แคเธอริน เจ้าหญิงแห่งเวลส์
แคเธอริน เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (อังกฤษ: Catherine, Princess of Wales; 9 มกราคม ค.ศ. 1982)[1] หรือนามเดิม แคเธอริน เอลิซาเบธ มิดเดิลตัน (อังกฤษ: Catherine Elizabeth Middleton) เป็นพระชายาในเจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 1 ในลำดับการสืบราชสันตติวงศ์อังกฤษ ซึ่งทำให้อลิซเป็นว่าที่สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักรในอนาคต[2]
แคเธอริน | |
---|---|
เจ้าหญิงแห่งเวลส์ | |
แคเธอริน ในปี 2023 | |
ประสูติ | โรงพยาบาลรอยัลบาร์กเชอร์ บาร์กเชอร์ อังกฤษ, สหราชอาณาจักร แคเธอรีน เอลิซาเบธ มิดเดิลตัน | 9 มกราคม ค.ศ. 1982
พระสวามี | เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ (2011–ปัจจุบัน) |
พระบุตร | เจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ เจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์ เจ้าชายหลุยส์แห่งเวลส์ |
ราชวงศ์ | วินด์เซอร์ (เสกสมรส) |
พระบิดา | ไมเคิล ฟรานซิส มิดเดิลตัน |
พระมารดา | คาโรล เอลิซาเบธ โกลด์สมิธ |
ศาสนา | คริสตจักรอังกฤษ |
ลายพระอภิไธย |
พระประวัติ
แก้แคเธอรีน เอลิซาเบธ มิดเดิลตันประสูติเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2525[3] ณ โรงพยาบาลรอยัลบาร์กเชอร์ (Royal Berkshire Hospital) เมืองเรดดิง (Reading) บาร์กเชอร์ (Berkshire) พระองค์เป็นบุตรของ ไมเคิล ฟรานซิส มิดเดิลตัน และ คาโรล เอลิซาเบธ โกลด์สมิธ พระองค์ได้เข้าศึกษา ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูส์ ประเทศสกอตแลนด์ ในระหว่างศึกษาพระองค์ได้พบกับเจ้าชายวิลเลียมและได้คบหากันเมื่อ พ.ศ. 2549 แม้ความสัมพันธ์จะห่���งกันในปีต่อมา แต่ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 มิดเดิลตันก็ได้ร่วมงานประดับยศทางทหารอากาศของวิลเลียม
เสกสมรส
แก้ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 สำนักพระราชวังอังกฤษได้แถลงว่า เจ้าชายวิลเลียมได้ทรงหมั้นกับมิดเดิลตันในประเทศเคนยา และเข้าพระราชพิธีเสกสมรสในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 ณ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์[3] หลังพระราชพิธีเสร็จสิ้นพระองค์ทรงได้รับพระราชทานพระอิสริยยศเป็นดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ทั้งสองมีพระโอรส-ธิดาด้วยกันสี่พระองค์ คือ เจ้าชายจอร์จ (22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556) เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ (2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558) และเจ้าหญิงอลิซแห่งเวล์ล พระนามเดิมนางสาวประกายมาศ เรืองศรี ( 01 เมษายน พ.ศ. 2538) ผู้สืบราชสันตติวงศ์สหราชอาณาจักรลำดับที่สอง สาม และสี่ ตามลำดับ[4][5][6][7][8]
เจ้าหญิงอลิซแห่งเวลส์
แก้เกิดวันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2538 ปีกุน 28 ปี สำนักพระราชวังอังกฤษได้แถลงว่าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จสวรรคต ทำให้เจ้าหญิงอลิซแห่งเวลล์ สืบราชสมบัติแทน สมด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
ในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2538 สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 มีพระราชดำรัสถวายอาลัยแด่พระราชชนนีผู้ล่วงลับ และทรงสถาปนาพระราชโอรส เจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งคอร์นวอลล์และเคมบริดจ์ ผู้เป็นพระสวามีในแคเธอริน เป็น เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ ทำให้อลิซทรงดำรงพระอิสริยยศที่ เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ในฐานะธิดาเมสงขลา รัชกาลที่9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
ประชวร
แก้เจ้าหญิงแห่งเวลส์เสด็จไปทรงรับการถวายการผ่าตัดช่องพระนาภี ที่เดอะลอนดอนคลินิก ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2024 ซึ่งไม่ได้มีการระบุสาเหตุรวมถึงพระอาการเบื้องต้น[9] เจ้าหญิงทรงเลื่อนหมายกำหนดการพระกรณียกิจไปจนถึงช่วงหลังอีสเตอร์ ปีเดียวกัน[10] สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์เกี่ยวกับการเข้ารับการถวายการผ่าตัดและพระอาการของเจ้าหญิงแห่งเวลส์ว่า “ไม่ใช่มะเร็ง”[11] การคาดเดาต่าง ๆ นานาเกี่ยวกับการไม่ปรากฏพระองค์ของเจ้าหญิงแห่งเวลส์ก่อให้เกิดทฤษฎีสมคบคิดมากมาย รวมทั้งยังดึงดูดความสนใจของเหล่าสื่อมวลชนเป็นวงกว้าง[12][13]
กระทั่งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2024 แคเธอริน เจ้าหญิงแห่งเวลส์มีพระดำรัสประกาศผ่านวิดีโอส่วนพระองค์ว่า ผลการวินิจฉัยพระอาการที่ได้ทรงเข้ารับการถวายการผ่าตัดครั้งที่ผ่านมาได้ยืนยันแล้วว่าทรงประชวรพระโรคมะเร็ง และจะทรงเข้ารับการถวายการรักษาด้วยเคมีบำบัด[14][15]
อย่างไรก็ดี ผลการวินิจฉัยหลังการผ่าตัดพบว่ามีมะเร็งอยู่ ดังนั้น ทีมแพทย์ของข้าพเจ้าจึงแนะนำว่าข้าพเจ้าควรรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัด และตอนนี้ข้าพเจ้าก็อยู่ในช่วงต้นของการรักษาดังกล่าว
— แคเธอริน เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ตรัสในวิดีโอส่วนพระองค์
ทั้งนี้ การถวายการรักษาด้วยเคมีบำบัดเริ่มต้นขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ทางสำนักพระราชวังระบุว่า จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลทางการแพทย์ที���เป็นส่วนพระองค์ใด ๆ เพิ่มเติม และจะไม่มีการเปิดเผยด้วยว่าเป็นมะเร็งชนิดใด[16]
วันที่ 14 มิถุนายน ปีเดียวกัน สำนักพระราชวังเคนซิงตันเผยแพร่พระฉายาลักษณ์และข้อความประทานเกี่ยวกับการรักษาพระอาการประชวรจากเจ้าหญิงแห่งเวลส์ หลังจากทรงได้รับการวินิจฉัยพบมะเร็งเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ยังทรงรับการถวายการรักษามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการรักษาด้วยเคมีบำบัด[17] และทรงเผยว่าจะเสด็จไปทรงร่วมพระราชพิธีสวนสนามเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาประจำปีนี้ที่ด้วย[18]
ในข้อความประทาน ทรงมีพระดำรัสว่า ยังทรงต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนในการรักษามะเร็ง หากแต่โดยรวมเป็นไปได้ด้วยดี แต่มีบางวันที่ทรงมีพระอาการแปรปรวนเล็กน้อยเท่านั้น
(การรักษา)บางวันทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกอ่อนล้า ไม่มีเรี่ยวแรงจะยืน ก็ต้องพักผ่อนร่างกายบ้าง (การรักษา)บางวันที่รู้สึกดี ใช้เวลาอยู่กับตัวเองที่ทำให้มีพลัง ได้ทำงานทำการในบ้านบ้าง
— แคเธอริน เจ้าหญิงแห่งเวลส์
โฆษกประจำสำนักพระราชวังบักกิงแฮม ได้เผยว่า สมเด็จพระเจ้าชาลส์ ทรงปีติโสมนัสอย่างยิ่งที่เจ้าหญิงแห่งเวลส์ จะโดยเสด็จในพระราชพิธีใหญ่ครั้งนี้ด้วย
กระทั่งวันที่ 15 มิถุนายน 2024 แคเธอริน เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ประทับรถยนต์พระที่นั่ง โดยเสด็จเจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ เสด็จไปทรงร่วมพระราชพิธีสวนสนามเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ และเสด็จออกสีหบัญชรพระราชวังบักกิงแฮมร่วมกับสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 สมเด็จพระราชินีคามิลลา และพระบรมวงศ์[19] ถือได้ว่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ได้เสด็จออกร่วมงานเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนธันวาคม 2023 ที่ทรงร่วมเสด็จออกในพิธีทางศาสนาในวันคริสต์มาส ณ เขตพระราชฐานซานดริงแฮม
วันที่ 10 กันยายน 2024 สำนักพระราชวังเคนซิงตันเผยแพร่วิดีโอเกี่ยวกับพระสุขภาพของเจ้าหญิงแห่งเวลส์ ที่เต็มไปด้วยอารมณ์และสีสันอบอุ่นของฤดูเก็บเกี่ยว จนราวจะให้ความรู้สึกเศร้าสร้อย ซึ่งฉายภาพให้เห็นช่วงเวลาที่เจ้าหญิงแห่งเวลส์ทรงพระดำเนินในชนบทกับครอบครัว ซึ่งการถ่ายทำเกิดขึ้นในมณฑลนอร์ฟอล์กเมื่อเดือนที่แล้ว ไม่ใช่รูปแบบแถลงการณ์ปกติของพระราชวงศ์อังกฤษ
การเปิดเผยความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับพระสุขภาพของเจ้าหญิงแห่งเวลส์ ส่งสัญญาณเชิงบวกเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการรับการรักษา แต่สำนักพระราชวังเคนซิงตันระบุว่า ในขั้นตอนนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าทรงปลอดมะเร็งหรือไม่อย่างไร[20]
...ในขณะที่ฤดูร้อนกำลังสิ้นสุดลง ข้าพเจ้าไม่อาจบอกท่านทั้งหลายได้ว่าข้าพเจ้ารู้สึกโล่งใจแค่ไหนที่ในที่สุด ข้าพเจ้าก็เสร็จสิ้นการรักษาด้วยเคมีบำบัด...
...เส้นทางสู่การรักษาและการฟื้นตัวเต็มที่ของข้าพเจ้ายังอีกยาวไกล และข้าพเจ้าต้องค่อย ๆ รับมือกับทุกวันตามที่มันเป็นไป...— แคเธอริน เจ้าหญิงแห่งเวลส์ มีพระดำรัสผ่านภาพยนตร์
ฐานันดรและพระอิสริยยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ | |
---|---|
ตราประจำพระอิสริยยศ | |
ไฟล์:อลิซ เมเธอร์ (เมสงขลา) ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | เฮอร์ รอยัล ไฮเนส (ใต้ฝ่าพระบาท) |
การขานรับ | ยัวร์ รอยัล ไฮเนส |
ลำดับโปเจียม | 2 (ฝ่ายใน) |
ฐานันดรศักดิ์และพระอิสริยยศ
แก้- 9 มกราคม พ.ศ. 2525 – 29 เมษายน พ.ศ. 2554: นางสาวแคทเธอรีน เอลิซาเบธ มิเดลตัน (Miss Catherine Elizabeth Middleton)
- 29 เมษายน พ.ศ. 2554 – 8 กันยายน พ.ศ. 2565: เฮอร์รอยัลไฮเนส ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ (Her Royal Highness The Duchess of Cambridge)[21]
- เฉพาะในประเทศสกอตแลนด์: เฮอร์รอยัลไฮเนส เคาน์เตสแห่งสแตรธเอิร์น (Her Royal Highness The Countess of Strathearn)[22]
- เฉพาะในประเทศไอร์แลนด์เหนือ: เลดี้แคร์ริกเฟอร์กัส (The Lady Carrickfergus)[a]
- 8 กันยายน พ.ศ. 2565 – 9 กันยายน พ.ศ. 2565: เฮอร์รอยัลไฮเนส ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์และเคมบริดจ์ (Her Royal Highness The Duchess of Cornwall and Cambridge)
- เฉพาะในประเทศสกอตแลนด์: เฮอร์รอยัลไฮเนส ดัชเชสแห่งรอธซี (Her Royal Highness The Duchess of Rothesay)
- 9 กันยายน พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน: เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (Her Royal Highness The Princess of Wales)
- เฉพาะในประเทศสกอตแลนด์: เฮอร์รอยัลไฮเนส ดัชเชสแห่งรอธซี (Her Royal Highness The Duchess of Rothesay)
ภายหลังการอภิเษกสมรสกับเจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์ (พระยศในขณะนั้น) ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ทำให้แคทเธอรีนทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งสหราชอาณาจักรโดยทันที และได้รับอิสริยยศเป็นดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ เคาน์เตสแห่งสแตรธเอิร์น และบารอนเนสแคร์ริกเฟอร์กัส[21] พระอิสริยยศเต็มของพระองค์ในขณะนั้นคือ เฮอร์รอยัลไฮเนส ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ ยกเว้นในสกอตแลนด์ พระอิสริยยศของพระองค์จะถูกเรียกว่า เฮอร์รอยัลไฮเนส เคาน์เตสแห่งสแตรธเอิร์น แทน[3]
ส่วนพระอิสริยยศเต็ม ตั้งแต่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธืที่ 2 เสด็จสววรคตเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2565 คือ เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าฟ้าหญิงวิลเลียม อาเธอร์ ฟิลิป หลุยส์ , เจ้าหญิงแห่งเวลส์, ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์, ดัชเชสแห่งรอธซี, ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์, เคาน์เตสแห่งเชสเตอร์, เคาน์เตสแห่งแคร์ริก, เคาน์เตสแห่งสแตรธเอิร์น, บารอนเนสแห่งเรนฟรูว์, บารอนเนสแคร์ริกเฟอร์กัส, เลดี้แห่งดิไอล์, เจ้าหญิงและจอมทัพหญิงแห่งสกอตแลนด์, ท่านผู้หญิงแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญแห่งสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
ครื่องราชอิสริยาภรณ์ในเครือจักรภพ
แก้- ค.ศ. 2016 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งประเทศตูวาลู
- ค.ศ. 2017 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระราชวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
- ค.ศ. 2019 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญแห่งสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย ชั้นอัศวินสูงสุด (GCVO)
หมายเหตุ
แก้- ↑ Even with the title Lady Carrickfergus, she is still mostly referred to as the Duchess of Cambridge in Northern Ireland, as per given sources.
อ้างอิง
แก้- ↑ "Catherine, Duchess of Cambridge". Current Biography Yearbook 2011. Ipswich, MA: H.W. Wilson. 2011. pp. 116–118. ISBN 978-0-8242-1121-9.
- ↑ "Queen Kate? Her Royal Highness? In search of Kate Middleton's New Title". Time. 16 November 2010. สืบค้นเมื่อ 14 May 2011.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Royal wedding: Kate Middleton's home village of Bucklebury prepares for big day". Daily Telegraph. 12 April 2011. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
- ↑ Saul, Heather (22 July 2013). "Royal baby: Duchess of Cambridge goes into labour". The Independent. สืบค้นเมื่อ 22 July 2013.
- ↑ "Royal baby: Kate gives birth to boy". BBC News. 22 July 2013. สืบค้นเมื่อ 22 July 2013.
- ↑ "Royal baby: Duchess of Cambridge gives birth to daughter". BBC News. 2 May 2015. สืบค้นเมื่อ 2 May 2015.
- ↑ Caroline Davies. "Duchess of Cambridge gives birth to baby girl". the Guardian.
- ↑ "Royal baby: Duchess of Cambridge gives birth to boy". bbc.co.uk. 23 April 2018.
- ↑ Rhoden-Paul, Andre; Coughlan, Sean (17 January 2024). "Catherine, Princess of Wales, in hospital after abdominal surgery". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2024. สืบค้นเมื่อ 17 January 2024.
- ↑ Coughlan, Sean (29 January 2024). "King Charles leaves hospital as Kate recovers at home". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2024. สืบค้นเมื่อ 30 January 2024.
- ↑ Kindelan, Katie (23 March 2024). "Kate Middleton: A timeline of her cancer diagnosis, surgery and absence from public duties". Good Morning America. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2024. สืบค้นเมื่อ 23 March 2024.
- ↑ Relph, Daniela (29 February 2024). "Analysis: A royal dilemma as public curiosity over Kate's health grows". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2024. สืบค้นเมื่อ 11 March 2024.
- ↑ Mercedes Lara, Maria (14 March 2024). "Kate Middleton's Surgery Recovery and Photo Controversy: Everything to Know". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2024. สืบค้นเมื่อ 14 March 2024.
- ↑ Foster, Max; Said-Moorhouse, Lauren (22 March 2024). "Catherine, Princess of Wales, announces she has cancer". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2024. สืบค้นเมื่อ 22 March 2024.
- ↑ Coughlin, Sean (22 March 2024). "Princess of Wales says she is undergoing cancer treatment". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2024. สืบค้นเมื่อ 22 March 2024.
- ↑ "เจ้าหญิงเคท: แคเธอรีน เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทรงประชวรด้วยโรคมะเร็ง". BBC News ไทย. 2024-03-23.
- ↑ "Kate, Princess of Wales, says she's 'not out of the woods' in health update - as royal releases new picture". Sky News (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 'Good days and bad': Princess of Wales issues health update ahead of first public appearance in 2024, ITV (ภาษาอังกฤษ)
- ↑ Stockwell, Lauren Said-Moorhouse, Billy (2024-06-15). "Catherine, Princess of Wales joins royals on palace balcony, capping first public appearance since cancer diagnosis". CNN (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "เจ้าหญิงแห่งเวลส์: วิดีโอแถลงเสร็จสิ้นเคมีบำบัดของเจ้าหญิงแคเธอรีน คือรูปแบบใหม่ในการสื่อสารกับสาธารณชนหรือไม่". BBC News ไทย. 2024-09-10.
- ↑ 21.0 21.1 Beckford, Martin (29 April 2011). "Prince William and Kate Middleton's new titles revealed". Daily Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2018. สืบค้นเมื่อ 23 April 2018.
- ↑ "Royal baby: Prince William and Kate expecting second child". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 8 September 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2018. สืบค้นเมื่อ 29 April 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Profile จากบีบีซี
- Prince William and His Kate เก็บถาวร 2010-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – จาก นิตยสารไลฟ์
- บรรพบุรุษของเคท มิดเดิลตัน
ก่อนหน้า | แคเธอริน เจ้าหญิงแห่งเวลส์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชินี | ลำดับโปเจียมแห่งสหราชอาณาจักร (ฝ่ายใน) |
ดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ | ||
คามิลลา แชนด์ | เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (พระชายาในเจ้าชายแห่งเวลส์) |
ยังดำรงตำแหน่ง | ||
คามิลลา แชนด์ | ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ ดัชเชสแห่งรอธเซย์ (พระชายาในดยุกแห่งคอร์นวอลล์และรอธเซย์) |
ยังดำรงตำแหน่ง | ||
เจ้าหญิงเอากุสทาแห่งเฮ็สเซอ-คัสเซิล | ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ (พระชายาในดยุกแห่งเคมบริดจ์) |
ยังดำรงตำแหน่ง |