เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย
(เปลี่ยนทางจาก เอเชียอาคเนย์)

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย[4] ภูมิภาคนี้เป็นภูมิภาคเดียวในทวีปเอเชียที่มีอาณาเขตบางส่วนอยู่ในซีกโลกใต้ ทั้งนี้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งเป็นสองภาคภูมิศาสตร์ ได้แก่

  1. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ รู้จักกันในชื่อ คาบสมุทรอินโดจีน และในอดีตว่า อินโดจีน ได้แก่ ประเทศกัมพูชา, ลาว, พม่า, มาเลเซียตะวันตก, ไทย และเวียดนาม
  2. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร รู้จักกันในชื่อ กลุ่มเกาะมลายู และในอดีตว่า นูซันตารา ได้แก่ หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ (อินเดีย), บรูไน, มาเลเซียตะวันออก, ติมอร์ตะวันออก, อินโดนีเซีย (ยกเว้นนิวกินีตะวันตกที่อยู่ในโอเชียเนีย), ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์[5]
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พื้นที่4,545,792 ตารางกิโลเมตร (1,755,140 ตารางไมล์)
ประชากร641,775,797 (อันดับ 3)[1]
ความหนาแน่น135.6 ต่อตารางกิโลเมตร (351 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ)9.727 ล้านล้านดอลลาร์[2]
จีดีพี (ราคาตลาด)3.317 ล้านล้านดอลลาร์ (อัตราแลกเปลี่ยน)[3]
จีดีพีต่อหัว5,017 ดอลลาร์ (อัตราแลกเปลี่ยน)[3]
เอชดีไอเพิ่มขึ้น 0.723
กลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมือง
ออสโตรเอเชียติก, ออสโตรนีเซีย, นิกริโต, โลโล-พม่า และชาวไท
เอเชียตะวันออก
ฮั่น
ศาสนาวิญญาณนิยม, พุทธ, คริสต์, ลัทธิขงจื้อ, ฮินดู, อิสลาม, ศาสนาผี, ลัทธิเต๋า และพื้นบ้านเวียดนาม
เดมะนิมชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศ
ดินแดน
ภาษา
ภาษาอื่น ๆ
เขตเวลา
โดเมนระดับบนสุด.bn, .id, .kh, .la, .mm, .my, .ph, .sg, .th, .tl, .vn
รหัสโทรศัพท์โซน 6 และ 8
เมืองใหญ่
รหัส UN M49035 – เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
142 – เอเชีย
001โลก

ภูมิภาคนี้อยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง ทั้งนี้แผ่นที่สำคัญคือแผ่นซุนดาซึ่งมีอาณาเขตอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกเว้น พม่า ภาคเหนือของไทย ทางเหนือของลาวและเวียดนาม และเกาะลูซอนของฟิลิปปินส์ เทือกเขาในพม่า ไทยและคาบสมุทรมาเลเซียเป็นส่วนหนึ่งของแนวเทือกเขาแอลป์-หิมาลัย ส่วนหมู่เกาะของฟิลิปปินส์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของวงแหวนไฟ ส่วนประเทศอินโดนีเซียเป็นจุดที่แนวเทือกเขาทั้งสองมาเจอกันจึงทำให้เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟประทุบ่อยครั้ง[6]

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร คิดเป็น 10.5% ของทวีปเอเชียและคิดเป็น 3% ของพื้นที่โลก มีประชากรรวมมากกว่า 641 ล้านคนหรือประมาณ 8.5% ของประชากรโลก ทำให้เป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามของเอเชียรองจากเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก[7] ภูมิภาคนี้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติเป็นอย่างมากโดยมีภาษากว่าร้อยภาษาตามกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ[8] ทั้งนี้ 10 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ร่วมเป็นสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นองค์กรระดับภูมิภาคที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการร่วมมือกันในภาคเศรษฐกิจ การเมือง การทหาร การศึกษาและวัฒนธรรมในหมู่สมาชิก[9]

เขตรัฐกิจ

แก้
 
เปรียบเทียบอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย:
  เอเชียเหนือ
  เอเชียกลาง
  เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
  เอเชียใต้
  เอเชียตะวันออก
  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประเทศ

แก้
ประเทศ พื้นที่
(กม.2)[3]
ประชากร
(พ.ศ. 2560)[1]
ความหนาแน่น
(/กม.2)
จีดีพี (ทั้งหมด),
ดอลลาร์สหรัฐ (2019)[3]
จีดีพี (ต่อหัว)
ดอลลาร์สหรัฐ (2019)[3]
HDI (2021 report) เมืองหลวง
  บรูไน 5,765 423,196 78 14,310,000,000 86,480 0.829 บันดาร์เซอรีเบอกาวัน
  กัมพูชา 181,035 15,762,370 85 24,733,000,000 4,322 0.593 พนมเปญ
  ติมอร์-เลสเต 14,874 1,268,671 75 2,962,000,000 6,077 0.607 ดิลี
  อินโดนีเซีย 1,904,569 261,115,456 132 1,177,568,000,000 13,969 0.705 นูซันตารา
  ลาว 236,800 6,758,353 30 17,216,000,000 8,571 0.607 เวียงจันทน์
  มาเลเซีย 329,847 31,187,265 91 422,591,000,000 32,502 0.803 กัวลาลัมเปอร์*
  พม่า 676,000 52,885,223 78 92,775,000,000 7,387 0.585 เนปยีดอ
  ฟิลิปปินส์ 343,448 103,320,222 294 435,905,000,000 9,538 0.699 มะนิลา
  สิงคโปร์ 724 5,622,455 7,671 334,713,000,000 102,027 0.939 สิงคโปร์
  ไทย 513,120 68,863,514 127 436,467,000,000 20,268 0.800 กรุงเทพมหานคร
  เวียดนาม 331,210 94,569,072 279 254,324,000,000 8,060 0.703 ฮานอย

* ฝ่ายบริหารของรัฐบาลมาเลเซียอยู่ที่เมืองปูตราจายา

ดินแดน

แก้
ดินแดน ชื่อในภาษาท้องถิ่น พื้นที่
(ตร.กม.)
ประชากร
(คน)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
เมืองหลวง
  เกาะคริสต์มาส Christmas Island 135[10] 1,402[10] 10.4 ฟลายอิงฟิชโคฟ
  หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) Cocos Islands 14[11] 596[11] 42.6 เวสต์ไอแลนด์

ดินแดนใต้ปกครองของประเทศ

แก้
ดินแดน ชื่อในภาษาท้องถิ่น พื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) เมืองเอก
  หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ अंडमान और निकोबार द्वीपसमूह 8,250 379,944[12] 46 พอร์ตแบลร์

ประวัติศาสตร์

แก้

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

แก้

มิลตัน ออสบอร์น (Milton Osborne) นักประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวออสเตรเลียแบ่งยุคสมัยไว้อย่างหลวม ๆ ดังนี้

ภูมิศาสตร์

แก้
 
ภูเขาไฟมายอน ในประเทศฟิลิปปินส์

ในทางภูมิศาสตร์ หมู่เกาะมลายูเป็นหนึ่งในบริเวณที่มีภูเขาไฟมีพลังมากที่สุดในโลก ผืนดินที่ยกตัวขึ้นในบริเวณนี้ทำให้เกิดภูเขาที่สวยงามอย่างยอดเขาปุนจักจายาที่จังหวัดปาปัวในอินโดนีเซีย ความสูงถึง 5,030 เมตร (16,024 ฟุต) บนเกาะนิวกินี อีกทั้งยังเป็นสถานที่เดียวที่สามารถพบธารน้ำแข็งได้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่บริเวณที่สูงเป็นอันดับสองอย่างยอดเขากีนาบาลูในรัฐซาบะฮ์ของมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว ซึ่งมีความสูง 4,095 เมตร (13,435 ฟุต) ภูเขาที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือยอดเขาคากาโบราซี โดยมีความสูงถึง 5,967 เมตร ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของพม่า และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย ขณะเดียวกันอินโดนีเซียนั้นถูกจัดว่าเป็นหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (จัดโดย CIA World Factbook)

ภูเขาไฟมีพลังอย่างภูเขาไฟมายอนเป็นเจ้าของสถิติกรวยไฟที่สมบูรณ์ที่สุดในโลกที่เกิดจากการปะทุตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน[14]

ทำเลที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ทางซีกโลกตะวันออกและทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย โดยทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศตะวันออกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศใต้ติดมหาสมุทรอินเดีย และทิศตะวันตกติดประเทศอินเดียและบังคลาเทศ โดยตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 10 องศาใต้ถึงละติจูดที่ 28 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 92 องศาตะวันออกถึง 141 องศาตะวันตก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนโดยแบ่งตามภูมิศาสตร์คือ ส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีป และส่วนที่เป็นหมู่เกาะ

ส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปเป็นพื้นแผ่นดินใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย และอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา บางส่วนของประเทศมาเลเซีย ส่วนที่เป็นหมู่เกาะ ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ บางส่วนของประเทศมาเลเซีย และติมอร์-เลสเต

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แบ่งมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกออกจากกัน มีช่องแคบ 4 แห่ง ได้แก่ ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา ช่องแคบลอมบอก และช่องแคบมากัสซาร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชีย และทวีปออสเตรเลีย

ภูมิประเทศ

แก้

ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ดังนี้

  • บริเวณทิวเขาและที่ราบลาดเนินตะกอนเชิงเขา ทิวเขาภายในแผ่นดินใหญ่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ แผ่กระจายออกมาจากชุมเขายูนนาน โดยมี 3 แนว ได้แก่ แนวทิศตะวันตก คือ ทิวเขาอะระกันในพม่าต่อเนื่องไปในทะเลอันดามัน เป็นภูเขาหินใหม่จึงมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แนวกลางเป็นทิวเขาด้านทิศตะวันออกของพม่าต่อเนื่องลงไปถึงภาคเหนือของไทยจนถึงภาคใต้ แนวทิศตะวันออก คือ ทิวเขาในลาวและเวียดนาม ทิวเขาตามแนวกลางและตะวันออกเป็นภูเขายุคหินกลางจึงไม่มีปรากฏการณ์อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงเหมือนแนวทิศตะวันตก
  • บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ พบอยู่สองฝั่งของแม่น้ำสายต่าง ๆ ที่ราบสำคัญได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีในพม่า ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในไทย ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงของเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม ส่วนที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่สำคัญ เช่น ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำอิรวดี เป็นต้น
  • ที่ราบชายฝั่งทะเล ได้แก่ บริเวณที่เป็นหาดทรายที่เกิดจากการทับถมของทรายจากการกระทำของคลื่นในทะเล บริเวณที่เป็นดินเลนซึ่งมักจะพบป่าไม้ เช่น ป่าโกงกาง ป่าจาก เป็นต้น พบได้ทั่วไปในทุกประเทศของภูมิภาค ยกเว้นประเทศลาวซึ่งเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ไม่มีที่ราบชายฝั่งทะเล เพราะไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเล)
  • หมู่เกาะ ส่วนใหญ่เป็นเกาะที่เกิดจากภูเขาไฟ ทั้งที่ยังมีพลังและที่ดับสนิทแล้ว ต่อเนื่องมาจากทิศตะวันตกในแผ่นดินประเทศพม่า ลงไปเป็นหมู่เกาะอันดามัน นิโคบาร์ สุมาตรา ชวา ในอินโดนีเซีย และหมู่เกาะในฟิลิปปินส์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยเกาะขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากมาย ประเทศที่มีเกาะจำนวนมาก ได้แก่ อินโดนีเซีย ซึ่งมีเกาะมากกว่า 17,000 เกาะ ประเทศฟิลิปปินส์มีเกาะประมาณ 7,000 เกาะ เนื่องจากดินในเขตภูเขาไฟจะมีความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้แถบนี้มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แม้จะต้องเสี่ยงต่อการปะทุของภูเขาไฟและแผ่นดินไหว

ภูมิอากาศ

แก้

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นหรือเขตร้อน ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะ คือ มีสภาพภูมิอากาศชุ่มชื้นในฤดูฝนและแห้งแล้งในฤดูแล้งอย่างชัดเจน และอีกลักษณะหนึ่ง คือ มีฝนตกชุ่มชื้นเกือบตลอดทั้งปี เนื่องจากภูมิภาคนี้ตั้งอยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร ดังนั้นจึงมีอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันหรือรายเดือนสูงสม่ำเสมอตลอดทั้งปี

ลักษณะภูมิอากาศที่สลับระหว่างความชุ่มชื้นในฤดูฝน และความแห้งแล้งในฤดูแล้งอย่างชัดเจน จะพบได้ในบริเวณประเทศส่วนต่อกับแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย ได้แก่ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ที่อยู่เหนือละติจูด 10 องศาเหนือขึ้นไป ในฤดูฝนจะได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ รวมทั้งพายุที่พัดมาจากทิศตะวันออก ทำให้มีฝนตกชุกในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ส่วนในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายนจะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนพัดพาเอาความแห้งแล้งเข้ามาสู่พื้นที่ ทำให้เห็นความแตกต่างของทั้งสองฤดู ในบางปีอาจมีพายุหมุนพัดเข้าสู่แผ่นดินใหญ่ทำให้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากพายุก่อน เช่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และลาว จะได้รับผลกระทบมาก ทำให้เกิดภัยน้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม

สำหรับประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวนมาก ได้แก่ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์นั้น จะได้รับอิทธิพลจากลมทะเลและพายุแบบต่าง ๆ เกือบตลอดทั้งปี จึงทำให้มีฝนตกชุก ยกเว้นบางบริเวณที่อาจจะมีอากาศแห้งแล้งได้บ้างเป็นระยะเวลาสั้น เช่น ทางตะวันออกของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย สำหรับประเทศฟิลิปปินส์พายุไต้ฝุ่นซึ่งมีทั้งความเร็วลมสูงและปริมาณน้ำฝนมาก พัดผ่านประเทศเป็นจำนวนมากกว่า 10 ลูกต่อปี ทำให้ประเทศได้รับผลกระทบที่รุนแรงเป็นประจำ

สิ่งแวดล้อม

แก้
 
มังกรโกโมโดในอุทยานแห่งชาติโกโมโด

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะภูมิอากาศแบบอบอุ่น, ร้อนชื้น และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม สัตว์ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ค่อนข้างมีความหลากหลาย, บนเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตราจะมีอุรังอุตัง, ช้างเอเชีย, สมเสร็จมลายู, กระซู่ และเสือลายเมฆบอร์เนียวก็สามารถพบได้เช่นกัน หกสปีชีส์ย่อยของหมีขอมีถิ่นอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ อย่างไรก็ตามมันเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ที่เกาะปาลาวัน

เสือสามชนิดที่มีสปีชีส์ย่อยแตกต่างกันสามารถพบได้บนเกาะสุมาตรา (เสือโคร่งสุมาตรา), ในมาเลเซียตะวันออก (เสือโคร่งมลายู), และในอินโดจีน (เสือโคร่งอินโดจีน), โดยทั้งหมดถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ถูกคุกคาม

มังกรโกโมโดเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสปีชีส์กิ้งก่า และอาศัยอยู่บนเกาะโกโมโด, เกาะรินจา, เกาะโฟลเร็ซ, และ Gili Motang ในอินโดนีเซีย

 
อินทรีฟิลิปปินส์

อินทรีฟิลิปปินส์เป็นนกประจำชาติของฟิลิปปินส์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าเป็นเหยี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก[15] และมีเฉพาะในป่าที่ฟิลิปปินส์เท่านั้น

ควายป่า และควายแคระบนเกาะที่แตกต่างกันพบได้เฉพาะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น ในทุกวันนี้ควายสามารถพบได้ทั่วไปในภูมิภาค แต่ชนิดอื่นนั้นถูกคุกคามและหายาก

กระจง สัตว์คล้ายกวางที่มีขนาดไล่เลี่ยกับแมวหรือสุนัขพันธุ์เล็กสามารถพบได้บนเกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว และเกาะปาลาวัน (ฟิลิปปินส์) ขณะที่กระทิงที่มีขนาดใหญ่กว่าควายป่าสามารถพบได้ที่อินโดจีนเป็นส่วนใหญ่

สัตว์ปีกอย่างนกยูงและนกแซงแซวอาศัยอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกอย่างอินโดนีเซีย ขณะที่หมูที่มีอวัยวะคล้ายงาสี่งาอย่างบาบิรูซ่าก็สามารถพบได้ที่อินโดนีเซียเช่นกัน ส่วนนกเงือกมักถูกส่งไปยังจีนเพราะมีจะงอยปากที่มีมูลค่าสูงเช่นเดียวกับนอของแรด ซึ่งถูกส่งไปจีนเช่นเดียวกัน

 
กลุ่มเกาะมลายูถูกผ่ากลางโดยเส้นวอลเลซ

บริเวณแนวปะการังน้ำตื้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือได้ว่าเป็นบริเวณที่มีระบบนิเวศทางทะเลหลากหลายและสมบูรณ์ที่สุดในโลก โดยเต็มไปด้วยปะการัง, ปลา, หอย และพวกหมึก ตามที่องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติได้ทำการสำรวจทะเลบริเวณราชาอัมพัตแล้วพบว่ามีความหลากหลายที่สุดในโลก และมากกว่าบริเวณอื่นอย่างสามเหลี่ยมปะการังของอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และปาปัวนิวกินี โดยบริเวณสามเหลี่ยมปะการังนี้ถือได้ว่าเป็นหัวใจของแนวปะการังทั่วโลกเลยทีเดียว ทำให้ราชาอัมพุตเป็นบริเวณที่มีแนวปะการังมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ขณะที่ปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอย่างปลาฉลามวาฬและ 6 สปีชีย์ของเต่าทะเลสามารถพบได้ในทะเลจีนใต้ และดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิกของฟิลิปปินส์

พืชในภูมิภาคนี้เป็นแบบพืชเขตร้อน ในบางประเทศที่มีภูเขาสูงพอสามารถพบพรรณไม้ต่าง ๆ ที่สมบูรณ์ ซึ่งพื้นที่ป่าหนาทึบในเขตร้อนซึ่งมีฝนตกมากเหล่านี้กำลังเผชิญกับปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า โดยเฉพาะบนเกาะบอร์เนียว

ขณะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อุดมไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ท้องถิ่นก็ต้องเผชิญกับปัญหาการทำลายป่าอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้ที่อยู่อาศัยของสัตว์ถูกทำลายจนใกล้สูญพันธุ์เช่นอุรังอุตังและเสือโคร่งสุมาตรา คาดกันว่าสัตว์และพรรณไม้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 40% มีจำนวนลดลงในศตวรรษที่ 21[16] ในขณะเดียวกันเมฆหมอกเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ โดยมีความรุนแรงมากที่สุดในปี 1997 และ 2006 ซึ่งทั้งสองครั้งมีหลายประเทศได้รับผลกระทบจากหมอกที่หนาทึบที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาป่าในอินโดนีเซีย จนกระทั่งมีหลายประเทศร่วมลงนามในความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน โดยมีวัตถุประสงค์ในการลดมลหมอกพิษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เศรษฐกิจ

แก้

ประชากร

แก้
 
แผนภูมิแสดงสัดส่วนของประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่ประมาณ 4,000,000 ตารางกิโลเมตร (1.6 ล้านตารางไมล์) มีประชากรมากกว่า 628 ล้านคนในปี พ.ศ. 2558 โดยกว่าหนึ่งในห้า (125 ล้านคน) อยู่บนเกาะชวาของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่มีความหนาแน่นที่สุดในโลก ด้วยความที่ประเทศอินโดนีเซียมีประชากรถึง 230 ล้านคน ทำให้เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ���อเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนาที่จะแตกต่างไปในแต่ละประเทศ มีชาวจีนโพ้นทะเล 30 ล้านคน อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ โดยที่เด่นชัดที่สุดคือที่เกาะคริสต์มาส, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย และไทย รวมถึงชาวฮั้วในเวียดนาม

กลุ่มชาติพันธุ์

แก้
 
เด็กหญิงชาวอาติ

ในช่วงหลังชาวชวาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยจำนวนที่มากกว่า 86 ล้านคน โดยส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนที่พม่าจะมีชาวพม่าอาศัยอยู่มากกว่าสองในสามของประชากรทั้งหมด ขณะที่ชาวไทยและเวียดนามก็จะมีจำนวนราวสี่ในห้าของประเทศเหล่านั้น อินโดนีเซียนั้นถูกปกครองโดยชาวชวาและชาวซุนดา ขณะที่มาเลเซียจะมีชาวมลายูและชาวจีนในสัดส่วนที่ไล่เลี่ยกัน ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ที่สำคัญในฟิลิปปินส์ได้แก่ ชาวตากาล็อก, ชาวซีบัวโน, ชาวอีโลกาโน, และชาวฮิลิกายนอน

ศาสนา

แก้
 
ชาวไทยพุทธในจังหวัดเชียงใหม่

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยจำนวนประมาณที่มากถึง 240 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 40% ของประชากรทั้งหมด โดยส่วนมากจะอยู่ที่บรูไน, อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางศาสนา โดยศาสนาพุทธมีผู้นับถือเป็นจำนวนมากในไทย, กัมพูชา, ลาว, พม่า, เวียดนาม และสิงคโปร์ ลัทธิบูชาบรรพบุรุษและลัทธิขงจื๊อก็มีผู้นับถือมากในเวียดนามและสิงคโปร์ ส่วนศาสนาคริสต์ก็เป็นที่นิยมในฟิลิปปินส์, ภาคตะวันออกของอินโดนีเซีย, มาเลเซียตะวันออก และติมอร์-เลสเต โดยฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกมากที่สุดในเอเชีย ส่วนติมอร์-เลสเตก็นับถือนิกายโรมันคาทอลิกเช่นกัน เนื่องจากเคยตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสมาก่อน

ศาสนาเป็นสิ่งที่หลากหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไม่มีประเทศใดเลยที่มีผู้นับถือศาสนาเดียวกันทั้งหมด โดยประเทศที่มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลกอย่างอินโดนีเซียก็สามารถพบชาวฮินดูได้มากมายที่บาหลี โดยชาวฮินดูนั้นกระจายอยู่ทั่วภูมิภาคทั้งในสิงคโปร์, มาเลเซีย และประเทศอื่น ครุฑที่ว่ากันว่าเป็นพญาแห่งนก และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ก็เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของทั้งไทยและอินโดนีเซีย, ในฟิลิปปินส์สามารถพบรูปหล่อครุฑได้ที่ปาลาวัน, รูปหล่อเทพเจ้าฮินดูองค์อื่นก็สามารถพบได้ที่มินดาเนา สำหรับชาวฮินดูในบาหลีนั้นค่อนข้างแตกต่างจากชาวฮินดูแห่งอื่น โดยมีวัฒนธรรมในแบบของตนเองและมีความเชื่อเรื่องวิญญาณ ส่วนชาวคริสต์นั้นสามารถพบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยส่วนมากจะอยู่ที่ติมอร์-เลสเตและฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นชาติที่มีชาวคริสต์มากที่สุดในเอเชีย นอกจากนี้ยังมีชนเผ่าโบราณที่รัฐซาราวักในมาเลเซียตะวันออก และปาปัวที่ภาคตะวันออกของอินโดนีเซีย ในพม่ามีการบูชาพระอินทร์ในแบบที่เรียกว่า นัต ส่วนที่เวียดนามนั้นส่วนใหญ่จะเป็นศาสนาพุทธนิกายมหายาน ซึ่งเชื่อเรื่องวิญญาณ ยกเว้นเรื่องการบูชาความตาย

ประเทศ ศาสนา
  หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ พราหมณ์-ฮินดู (ุ69%), พุทธ, คริสต์, ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, อิสลาม, ซิกข์
  บรูไน อิสลาม (67%), พุทธ, คริสต์, อื่น ๆ
  พม่า พุทธ (89%), อิสลาม, คริสต์, พราหมณ์-ฮินดู, ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, อื่น ๆ
  กัมพูชา พุทธ (97%), อิสลาม, คริสต์, ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, อื่น ๆ
  เกาะคริสต์มาส พุทธ (75%), อิสลาม, คริสต์
  หมู่เกาะโคโคส อิสลาม (80%), อื่น ๆ
  ติมอร์-เลสเต คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (97%), อิสลาม, คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, พุทธ, พราหมณ์-ฮินดู
  อินโดนีเซีย อิสลาม (87.18%), คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก, พราหมณ์-ฮินดู, พุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, อื่น ๆ[17]
  ลาว พุทธ (67%), ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, คริสต์, อื่น ๆ
  มาเลเซีย อิสลาม (60.4%), พุทธ, คริสต์, พราหมณ์-ฮินดู, ความเชื่อเรื่องวิญญาณ
  ฟิลิปปินส์ คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (80%), อิสลาม (11%), Iglesia ni Cristo (3%), พุทธ (2%), ความเชื่อเรื่องวิญญาณ (1.25%), อื่น ๆ (0.35%)
  สิงคโปร์ พุทธ, คริสต์, อิสลาม, ลัทธิเต๋า, พราหมณ์-ฮินดู, อื่น ๆ
  ไทย พุทธนิกายเถรวาท (93.83%), อิสลาม (4.56%), คริสต์ (0.8%), พราหมณ์-ฮินดู (0.011%), อื่น ๆ (0.079%)
  เวียดนาม พื้นเมือง (45.3%), พุทธ (16.4%), คริสต์ (8.2%), อื่น ๆ (0.4%), ไม่จำกัดศาสนา

ภาษา

แก้

ภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นแตกต่างกันไปตามอิทธิพลของสิ่งต่าง ๆ ได้แก่ การค้า, การย้ายถิ่นฐาน, และการเคยตกเป็นอาณานิคมในอดีต

การใช้ภาษาในแต่ละประเทศ มีดังนี้: (ภาษาทางการจะถูกจัดเป็น ตัวหนา)

ประเทศ ภาษา
  บรูไน มลายู, อังกฤษ, จีน, ภาษาชนพื้นเมืองบอร์เนียว[18]
  พม่า พม่า, ไทใหญ่, กะเหรี่ยง, ยะไข่, กะชีน, ชีน, มอญ, และภาษาพื้นเมืองอื่น ๆ
  กัมพูชา เขมร, ไทย, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนาม, จาม, จีน, และอื่น ๆ [19]
  เกาะคริสต์มาส อังกฤษ, จีน, มลายู[20]
  หมู่เกาะโคโคส อังกฤษ, มลายูโคโคส[21]
  ติมอร์-เลสเต เตตุน, โปรตุเกส, อินโด, อังกฤษ, Mambae, Makasae, Tukudede, Bunak, Galoli, Kemak, Fataluku, Baikeno, และอื่น ๆ [22]
  อินโดนีเซีย อินโด, ชวา, ซุนดา, มลายู, จีนฮกเกี้ยน, จีนกลาง, จีนฮากกา, จีนมินนาน, จีนกวางตุ้ง, อาเจะฮ์, บาตัก, Minang, Banjarese, ซาซะก์, เตตุน, Dayak, Minahasa, Toraja, บูกิส, Halmahera, Ambonese, Ceramese, Bare'e, ดัตช์, อังกฤษ, ปาปวน, และอื่น ๆ [23]
  ลาว ลาว, ไทย, เวียดนาม, ม้ง, Miao, เมี้ยน, Dao, ไทใหญ่, ฝรั่งเศส, อังกฤษ และอื่น ๆ [24]
  มาเลเซีย มลายู, อังกฤษ, จีนฮกเกี้ยน, จีนกลาง, ทมิฬ, จีนฮากกา, จีนกวางตุ้ง, จีนมินนาน, อินเดีย, ไทย, Iban, Kadazan, Banjarese, ชวา และอื่น ๆ [25]
  ฟิลิปปินส์ ฟิลิปีโน, อังกฤษ, สเปน, อารบิก, [26] ตากาล็อก, เซบัวโน (โบโฮล), ฮีลีไกโนน, อีโลกาโน, ฮีลีไกโนน, กาปัมปางัน, บีโคล, วาไร, ปังกาซีนัน, ชาบากาโน, อักลัน, อาซี (บันตัวนอน), Bangon, คาปิซ, อีบานัก, Itawis, Bangon, บีโคล (อัลเบย์), Bicolano (Bulan, Gubat, Irosin, Matnog, Sta Magdalena, Bulusan), Biko (Buhi), Bikol Central, Bisaya/Binisaya, Daraga/East Miraya Bikol, Oasnon/West Miraya Bikol, Bicolano (Iriga) Capiznon, เซบัวโน, Caviteño Chabacano Ternateño Chabacano, Zamboangueño Chavacano, Castellano, Abakay Chavacano, Cotabateñ Chavacano, Ermiteño Chabacano, Ilocano (Abagatan), Hiligaynon, Jama Mapun, Kapampangan, Kinaray-a, Manobo (Obo), Maranao, Pangasinan, Romlomanon (Ini), Sambal (Botolan), Sambal (Sambal), Sangil, Sinama, Surigaonon, Sorsoganon, Tayabas Tagalog, Tausug, Waray-Waray, Yakan[27] Philippines has more than a hundred languages and dialects.
  สิงคโปร์ อังกฤษ, จีนกลาง, มลายู, ทมิฬ, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว, กวางตุ้งมาตรฐาน, จีนแคะ, จีนสำเนียงเซี่ยงไฮ้, ภาษาอินเดียอื่น ๆ , อาหรับสำเนียงต่าง ๆ, และอื่น ๆ
  ไทย ไทย, ไทยถิ่นเหนือ, ไทยถิ่นอีสาน, ไทยถิ่นใต้, จีนแต้จิ๋ว, จีนหมิ่นหนาน, ฮักกา, กวางตุ้ง, อังกฤษ, มลายู, ลาว, เขมร, อีสาน, ไท, ลื้อ, ผู้ไทย, มอญ, พม่า, ชาวเขา, และอื่น ๆ [28]
  เวียดนาม เวียดนาม, อังกฤษ, จีนหมิ่นหนาน, ฝรั่งเศส, ไทย, เขมร, mountain-area languages (มอญ–เขมร, มาลาโย-โพลีเนเซีย และ ม้ง) [29]

นคร

แก้
 
จาการ์ตา
กรุงเทพมหานคร
นครโฮจิมินห์
ฮานอย
สิงคโปร์
ย่างกุ้ง
ซูราบายา
เกซอนซิตี
เมดัน
ไฮฟอง
มะนิลา
นครดาเบา
ปาเล็มบัง
กัวลาลัมเปอร์
มากัซซาร์
พนมเปญ
เกิ่นเทอ
มัณฑะเลย์
บาตัม
เปอกันบารู
โบโกร์
ดานัง
บันดาร์ลัมปุง
นครเซบู
ปาดัง
นครซัมบวงกา
เด็นปาซาร์
มาลัง
ซามารินดา
ปีนัง
ตาซิกมาลายา
คากายันเดโอโร
บันจาร์มาซิน
อีโปะฮ์
บาลิกปาปัน
เฮเนรัลซันโตส
บาโคโลด
เนปยีดอ
เวียงจันทน์
ญาจาง
เชียงใหม่
ทัญฮว้า
จัมบี
ปนตียานัก
นครที่มีประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (500,000+ คน)

วัฒนธรรม

แก้
 
นาข้าวบานัวในประเทศฟิลิปปินส์

วัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก บนแผ่นดินใหญ่จะมีการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมอินเดียและจีน ส่วนอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และสิงคโปร์นั้นประกอบด้วยวัฒนธรรมอาหรับ, โปรตุเกส, สเปน, จีน, อินเดีย และวัฒนธรรมพื้นเมืองมลายู ส่วนบรูไนจะค่อนข้างแตกต่างจากประเทศอื่น เพราะได้รับอิทธิพลมากมายจากวัฒนธรรมอาหรับ

ในภูมิภาคนี้มีการทำนาข้าวมาแล้วนับพันปี เช่น นาข้าวบานัวที่เกาะลูซอน โดยนาข้าวต้องใช้ความมุมานะในการดูแลรักษาเป็นอย่างมาก และสามารถเข้ากับสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมได้เป็นอย่างดี

บ้านยกบนเสาสูงสามารถหาได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ไทยและลาว, เกาะบอร์เนียว, เกาะลูซอนในฟิลิปปินส์, ไปจนถึงปาปัวนิวกินี โดยมีเทคนิกในการสร้างไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย รวมไปถึงด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ เช่น กริช และเครื่องดนตรี เช่น ระนาด

อิทธิพล

แก้

วัฒนธรรมในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนและอินเดีย โดยเวียดนามเป็นประเทศที่ได้รับอิทธิพลจีนชัดเจนที่สุด ส่วนวัฒนธรรมตะวันตกนั้นมีมากที่สุดที่ฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือมีการใช้กฎหมายแบบสเปนและอเมริกัน

ด้วยความที่จีนมีอิทธิพลต่อเวียดนามมาเป็นเวลานาน เวียดนามจึงถูกจัดอยู่ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกด้วย ธรรมเนียมปฏิบัติของชาวเวียดนามมีปรัชญาเอเชียตะวันออกเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลทางศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ นิกายมหายาน, ลัทธิขงจื้อ และลัทธิเต๋า ซึ่งเกิดขึ้นในจีนทั้งหมด นอกจากนี้ในเวียดนามยังนิยมใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหารเช่นเดียวกับประเทศในเอเชียตะวันออกประเทศอื่น ๆ และอาหารเวียดนามส่วนใหญ่ก็ได้รับอิทธิพลจากจีนและฝรั่งเศส

โดยทั่วไปแล้วผู้คนที่รับประทานอาหารด้วยมือจะเป็นพวกที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียมากกว่าจีน ซึ่งรับประทานอาหารด้วยตะเกียบและมีชาเป็นเครื่องดื่ม นอกจากนี้น้ำปลาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังค่อนข้างมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ

ศิลปกรรม

แก้
 
นาฏศิลป์หลวงของกัมพูชา (กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี 2010)

ศิลปกรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แตกต่างจากภูมิภาคอื่นอย่างชัดเจน โดยส่วนใหญ่แล้วการร่ายรำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักประกอบด้วยการเคลื่อนไหวของมือและเท้าตามอารมณ์และความหมายที่ต้องการสื่อให้ผู้ชมรับรู้ ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่นับว่าการรำเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมของพวกเขา โดยนาฏศิลป์หลวงของกัมพูชาเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นคริสตศตรรษที่ 7 ก่อนจักรวรรดิขแมร์ที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ค่อนข้างมาก เช่น ระบำอัปสรา การเล่นหุ่นเงาเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีมาอย่างยาวนานถึงกว่าร้อยปีโดยรูปแบบหนึ่งที่รู้จักกันดีคือวายังของอินโดนีเซีย เช่นเดียวกันศิลปกรรมและวรรณกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางประเทศก็ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์มานับร้อยปีแล้ว

ชาวไทซึ่งย้ายถิ่นฐานมาในภายหลังได้นำประเพณีจีนบางอย่างเข้ามาด้วย แต่ก็ถูกกลืนไปด้วยประเพณีเขมรและมอญ โดยสิ่งเดียวที่บ่งชี้ได้ว่าพวกเขาเคยรับศิลปกรรมจากจีนมาก่อนคือรูปแบบของวัด โดยเฉพาะหลังคาแบบเรียว

แม้จะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามที่ต่อต้านลักษณะศิลปกรรมต่าง ๆ แล้ว แต่อินโดนีเซียก็ยังคงเหลือสิ่งที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์มากมายไม่ว่าจะเป็นหลักคำสอน, วัฒนธรรม, ศิลปกรรม และวรรณกรรม เช่น วายังกูลิต (หนังตะลุง) และวรรณกรรมอย่างรามายณะ ด้านส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ (ไม่รวมเวียดนาม) การรำและศิลปกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับเทพเจ้าตามความเชื่อของฮินดู ได้ถูกรวมเข้ากับวัฒนธรรมไทย, กัมพูชา, ลาว และพม่า โดยสิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าศิลปกรรมโบราณเขมรและอินโดมีความเกี่ยวโยงกับการพรรณนาเรื่องราวชีวิตของเทพ นอกจากนี้ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเชื่อเรื่องราวชีวิตของเทพว่าเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับชีวิตของพวกเขาทั้งความรื่นเริง, ลักษณะของโลก, การทำนายเรื่องราวที่ยังไม่เกิด

ดนตรี

แก้
 
เด็กชายชาวไทยตีขิม

ดนตรีพื้นบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แปรเปลี่ยนไปตามชาติพันธุ์และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยแนวดนตรีที่สามารถพบเห็นได้โดยส่วนใหญ่ ได้แก่ ดนตรีคอร์ท, ดนตรีโฟล์ก, แนวดนตรีของชนกลุ่มน้อย, และดนตรีที่ได้รับอิทธิพลจากภูมิภาคอื่น

สำหรับดนตรีคอร์ทและโฟล์กนั้น ฆ้องเป็นสิ่งที่สามารถหาชมได้ทั่วไปในภูมิภาค (ยกเว้นบริเวณพื้นที่ต่ำของเวียดนาม) กัมเมลัน ของอินโดนีเซีย, วงปี่พาทย์ ของไทยและกัมพูชา รวมทั้ง Kulintang ที่เป็นเครื่องดนตรีของทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์, เกาะบอร์เนียว, เกาะซูลาเวซี และเกาะติมอร์ คือสามแนวดนตรีที่มีความโดดเด่นและมีอิทธิพลต่อดนตรีแนวอื่นในภูมิภาค นอกจากนี้ดนตรีแนวสตริงเป็นแนวที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การเขียน

แก้
 
อักษรบาหลีบนใบปาล์ม

วัฒนธรรมอินเดียเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้ชนพื้นเมืองได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนมาแต่ในอดีต โดยมีรูปแบบที่ปรากฏตระกูลอักษรพราหมี เช่น อักษรบาหลี��ี่ปรากฏบนใบปาล์ม

การเขียนในรูปแบบนี้ถูกเผยแพร่ออกไปตั้งแต่ก่อนที่กระดาษจะเกิดขึ้นราวประมาณปีที่ 100 ในจีน โดยบนใบปาล์มแต่ละใบจะประกอบด้วยตัวอักษรหลายบรรทัดเขียนไปตามความยาวของใบ และมีการใช้เชือกเรียงไปยังใบอื่น มีการตกแต่งบริเวณที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลาง ตัวอักษรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เป็นแบบอักษรสระประกอบ จนกระทั่งเมื่อมีชาวตะวันตกเข้ามา และมีการผสมผสานอย่างกลมกลืน ไม่ใช่แค่เสียงสระเท่านั้น แต่ยังรวมถึงรูปแบบเอกสารทางการที่ไม่ใช้กระดาษด้วย ได้แก่ คัมภีร์ทองแดงชวา ซึ่งมีความทนทานมากกว่ากระดาษในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หมายเหตุ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  2. ASEAN Community in Figures (ACIF) 2013 (PDF) (6th ed.). Jakarta: ASEAN. กุมภาพันธ์ 2014. p. 1. ISBN 978-602-7643-73-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2015.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Report for Selected Countries and Subjects". World Economic. IMF. Outlook Database, October 2016
  4. Klaus Kästle (September 10, 2013). "Map of Southeast Asia Region". Nations Online Project. One World – Nations Online. สืบค้นเมื่อ 10 September 2013. Nations Online is an online destination guide with many aspects of the nations and cultures of the world: geography, economy, science, people, culture, environment, travel and tourism, government and history.
  5. Shaffer, Lynda Norene (2015-02-18). Maritime Southeast Asia to 500 (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-1-317-46520-1.
  6. Chester, Roy (2008-07-16). Furnace of Creation, Cradle of Destruction: A Journey to the Birthplace of Earthquakes, Volcanoes, and Tsunamis. AMACOM. ISBN 978-0814409206.
  7. "Population of Asia (2018) - Worldometers". www.worldometers.info (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-12-30.
  8. Zide; Baker, Norman H.; Milton E. (1966). Studies in comparative Austroasiatic linguistics. Foreign Language Study.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. "ASEAN Member States". ASEAN.
  10. 10.0 10.1 "Christmas Islands". CIA World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 12 September 2009.
  11. 11.0 11.1 "Cocos (Keeling) Islands". CIA World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 12 September 2009.
  12. Population data as per the Indian Census.
  13. ศึกษาเพิ่มเติมที่ ออสบอร์น, มิลตัน. (2544). เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : สังเขปประวัติศาสตร์. เชียงใหม่: ตรัสวิน (ซิลค์เวอร์มบุ๊คส์).
  14. Davis, Lee (1992). Natural disasters: from the Black Plague to the eruption of Mt. Pinatubo. New York, NY: Facts on File Inc.. pp. 300–301.
  15. http://www.haribon.org.ph/index.php?view=article&id=223%3Athe-largest-eagle-in-the-world&option=com_content&Itemid=119
  16. Biodiversity wipeout facing Southeast Asia, New Scientist, July 23, 2003
  17. Indonesia - The World Factbook https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/id.html เก็บถาวร 2008-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  18. CIA – The World Factbook – Brunei เก็บถาวร 2018-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Cia.gov. Retrieved on October 17, 2011.
  19. CIA – The World Factbook – Cambodia เก็บถาวร 2010-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Cia.gov. Retrieved on October 17, 2011.
  20. CIA – The World Factbook – Christmas Island เก็บถาวร 2018-12-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Cia.gov. Retrieved on October 17, 2011.
  21. CIA – The World Factbook – Cocos (Keeling) Islands เก็บถาวร 2018-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Cia.gov. Retrieved on October 17, 2011.
  22. CIA – The World Factbook – East Timor เก็บถาวร 2018-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Cia.gov. Retrieved on October 17, 2011.
  23. CIA – The World Factbook – Indonesia เก็บถาวร 2008-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Cia.gov. Retrieved on October 17, 2011.
  24. CIA – The World Factbook – Laos เก็บถาวร 2010-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Cia.gov. Retrieved on October 17, 2011.
  25. CIA – The World Factbook – Malaysia เก็บถาวร 2019-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Cia.gov. Retrieved on October 17, 2011.
  26. See: 1987 Philippines Constitution
  27. CIA – The World Factbook – Philippines เก็บถาวร 2015-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Cia.gov. Retrieved on October 17, 2011.
  28. CIA – The World Factbook – Thailand เก็บถาวร 2010-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Cia.gov. Retrieved on October 17, 2011.
  29. CIA – The World Factbook – Vietnam เก็บถาวร 2020-05-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Cia.gov. Retrieved on October 17, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • ชุลีพร วิรุณหะ. (2557). โลกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: รากฐานประวัติศาสตร์. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.