กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด
กอง���ัญชาการ ตำรวจปราบปรามยาเสพติด Narcotics Suppression Bureau | |
---|---|
อักษรย่อ | บช.ปส. |
ข้อมูลองค์กร | |
ก่อตั้ง | 14 กุมภาพันธ์, พ.ศ. 2535 |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
โครงสร้างเขตอำนาจ | |
หน่วยงานแห่งชาติ | ประเทศไทย |
เขตอำนาจในการปฏิบัติการ | ประเทศไทย |
ลักษณะทั่วไป | |
สำนักงานใหญ่ | 88 หมู่ 3 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 |
ผู้บริหารหน่วยงาน |
|
หน่วยงานปกครอง | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
หน่วยงานในสังกัด | • 7 กองบังคับการ • 1 กองกำกับการ |
เว็บไซต์ | |
nsb |
กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (อังกฤษ: Narcotics Suppression Bureau: NSB) เป็นหน่วยงานระดับกองบัญชาการ อยู่ในส่วนสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ประวัติ
[แก้]เริ่มต้น
[แก้]ในปี พ.ศ. 2504 กรมตำรวจได้มอบหมายให้กองกำกับการ 7 กองปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เป็นหน่วยที่มีหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนและปราบปรามยาเสพติดโดยเฉพาะ จากนั้นในปี พ.ศ. 2516 กรมตำรวจได้มีคำสั่งที่ 1172/2516 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน จัดตั้งคณะกรรมการศูนย์ปราบปรามยาเสพติดให้โทษ (ศปส.ตร.) เป็นศูนย์กลางในการประสานงานและอำนวยการปราบปรามยาเสพติดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยในปีเดียวกัน กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้จัดตั้งหน่วยปราบปรามยาเสพติดนครบาล (นปส.น.) เพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร[1]
รวมหน่วยงาน
[แก้]จากนั้นในปี พ.ศ. 2533 ด้วยปัญหาด้านยาเสพติดที่มีเพิ่มมากขึ้น พงส์ สารสิน รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในขณะนั้น จึงได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยมอบให้กรมตำรวจจัดตั้งสำนักงานปราบปรามยาเสพติด กรมตำรวจ จึงได้จัดตั้ง "สำนักงานปราบปรามยาเสพติด" ขึ้นมา มีสถานะเทียบเท่ากองบัญชาการ โดยในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ครั้งที่ 3/2533 ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2533 แบ่งส่วนราชการสำนักงานปราบปรามยาเสพติดออกเป็น 4 ส่วน มีสถานะเทียบเท่ากองบังคับการ ประกอบด้วย ส่วนอำนวยการ และส่วนปราบปรามยาเสพติด 1-3 โดยพิจารณาข้าราชการไปดำรงตำแหน่งจากหน่วยงานด้านการปราบปรามยาเสพติดทั้ง 3 หน่วยงานที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาก่อนหน้านี้คือ กองกำกับการ 7 กองปราบปราม คณะกรรมการศูนย์ปราบปรามยาเสพติดให้โทษ และหน่วยปราบปรามยาเสพติดนครบาลไปปฏิบัติงาน[1]
จัดตั้งกองบัญชาการ
[แก้]ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ให้จัดตั้ง กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด จึงถือให้วันนี้ เป็นวันสถาปนากองบัญชาการ โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 ส่วน มีสถานะเทียบเท่ากองบังคับการ คือ กองบังคับการอำนวยการ กองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 1-2 และกองบังคับการสอบสวน และได้มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2539 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ให้เพิ่มกลุ่มงานวิเคราะห์ข่าว มีสถานะเทียบเท่ากองกำกับการ อยู่ภายในกองบังคับการอำนวยการ และเพิ่มฝ่ายอำนวยการ อยู่ภายในกองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 1-2[1]
ในปี พ.ศ. 2548 กรมตำรวจได้เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการ พ.ศ. 2548 แบ่งส่วนราชการภายในกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดใหม่ แบ่งเป็น 5 กองกำกับการ 1 ศูนย์การข่าว และ 1 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบไปด้วย กองบังคับการอำนวยการ กองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 1-3 กองบังคับการสอบสวน ศูนย์การข่าว และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในอีกในปี พ.ศ. 2552 ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 แบ่งเป็น 6 กองบังคับการ 1 กองกำกับการ ประกอบไปด้วย กองบังคับการอำนวยการ กองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 1-4 กองบังคับการข่าวกรองยาเสพติด และกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ และเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการประกาศกฎกระทรวงฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 กำหนดให้มีกองบังคับการสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติดเพิ่มเข้ามา ทำให้ประกอบไปด้วย 7 กองบังคับการ และ 1 กองกำกับการเหมือนในปัจจุบัน[1]
หน่วยงานในสังกัด
[แก้]กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ประกอบไปด้วย 7 กองบังคับการ กับอีก 1 กองกำกับการ มีโครงสร้างหน่วยงาน ดังนี้
กองบังคับการอำนวยการ
[แก้]ดูแลรับผิดชอบงานด้านเอกสาร งานสารบรรณ งานธุรการ และงานด้านอำนวยการต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 8 ฝ่าย ประกอบด้วย[2]
- ฝ่ายธุรการและกำลังพล
- ฝ่ายยุทธศาสตร์
- ฝ่ายส่งกำลังบำรุง
- ฝ่ายป้องกันอาชญากรรม
- ฝ่ายงบประมาณและการเงิน
- ฝ่ายกฎหมายและวินัย
- ฝ่ายกิจการต่างประเทศ
- ฝ่ายกฎหมายและวินัย
กองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 1
[แก้]มีหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สืบสวนสอบสวนคดีอาญาที่มีความเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง และคดีอาญาอื่น ๆ ที่มีโทษทางอาญาทั่วประเทศ สืบสวนสอบสวนคดีที่สืบเนื่องกับการอายัดทรัพย์หรือยึดทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด[3]
ประกอบด้วย 5 กองกำกับการ คือ
- ฝ่ายอำนวยการ
- กลุ่มงานสอบสวนและตรวจสอบทรัพย์สิน
- กองกำกับการ 1 (รับผิดชอบ พื้นที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 1, 5 และ 6)
- กองกำกับการ 2 (รับผิดชอบ พื้นที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 2, 3 และ 4)
- กองกำกับการ 3 (รับผิดชอบ พื้นที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 7, 8 และ 9)
กองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 2
[แก้]มีหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 2, 3 และ 4 สืบสวนสอบสวนคดีอาญาที่มีความเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง และคดีอาญาอื่น ๆ ที่มีโทษทางอาญาทั่วประเทศ สืบสวนสอบสวนคดีที่สืบเนื่องกับการอายัดทรัพย์หรือยึดทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ประกอบด้วย 5 กองกำกับการ คือ
- ฝ่ายอำนวยการ
- กลุ่มงานสอบสวนและตรวจสอบทรัพย์สิน
- กองกำกับการ 1 (รับผิดชอบพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 2)
- กองกำกับการ 2 (รับผิดชอบพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 3)
- กองกำกับการ 3 (รับผิดชอบพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 4)
กองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 3
[แก้]มีหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 1, 5 และ 6 สืบสวนสอบสวนคดีอาญาที่มีความเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง และคดีอาญาอื่น ๆ ที่มีโทษทางอาญาทั่วประเทศ สืบสวนสอบสวนคดีที่สืบเนื่องกับการอายัดทรัพย์หรือยึดทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด[4]
ประกอบด้วย 5 กองกำกับการ คือ
- ฝ่ายอำนวยการ
- กลุ่มงานสอบสวนและตรวจสอบทรัพย์สิน
- กองกำกับการ 1 (รับผิดชอบพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 1)
- กองกำกับการ 2 (รับผิดชอบพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 5)
- กองกำกับการ 3 (รับผิดชอบพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 6)
กองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 4
[แก้]มีหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 7, 8, 9 สืบสวนสอบสวนคดีอาญาที่มีความเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง และคดีอาญาอื่น ๆ ที่มีโทษทางอาญาทั่วประเทศ สืบสวนสอบสวนคดีที่สืบเนื่องกับการอายัดทรัพย์หรือยึดทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด[5]
ประกอบด้วย 5 กองกำกับการ คือ
- ฝ่ายอำนวยการ
- กลุ่มงานสอบสวนและตรวจสอบทรัพย์สิน
- กองกำกับการ 1 (รับผิดชอบพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 7)
- กองกำกับการ 2 (รับผิดชอบพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 8)
- กองกำกับการ 3 (รับผิดชอบพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 9)
กองบังคับการข่าวกรองยาเสพติด
[แก้]มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบพฤติการณ์บุคคล งานการข่าว รวบรวมการข่าว ตรวจสอบข้อมูลและสืบสวนหาข่าว รวมรวมข้อมูลข่าวกรองยาเสพติดในระดับยุทธการ รวมถึงงานเทคโนโลยีสารสนเทศของกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด[6]
ประกอบด้วย 1 ฝ่าย 2 กลุ่ม คือ
- ฝ่ายอำนวยการ
- กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
- กลุ่มงานการข่าว
กองบังคับการสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติด
[แก้]มีหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายพิจารณาความอาญาที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวน การปราบปรามยาเสพติดและกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้อง สืบสวนและรวบรวมข้อมูลมาประมวลผลและวิเคราะห์เกี่ยวกับการลักลอบลำเลียงยาเสพติด ผ่านบุคคลหรือยานพาหนะต้องสงสัย ทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการลำเลียงยาเสพติดเพื่อพัฒนาและจัดหาเครื่องมือพิเศษเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติด[7]
ประกอบด้วย 5 กองกำกับการ คือ
- ฝ่ายอำนวยการ
- กองกำกับการ 1 (รับผิดชอบ พื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล, ตำรวจภูธรภาค 1,ตำรวจภูธรภาค 2 และ ตำรวจภูธรภาค 7)
- กองกำกับการ 2 (รับผิดชอบ พื้นที่ ตำรวจภูธรภาค 3 และตำรวจภูธรภาค 4)
- กองกำกับการ 3 (รับผิดชอบ พื้นที่ ตำรวจภูธรภาค 5 และ ตำรวจภูธรภาค 6)
- กองกำกับการ 4 (รับผิดชอบ พื้นที่ ตำรวจภูธรภาค 8, ตำรวจภูธรภาค 9)
กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ
[แก้]มีหน้าที่ในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นต้นสังกัด โดยมีขอบข่ายภารกิจเกี่ยวข้องกับการปราบปรามยาเสพติดตั้งแต่การปราบปรามและจับกุมผู้ผลิต ผู้นำเข้ายาเสพติด ผู้ส่งออกยาเสพติด ผู้จำหน่ายยาเสพติด รวมไปถึงผู้ที่ครอบครองและขนย้ายตัวสารตั้งต้น เคมีภัณฑ์ และวัตถุดิบในการผลิตยาเสพติด ครอบคลุมไปถึงการปราบปรามเครือข่ายของยาเสพติดทั้งในประเทศและเครือข่ายระหว่างประเทศ ซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไทย[8]
ภารกิจ
[แก้]กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ถูกกำหนดให้เป็นฝ่ายอำนวยการในด้านของยุทธศาสตร์ในการวางแผนปราบปรามยาเสพติดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่ได้มอบให้ไว้กองบัญชาการ ในด้านของการปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความผิดของยาเสพติดและความผิดอื่นทางอาญา[9] การปัองกันและปราบปรามยาเสพติด มีอำนาจการปฏิบัติการทั่วราชอาณาจักรไทย รวมไปถึงการดำเนินการอายัดหรือยึดทรัพย์สินตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด[1]
นอกจากนี้กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดยังมีหน้าที่ในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานรัฐและองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ[10][9]
การสอดแนม
[แก้]กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ถูกระบุในรายงานจาก Citizen Lab ว่าเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ใช้งานระบบสอดแนมของบริษัท Circles ในการใช้ช่องว่างของโพรโทคอลการสื่อสาร[11] ในการเข้าถึงเครือข่ายโทรศัพท์ ทั้งการดักฟังสายสนทนา และการบริการสารสั้น (SMS)
มวลชนสัมพันธ์
[แก้]กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ได้รับมอบหมายจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการการศึกษาเพื่อต่อต้านการใช้ยาเสพติดในเด็กนักเรียน (โครงการแดร์ประเทศไทย Drug Abuse Resistance Education: D.A.R.E.) โดยจัดการฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่[12] และตำรวจตระเวนชายแดนที่มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการในพื้นที่[13] เพื่อเสริมสร้างทักษะในการแก้ปัญหาส่วนตัว และปัญหาสังคมที่มีความเสี่ยงที่จะเกี่ยวข้องกับการใช้ยาเสพติด แสดงให้เห็นผลกระทบของยาเสพติด และทางเลือกอื่น ๆ นอกเหนือจากการหันไปพึ่งพายาเสพติด ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวเป็นหลักสูตรของสหรัฐอเมริกาที่ถูกนำไปใช้งานและได้รับการยอมรับจากหลายประเทศทั่วโลก[14]
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
[แก้]สหประชาชาติ
[แก้]องค์การสหประชาชาติ โดยสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ได้สนับสนุนการปฏิบัติงานของกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ทั้งในส่วนของการฝึกอบรมทักษะและทฤษฎีต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่[15] และข้อมูลด้านการข่าว[16]
ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
[แก้]สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ เป็นหน่วยงานกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศรอบพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ[17] ซึ่งเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดขนาดใหญ่ โดยเฉพาะการสกัดกั้นและป้องกันการขนย้ายสารเคมีและส่วนประกอบในการผลิตยาเสพติด[18] โดยมีการทำบันทึกความเข้าใจลุ่มแม่น้ำโขงว่าด้วยการควบคุมยาเสพติด[19][20] เพื่อจัดการกับภัยคุกคามด้านยาเสพติดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน ประกอปไปด้วย จีน ลาว เมียนมาร์ ไทย กัมพูชา และเวียดนาม[19]
สหรัฐอเมริกา
[แก้]สหรัฐอเมริกาสนับสนุนการปฏิบัติงานของกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ผ่านการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติงาน โดยสถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กรุงเทพฯ (ILEA Bangkok)[21] และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่หน่วยสยบไพรี 43 ในการปฏิบัติการพิเศษ[22]กับสำนักงานปราบปรามยาเสพติดสหรัฐฯ (DEA)[23] เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด รวมไปถึงยุทธภัณฑ์ เสื้อเกราะกันกระสุน[24] และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ[25] ในการปฏิบัติการเพื่อป้องกันและปราบปรามยาเสพติดร่วมกับ DEA ประจำประเทศไทย[26] ผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านข่าวกรองกับหน่วยสืบสวนพิเศษ (SIU) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของ DEA[27][25] โดยไทยเป็น 1 ใน 15 ประเทศทั่วโลก และเป็นประเทศเดียวในทวีปเอเชียที่ได้รับการคัดเลือกให้ตั้งหน่วย SIU ในการประสานงาน[28]
อิสราเอล
[แก้]กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดได้ดำเนินการในส่วนของการป้องกันและปราบปรามปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดในแรงงานไทยที่ไปทำงานอยู่ในประเทศอิสราเอล[29] โดยร่วมมือกับรัฐบาลอิสราเอลในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน การตรวจสอบประวัติแรงงานที่เดินทางไปทำงาน[30] การตรวจสอบพัสดุที่ส่งไปยังประเทศอิสราเอลเพื่อป้องกันการลักลอบขนส่งยาเสพติด[31] และการซุกซ่อนสารเสพติดไปกับตัวระหว่างเดินทาง[10]
นอกจากนี้ประเทศอิสราเอลเคยฝึกหลักสูตรปฏิบัติการพิเศษให้กับหน่วยสยบไพรี 43 อีกด้วย[32]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "ประวัติหน่วยงาน - กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด". www.thaidrugpolice.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-09.
- ↑ "กองบังคับการอำนวยการ - กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด". www.thaidrugpolice.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-09.
- ↑ "กองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 1 - กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด". www.thaidrugpolice.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-09.
- ↑ "กองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 3 - กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด". www.thaidrugpolice.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-09.
- ↑ "กองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 4 - กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด". www.thaidrugpolice.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-09.
- ↑ "กองบังคับการข่าวกรองยาเสพติด - กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด". www.thaidrugpolice.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-09.
- ↑ "กองบังคับการสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติด - กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด". www.thaidrugpolice.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่��� 2022-05-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-09.
- ↑ "กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ - กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด". www.thaidrugpolice.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-08. สืบค้นเมื่อ 2022-05-09.
- ↑ 9.0 9.1 "Thai Police Confirm Arrest of Senior Leader of Asia-Pacific Drugs Syndicate". Benar News (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 10.0 10.1 "ตะครุบแรงงานไทยคาสุวรรณภูมิ ซุก'ไอซ์'3กก. ลอบนำไปขายอิสราเอล". www.naewna.com. 2021-04-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Citizen Lab รายงานรัฐบาลทั่วโลกที่ใช้เครื่องมือดักฟังโทรศัพท์และ SMS พบตำรวจและกองทัพบกไทยใช้งานด้วย | Blognone". www.blognone.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "สถานีตำรวจภูธรแม่สรวย จังหวัดเชียงราย". maesuai.chiangrai.police.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-08. สืบค้นเมื่อ 2022-05-09.
- ↑ "เริ่มแล้ว โครงการ D.A.R.E.ประเทศไทย ..." thainews.prd.go.th.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "รวมพลัง D.A.R.E.ทั่วประเทศ ปฏิเสธยาเสพติด เดินหน้ายุทธศาสตร์ชาติ". www.thairath.co.th. 2012-03-04.
- ↑ pearsaralee (2020-07-15). "สหประชาชาติ (UNODC) ปปส. และ D.E.A. ร่วมกัน ติดเขี้ยวเล็บให้ตำรวจภาค 5 และจนท.ที่ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในการสกัดกั้นยาเสพติดแบบเบ็ดเสร็จ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน". Chiang Mai News.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ป.ป.ส. ร่วมกับตำรวจ และหน่วยงานระหว่างประเทศ ขยายผลเครือข่ายยาเสพติด ..." thainews.prd.go.th.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Thai authorities and UNODC meet about precursor chemical trafficking in the Golden Triangle". United Nations : UNODC Regional Office for Southeast Asia and the Pacific (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Drugs and precursors". United Nations : UNODC Regional Office for Southeast Asia and the Pacific (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 19.0 19.1 "Mekong MOU on Drug control". United Nations : UNODC Regional Office for Southeast Asia and the Pacific (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "ไทยจับมือประเทศลุ่มน้ำโขง คุมเข้มยาเสพติด". bangkokbiznews. 2019-11-10.
- ↑ Abke, Tom. "Thailand curbing Golden Triangle drug trade with enforcement, rehabilitation | Indo-Pacific Defense Forum" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ กองบรรณาธิการข่าว (2018-06-01). "เรามารู้จัก อินทรี ๑ พันตำรวจเอก สหัส ใจเย็น ผกก.ปพ.บช.ปส. (หน่วย สยบไพรี)". เรื่องจริงผ่านเลนส์.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "U.S. and Thailand 2017: Partnership for Success". สถานทูตสหรัฐฯและสถานกงสุลในประเทศไทย.
- ↑ "กงสุลใหญ่ฌอน โอนีลล์ได้ร่วมกับสำนักงานปราบปรามยาเสพติดแห่งสหรัฐอเมริกา เชียงใหม่บริจาคเสื้อเกราะกันกระสุนจำนวน 50 ชุดให้กับ กองกำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 3". U.S. Consulate General Chiang Mai Thailand | Facebook.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 25.0 25.1 "รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนรัฐบาลไทยในการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติด". สถานทูตสหรัฐฯและสถานกงสุลในประเทศไทย. 2020-02-12.
- ↑ "รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนรัฐบาลไทยในการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติด". สถานทูตสหรัฐฯและสถานกงสุลในประเทศไทย. 2019-12-17.
- ↑ "สหรัฐอเมริกาและประเทศไทย – เพื่อน หุ้นส่วน และพันธมิตรในการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติด". สถานทูตสหรัฐฯและสถานกงสุลในประเทศไทย. 2020-04-10.
- ↑ "ทูตสหรัฐฯ ชื่นชมความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายหลังเยือนสามเหลี่ยมทองคำ". สถานทูตสหรัฐฯและสถานกงสุลในประเทศไทย. 2020-08-03.
- ↑ "คนงานไทยในอิสราเอลฮิตเสพยา ส่อกระทบสัมพันธ์ระหว่างประเทศ". bangkokbiznews. 2014-12-24.
- ↑ "กกจ.เข้มสกัดยาเสพติดแรงงานไปอิสราเอล". dailynews. 2017-01-30.
- ↑ "การป้องกันและปราบปรามปัญหายาเสพติดในกลุ่มแรงงานไทยในประเทศอิสราเอล". กระทรวงการต่างประเทศ.
- ↑ "Border Police give combat training for Thai police unit". The Jerusalem Post | JPost.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).