สถาปัตยกรรมอิสลาม

(เปลี่ยนทางจาก Islamic architecture)

สถาปัตยกรรมอิสลาม เป็นรูปแบบทางสถาปัตยกรรมช่วงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งก่อสร้างในศาสนาอิสลาม อันเกิดจากการหลอมรวมทั้งศิลปะพื้นถิ่นและความเขื่อเข้าด้วยกัน ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมโรมัน, สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์, สถาปัตยกรรมเปอร์เซีย ซึ่งได้รับมาจากการเข้ายึดครองดินแดนต่าง ๆ ของมุสลิมระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7–8[1][2] ในโลกตะวันออกยังมีการผสมผสานกับสถาปัตยกรรมจีน สถาปัตยกรรมอินเดีย และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเอเชียอาคเนย์ ทั้งหมดล้วนหลอมรวมให้เกิดสถาปัตยกรรมรูปแบบที่มีความพิเศษและโดดเด่นนี้ขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตกแต่งพื้นผิวด้วยอักษรวิจิตรอิสลาม รูปร่างทางเรขาคณิตและลวดลายที่วิจิตร โดยทั่วไปสถาปัตยกรรมอิสลามใช้บรรยายสถาปัตยกรรมที่พบในมัสยิด สุสาน พระราชวัง และป้อมปราการ[3][4]

โถงแห่งสิงโตในพระราชวังอาลัมบรา ที่กรานาดา สเปน เป็นผลงานชิ้นเอกของสถาปัตยกรรมมัวร์

องค์ประกอบ

แก้

สวนสวรรค์

แก้

ในสถาปัตยกรรมอิสลาม สวนและน้ำเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และด้วยความวิจิตรตระการตานี้มักถูกเปรยบเทียบเป็นสวนของสวรรค์ (paradise garden) แนวคิดนี้เริ่มต้นครั้งแรกในอาณาจักรอะคีเมนิด[5]

ลานอเนกประสงค์ (เศาะหน์)

แก้
 
ลานเศาะหน์ของมัสยิดอัลก็อยรุวาน ตูนิเซีย
 
ที่อาบน้ำละหมาดของมัสยิดจักรพงษ์ กรุงเทพมหานคร

ลานแบบอิสลามดั้งเดิมเรียกว่า เศาะหน์ (อาหรับ: صَحْن)

  • ในที่พักอาศัย ลานมักต้องล้อมด้วยผนังหรือสวนเพื่อความเป็นส่วนตัว โดยทั่วไปใช้ปลูกพืชตกแต่งด้วยน้ำพุเพื่อให้อากาศเย็นลง หรือให้แสงธรรมชาติลอดเข้ามา และที่สำคัญมักปิดมิดชิด เพราะสตรีจะไม่ต้องสวมฮิญาบในเคหสถาน การปิดเพื่อสร้างความส่วนตัวนี้จึงจำเป็นมาก ในขณะเดียวกันก็ต้องผสมผสานให้มีแสงธรรมชาติและความโปร่งประกอบด้วย
  • ในศาสนสถาน (มัสยิด) เศาะหน์เป็นองค์ประกอบหลักหนึ่ง เศาะหน์มักเป็นที่ตั้งของบ่อน้ำใต้โดมที่ใช้ชำระร���างกายให้สะอาด "ที่อาบน้ำละหมาด"[6] (howz) ในประเทศที่มีอากาศร้อนมาก ๆ อาจพบการสร้างเป็นอาคารโถงแทนที่ลานได้เช่นกัน

การตกแต่ง

แก้
 
ลวดลายแบบ Girih บนกระเบื้องใน Girih at Shah-i-Zinda แห่งเมืองซามาร์กันต์ อุซเบกิสถาน

การตกแต่งแบบอิสลามประกอบด้วยลวดลายเรขาคณิตอิสลาม ลวดลายไขว้อิสลาม ลวดลายดอกไม้อย่างอะราเบสก์ (arabesque) และอักษรวิจิตรอิสลามที่ซับซ้อน ส่วนมากมักแสดงข้อความที่เกี่ยวเนื่องหรือคัดลอกมาจากอัลกุรอาน[7] ด้วยแนวคิดแบบอิสลามที่ไม่ให้บูชารูปปั้น (ขัดหลักศาสนาหรือฮะรอม) การใช้ลวดลายต่าง ๆ รวมถึงการนำคำพูดหรือข้อความมาเขียนอย่างวิจิตรนี้จึงเข้ามาแทนที่และสร้างความสวยงามให้แทน

โครงสร้างอื่น ๆ

แก้

กิบละฮ์

แก้

กิบละฮ์[6] (อาหรับ: قِبْلَة) คือทิศที่หันหน้าไปยังนครเมกกะ จากจุดใดก็ตามบนโลก ทิศกิบละฮ์จึงสำคัญมากในการกำหนดการวางทิศทางของการสร้างมัสยิดทั้งหลัง[9] เมืองอิสลามโบราณและเมียะห์รอบ จะสร้างหันหน้าไปยังทิศนี้ แต่จากการคำนวณในความเป็นจริง ล้วนไม่ได้หันไปในทิศเดียวกันเท่าไร[9] ด้วยว่าการตีความและคำนวณจากเอกสารต่าง ๆ ไม่สามารถระบุที่ตั้งของเมกกะได้อย่างชัดเจน แต่ในปัจจุบันมัสยิดส่วนมากนิยมสร้างโดยอาศัยการคำนวณและเทคโนโลยีที่แม่นยำมากขึ้น ในมัสยิดแห่งแรก ๆ บางแห่งพบการตีความทิศกิบละฮ์เป็นทิศใต้ไปโดยสิ้นเชิง โดยถือเอาว่าเป็นทิศที่มุฮัมมัดหันหน้าขณะละหมาดจากเมืองเมดินาซึ่งอยู่ทางเหนือของเมกกะ[9]

อ้างอิง

แก้
  1. Krautheimer, Richard. Early Christian and Byzantine Architecture Yale University Press Pelican History of Art, Penguin Books Ltd., 1965, p. 285.
  2. Fletcher, Banister A History of Architecture on the Comparative Method 4th Edition, London, p. 476.
  3. Copplestone, p.149
  4. "A Tour of Architecture in Islamic Cities". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-17. สืบค้นเมื่อ 2018-12-10.
  5. Xenephon (January 1998). Oeconomicus. Gutenberg Press. สืบค้นเมื่อ 11 June 2015.
  6. 6.0 6.1 6.2 คำศัพท์ที่ใช้ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน "องค์ประกอบของมัสยิด" เก็บถาวร 2016-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. Sheila R. Canby, Islamic art in detail, page 26. Harvard University Press, 2005.
  8. 8.0 8.1 Titus Burckhardt, Art of Islam, Language and Meaning: Commemorative Edition. World Wisdom. 2009. p.128
  9. 9.0 9.1 9.2 King, David (Aug 1, 1995). "The Orientation of Medieval Islamic Religious Architecture and Cities". Journal for the History of Astronomy. 26 (3): 253–274. Bibcode:1995JHA....26..253K. doi:10.1177/002182869502600305 – โดยทาง ProQuest.