ถั่วลิสง
ถั่วลิสง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
สกุล: Arachis
สปีชีส์: A.  hypogaea
ชื่อทวินาม
Arachis hypogaea
L.

ถั่วลิสง ถั่วคุด หรือ ถั่วดิน จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว

รสชาติและสรรพคุณ

แก้

รสหวาน ช่วยบำรุงปอดและกระเพาะอาหาร แก้ไอ ขับปัสสาวะ กระตุ้นน้ำนม เหมาะกับผู้ที่มีอาการไอแห้ง ร่างกายอ่อนแอ

คุณค่า

แก้

มีน้ำมันถั่ว โปรตีน วิตามิน ชะลอความเสื่อมสภาพของร่างกาย บำรุงสมอง เสริมความจำ

ข้อพึงสังเกต

แก้

ผู้ที่เป็นเชื้อราตามมือและเท้า หรือมีอาการท้องร่วง และผู้ที่มีอาการแพ้ ไม่ควรรับประทาน

การผลิตและการค้า

แก้

ถั่วลิสงมีการผลิตกันอย่างแพร่หลายในภูมิของโลกโดยเฉพาะภาคเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ประเทศจีนสามารถผลิตถั่วลิสงได้มากถึง 37% แอฟริกา 25% อินเดีย 21%, อเมริกา 8% และโอเชียเนีย 6% (สำหรับประเทศผู้ผลิตที่สำคัญดูตาราง) การส่งออกที่สำคัญคือประเทศอินเดีย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 37% ของการส่งออกทั่วโลก อาร์เจนตินา 13% สหรัฐอเมริกา 10% จีน 8% และมาลาวีสำหรับ 5% ผู้นำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 17% ของการนำเข้าทั้งโลก (ส่วนใหญ่จะถูกส่งต่อไปยังประเทศอื่น ๆ ในสหภาพยุโรป) อินโดนีเซีย นำเข้าถั่วลิสง 10% ของการนำเข้าทั้งโลก และ เม็กซิโก 7%, เยอรมนี 6% และรัสเซีย 5% ของการนำเข้าทั้งโลกตามลำดับ [1] ในสหรัฐอเมริกา รัฐจอร์เจียเป็นแหล่งปลูกถั่วลิสงมากที่สุดตามมาด้วยรัฐเท็กซัสและรัฐอลาบามาตามลำดับ Dothan เป็นเมืองที่มีการจัดเทศกาลถั่วลิสงแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นในปี 1938 และจัดขึ้นในแต่ละฤดูใบไม้ร่วงเพื่อเป็นเกียรติแก่เกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิสงและเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยว[2]

ตารางแสดงประเทศที่ผลิตถั่วลิสงที่ใหญ่ที่สุดของโลก[1]
(ล้าน ตันs)
ลำดับ ประเทศ ปริมาณ
1 จีน 17.0
2 อินเดีย 9.5
3 ไนจีเรีย 3.0
4 สหรัฐอเมริกา 1.9
5 พม่า 1.4
ทั้งหมด
โลก
46


อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Production and trade data for groundnuts (peanuts)". FAOSTAT, Food and Agricultural Organization of the United Nations, Statistics Division. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-22. สืบค้นเมื่อ 12 October 2015.
  2. "Peanut Facts". Alabama Peanut Producers Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-11-01. สืบค้นเมื่อ May 30, 2011.
  • กองบรรณาธิการ, ถั่วลิสง, นิตยสารครัว, 2550, หน้า 90-93
  • นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 มิถุนายน 2550

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้