แฟรงก์ (อังกฤษ: Franks, ละติน: Franci) เป็นกลุ่มชนเจอร์มานิกตะวันตกที่เริ่มก่อตัวขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 โดยมีถิ่นฐานอยู่ทางเหนือและทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำไรน์ตอนล่าง ภายใต้การปกครองโดยราชวงศ์เมโรแว็งเชียง ชนแฟรงก์ก็ก่อตั้งสถาบันพระมหากษัตริย์เจอร์มานิกที่มาแทนจักรวรรดิโรมันตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 รัฐของชนแฟรงก์และมารวมตัวกันเป็นอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่กลายมาเป็นจักรวรรดิคาโรลินเจียนและรัฐต่าง ๆ ที่ตามมา

ชาวแฟรงก์
Franci
วัตถุของชาวแฟรงค์ในสมัยราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง
ภาษา
Old Frankish
ศาสนา
ศาสนาพื้นเมืองแฟรงค์, โรมันคาทอลิก
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มชนเจอร์แมนิก, ชาวฝรั่งเศส
หนังสือสำหรับทำพิธีศาสนา “Gelasian Sacramentary” จากราว ค.ศ. 750

ความหมายของคำว่า “ชนแฟรงก์” ที่กลุ่มชนแตกต่างกันไปตามสมัยและปรัชญา โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นความหมายที่ไม่ชัดเจน ภายในกลุ่มแฟรงเคีย “ชนแฟรงก์” เป็นกลุ่มชนที่มีเป็นกลุ่มชนเอกลักษณ์ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง

รากของคำว่า “แฟรงก์” อาจจะมาจากภาษาละติน “francisca” (จากเจอร์มานิก “*frankon” ที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาอังกฤษเก่า “franca”) ที่แปลว่า “แหลน” ชนแฟรงก์ที่โยนขวานได้รับนามว่า “francisca” (ขว้างขวาน) ซึ่งอาจจะเป็นการเรียกกลุ่มชนตามอาวุธที่ใช้ เอ. ซี. เมอร์เรย์ กล่าวว่าที่มาของคำว่า “Franci” ไม่เป็นที่ทราบแน่นอน (“คนดุ” ดูจะเป็นความหมายที่นิยมกัน) แต่จะอย่างไรก็ตามก็เป็นคำที่มีที่มาจากเจอร์มานิค[1]

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชนแฟรงก์บางกลุ่มก็โจมตีอาณาบริเวณที่เป็นของโรมัน ขณะที่ชนแฟรงก์กลุ่มอื่นเข้าเป็นทหารโรมันในกอล มีก็แต่กลุ่มซาเลียนเท่านั้นที่ก่อตั้งราชอาณาจักรในดินแดนของโรมันและเป็นที่ยอมรับของโรมันหลังจากปี ค.ศ. 357 ในขณะที่อำนาจของจักรวรรดิโรมันเสื่อมโทรมลง ชนแฟรงก์ก็รวมตัวกันภายใต้ราชวงศ์เมโรแว็งเชียงและได้รับชัยชนะต่อดินแดนกอลทั้งหมดนอกจากเซ็พติเมเนีย (Septimania) ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ความมีอำนาจและอภิสิทธิ์ของซาเลียนมีบทบาทสำคัญในการช่วยการเผยแพร่คริสต์ศาสนาไปทั่วยุโรปตะวันตก

ประวัติศาสตร์

แก้

ที่มา

แก้

ชาวแฟรงก์ปรากฏตัวครั้งแรกในบันทึกทางประวัติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 ในฐานะชนเผ่าเจอร์แมนิกกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มทางตะวันออกของแม่น้ำไรน์ล่าง ในด้านภาษาศาสตร์ชาวแฟรงก์จัดอยู่ในกลุ่มไรน์-เวเซอร์ของกลุ่มคนที่พูดภาษาเจอร์แมนิก

ในตอนนั้นชาวแฟรงก์แบ่งออกเป็นสามกลุ่มย่อย คือ ชาวซาเลียน, ชาวริปัวเรียน และชาวชัตติหรือชาวเฮสเซียน แต่ละกลุ่มมีความเกี่ยวข้องกันทางด้านภาษาและวัฒนธรรม แต่ในทางการเมืองถือว่าเป็นคนละชนเผ่ากัน

ขยายตัวเข้าสู่กอล

แก้

ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 3 ชาวแฟรงก์พยายามขยายอาณาเขตไปทางตะวันตกข้ามแม่น้ำไรน์เข้าสู่กอลที่อยู่ในการครอบครองของชาวโรมันแต่ไม่สำเร็จ ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ชาวแฟรงก์พยายามบุกกอลอีกครั้ง และในปี ค.ศ. 358 ชาวโรมันจำใจต้องสละพื้นที่ระหว่างแม่น้ำเมิซกับแม่น้ำสเกลด์ต์ (ที่ปัจจุบันอยู่ในประเทศเบลเยียม) ให้กับชาวซาเลียนแฟรงก์

ชาวแฟรงก์ค่อย ๆ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอารยธรรมโรมัน ผู้นำแฟรงก์ส่วนหนึ่งกลายเป็นพันธมิตร (ฟอยเดราติ) ของชาวโรมัน ช่วยคุ้มกันพรมแดนให้ชาวโรมัน และชาวแฟรงก์จำนวนมากรับใช้เป็นกองกำลังเสริมให้กองทหารโรมัน

ชาวแวนดัลปฏิบัติการรุกรานกอลอย่างหนักในปี ค.ศ. 406 และตลอดหลายทศวรรษหลังจากนั้นชาวแฟรงก์อาศัยจังหวะที่ชาวโรมันล้ากับการคุ้มกันดินแดน ผนึกกำลังกันครอบครองพื้นที่ที่ปัจจุบันคือประเทศเบลเยียมจนได้อำนาจควบคุมดินแดนทางตะวันตกของแม่น้ำไรน์อย่างถาวร และเข้าประชิดพื้นที่ที่ปัจจุบันคือประเทศฝรั่งเศสตอนเหนือ การสถาปนาตนเองของชาวแฟรงก์ในกอลตะวันออกเฉียงเหนือในปี ค.ศ. 480 ทำให้ชาวโรมันสูญเสียการปกครองมณฑลเจอร์แมเนียกับอดีตมณฑลของชาวเบลกายสองแห่งไป ประชากรกัลโลโรมันกลุ่มเล็ก ๆ ถูกกดอยู่ภายใต้อำนาจของผู้ย้ายถิ่นชาวเยอรมัน และภาษาละตินไม่ได้เป็นภาษาที่ใช้กันในชีวิตประจำวันอีกต่อไป ขีดจำกัดสำคัญในการตั้งถิ่นฐานของชาวแฟรงก์ในเวลานั้นคือพรมแดนด้านภาษาที่ยังคงแบ่งแยกประชาชนของฝรั่งเศสและเบลเยียมใต้ที่พูดภาษาโรมานซ์ออกจากประชาชนที่พูดภาษาเจอร์แมนิกในเบลเยียมเหนือ, เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี

กำเนิดราชวงศ์เมโรวินเจียน

แก้

ในปี ค.ศ. 481/482 พระเจ้าโคลวิสที่ 1 สืบทอดตำแหน่งต่อจากบิดา ชิลเดอริก เป็นผู้ปกครองของชาวซาเลียนแฟรงก์ในทัวร์เน ตลอดหลายปีหลังจากนั้นโคลวิสบีบชนเผ่าซาเลียนกลุ่มอื่นกับชาวริปัวเรียนให้ยอมจำนนต่ออำนาจของพระองค์ จากนั้นพระองค์ก็อาศัยจังหวะที่จักรวรรดิโรมันสลายตัว รวมชาวแฟรงก์เป็นหนึ่งเดียวในการสู้รบต่อเนื่อง ทำให้พระองค์ได้พื้นที่ของกอลตอนเหนือทั้งหมดมาอยู่ภายใต้การปกครองในปี ค.ศ. 494 โคลวิสสกัดกั้นชาวอาเลมันนีจากฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์ไม่ให้เข้ามาในกอล และในปี ค.ศ. 507 พระองค์เคลื่อนทัพลงใต้ไปปราบชาววิซิกอธที่สถาปนาตนเองในกอลตอนใต้

ราชอาณาจักรแฟรงก์ที่เป็นหนึ่งเดียวในกอลตอนเหนือถูกสถาปนาขึ้นอย่างมั่นคง พระเจ้าโคลวิสเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ และนำเอาศาสนาคริสต์นิกายออร์โธด็อกซ์เข้ามาเพื่อรวมชาวแฟรงก์ให้เป็นหนึ่งเดียว ทำให้ชาวแฟรงก์ได้รับการหนุนหลังจากนักบวชออร์โธด็อกซ์กับชาวกัลโลโรมันที่เหลืออยู่ในกอล ขณะที่ชนเผ่าเจอร์แมนิกกลุ่มอื่นนับถือนิกายอาเรียน

พระเจ้าโคลวิสตั้งราชวงศ์เมโรวินเจียนขึ้นมา โดยตั้งชื่อตามพระนามของพระอัยกา เมโรเวช ภายใต้การปกครองของผู้สืบทอดตำแหน่งของโคลวิส ชาวเมโรวินเจียนสามารถขยายอำนาจของชาวแฟรงก์เข้าสู้พื้นที่ทางตะวันออกของแม่น้ำไรน์ ราชวงศ์เมโรวินเจียนปกครองอาณาเขตของชาวแฟรงก์จนกระทั่งถูกแทนที่โดยราชวงศ์การอแล็งเฌียงในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ชาร์เลอมาญชาวการอแล็งเฌียงฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันตะวันตกขึ้นมาอีกครั้งด้วยความช่วยเหลือของพระสันตะปาปาและเผยแผ่ศาสนาคริสต์เข้าสู่เยอรมนีตอนกลางและตอนเหนือ จักรวรรดิของพระองค์สลายตัวในคริสต์ศตวรรษที่ 9

ตลอดหลายศตวรรษต่อมา ประชาชนของอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก (ฝรั่งเศส) ยังคงเรียกตนเองว่าชาวแฟรงก์ต่อไป แม้ชาวแฟรงก์จะหลอมรวมกับประชากรเดิมไปแล้วก็ตาม ในประเทศเยอรมนีชื่อนี้ยังคงหลงเหลืออยู่ในชื่อฟรานโกเนีย (แฟรงเกิน) ดัชชีที่ทอดยาวจากไรน์แลนด์ไปตามแนวแม่น้ำเมน

อ้างอิง

แก้
  1. A. C. Murray, From Roman to Merovingian Gaul: A Reader. Broadview Press Ltd, 2000. p. 1.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

Frank PEOPLE WRITTEN BY: The Editors of Encyclopaedia

ดูเพิ่ม

แก้