ดยุกแห่งเคมบริดจ์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ดยุกแห่งเคมบริดจ์ (อังกฤษ: Duke of Cambridge) เป็นพระอิสริยยศ (ตั้งชื่อตามเมื่องเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ) ที่ก่อนหน้าที่เคยสถาปนาให้กับสมาชิกชั้นรองในพระราชวงศ์อังกฤษ มีการพระราชทานพระอิสริยยศนี้ครั้งแรกให้กับเจ้าชายชาลส์ สจ๊วร์ต (พ.ศ. 2203-2204) พระโอรสพระองค์ใหญ่ในเจ้าฟ้าชายเจมส์ ดยุกแห่งยอร์ก (ต่อมาคือ พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ) แต่กระนั้นพระองค์มิได้ทรงเคยได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศดยุกแห่งเคมบริดจ์อย่างเป็นทางการเลย
ดยุกแห่งเคมบริดจ์ | |
---|---|
ตราอาร์มประจำบรรดาศักดิ์ในเจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นดยุกแห่งเคมบริดจ์ | |
เจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์พระองค์ปัจจุบัน | |
สถาปนา | 22 ตุลาคม ค.ศ. 1660 |
องค์แรก | เจ้าชายชาลส์ สจวต ดยุกแห่งเคมบริดจ์ |
องค์ปัจจุบัน | เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ |
คู่สมรส | แคเธอริน เจ้าหญิงแห่งเวลส์ |
บรรดาศักดิ์ "ดยุกแห่งเคมบริดจ์" ได้มีการพระราชทานครั้งล่าสุดวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระอิสริยยศดังกล่าวแก่เจ้าชายวิลเลียม ก่อนเข้าพระราชพิธีเสกสมรสกับแคเธอรีน มิดเดิลตัน โดยมีพระอิสริยยศเต็มว่า "ดยุกแห่งเคมบริดจ์ (Duke of Cambridge) เอิร์ลแห่งสแตรธเอิร์น (Earl of Strathearn) และบารอนคาร์ริคเฟอร์กัส (Baron Carrickfergus)"[1]
ประวัติ
แก้การแต่งตั้งพระอิสริยยศนี้ที่รู้จักกันเป็นทางการครั้งแรกในฐานันดรศักดิ์ของขุนนางอังกฤษเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2207 โดยพระราชทานให้แก่เจ้าชายชาลส์ สจ๊วร์ต พระโอรสในดยุกแห่งยอร์ก (ต่อมาคือพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ) อันประสูติแต่พระชายาพระองค์แรก เป็น เจ้าชายเจมส์ ดยุกแห่งเคมบริดจ์ ซึ่งต่อมาได้สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุยังน้อย และปราศจากทายาทสืบทอด จึงทำให้สายแห่งพระอิสริยยศนั้นสิ้นสุดลงโดยปริยาย ต่อมาพระอิสริยยศนี้ได้พระราชทานให้กับเจ้าชายเอ็ดการ์ สจ๊วร์ต พระโอรสอีกพระองค์หนึ่งในดยุกแห่งยอร์ก อันประสูติแต่พระชายาพระองค์แรกเช่นกัน พระองค์ก็ได้สิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุยังน้อยและไม่มีผู้สืบทอดพระอิสริยยศอีกครั้งหนึ่ง
ต่อมาพระอิสริยยศนี้ได้ถูกพระราชทานให้แก่จอร์จ ออกัสตัส พระโอรสของเจ้าชายจอร์จ หลุยส์แห่งฮันโนเฟอร์และดยุกแห่งเบราน์ชไวก์-ลือเนบูร์กซึ่งต่อมาในภายหลังได้กลายเป็นพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่ เมื่อปีพ.ศ. 2257 และต่อมาเมื่อจอร์จ ออกัสตัส ได้สืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาเป็นพระเจ้าจอร์จที่ 2 พระอิสริยยศนี้จึงถูกผนวกเป็นพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์โดยปริยาย[1]
ครั้งต่อมาได้มีการพระราชทานให้แก่เจ้าชายอดอลฟัส พระราชโอรสอันดับที่ 7 ของพระเจ้าจอร์จที่ 3 ซึ่งได้สืบบรรดาศักดิ์นี้ต่อมาจนกระทั่งพระโอรสของพระองค์สิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ. 2447 คือ เจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเคมบริดจ์ โดยพระองค์นั้นสิ้นพระชนม์โดยปราศจากทายาท จึงทำให้บรรดาศักดิ์นี้สิ้นสุดลงอีกครั้งหนึ่ง[2]
หลานชายคนแรกของดยุกที่ 1 แห่งเคมบริดจ์ (ซึ่งผ่านทางสายสตรี) คือ เจ้าชายอดอลฟัส ดยุกแห่งเทก ซึ่งเป็นพระอนุชาของแมรีแห่งเทก สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักร ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น มาร์ควิสแห่งเคมบริดจ์ ในปีพ.ศ. 2460 เมื่อได้ยกเลิกให้ใช้ฐานันดรศักดิ์เยอรมันโดยเปลี่ยนเป็น "เคมบริดจ์" แทน ซึ่งต่อมาในสมัยมาร์ควิสที่ 2 แห่งเคมบริดจ์ ได้สิ้นพระชนม์โดยปราศจากทายาท จึงเป็นที่สิ้นสุดของบรรดาศักดิ์ "มาร์ควิสแห่งเคมบริดจ์"
ในช่วงก่อนพระราชพิธีเสกสมรสของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ได้มีข่าวลือว่าพระองค์อาจได้รับการพระราชบรรดาศักดิ์เป็นดยุกแห่งเคมบริดจ์ หรือซัสเซ็กส์[3] แต่อย่างไรก็ตาม พระองค์ได้รับพระราชทานเฉลิมพระอิสริยยศเป็น "เอิร์ลแห่งเวสเซ็กส์" แทน และนอกจากนี้พระองค์ยังจะได้รับการสืบทอดบรรดาศักดิ์ "ดยุกแห่งเอดินบะระ" ต่อจากพระราชบิดาด้วย[4]
รายพระนาม
แก้สถาปนาครั้งที่ 3 (ค.ศ. 1706)
แก้ดยุก | พระฉายาลักษณ์ | ตราอาร์ม | พระราชสมภพ | อภิเษกสมรส | สวรรคต |
---|---|---|---|---|---|
เจ้าชายจอร์จ ราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ 1706–1727 มาร์ควิสแห่งเคมบริดจ์, เอิร์ลแห่งมิลฟอร์ดฮาเวน, ไวเคานต์นอร์ธัลเลอร์ตัน และ บารอน ทุกค์สบรี (1706–1727); เจ้าชายแห่งเวลส์ (1714), ดยุกแห่งคอร์นวอลล์ (1337) และดยุกแห่งรอธซี (1398) |
30 ตุลาคม / 9 พฤศจิกายน 1683O.S./N.S. แฮร์เรินเฮาเซิน ฮันโนเฟอร์ พระราชโอรสในพระเจ้าจอร์จที่ 1 กับโซฟี โดโรเทอา แห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค |
22 สิงหาคม 1705 คาโรลีนแห่งบรันเดินบวร์ค-อันส์บัค พระโอรสธิดา 10 พระองค์ |
25 ตุลาคม 1760 พระราชวังเคนซิงตัน ลอนดอน พระชนมายุ 76 พรรษา | ||
เจ้าชายจอร์จเสด็จขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าจอร์จที่ 2 เมื่อค.ศ. 1727 ต่อจากพระราชบิดา จึงทำให้บรรดาศักดิ์ถูกผนวกเข้ากับพระมหากษัตริย์ |
สถาปนาครั้งที่ 4 (ค.ศ. 1801)
แก้ดยุก | พระฉายาลักษณ์ | ตราอาร์ม | พระราชสมภพ | อภิเษกสมรส | สวรรคต |
---|---|---|---|---|---|
เจ้าชายอดอลฟัส ราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ 1801–1850 เอิร์ลแห่งทิปเปอรารี และบารอนคัลโลเดน (1801) |
24 กุมภาพันธ์ 1774 พระราชวังบักกิงแฮม ลอนดอน พระราชโอรสในพระเจ้าจอร์จที่ 3 กับสมเด็จพระราชินีชาร์ล็อต |
18 มิถุนายน 1818 เจ้าหญิงออกัสตาแห่งเฮ็สเซิน-คัสเซิล พระโอรสธิดา 3 พระองค์ |
8 กรกฎาคม 1850 เคมบริดจ์เฮาส์ ลอนดอน พระชนมายุ 76 ปี | ||
เจ้าชายจอร์จ ราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ 1850–1904 เอิร์ลแห่งทิปเปอรารี และบารอนคัลโลเดน (1801) |
26 มีนาคม 1819 เคมบริดจ์เฮาส์ ฮันโนเฟอร์ พระโอรสในเจ้าชายอดอลฟัส ดยุกแห่งเคมบริดจ์ กับเจ้าหญิงออกัสตา |
8 มกราคม 1847 ซาราห์ แฟร์บราเธอร์ พระโอรส 3 พระองค์ |
17 มีนาคม 1904 ลอนดอน พระชนมายุ 84 ปี | ||
การเสกสมรสของเจ้าชายจอร์จกับซาราห์ แฟร์บราเธอร์ ไม่ได้รับพระบรมราชานุญาต ตามพระราชบัญญัติการอภิเษกสมรสปีค.ศ. 1772 ทำให้การเสกสมรสเป็นโมฆะ และทำให้บรรดาศักดิ์สืบตระกูลสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นพระชนม์ |
สถาปนาครั้งที่ 5 (ค.ศ. 2011)
แก้ดยุก | พระฉายาลักษณ์ | ตราอาร์ม | พระราชสมภพ | อภิเษกสมรส | สวรรคต |
---|---|---|---|---|---|
เจ้าชายวิลเลียม ราชวงศ์วินด์เซอร์ 2011–ปัจจุบัน เอิร์ลแห่งสตราเธิร์น และ บารอนแคร์ริกเฟอร์กัส (2011); ดยุกแห่งคอร์นวอลล์, ดยุกแห่งรอธซี และ เจ้าชายแห่งเวลส์ (2022) |
21 มิถุนายน 1982 โรงพยาบาลเซนต์แมรี ลอนดอน พระโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 กับไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ |
29 เมษายน 2011 แคเธอรีน มิดเดิลตัน พระโอรสธิดา 3 พระองค์ |
พระชันษา 42 ปี |
ลำดับการสืบตระกูล
แก้- เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ (ประสูติ 21 มิถุนายน 1982)
- (1) เจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ (ประสูติ 22 กรกฎาคม 2013)
- (2) เจ้าชายหลุยส์แห่งเวลส์ (ประสูติ 23 เมษายน 2018)
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Announcement of Titles: Statement issued by the press secretary to The Queen". The Royal Household. 29 April 2011. สืบค้นเมื่อ 2012–04-30.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Tim Ross (16 November 2010). "Could William and Kate be the next Duke and Duchess of Cambridge?". The Telegraph. telegraph.co.uk. สืบค้นเมื่อ 11 February 2012.
- ↑ Richard Eden (12 December 2010). "Royal wedding: Prince William asks the Queen not to make him a duke". The Telegraph. telegraph.co.uk. สืบค้นเมื่อ 12 December 2010.
- ↑ "The Earl of Wessex-Styles and Titles". The Royal Household. สืบค้นเมื่อ 2012–04-30.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)