาษารัสเซีย).
- ↑ "Зумысыжмэ, ущхьэхуитщ!". Жьынэпс Гъазэтэ (ภาษาคาบาร์เดีย). 20 May 2020. สืบค้นเมื่อ 12 February 2022.
- ↑ 9.0 9.1 Richmond 2013, p. [ต้องการเลขหน้า].
- ↑ Jones 2016, p. 109.
- ↑ Shenfield 1999, p. 154.
- ↑ 12.0 12.1 King 2008.
- ↑ Yemelianova, Galina (April 2014). "Islam, nationalism and state in the Muslim Caucasus". Caucasus Survey. 1 (2): 3. doi:10.1080/23761199.2014.11417291.
- ↑ Gazetesi, Aziz Üstel. "Soykırım mı; işte Çerkes soykırımı - Yazarlar - Aziz ÜSTEL" [Is it genocide; here is the Circassian genocide - Authors - Aziz ÜSTEL]. star.com.tr (ภาษาตุรกี). สืบค้นเมื่อ 26 September 2020.
- ↑ Dönmez, Yılmaz (2018-05-31). "General Zass'ın Kızının Adigeler Tarafından Kaçırılışı" [Kidnapping of General Zass's Daughter by the Adygs]. ÇERKES-FED (ภาษาตุรกี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
- ↑ Capobianco, Michael (2012). Blood on the Shore: The Circassian Genocide
- ↑ Gazetesi, Jıneps (2 September 2013). "Velyaminov, Zass ve insan kafası biriktirme hobisi" [Velyaminov, Zass and his hobby of collecting human heads]. Jıneps Gazetesi (ภาษาตุรกี). สืบค้นเมื่อ 26 September 2020.
- ↑ King 2008, p. 95.
- ↑ "Çerkesler'in Kesilen Başlarını Berlin'e Göndermişler" [They Sent the Cut Heads of Circassians to Berlin]. Haberler (ภาษาตุรกี). 29 April 2015. สืบค้นเมื่อ 4 March 2022.
- ↑ 20.0 20.1 Grassi 2018.
- ↑ Rosser-Owen 2007.
- ↑ Burnaby, Frederick (2007). On Horseback Through Asia Minor.
- ↑ Enclosed in Despatch No.3 From Sir Henry Bulwer to Earl Russell, Constantinople, April 12, 1864 (FO 881/1259)
- ↑ Kazemzadeh, Firuz (1974). "Russian penetration of the Caucasus". ใน Hunczak, Taras (บ.ก.). Russian Imperialism from Ivan the Great to the revolution. Rutgers University Press. ISBN 978-0-8135-0737-8.
- ↑ Rosser-Owen 2007, p. 24.
- ↑ Rosser-Owen 2007, pp. 23–24.
- ↑ "The Circassian Slave Trade", The Scotsman, August 30, 1864, p. 4. Cited in Rosser-Owen 2007
- ↑ Grassi 2018; Shenfield 1999, p. 154
- ↑ Richmond 2013, p. 132: "If we assume that Berzhe's middle figure of 50,000 was close to the number who survived to settle in the lowlands, then between 95 percent and 97 percent of all Circassians were killed outright, died during Evdokimov's campaign, or were deported."
- ↑ Rosser-Owen 2007, p. 16: "with one estimate showing that the indigenous population of the entire north-western Caucasus was reduced by a massive 94 percent."
- ↑ Leitzinger, Antero (October 2000). "The Circassian Genocide". The Eurasian Politician. No. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-12. สืบค้นเมื่อ 2023-05-20.
- ↑ Abzakh, Edris. "Circassian History". University of Pennsylvania, School of Arts and Sciences (1996). Retrieved 11 March 2007
- ↑ "The Circassian Genocide" เก็บถาวร 2020-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Unrepresented Nations and People Organisation (UNPO) (14 December 2004). Retrieved April 4, 2007
- ↑ Barry, Ellen (20 May 2011). "Georgia Says Russia Committed Genocide in 19th Century". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2017. สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
- ↑ "Georgia Recognizes Russian 'Genocide' Of Ethnic Circassians". Radio Free Europe. May 2011. สืบค้นเมื่อ 15 January 2021.
- ↑ "Georgia Recognizes Circassian Genocide". Eurasianet. สืบค้นเมื่อ 15 January 2021.
- ↑ Bodio, Tadeusz; Sieradzan, Przemysław J. (2012-12-15). "Źródła nacjonalizmu czerkieskiego i jego konsekwencje polityczne" [Sources of Circassian nationalism and its political consequences]. Środkowoeuropejskie Studia Polityczne (ภาษาโปแลนด์) (4): 47–74. doi:10.14746/ssp.2012.4.03. ISSN 1731-7517.
- ↑ "145th Anniversary of the Circassian Genocide and the Sochi Olympics Issue". Reuters. 22 May 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2012. สืบค้นเมื่อ 28 November 2009.
- ↑ "Çerkesler soykırım yürüyüşü yaptı" [Circassians marched on genocide]. Denizhaber (ภาษาตุรกี). May 2016. สืบค้นเมื่อ 15 January 2021.
- ↑ Kayseri, DHA (May 2017). "Çerkeslerden anma yürüyüşü" [Circassian memorial march]. Sözcü (ภาษาตุรกี). สืบค้นเมื่อ 15 January 2021.
แหล่งข้อมูล
[แก้]- Grassi, Fabio L. (2018). A new homeland: The Massacre of The Circassians, Their Exodus To The Ottoman Empire and Their Place In Modern Turkey. Aydin University International. ISBN 9781642261349.
- Jersild, Austin (2002). Orientalism and Empire: North Caucasus Mountain Peoples and the Georgian Frontier, 1845–1917. McGill-Queen's Press. ISBN 9780773523296. JSTOR j.ctt8018p. OCLC 123470225.
- Jones, Adam (2016). Genocide: A Comprehensive Introduction. Taylor & Francis. ISBN 978-1-317-53386-3 – โดยทาง Google Books.
- King, Charles (2008). The Ghost of Freedom: A History of the Caucasus. New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-517775-6.
- Rosser-Owen, Sarah A. S. Isla (1 October 2007). The First 'Circassian Exodus' to the Ottoman Empire (1858–1867), and the Ottoman Response, Based on the Accounts of Contemporary British Observers (วิทยานิพนธ์). University of London.
- Shenfield, Stephen D. (1999). "The Circassians: A Forgotten Genocide?". ใน Levene, Mark; Roberts, Penny (บ.ก.). The Massacre in History. New York: Berghahn Books. pp. 149–162. ISBN 978-1-57181-935-2.
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Ahmed, Akbar (2013). The Thistle and the Drone: How America's War on Terror Became a Global War on Tribal Islam. Washington, D.C.: Brookings Institution Press. ISBN 978-0-8157-2379-0.
- Baddeley, John F. (1908). The Russian conquest of the Caucasus. London: Longmans, Green and Co. ISBN 0-7007-0634-8. OL 3428695M.
- Richmond, Walter (2013). The Circassian Genocide. Genocide, Political Violence, Human Rights. Rutgers University Press. ISBN 978-0-8135-6069-4. สืบค้นเมื่อ 3 May 2016.
- Richmond, Walter (2008). The Northwest Caucasus: Past, Present, Future. London: Routledge. ISBN 978-1-134-00249-8.