จักรวรรดิโรมัน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
จักรวรรดิโรมัน (ละติน: Imperium Rōmānum [ɪmˈpɛri.ũː roːˈmaːnũː]; กรีก: Βασιλεία τῶν Ῥωμαίων, ทับศัพท์ Basileía tôn Rhōmaíōn; อังกฤษ: Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล – ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์[7] มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก่
- วันที่จูเลียส ซีซาร์ประกาศตัวเป็นผู้เผด็จการ (44 ปีก่อนคริสตกาล)
- ชัยชนะของออคเตเวียนในยุทธนาวีที่อักติอูง (2 กันยายน 31 ปีก่อนคริสตกาล)
- วันที่วุฒิสภาประกาศยกย่องออคเตเวียนให้เป็นเอากุสตุส (16 มกราคม 27 ปีก่อนคริสตกาล)
จักรวรรดิโรมัน
| |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
27 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 476 (วันที่ดั้งเดิม)[1][2] ค.ศ. 395 – 476/480 (ตะวันตก) ค.ศ. 395–1453 (ตะวันออก) | |||||||||||
เมืองหลวง |
| ||||||||||
ภาษาทั่วไป | |||||||||||
ศาสนา |
| ||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตยกึ่งโดยเลือกตั้ง, ตามระบบเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||||
• 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 14 | เอากุสตุส (องค์แรก) | ||||||||||
• ค.ศ. 98–117 | ตรายานุส | ||||||||||
• ค.ศ. 270–275 | ออเรเลียน | ||||||||||
• ค.ศ. 284–305 | ดิออเกลติอานุส | ||||||||||
• ค.ศ. 306–337 | คอนสแตนตินมหาราช | ||||||||||
• ค.ศ. 379–395 | เทออดอซิอุสที่ 1[n 2] | ||||||||||
• ค.ศ. 474–480 | ยูลิอุส แนโปส[n 3] | ||||||||||
• ค.ศ. 475–476 | โรมุลุส เอากุสตุส | ||||||||||
• ค.ศ. 527–565 | ยุสตินิอานุสที่ 1 | ||||||||||
• ค.ศ. 610–641 | เฮราคลิอัส | ||||||||||
• ค.ศ. 780–797 | คอนสแตนตินที่ 6[n 4] | ||||||||||
• ค.ศ. 976–1025 | เบซิลที่ 2 | ||||||||||
• ค.ศ. 1449–1453 | คอนสแตนตินที่ 11[n 5] | ||||||||||
สภานิติบัญญัติ | วุฒิสภา | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยคลาสสิกถึงสมัยกลางตอนปลาย | ||||||||||
32–30 ปีก่อนคริสต์ศักราช | |||||||||||
30–2 ปีก่อนคริสต์ศักราช | |||||||||||
• คอนสแตนติโนเปิล กลายเป็นเมืองหลวง | 11 พฤษภาคม ค.ศ. 330 | ||||||||||
• การแบ่งตะวันออก-ตะวันตกครั้งสุดท้าย | 17 มกราคม ค.ศ. 395 | ||||||||||
4 กันยายน ค.ศ. 476 | |||||||||||
• การสังหารจักรพรรดิยูลิอุส แนโปส | 25 เมษายน ค.ศ. 480 | ||||||||||
12 เมษายน ค.ศ. 1204 | |||||||||||
• การพิชิตคอนสแตนติโนเปิลอีกครั้ง | 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1261 | ||||||||||
29 พฤษภาคม 1453 | |||||||||||
• เตรบีซอนด์ล่มสลาย | 15 สิงหาคม ค.ศ. 1461 | ||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||
25 ปีก่อนคริสต์ศักราช[4] | 2,750,000 ตารางกิโลเมตร (1,060,000 ตารางไมล์) | ||||||||||
ค.ศ. 117[4][5] | 5,000,000 ตารางกิโลเมตร (1,900,000 ตารางไมล์) | ||||||||||
ค.ศ. 390[4] | 4,400,000 ตารางกิโลเมตร (1,700,000 ตารางไมล์) | ||||||||||
ประชากร | |||||||||||
• 25 ปีก่อนคริสต์ศักราช[6] | 56,800,000 | ||||||||||
สกุลเงิน | เซ็ซเตรีอุส, เอาเรอุส, โซลีดุส, โนมิสตา | ||||||||||
|
จักรวรรดิโรมันเคยมีดินแดนอยู่ในการครอบครองมากมาย ได้แก่ อังกฤษและเวลส์ ยุโรปส่วนใหญ่ (ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์และทางใต้ของเทือกเขาแอลป์) ชายฝั่งของแอฟริกาเหนือ บริเวณมณฑลใกล้เคียงของอียิปต์ แถบบอลข่าน ทะเลดำ เอเชียไมเนอร์ และส่วนใหญ่ของบริเวณลิแวนต์ ซึ่งดินแดนเหล่านี้ จากตะวันตกสู่ตะวันออกในปัจจุบันได้แก่ โปรตุเกส สเปน อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี แอลเบเนียและกรีซ แถบบอลข่าน ตุรกี ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกของเยอรมนี ทางภาคใต้จักรวรรดิโรมันได้รวบรวมตะวันออกกลางไว้ ซี่งในปัจจุบันก็ได้แก่ซีเรีย เลบานอน อิสราเอล จอร์แดน จากนั้นในภาคตะวันตกเฉียงใต้ จักรวรรดิได้รวบรวมอียิปต์โบราณไว้ทั้งหมด และได้ทำการยึดครองต่อไปทางตะวันตกซึ่งเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลซี่งในปัจจุบันคือประเทศลิเบีย ตูนิเซีย แอลจีเรียและโมร็อกโก จนถึงตะวันตกของยิบรอลตาร์ ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในจักรวรรดิโรมันเรียกว่าชาวโรมัน และดำเนินชีวิตภายใต้กฎหมายโรมัน การขยายอำนาจของโรมันได้เริ่มมานานตั้งแต่ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเรืองอำนาจสูงสุดในสมัยจักรพรรดิทราจัน ด้วยชัยชนะเหนือดาเซีย (ปัจจุบันคือประเทศโรมาเนียและมอลโดวา และส่วนหนึ่งของประเทศฮังการี บัลแกเรียและยูเครน) ในปี ค.ศ. 106 และเมโสโปเตเมียในปี ค.ศ. 116 (ซึ่งภายหลังสูญเสียดินแดนนี้ไปในสมัยจักรพรรดิฮาดริอานุส) ถึงจุดนี้ จักรวรรดิโรมันได้ครอบครองแผ่นดินประมาณ 5,900,000 ตารางกิโลเมตร (2,300,000 ตารางไมล์) และห้อมล้อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งชาวโรมันเรียกทะเลนี้ว่า mare nostrum ("ทะเลของเรา") อิทธิพลของโรมันได้ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านภาษา ศาสนา สถาปัตยกรรม ปรัชญา กฎหมายและระบบการเมืองมาจนถึงทุกวันนี้
จักรวรรดิถูกแบ่งออกเป็นฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกในสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน และถือว่าจักรวรรดิโรมันล่มสลายลงในช่วงเวลาประมาณวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 476 เมื่อจักรพรรดิโรมุลุส เอากุสตุส จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกขับไล่และเกิดการจลาจลขึ้นในโรม (ดูในการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน) อย่างไรก็ตาม จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่รู้จักกันในชื่อจักรวรรดิไบแซนไทน์ ก็ได้รักษากฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบกรีก-โรมัน รวมถึงศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์ไว้ได้ในอีกสหัสวรรษต่อมา จนถึงการล่มสลายเมื่อเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลให้กับจักรวรรดิออตโตมัน ในปีค.ศ. 1453
ประวัติศาสตร์
แก้นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งแยกช่วงการปกครองของจักรวรรดิโรมันเป็นสมัยผู้นำ (Principate) ซึ่งเริ่มตั้งแต่จักรพรรดิเอากุสตุสจนถึงวิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3 และสมัยครอบงำ (Dominate) ซึ่งเริ่มตั้งแต่จักรพรรดิไดโอคลีเชียนจนถึงการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ซึ่งในสมัยผู้นำ ในจักรพรรดิจะมีอำนาจอยู่เบื้องหลังการปกครองแบบสาธารณรัฐ แต่ในสมัยครอบงำ อำนาจของจักรพรรดิได้แสดงออกมาอย่างเต็มที่ ด้วยมงกุฎทองและพิธีกรรมที่หรูหรา และเมื่อเร็ว ๆ นี้ นักประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ว่ารูปแบบการปกครองนี้ได้ใช้ต่อจนถึงช่วงเวลาของจักรวรรดิไบแซนไทน์
สมัยรุ่งเรือง
แก้จักรพรรดิพระองค์แรก
แก้จูเลียส ซีซาร์ได้ประกาศตัวเป็นผู้เผด็จการตลอดอายุขัย ซึ่งตามกฎหมายแล้ว ผู้เผด็จการจะต้องไม่อยู่ในตำแหน่งเกิน 6 เดือน ตำแหน่งของซีซาร์จึงขัดกับกฎหมายอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เหล่าสมาชิกวุฒิสภาบางคนเกิดความหวาดระแวงว่าเขาจะตั้งตนเป็นกษัตริย์และสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ดังนั้นจึงเกิดการวางแผนการลอบสังหารขึ้น และในวันที่ 15 มีนาคม 44 ปีก่อนคริสตกาล จูเลียส ซีซาร์เสียชีวิตลงโดยฝีมือของพวกลอบสังหาร
ออคเตเวียน บุตรบุญธรรมและทายาททางการเมืองของจูเลียส ซีซาร์ ได้เรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และไม่อ้างสิทธิ์ในตำแหน่งผู้เผด็จการ แต่ได้ขยายอำนาจภายใต้รูปแบบสาธารณรัฐอย่างระมัดระวัง โดยเป็นการตั้งใจที่จะสนับสนุนภาพลวงแห่งการฟื้นฟูของสาธารณรัฐ เขาได้รับตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง เช่น เอากุสตุส ซึ่งแปลว่า "ผู้สูงส่ง" และพรินเซปส์ ซึ่งแปลว่า"พลเมืองชั้นหนึ่งแห่งสาธารณรัฐโรมัน" หรือ "ผู้นำสูงสุดของวุฒิสภาโรมัน" ตำแหน่งนี้เป็นรางวัลสำหรับบุคคลผู้ทำงานรับใช้รัฐอย่างหนัก แม่ทัพปอมปีย์เคยได้รับตำแหน่งนี้เช่นกัน
นอกจากนี้ เอากุสตุสยังได้สิทธิ์ในการสวมมงกุฎพลเมือง ที่ทำจากไม้ลอเรลและไม้โอ๊คอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทั้งตำแหน่งต่าง ๆ และมงกุฎก็ไม่ได้มอบอำนาจพิเศษใด ๆ ให้เขา เขาเป็นเพียงกงสุลเท่านั้น และใน 13 ปีก่อนคริสตกาล เอากุสตุสได้เป็นพอนติเฟกซ์ แมกซิมุส ภายหลังการเสียชีวิตของมาร์กุส ไอมิลิอุส แลปิดุส เอากุสตุสสะสมพลังอำนาจไว้มากโดยที่ไม่ได้อ้างสิทธิ์ในตำแหน่งต่าง ๆ มากเกินไป
จากสาธารณรัฐสู่สมัยผู้นำ: เอากุสตุส
แก้ในปี 31 ปีก่อนคริสตกาล มาร์ค แอนโทนีและคลีโอพัตราพ่ายแพ้ในยุทธนาวีที่อักติอูงและได้กระทำอัตวินิบาตฆาตกรรมทั้งคู่ ออคเตเวียนได้สำเร็จโทษซีซาเรียน ลูกชายของคลีโอพัตราและจูเลียส ซีซาร์ด้วย การสังหารซีซาเรียนทำให้ออคเตเวียนไม่มีคู่แข่งทางการเมืองที่มีสายเลือดใกล้ชิดกับจูเลียส ซีซาร์แล้ว เขาจึงกลายเป็นผู้ปกครองคนเดียวของโรม ออคเตเวียนเริ่มการปฏิรูปทางทหาร เศรษฐกิจและการเมืองครั้งใหญ่ โดยมีเจตนาเพื่อทำให้อาณาจักรโรมันมั่นคงและสงบสุข และยังทำให้เกิดการยอมรับในรูปแบบการปกครองใหม่นี้ด้วย
ในช่วงเวลาที่ออคเตเวียนปกครองโรมัน วุฒิสภาได้มอบชื่อเอากุสตุสให้เขา พร้อมกับตำแหน่ง อิมเพอเรเตอร์ ("จอมทัพ") ด้วย ซึ่งได้พัฒนาเป็น เอ็มเพอเรอร์' ("จักรพรรดิ") ในภายหลัง
เอากุสตุสมักจะถูกเรียกว่า ซีซาร์ ซึ่งเป็นนามสกุลของเขา คำว่าซีซาร์นี้ถูกใช้เรียกจักรพรรดิในราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอุส และราชวงศ์ฟลาวิอุส (จักรพรรดิแว็สปาซิอานุส จักรพรรดิติตุส และจักรพรรดิดอมิติอานุส) ด้วย และยังเป็นรากศัพท์ของคำว่า ซาร์ (รัสเซีย: tsar) และ ไกเซอร์ (เยอรมัน: kaiser)
ยุคเสื่อมและการล่มสลาย
แก้ในสมัยห้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรมก็ได้มาพร้อมกับความเสถียรภาพทางสังคมและความเจริญทางเศษฐกิจที่จักรวรรดิโรมไม่เคยมีมาก่อน[8] ควบคู่กับการขยายและการรวบรวมจักรวรรดิอย่างมหาศาล ถึงแม้การเปลี่ยนแปลงในช่วงนี้จะมีประโยชน์แต่ได้มากับภาวะรวบรวมศูนย์อำนาจบริหารล้นเหลือ[9] และการครองราชย์ของจักรพรรดิก็อมมอดุสใน ค.ศ. 180 ได้ฉายานามว่า "จากอาณาจักรแห่งทองได้กลายเป็นเหล็กและสนิม"[10] ต่อมาในราชวงค์ของจักรพรรดิแซ็ปติมิอุส แซเวรุส จักรวรรดิโรมันไปประสบวิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3ซึ่งแทบจะนำความสิ้นสุดมาสู่จักรวรรดิจากปัญหาหลายอย่างรวมกันที่รวมทั้งการรุกรานของพวกอนารยชนเผ่ากอท ความวุ่นวายไม่สงบ โรคระบาด และความตกต่ำทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างแม่ทัพ ซึ่งส่งผลไปทางชีวิตประจำวันของสามัญชนและทางธนารักษ์ จึงจำเป็นที่จะต้องหยุดชะงักทางการค้า เพิ่มอัตราภาษี เกิดภาวะเงินเฟ้อ และบีบบังคับจากการประจำการทางทหาร ทั้งหมดทำให้เกิดความยากลำบากทางเศรษฐกิจเป็นเวลาหลายทศวรรษ วิกฤตครั้งนี่นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจากสมัยคลาสสิก เป็น ปลายสมัยโบราณ
จักรพรรดิออเรเลียนก็ได้ฟื้นฟูและทำให้จักวรรดิมีความเสถียรภาพ และได้ต่อยอดโดยจักรพรรดิดิออเกลติอานุส นอกนี้ภายใต้อำนาจของจักรพรรดิดิออเกลติอานุสก็ได้นำพาความร่วมกันต่อต้านภัยจากศาสนาคริสต์จึงได้เริ่มการเบียดเบียนครั้งใหญ่ ในช่วงราชสมัยครั้งนี้ก็ได้แบ่งจักรวรรดิโรมันเป็น 4 เขตในรูปแบบการปกครองที่เรียกว่า "จตุราธิปไตย"[11] ต่อมาในราชสมัยของจักรพรรดิกาเลริอุส ก็ได้ยินยอมให้ผู้นับถือศาสนาคริสต์ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้โดยสันติในปี ค.ศ. 311[12]
ในปีต่อมา ในราชสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนตินทรงกลับใจนับถือศาสนาคริสต์ และยอมรับให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำจักวรรดิ ซึ่งในเวลาต่อมาก็ได้ขยายอิทธิพลทั่วยุโรป ทรงสถาปนากรุงคอนแสนติโนเปิลในทางตะวันตกออกของจักรวรรดิโรมันเพื่อเป็นเมืองหลวงอีกแห่งหนึ่ง เพื่อแบ่งภาระของกรุงโรมในการปกครองและปราบปรามพวกอนารยชน จักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 1 ได้เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายที่ครองราชย์รอบเต็มขนาด เนื่องด้วยหลังจากนี้จักรวรรดิโรมันจะเสื่อมลงและเริ่มสุญเสียดินแดนและอำนาจ
ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันตะวันตกต้องเผชิญกับปัญหาภายใน ไม่ว่าจะเป็นเพราะความอ่อนแอของจักพรรดิ ระบบทหารและเศรษฐกิจที่อ่อนแอ การย้ายถิ่นฐานของพวกบาร์เบเรียน การเสื่อมศีลธรรมจรรยาของชาวโรมัน และอื่นๆ[13]
ในปี ค.ศ. 410 จักรวรรดิโรมันตะวันตกก็โดนชาววิซิกอท ได้รุกร่านตีกรุงโรมแตก ซึ่งต่อมาใน ค.ศ. 476 จักรวรรดิโรมันตะวันตกก็ได้ถูกพวกกลุ่มชนเจอร์แมนิกเข้าปล้นสะดมได้สำเร็จ นำโดยพระเจ้าโอเดเซอร์ ขับไล่จักรพรรดิโรมุลุส เอากุสตุสออกจากบัลลังก์ ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมัน (ตะวันตก) ส่วนจักรวรรดิโรมันตะวันออก ซึ่งเรียกโดยนักประวัติศาสตร์ว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" ได้เจริญพัฒนาราบรื่น มั่นคั่งและร่ำรวยกว่ายังดำรงต่อไปและยังคงมีจักรพรรดิปกครองไปไปในช่วงยุคกลางจนถูกพวกเติร์กเข้ายึดครองและถูกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน ใน ค.ศ. 1453[14][15]
หมายเหตุ
แก้- ↑ ชื่ออื่นที่กล่าวถึง "จักรวรรดิโรมัน" ในกลุ่มชาวโรมันและกรีกได้แก่ Res publica Romana หรือ Imperium Romanorum (ในภาษากรีก: Βασιλεία τῶν Ῥωμαίων – ["เครือจักรภพ (แปลตรงตัวว่า 'อาณาจักร' แต่สามารถตีความเป็น 'จักรวรรดิ') ของชาวโรมัน"]) และ Romania Res publica หมายถึง "เครือจักรภพ"โรมัน และสามารถอิงถึงสมัยสาธารณรัฐและจักรวรรดิ Imperium Romanum (หรือ "Romanorum") อิงถึงขอบเขตดินแดนของอำนาจโรมัน Populus Romanus ("ชาวโรมัน") มักใช้เรียกรัฐโรมัน คำว่า Romania เดิมทีสำนวนภาษาปากของดินแดนจักรวรรดิเช่นเดียวกันกับสมุหนามของผู้อยู่อาศัย ปรากฏในข้อมูลกรีกและลาตินในคริสต์ศตวรรษที่ 4 เป็นต้นมา และถูกนำไปใช้กับจักรวรรดิโรมันตะวันออก (ดู R. L. Wolff, "Romania: The Latin Empire of Constantinople" in Speculum 23 (1948), pp. 1–34 and especially pp. 2–3).
- ↑ จักรวรรดิองค์สุดท้ายที่ปกครองดินแดนจักรวรรดิโรมันทั้งหมดก่อนที่จะแยกออกเป็นสองจักรวรรดิ
- ↑ จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งโรมันตะวันตก
- ↑ ผู้นำคนสุดท้ายที่ทั้งหมดยอมรับว่าเป็นจักรพรรดิโรมัน
- ↑ จักรพรรดิองค์สุดท้ายในจักรวรรดิไบแซนไทน์ (โรมันตะวันออก)
อ้างอิง
แก้- ↑ Morley, Neville (17 August 2010). The Roman Empire: Roots of Imperialism. ISBN 978-0-7453-2870-6.
- ↑ Diamond, Jared (4 January 2011). Collapse: How Societies Choose to Fail or Succeed: Revised Edition. ISBN 978-1-101-50200-6.
- ↑ Bennett, Julian (1997). Trajan: Optimus Princeps : a Life and Times. Routledge. ISBN 978-0-415-16524-2.. Fig. 1. Regions east of the Euphrates river were held only in the years 116–117.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Taagepera, Rein (1979). "Size and Duration of Empires: Growth-Decline Curves, 600 B.C. to 600 A.D". Social Science History. Duke University Press. 3 (3/4): 125. doi:10.2307/1170959. JSTOR 1170959.
- ↑ Turchin, Peter; Adams, Jonathan M.; Hall, Thomas D (2006). "East-West Orientation of Historical Empires" (PDF). Journal of World-Systems Research. 12 (2): 222. ISSN 1076-156X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-05-17. สืบค้นเมื่อ 6 February 2016.
- ↑ Durand, John D. (1977). "Historical Estimates of World Population: An Evaluation". Population and Development Review. 3 (3): 253–296. doi:10.2307/1971891. JSTOR 1971891.
- ↑ ในช่วงระยะกาลต่อสู้นี้ สมาชิกวุฒิสภาได้ล้มตายลงไปนับร้อยคน วุฒิสภา จึงได้บรรจุผู้ที่ภักดีในข้อตกลงไตรพันธมิตรครั้งแรกและข้อตกลงไตรพันธมิตรครั้งที่สองเพิ่ม
- ↑ Boatwright, Mary T. (2000). Hadrian and the Cities of the Roman Empire. Princeton University Press. p. 4.
- ↑ https://www.britannica.com/place/Roman-Empire/Height-and-decline-of-imperial-Rome
- ↑ Dio Cassius 72.36.4, Loeb edition translated E. Cary
- ↑ Potter, David (2004). The Roman Empire at Bay. Routledge. pp. 296–298. ISBN 978-0-415-10057-1.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-12-26. สืบค้นเมื่อ 2022-10-06.
- ↑ วิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, สำนัก. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานครฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2551
- ↑ https://www.britannica.com/place/Roman-Empire/Height-and-decline-of-imperial-Rome#:~:text=The%20West%20was,Middle%20Ages.
- ↑ Ozgen, Korkut. "Mehmet II". TheOttomans.org. สืบค้นเมื่อ 3 April 2007.; Cartwright, Mark (23 January 2018). "1453: The Fall of Constantinople". World History Encyclopedia. World History Encyclopedia Limited. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
บรรณานุกรม
แก้- Abbott, Frank Frost (1901). A History and Description of Roman Political Institutions. Elibron Classics. ISBN 978-0-543-92749-1.
- Adams, J. N. (2003). "'Romanitas' and the Latin Language". The Classical Quarterly. 53 (1): 184–205. doi:10.1093/cq/53.1.184. JSTOR 3556490.
- Albrecht, Michael von (1997). A History of Roman Literature: From Livius Andronicus to Boethius : with Special Regard to Its Influence on World Literature. Vol. 2. BRILL. ISBN 978-90-04-10709-0.
- Ando, Clifford (2000). Imperial Ideology and Provincial Loyalty in the Roman Empire. University of California Press. ISBN 978-0-520-22067-6.
- Auguet, Roland (2012). Cruelty and Civilization: The Roman Games. Routledge. ISBN 978-1-135-09343-3.
- Boardman, John, บ.ก. (2000). The Cambridge Ancient History: The High Empire, A.D. 70–192. Vol. 11. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-26335-1.
- Bohec, Yann Le (2000). The Imperial Roman Army. Psychology Press. ISBN 978-0-415-22295-2.
- Bowersock, Glen Warren; Brown, Peter; Grabar, Oleg (1999). Late Antiquity: A Guide to the Postclassical World. Harvard University Press. p. 625. ISBN 978-0-674-51173-6.
- Bowman, Alan; Garnsey, Peter; Cameron, Averil, บ.ก. (2005). The Cambridge Ancient History: Volume 12, The Crisis of Empire, AD 193–337. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-30199-2.
- Bradley, Keith (1994). Slavery and Society at Rome. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-37887-1.
- Cavallo, Guglielmo; Chartier, Roger (1999). A History of Reading in the West. Polity Press. ISBN 978-0-7456-1936-1.
- Clarke, John R. (1991). The Houses of Roman Italy, 100 B.C.-A.D. 250: Ritual, Space, and Decoration. University of California Press. ISBN 978-0-520-08429-2.
- Dyson, Stephen L. (2010). Rome: A Living Portrait of an Ancient City. JHU Press. ISBN 978-1-4214-0101-0.
- Edmondson, J.C. (1996). "Dynamic Arenas: Gladiatorial Presentations in the City of Rome and the Construction of Roman Society during the Early Empire". Roman Theater and Society. University of Michigan Press.
- Edwards, Catharine (2007). Death in Ancient Rome. Yale University Press. ISBN 978-0-300-11208-5.
- Elsner, Jaś; Huskinson, Janet (2011). Life, Death and Representation: Some New Work on Roman Sarcophagi. Walter de Gruyter. ISBN 978-3-11-020213-7.
- Frier, Bruce W.; McGinn, Thomas A. (2004). A Casebook on Roman Family Law. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-516185-4.
- Gagarin, Michael, บ.ก. (2010). The Oxford Encyclopedia of Ancient Greece and Rome. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-517072-6.
- Goldsworthy, Adrian (2003). The Complete Roman Army. London: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-05124-5.
- Goldsworthy, Adrian Keith (2009). How Rome Fell: Death of a Superpower. New Haven, Connecticut: Yale University Press. ISBN 978-0-300-13719-4.
Commodus Gibbon.
- Habinek, Thomas N. (2005). The World of Roman Song: From Ritualized Speech to Social Order. JHU Press. ISBN 978-0-8018-8105-3.
- Harris, W. V. (1989). Ancient Literacy. Harvard University Press. ISBN 978-0-674-03381-8.
- Holleran, Claire (2012). Shopping in Ancient Rome: The Retail Trade in the Late Republic and the Principate. OUP Oxford. ISBN 978-0-19-969821-9.
- Humphrey, John H. (1986). Roman Circuses: Arenas for Chariot Racing. University of California Press. ISBN 978-0-520-04921-5.
- Huzar, Eleanor Goltz (1978). Mark Antony: a Biography. Minneapolis: University of Minnesota Press. ISBN 978-0-8166-0863-8.
- Johnson, William A; Parker, Holt N (2009). Ancient Literacies: The Culture of Reading in Greece and Rome. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-971286-1.
- Johnson, William A. (2010). Readers and Reading Culture in the High Roman Empire: A Study of Elite Communities. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-972105-4.
- Jones, A. H. M. (1960). "The Cloth Industry Under the Roman Empire". The Economic History Review. 13 (2): 183–192. doi:10.1111/j.1468-0289.1960.tb02114.x (inactive 31 May 2021). JSTOR 2591177.
{{cite journal}}
: CS1 maint: DOI inactive as of พฤษภาคม 2021 (ลิงก์) - Kelly, Christopher (2007). The Roman Empire: A Very Short Introduction. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-280391-7.
- Kousser, Rachel Meredith (2008). Hellenistic and Roman Ideal Sculpture: The Allure of the Classical. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-87782-4.
- Laes, Christian (2011). Children in the Roman Empire: Outsiders Within. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-89746-4.
- Marshall, Anthony J. (1976). "Library Resources and Creative Writing at Rome". Phoenix. 30 (3): 252–264. doi:10.2307/1087296. JSTOR 1087296.
- Millar, Fergus (2012). "Empire and City, Augustus to Julian: Obligations, Excuses and Status". Journal of Roman Studies. 73: 76–96. doi:10.2307/300073. JSTOR 300073.
- Mommsen, Theodore (2005) [1909]. William P. Dickson (บ.ก.). The provinces of the Roman empire from Caesar to Diocletian. แปลโดย William P. Dickson. Ann Arbor, Michigan: University of Michigan Library.
- Morris, Ian; Scheidel, Walter (2009). The Dynamics of Ancient Empires: State Power from Assyria to Byzantium. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-970761-4.
- Naerebout, Frederick G. (2009). "Dance in the Roman Empire and Its Discontents". Ritual Dynamics and Religious Change in the Roman Empire. Proceedings of the Eighth Workshop of the International Network Impact of Empire (Heidelberg, 5–7 July 2007), Brill.
- Nicolet, Claude (1991). Space, Geography, and Politics in the Early Roman Empire. University of Michigan Press. ISBN 978-0-472-10096-5.
- Peachin, Michael, บ.ก. (2011). The Oxford Handbook of Social Relations in the Roman World. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-518800-4.
- Potter, David Stone; Mattingly, D. J. (1999). Life, Death, and Entertainment in the Roman Empire. University of Michigan Press. ISBN 978-0-472-08568-2.
- Potter, David S., บ.ก. (2009). A Companion to the Roman Empire. John Wiley & Sons. ISBN 978-1-4051-9918-6.
- Rochette, Bruno (2012). "Language Policies in the Roman Republic and Empire". A Companion to the Latin Language. pp. 549–563. doi:10.1002/9781444343397.ch30. ISBN 978-1-4443-4339-7.
- Rawson, Beryl (1987). The Family in Ancient Rome: New Perspectives. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-9460-4.
- Rawson, Beryl (2003). Children and Childhood in Roman Italy. OUP Oxford. ISBN 978-0-19-151423-4.
- Roberts, Michael John (1989). The jeweled style: poetry and poetics in late antiquity. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-2265-2.
- Rüpke, Jörg (2007). A Companion to Roman Religion. Wiley. ISBN 978-0-470-76645-3.
- Stambaugh, John E. (1988). The Ancient Roman City. JHU Press. ISBN 978-0-8018-3692-3.
- Sullivan, Richard, D. (1990). Near Eastern Royalty and Rome, 100-30 BC. Toronto: University of Toronto Press. ISBN 978-0-8020-2682-8.
- Vout, Caroline (2009). "The Myth of the Toga: Understanding the History of Roman Dress". Greece and Rome. 43 (2): 204–220. doi:10.1093/gr/43.2.204. JSTOR 643096.
- Winterling, Aloys (2009). Politics and Society in Imperial Rome. John Wiley & Sons. ISBN 978-1-4051-7969-0.
- Wiseman, T.P. (1970). "The Definition of Eques Romanus". Historia. 19 (1): 67–83.
- Wood, Gordon S. (2011). The Idea of America: Reflections on the Birth of the United States. Penguin Publishing Group. ISBN 978-1-101-51514-3.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Romans for Children เก็บถาวร 24 เมษายน 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, a BBC website on ancient Rome for children at primary-school level.
- The Digital Atlas of Roman and Medieval Civilizations
- Roman Society & Sustainability เก็บถาวร 2021-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at planspeopleplanet.org.au
- Historical Atlas showing the expansion of the Roman Empire.
- Roman-Empire.net, learning resources and re-enactments
- The Historical Theater in the Year 400 AD, in Which Both Romans and Barbarians Resided Side by Side in the Eastern Part of the Roman Empire