ราชวงศ์ฮันโนเฟอร์
ราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ (เยอรมัน: Haus Hannover; อังกฤษ: House of Hanover) เป็นราชวงศ์เชื้อชาติเยอรมันที่ครองบัลลังก์ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ต่อจากราชวงศ์สจวตใน ค.ศ. 1714 ราชวงศ์นี้ยังปกครองรัฐฮันโนเฟอร์ในเยอรมนีอันเป็นดินแดนที่ราชวงศ์นี้เป็นเจ้าของ ในบางครั้งอาจเรียกราชวงศ์นี้ว่าราชวงศ์เบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค สายฮันโนเฟอร์ (House of Brunswick and Lüneburg, Hanover line)
พระราชอิสริยยศ | |
---|---|
ปกครอง | ฮันโนเฟอร์ |
เชื้อชาติ | เยอรมัน (ฮันโนเวียน), อังกฤษ |
ประมุขพระองค์แรก | เกออร์ก ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค |
ผู้นำสกุลองค์ปัจจุบัน | แอนสท์ เอากุสท์ที่ 5 เจ้าชายแห่งฮันโนเฟอร์ (ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์) |
ประมุขพระองค์สุดท้าย | แอนสท์ เอากุสท์ ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค |
สถาปนา | ค.ศ. 1635 |
สิ้นสุด | ค.ศ. 1918 |
ประวัติ
แก้เกออร์ก ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์คเป็นสมาชิกแรกของราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ เมื่อดัชชีเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์คถูกแบ่งใน ค.ศ. 1635 เกออร์กได้รับมรดกส่วนราชรัฐคาเลนแบร์ก (Principality of Calenberg) และราชรัฐเกิททิงเงิน (Principality of Göttingen) และในปี 1636 พระองค์ได้ย้ายไปพำนักอยู่ที่ฮันโนเฟอร์ ดยุกแอนสท์ เอากุสท์ โอรสของท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี 1692 เจ้าหญิงโซฟีแห่งฮันโนเฟอร์ พระชายาในดยุกแอนสท์ เอากุสท์ ได้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์บริเตนใหญ่อันเนื่องจากพระราชบัญญัติการสืบสันตติวงศ์ ค.ศ. 1701 ได้กำหนดว่ารัชทายาทที่เป็นโรมันคาทอลิกไม่สามารถครองราชบัลลังก์ได้ เจ้าหญิงโซฟีซึ่งขณะนั้นเป็นโปรเตสแตนต์ที่เป็นพระญาติใกล้ชิดที่สุดกับพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ พระเจ้าวิลเลียมจริง ๆ แล้วทรงเป็นชาวดัตช์แห่งราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา แต่ทั้งพระมเหสีและพระราชมารดาเป็นเจ้าหญิงในราชวงศ์สจวต
สายที่ปกครองสหราชอาณาจักร
แก้พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่ พระราชโอรสในดยุกแอนสท์ ออกุสท์และเจ้าหญิงโซฟีแห่งฮันโนเฟอร์ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่ และเป็นกษัตริย์บริเตนใหญ่พระองค์แรกของราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ แม้ว่าพระองค์จะอยู่ในลำดับที่ 52 ในลำดับการสืบสันตติวงศ์ก็ตาม[1]พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ ได้แก่
กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
- พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่ (George I) ค.ศ. 1714 - ค.ศ. 1727 (เกออร์ก ลุดวิก (Georg Ludwig) = จอร์จ หลุยส์ (George Louis))
- พระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ (George II) ค.ศ. 1727 - ค.ศ. 1760 (เกออร์ก เอากุสท์ (Georg August) = จอร์จ ออกัสตัส (George Augustus))
- พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งบริเตนใหญ่ (George III) ค.ศ. 1760 - ค.ศ. 1820[2]
พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์
- พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร (George III) ค.ศ. 1760 - ค.ศ. 1820
- พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร (George IV) ค.ศ. 1820 - ค.ศ. 1830)
- พระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร (William IV) ค.ศ. 1830 - ค.ศ. 1837
- สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร (Victoria) ค.ศ. 1837 - ค.ศ. 1901
พระเจ้าจอร์จที่ 1 พระเจ้าจอร์จที่ 2 และพระเจ้าจอร์จที่ 3 ต่างก็ทรงดำรงดำแหน่งเจ้าผู้คัดเลือกและดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค (Electors and dukes of Brunswick-Lüneburg) ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่าผู้คัดเลือกแห่งฮันโนเฟอร์ (Electors of Hanover) ในช่วงต้นของปี 1814 เมื่อฮันโนเฟอร์ได้กลายเป็นราชอาณาจักร กษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่ก็มีพระอิสสริยยศเป็นพระมหากษัตริย์ฮันโนเฟอ���์ด้วย
ราชบัลลังก์สหราชอาณาจักรและฮันโนเฟอร์ได้แยกจากกันในปี 1837 เมื่อมีกฎหมายแซลิกที่กำหนดให้ราชบัลลังก์ฮันโนเฟอร์ไม่ได้ตกผ่านรัชทายาทของตกไปสู่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย แต่กลับผ่านไปยังพระราชปิตุลาของพระองค์คือแอนสท์ เอากุสท์ 1 แห่งฮันโนเฟอร์ (Ernest Augustus I of Hanover, Duke of Cumberland)[3] เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียสวรรคตในปี 1901 ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาได้ครองราชบัลลังก์สหราชอาณาจักรต่อ โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระราชโอรสและองค์รัชทายาทผู้เป็นพระโอรสในเจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ทำให้ชื่อราชวงศ์อังกฤษเปลี่ยนไปเป็นซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา ตามนามสกุลของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ซึ่งได้รับมาจากพระราชบิดา[4]
สายปกครองรัฐฮันโนเฟอร์
แก้หลังจากพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร สวรรคตในปี 1837 มีผู้ได้ครองบัลลังก์ฮันโนเฟอร์ต่อ ดังนี้:
- พระเจ้าแอนสท์ เอากุสท์ที่ 1 แห่งฮันโนเฟอร์ (Ernest Augustus I) ค.ศ. 1837-ค.ศ. 1851
- พระเจ้าเกออร์กที่ 5 แห่งฮันโนเฟอร์ (George V) ค.ศ. 1851-ค.ศ. 1866 ถูกถอดจากราชสมบัติ
ฮันโนเฟอร์สิ้นสุดลงเมื่อถูกรวมเข้ากับปรัสเซียในปี 1866
ดัชชีเบราน์ชไวค์
แก้ในปี 1884 เชื้อสายของราชวงศ์เวลฟ์ (House of Welf) ได้สิ้นสุดลง ตามกฎหมายของราชวงศ์ ราชวงศ์ฮันโนเฟอร์สามารถขึ้นครองบัลลังก์ดัชชีเบราน์ชไวค์ แต่กระนั้นก็มีแรงกดดันจากปรัสเซียต่อพระเจ้าจอร์จที่ 5 และแอนสท์ เอากุสท์ ดยุกที่ 3 แห่งคัมบาลันด์ (Ernest Augustus, 3rd Duke of Cumberland) พระราชโอรสไม่ให้ขึ้นเป็นรัฐสมาชิกของจักรวรรดิเยอรมัน ตามกฎหมายในปี 1879 ได้ตั้งสภาชั่วคราวขึ้นมาเพื่อดูแลเมื่อดยุกถึงแก่อสัญกรรม หรือแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนในกรณีจำเป็น
ดยุกแห่งคัมบาลันด์ได้อ้างสิทธิเป็นดยุกแห่งเบราน์ชไวค์หลังจากดยุกองค์ก่อนสิ้นพระชนม์ แต่ก็มีการต่อรองที่ยาวนานและปัญหาก็ไม่ได้รับการแก้ไข เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งปรัสเซัย (Prince Albrecht of Prussia) ได้ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หลังจากพระองค์สวรรคตในปี 1906 ดยุกโยฮันน์ อัลแบร์ตแห่งเมคเลินบวร์ค (Duke John Albert of Mecklenburg) ได้ครองราชย์ต่อ โอรสคนโตของดยุกแห่งคัมบาลันด์ได้เสียชีวิตในอุบัติเหตุรถยนต์ในปี 1912 ดยุกแห่งคัมบาลันด์จึงประกาศให้ราชบัลลังก์ตกสู่โอรสองค์เล็ก ผู้ซึ่งแต่งงานกับพระราชธิดาในจักรพรรดิแห่งเยอรมนี (Kaiser) ได้ให้สัตย์ปฏิญาณว่าจะเป็นพันธมิตรกับจักรวรรดิเยอรมัน และได้รับอนุญาตให้ขึ้นครองราชบัลลังก์ของดัชชีในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1913 เขาเป็นนายพลตรี (major-general) ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่ตำแหน่งดยุกแห่งเบราน์ชไวค์ก็ถูกล้มล้างในปี 1918 บิดาของเขาก็ถูกถอดจากพระอิสริยยศอังกฤษในปี 1919 เนื่องจากจับอาวุธต่อสู้กับสหราชอาณาจักร
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์
แก้หัวหน้าราชวงศ์ในลำดับถัดมาได้แก่
- จอร์จที่ 5 แห่งฮาโนเวอร์ (George V) ค.ศ. 1866-ค.ศ. 1878
- แอนสท์ เอากุสท์ ดยุกที่ 3 แห่งคัมบาลันด์ (Ernest Augustus, 3rd Duke of Cumberland) ค.ศ 1878-ค.ศ. 1923
- แอนสท์ เอากุสท์ที่ 3 ดยุกผู้ถูกถอดแห่งบรุนสวิค (จากตำแหน่ง) (Ernest Augustus III, the deposed duke of Brunswick) ค.ศ. 1923-ค.ศ. 1953 โอรสของดยุกคนก่อน
- แอนสท์ เอากุสท์ ผู้อาวุโส เจ้าชายแห่งฮันโนเฟอร์ (Ernest Augustus the elder, Prince of Hanover) ค.ศ. 1953-ค.ศ. 1987
- แอนสท์ เอากุสท์ ผู้เยาว์ เจ้าชายแห่งฮันโนเฟอร์ (Ernest Augustus the younger, Prince of Hanover) ค.ศ. 1987-ปัจจุบัน
ราชวงศ์นี้ปัจจุบันพำนักอยู่ในออสเตรียตั้งแต่ปี 1866 พระอิสสริยศและตำแหน่งนี้ใช้เพียงสมมติกันขึ้นมาเพื่อความเคารพตั้งแต่ปี 1919
เกร็ดข้อมูล
แก้- ถนนในเขตเศรษฐกิจกลางของบริสเบน (Brisbane's Central Business District) มีชื่อตามสมาชิกของราชวงศ์ฮาโนเวอร์ ถนนที่ตัดขนานกับ Queen Street จะตั้งตามชื่อสมาชิกที่เป็นหญิง ส่วนถนนที่ตัดตั้งฉากจะเป็นมีชื่อตามชื่อสมาชิกที่เป็นชาย
- จัตุรัสแฮโนเวอร์ ในเมืองนิวยอร์กตั้งชื่อตามชื่อราชวงศ์ รวมไปถึงชื่อรัฐนิวบรันสวิก (province of New Brunswick) ในแคนาดา รวมทั้งชื่อเมืองต่าง ๆ ในทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
- ชื่อเมืองแอดิเลด (Adelaide) ในประเทศออสเตรเลีย ตั้งชื่อตามพระนางแอเดเลดแห่งซัคเซิน-ไมนิงเงิน สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักร (Adelaide of Saxe-Meiningen) พระมเหสีในพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร
อ้างอิงและเชิงอรรถ
แก้- ↑ Picknett, Lynn, Prince, Clive, Prior, Stephen & Brydon, Robert (2002). War of the Windsors: A Century of Unconstitutional Monarchy, p. 13. Mainstream Publishing. ISBN 1-84018-631-3.
- ↑ ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และราชอาณาจักรไอร์แลนด์ได้รวมกันใน ค.ศ. 1801 เป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์
- ↑ Picknett, Prince, Prior & Brydon, pp. 13, 14.
- ↑ Picknett, Prince, Prior & Brydon, p. 14.
หนังสือและบทความอ่านประกอบ
แก้- ชาคริต ชุ่มวัฒนะ และอนันต์ชัย เลาหะพันธุ. “การสืบราชบัลลังก์อังกฤษของราชวงศ์แฮโนเวอร์: มาตรการสุดท้ายในการยุติความขัดแย้งทางศาสนา.” วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 32, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2557): 73-106.
- Fraser, Flora. Princesses: The Six Daughters of George III. Knopf, 2005. (อังกฤษ)
- Plumb, J. H. The First Four Georges. Revised ed. Hamlyn, 1974. (อังกฤษ)
- Redman, Alvin. The House of Hanover. Coward-McCann, 1960. (อังกฤษ)
- Van der Kiste, John. George III’s Children. Sutton Publishing, 1992. (อังกฤษ)
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ตารางเวลาของราชวงศ์ฮาโนเวอร์ เก็บถาวร 2008-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- วงศ์วานของราชวงศ์ เก็บถาวร 2008-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- Die Welfen (เยอรมัน) เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของราชวงศ์เวลฟ์
- กฎการสืบสันตติวงศ์ของราชวงศ์เวลฟ์ (อังกฤษ)