กลุ่มชนเจอร์แมนิก

กลุ่มชนเจอร์แมนิก (อังกฤษ: Germanic peoples) เป็นกลุ่มชนในประวัติศาสตร์ที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของยุโรปที่พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนซึ่งแยกมาจากกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิมในช่วงสมัยก่อนยุคเหล็กก่อนโรมัน ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนนี้กลายมาเป็นต้นตระกูลของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปซึ่งได้แก่

การประชุมของสภาทิง (Thing) ของชนเจอร์แมนิก วาดจากภาพแกะนูนบนคอลัมน์มาร์คัส ออเรลิอัส (Marcus Aurelius) (ค.ศ. 193)

ชนเจอร์แมนิกย้ายถิ่นฐานไปทั่วยุโรปในปลายยุคโบราณตอนปลายระหว่างปี ค.ศ. 300 ถึงปี ค.ศ. 600 และในตอนต้นของยุคกลาง กลุ่มภาษาเจอร์แมนิกกลายเป็นภาษาที่ใช้กันมากตาม "เขตแดนโรมัน" (limes) (ประเทศออสเตรีย, ประเทศเยอรมนี, ประเทศเนเธอร์แลนด์, ประเทศเบลเยียม และประเทศอังกฤษ) แต่ทางด้านตะวันตกของจังหวัดในการปกครองของโรมันชนเจอร์แมนิกรับการใช้ภาษาละติน (กลุ่มภาษาโรมานซ์) นอกจากนั้นในท��่สุดกลุ่มชนเจอร์แมนิกทั้งหมดก็มานับถือศาสนาคริสต์ต่างระดับกันไป กลุ่มชนเจอร์แมนิกมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงจักรวรรดิโรมันให้กลายเป็นยุคกลาง และเป็นผู้ริเริ่มปรัชญาของความมีความรู้สึกร่วมกันในการเป็นชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดเขตแดนทางภาษาขึ้น

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้