ไดโอดเปล่งแสง

(เปลี่ยนทางจาก Light-emitting diode)

ไดโอดเปล่งแสง (อังกฤษ: light-emitting diode อักษรย่อว่า LED) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำอย่างหนึ่ง จัดอยู่ในจำพวกไดโอด ที่สามารถเปล่งแสงในช่วงสเปกตรัมแคบ เมื่อถูกไบอัสทางไฟฟ้าในทิศทางไปข้างหน้า ปรากฏการณ์นี้อยู่ในรูปของ electroluminescence สีของแสงที่เปล่งออกมานั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีของวัสดุกึ่งตัวนำที่ใช้ และเปล่งแสงได้ใกล้ช่วงอัลตราไวโอเลต ช่วงแสงที่มองเห็น แล��ช่วงอินฟราเรด ผู้พัฒนาไดโอดเปล่งแสงขึ้นเป็นคนแรก คือ นิก โฮโลยัก (Nick Holonyak Jr.) แห่งบริษัทเจเนรัล อิเล็กทริก (General Electric Company) โดยได้พัฒนาไดโอดเปล่งแสงในช่วงแสงที่มองเห็น และสามารถใช้งานได้ในเชิงปฏิบัติเป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 1962 [1]

ไดโอดเปล่งแสงสีต่าง ๆ

ตัวแปรต่าง ๆ ในการเลือกใช้ LED

แก้
color (wavelength)
เป็นตัวบอกสี ซึ่งหมายถึงขนาดของความยาวคลื่นที่ LED เปล่งแสงออกมา เช่น
  • สีฟ้า จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 468nm
  • สีขาว จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 462nm
  • สีเหลือง จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 468nm
  • สีเขียว จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 565nm
  • สีแดง จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 630nm เป็นต้น
lens
เป็นตัวบอกประเภทและวัสดุที่ใช้ทำ เช่น
  1. color diffused lens
  2. water clear lens
millicandela rating
เป็นตัวบอกค่าความสว่างของแสงที่ LED เปล่งออกมา ยิ่งมีค่ามากยิ่งสว่างมาก
voltage rating
อัตราการทนความต่างศักย์ไฟฟ้า ที่ LED รับได้และไม่พัง

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-20. สืบค้นเมื่อ 2005-12-27.