ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนเทพลีลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเทพลีลา
TEPLEELA SCHOOL (World Class Standard School)
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นท.ล. (T.L.)
ประเภทมัธยมศึกษา
คติพจน์ลูกเทพลีลาบุคลิกดี มีสัมมาคารวะ - สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี
สถาปนา17 พฤษภาคม พ.ศ. 2505
ผู้ก่อตั้งพระครูสุวรรสุทธิการ(พระปลัดทองสุข สีลวณโณ)
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1000100602
ผู้อำนวยการดร.รังสรรค์ นกสกุล
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น - มัธยมศึกษาตอนปลาย
เพศสหศึกษา
การลงทะเบียน2,121 คน
สี    สีชมพูและสีดำ
เพลงมาร์เทพลีลา/เพลงใบไผ่
สังกัดสพฐ.
ศิษย์เก่าส��าคมศิษย์เก่าโรงเรียนเทพลีลา
เว็บไซต์www.tepleela.ac.th

โรงเรียนเทพลีลา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในกรุงเทพมหานคร ประเภทสหศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ขนาดเนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ก่อตั้งเมื่อ 17 พฤษภาคม 2505 โดยดำริของ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ตามโครงการขยายโรงเรียนมัธยมศึกษาไปสู่เขตชานเมือง โดยได้รับการสนับสนุนจาก พระครูสุวรรณสุทธิกร พระมหาสงวน ศ.ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ คุณหญิงจวงจันทร์ สิงหเสนี และคุณจับจิตต์ สิงหเสนี โรงเรียนตั้งอยู่บนผืนดินของ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สังกัดสหวิทยาเขต เบญจวิโรฒ

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนเทพลีลาตั้งอยู่ ณ เลขที่ 281 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานครเป็นโรงเรียนมัธยมประเภทสหศึกษาสังกัด กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้นเป็นปีที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดแสดงสินค้านานาชาติและจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 1 มีการปรับแต่งภูมิทัศน์พระนครเพื่อเป็นสถานที่จัดงานในบริเวณพื้นที่บริเวณนั้นเป็นที่ว่างเปล่าทางประเทศไทยจึงให้ความสำคัญต่อการศึกษาโดยเป็นนโยบายของ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยที่ พระครูสุวรรสุทธิการ (ปลัดทองสุข สีลวณโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพลีลาพระอารามหลวงได้มอบที่ดินของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) จำนวน 6 ไร่ 1 งานให้เป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนตามนโยบายการขยายโรงเรียนมัธยมศึกษาไปสู่ชานเมือง ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่ง หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น โดยท่านท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้สร้างวัดเทพลีลา ไว้เมื่อครั้งได้รับพระบรมราชโองการเป็นแม่ทัพใหญ่ เพื่อปกป้องเขมรจากการแทรกแซงของญวน และได้มาพักทัพ ที่ทุ่งบางกะปิ โดยได้สร้างวัดไว้ใกล้กับจวนแม่ทัพ โดยมีบริเวณ

  • โรงเรียนเทพลีลา เป็นคลังแสงเก็บอาวุธ
  • โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นสถานที่เลี้ยงม้า เลี้ยงช้าง
  • โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) เป็นสถานที่ผสมดินปืน
  • โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา เป็นสถานที่ทำนา เสบียงเลี้ยงกองทัพ

ท่านได้ขุดคลองเจ้าคุณสิงห์ เพื่อนำน้ำขึ้นไปทำนา และสะดวกในการขนส่งเสบียงในกองทัพ

วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 โรงเรียนเทพลีลาเปิดสอนครั้งแรกโดยอาศัยศาลาการเปรียญของวัด เป็นสถานที่เรียนกระทั่งอาคารเรียนหลังแรกเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 4 ตุลาคม 2505 มีนักเรียนกลุ่มแรกจำนวน 2 คน ครู 4 คน โดยมี นายทิม ผลภาค เป็นครูใหญ่คนแรก

โรงเรียนเทพลีลาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยความสามารถของผู้บริหารที่ประสานความร่วมมือกับชุมชนและสถาบันเอกชนต่าง ๆ อย่างดีเยี่ยม ทั้งนี้สมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนเทพลีลา ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปีการศึกษา 2514 มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโรงเรียนอย่างยิ่ง

ในปีการศึกษา 2542 การก่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 7 ชั้น ได้แล้วเสร็จทำให้โรงเรียนเทพลีลามีสภาพทั่วไปที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอนและมีความพร้อมในการให้บริการ ด้านการศึกษาแก่ชุมชนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

ปัจจุบัน โรงเรียนเทพลีลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนช่วงชั้นที่ 3 - 4 (หรือช่วงชั้นที่ 3 ตามหลักสูตรใหม่) โรงเรียนเทพลีลาเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับย่านรามคำแหง ทั้งด้านสภาพภูมิทัศน์ องค์ประกอบต่าง ๆ ทุกอาณาบริเวณล้วนเอื้ออำนวย ด้านการเรียนการสอน ด้านการเดินทางหรือแม้แต่สิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน

ประวัติโรงเรียนในแต่ละช่วง

[แก้]
  • วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 โรงเรียนเทพลีลาได้เปิดทำการเป็นวันแรก โดยอาศัยศาลาการเปรียญของวัดเทพลีลา เป็นสถานที่เรียน โดยมีนักเรียนรุ่นแรกจำนวน 2 คน ครู 4 คน โดยมีนายทิม ผลภาคเป็นครูใหญ่คนแรก
  • พ.ศ. 2506 - พ.ศ 2508 จัดสร้างประตูไม้หน้าโรงเรียนชั่วคราว และเป็นปีที่ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพในการจัดแสดงสินค้านานาชาติและจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 1 จัดบริเวณฝั่งตรงข้ามของโรงเรียน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยรามคำแหงในปัจจุบัน พร้อมได้รับงบประมาณในการทาสีโรงเรียน เดินสายไฟและประดับโคมไฟอาคาเรียนหลังแรก พร้อมทั้งถมที่ดินบริเวณโดยรอบโรงเรียน
  • พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2518 จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนชุดแรกนำโดย 10 ท่าน ได้แก่ นายสำราญ สารสุวรรณ, นายหุน หรั่งศรี, ผู้ใหญ่เขียน สันประเสริฐ, ผู้ใหญ่หวัง วงษ์สัน ฮัจญีเต๊ะ ขำวิไล, น.ส.อังคณา นันทวิทยา, นายหมัด ทองสุข, นายอิน มูป และนาย สง่า ทีวรัตน์ และโรงเรียนได้รับงบประมาณ 172,000 บาท สร้างหอประชุมและโรงอาหารพร้อมโต๊ะอาหาร 22 ชุด ปลายปีงบประมาณและต่อเติม อาคารเรียน 3 ชั้น เพิ่มอีกเป็นจำนวน 21 ห้องเรียน พร้อมคุรุภัณฑ์
  • พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2527 สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเทพลีลาได้เทพื้นถนน และเทคอนกรีตสร้างสนามบาสเกตบอล สนามวอลเล่ย์บอล และจัดซื้อรถกระบะไว้ใช้ในโรงเรียน 1 คัน แล้วได้จัดสรรเงินสมาคมสร้างรั้วคอนกรีตแทนสังกะสี
  • พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2534 พระราชปัญญาโกศล รองเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ ได้มอบพระพุทธรูปยืน ปางเทพลีลา สูง 48 นิ้ว มาเป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียน และปีต่อมา ทุบตึกเรียน 4 ชั้น
  • พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2542 สร้างอาคาร 7 ชั้น และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามอาคารหลังนี้ว่า อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา ได้ทำการเปิดอาคารนี้ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2542 นับเป็นเกียรติประวัติอย่างสูงของชาวเทพลีลา
  • พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเทพลีลา โดยการนำของ นายสมหวัง บุญสมบัติ นายกสมาคมฯ และนายสำเนา แสงมณี ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพลีลา ขณะนั้นริเริ่มดำเนินการเปิด ตลาดนัดเทพลีลาเพื่อประชาชน ขายของเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหา เศรษฐกิจ และช่วยเหลือประชาชนให้มีรายได้และซื้อของถูกช่วงปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งกิจการดังกล่าวนี้ ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่ง ท่านผู้อำนวยการ ดร.ธงชาติ วงษ์สวรรค์ ได้มีการปรับปรุงและพัฒนา สิ่งแวดล้อม เพื่อปรับภูมิทัศน์ให้เหมาะกับการเรียนการสอน และปรับปรุงห้องต่าง ๆ ทำห้องเรียนให้เหมาะกับสภาพการเรียนการสอนจนมาถึงปัจจุบัน

รายนามผู้บริหาร

[แก้]
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนเทพลีลา
รายชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
1. นายทิม ผลภาค พ.ศ. 2505-พ.ศ. 2506
2. นายสงวน คลังชำนาญ พ.ศ. 2507-พ.ศ. 2516
3. นางสำอาง ภมรพล พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2521
4. นางสาวภาณี การุณยะวณิช พ.ศ. 2521-พ.ศ. 2522
5. นางจันทนา รัตนธัญญา พ.ศ. 2522-พ.ศ. 2526
6. นางอำนวยพร กาญจนวงศ์ พ.ศ. 2526-พ.ศ. 2530
7. นางสมหมาย วัฒนะคีรี พ.ศ. 2530-พ.ศ. 2532
8. นายลือชา สร้อยพาน พ.ศ. 2532-พ.ศ. 2537
9. นายสำเนา แสงมณี พ.ศ. 2537-พ.ศ. 2542
10. นายวิรัตน์ ศิริบูรณ์ พ.ศ. 2542-พ.ศ. 2544
11. ดร.ธงชาติ วงษ์สวรรค์ พ.ศ. 2544-พ.ศ. 2550
12. นายภักดี คงดำ พ.ศ. 2550-พ.ศ. 2554
13. ดร.อุดม พรมพันธุ์ใจ พ.ศ. 2554-พ.ศ. 2555
14. นายนคร เดชพันธุ์ พ.ศ. 2555-พ.ศ. 2556
15. นายชาญชัย โรจนะ พ.ศ. 2556-พ.ศ. 2561
16. ดร.รังสรรค์ นกสกุล พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน

แผนการเรียนของโรงเรียนเทพลีลา

[แก้]

มัธยมศึกษาตอนต้น

[แก้]
  • ห้องเรียนทั่วไป (8 ห้อง)
  • ห้องเรียนโครงการพิเศษ Mini English Program (1 ห้อง)
  • ห้องเรียนพิเศษ คณิตศาสตร์ – คอมพิวเตอร์ – อาชีพ MCC Program (1 ห้อง)

มัธยมศึกษาตอนปลาย

[แก้]
  • มีห้องเรียนทั้งหมด 7 ห้องเรียนประกอบไปด้วยแผนวิชา
  • ห้องเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Science-mathematics)
  • ห้องเรียนพิเศษ คณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ (Mathematics- English Special)
  • ห้องเรียนศิลป์ภาษาจีน (English-Chinese)
  • ห้องเรียนศิลป์ภาษาญี่ปุ่น (English-Japanese)
  • ห้องเรียนสังคม-ธุรกิจ (Social-Business)
  • ห้องเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Science-Computer)

หมายเหตุ: ศิลป์ภาษาฝรั่งเศส (Arts-Français) ยกเลิกการสอน

คณะสีของโรงเรียนในมหกรรมกีฬา ดนตรี ศิลปะและวัฒนธรรม "กิ่งไผ่เกมส์"

[แก้]
  • ม่วง-อินทนิล
  • เขียว-ราชาวดี
  • ฟ้า-พยับหมอก
  • แสด-ปาริชาติ
  • แดง-มโนรมย์

เกียรติประวัติ

[แก้]
  • โรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น กรมสามัญศึกษา 2530
  • ชนะการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สสวท รางวัลที่ 2 ภาคกลาง พ.ศ. 2534
  • 1 ใน 12 โรงเรียนช้างเผือกเมืองไทยด้านดนตรีไทยผสมสากล รายการคุณพระช่วย
  • รางวัล International Emmy Award 2007 ในการประกาศรางวัลพิเศษที่รางวัลเอ็มมี่อะวอร์ด ร่วมกับ องค์การยูนิเซฟ คัดเลือกจากการผลิตสื่อรณรงค์เรื่องต่อต้านโรคเอดส์จากกว่า 200 ประเทศ ทั่วโลก โดยศูนย์ข่าวเยาวชนไทย เป็นผู้ชนะเลิศอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย และเดินทางไปชิงรางวัลกับผู้ชนะเลิศจากทวีปอื่น ๆ อีก 5 ทวีป ณ กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลปรากฏว่า ผลงานสื่อของศูนย์ข่าวเยาวชนไทยได้รับรางวัลชนะเลิศที่ 1 ของโลกอีกด้วย
  • โรงเรียนรับรางวัล ระฆังทอง จากสมัชชานักจัดรายการข่าววิทยุโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (สว.นท.) พ.ศ. 2552
  • ศูนย์ข่าวเยาวชนไทย และ "ศูนย์ข่าวเยาวชนไทยโรงเรียนเทพลีลา" ได้รับรางวัล"รางวัล EMMY AWARD"ผลิตสกู๊ปข่าวรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ของโลก[1]
  • ศูนย์ข่าวเยาวชนไทยและ"ศูนย์ข่าวเยาวชนไทยโรงเรียนเทพลีลา"ได้รับรางวัล"รางวัล EMMY AWARD"ผลิตสกู๊ปข่าวรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 แห่งเอเชีย[1]
  • โรงเรียนมีความดีเด่นด้านภาษาญี่ปุ่นจึงเป็น โรงเรียนศูนย์พัฒนาเครือข่ายการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น ศูนย์ภาษาญี่ปุ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2[2]
  • โรงเรียนยอดนิยมอย่างสูงของประเทศ (1 in 326 โรงเรียน)[3]
  • โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงสุดติดอันดับกรุงเทพมหานคร และประเทศไทย
  • รางวัลชนะเลิศวงโยธวาทิต ประเภทนั่งบรรเลง กรมพลศึกษา - รับถ้วยพระราชทาน
  • รางวัลชนะเลิศเชียร์หลีดเดอร์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
  • Multimedia E-Sport League 2017 รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง กองเชียร์และเชียร์ลีดเดอร์ To Be Namber One พ.ศ. 2561
  • รางวัลเหรียญทองงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 69 ปีการศึกษา 2562 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
  • รางวัลชนะเลิศวิจิตรตระการพานพุ่ม และกระเช้าดอกรวงผึ้งสร้างสรรค์ พ.ศ. 2562 รับถ้วยจาก ม.ล.สราลี กิติยากร
  • รางวัลผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ(Best Practice) สหวิทยาเขตวังทองหลาง พ.ศ. 2562 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเหรียญทองกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเหรียญทองคณิตศาสตร์
  • รางวัลเหรียญเงินวงโยธวาทิต ประเภทแถวมาร์ชชิ่ง กรมพลศึกษา พ.ศ. 2562
  • ชนะเลิศอันดับสาม School of Rap พ.ศ. 2563
  • รางวัลชนะเลิศการผลิตสื่อวีดีทัศน์เยาวชนไทย ห่างไกลยาเสพติด กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2565
  • รางวัลชนะเลิศ Event UTCC cover Dance Contest 2022
  • รางวัลชนะเลิศเหรียญทอง การประกวดวงดนตรีสตริง ในงานศิลปหัตถกรรม​นักเรียน ครั้งที่ 70 ประจำ​ปีการศึกษา 2565
  • รางวัลชนะเลิศเหรียญทอง การประกวดเดี่ยวขิม 7 หย่อง ในงานศิลปหัตถกรรม​นักเรียน ภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ 70 ประจำ​ปีการศึกษา 2565
  • รางวัลชนะเลิศเหรียญทอง การประกวดวาดภาพระบายสี ในงานศิลปหัตถกรรม​นักเรียน ภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ 70 ประจำ​ปีการศึกษา 2565
  • รางวัลเหรียญทอง การประกวดขับร้องเพลงลูกทุ่ง ในงานศิลปหัตถกรรม​นักเรียน ภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ 70 ประจำ​ปีการศึกษา 2565
  • รางวัลเหรียญทอง การประกวดวงอังกะลุง ในงานศิลปหัตถกรรม​นักเรียน ภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ 70 ประจำ​ปีการศึกษา 2565
  • รางวัลเหรียญทอง การประกวดการแปรรูปอาหาร ในงานศิลปหัตถกรรม​นักเรียน ภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ 70 ประจำ​ปีการศึกษา 2565
  • รางวัลเหรียญทอง การประกวดการเล่านิทาน ในงานศิลปหัตถกรรม​นักเรียน ภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ 70 ประจำ​ปีการศึกษา 2565
  • รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ ในงานศิลปหัตถกรรม​นักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 71 ปี พ.ศ. 2567

ศิษย์เก่าและบุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

ศิษย์เก่าที่เป็นสมาชิกราชสกุล

[แก้]
  • ม.ร.ว.ศักดิ์สิงห์ กมลาศน์
  • ม.ล.สรวุฒิ สุขสวัสดิ์
  • ม.ล.พีระพงศ์ สุขสวัสดิ์
  • ม.ล.นาฏนิศา ชมพูนุท
  • ม.ล.ศิริมาษ นวรัตน

ศิษย์เก่าที่เป็นดารานักแสดงวงการบันเทิง

[แก้]

ศิษย์เก่าที่เป็นนักการเมือง

[แก้]

ศิษย์เก่าที่เป็นนักกีฬาทีมชาติไทย

[แก้]

ศิษย์เก่าด้านวิชาการ

[แก้]

การเดินทาง

[แก้]

โรงเรียนเทพลีลา มีประตูทางเข้าออก 2 เส้นทาง[4] สามารถเดินทางมาโดยรถโดยสารสาธารณะดังนี้

  1. ประตูถนนรามคำแหง (ประตูหลัก) รถโดยสารประจำทางที่ผ่านหน้าโรงเรียน ได้แก่ สาย 22, 36ก, 60, 69, 69E, 71, 92, 93, 95, 113, 115, 122, 137, 168, 501, 545, 3-21 (207), 3-32
  2. ประตูซอยรามคำแหง 39 (ประตูด้านหลังอาคารกิจกรรมและ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบเฉลิมพระชนมพรรษา) รถสองแถว "วัดเทพลีลา ตลาดห้วยขวาง" และรถประจำทางที่ผ่านคือสาย 36ก, 122, 126
  3. รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีพระโขนง แล้วต่อรถโดยสารประจำทางสาย 71, 501 มาลงที่ หน้าประตูโรงเรียน
  4. รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง สถานีแยกลำสาลี แล้วต่อรถโดยสารประจำทางสาย 71, 115 หรือสายอื่น ๆ มาลงที่หน้าประตูโรงเรียน
  5. รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม สถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ทางออกที่ 4 ซึ่งเป็นสถานีที่ 2 บนถนนรามคำแหง จะอยู่บริเวณตรงข้ามโรงเรียนเทพลีลา สามารถเดินมายังโรงเรียนได้อย่างสะดวก
  6. รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ SRTET สถานีรามคำแหง แล้วต่อรถโดยสารประจำทางสาย 71, 115 หรือสายอื่น ๆ มาลงที่หน้าประตูโรงเรียน หรือต่อเรือโดยสารคลองแสนแสบ จาก ท่าเรือรามหนึ่ง มาลง ณ ท่าวัดเทพลีลา
  7. เรือโดยสารคลองแสนแสบ ท่าวัดเทพลีลา
  8. รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลสถานีเพชรบุรี แล้วต่อเรือโดยสารสาธารณะคลองแสนแสบ มาลง ณ ท่าวัดเทพลีลา หรือ สามารถลงสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเดินมายัง รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม

อาคารสถานที่

[แก้]

อาคาร

[แก้]

ในปัจจุบัน โรงเรียนเทพลีลา ได้มีการพัฒนาไปมาก จึงมีอาคารภายในโรงเรียน ได้แก่ อาคารเรียน 6 อาคาร, อาคารโรงฝึกงาน 1 อาคาร และที่พักข้าราชการ 1 อาคาร

อาคาร เฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา

[แก้]

หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อาคารเทพเมธา เป็นอาคาร 4 ชั้น ในอดีต มีจำนวนทั้งสิ้น 8 ชั้น ใช้เป็น ห้องเรียนที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่าง ๆ จำนวน 5 ชั้น รวมห้องพักคณาจารย์กลุ่มสาระ, ห้องเรียน MEP-EP, ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์, ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์, ห้องประชุมโรงอาหาร และโรงอาหารของโรงเรียน นอกจากนี้ บริเวณชั้น 8 ของอาคารยังใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ "สวนผักลอยฟ้า" และโรงยิมของโรงเรียนเทพลีลาอีกด้วย

อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ เฉลิมพระชนมพรรษา

อาคาร เทพธรรมมา

[แก้]

มีจำนวนทั้งสิ้น 5 ชั้น ใช้เป็นห้องเรียนที่จัดการเรียนการสอนต่าง ๆ จำนวน 13 ห้อง และ เป็นห้องพักคณาจารย์กลุ่มสาระ ศูนย์การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

อาคาร เทพพิทยา

[แก้]

มีจำนวนทั้งสิ้น 3 ชั้น เป็นอาคารที่ตั้งของหน่วยงานต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่น สำนักงานผู้อำนวยการ, สำนักงานกลุ่มบริหารวิชาการ, ห้องสมุด, ห้องทำงานศูนย์ข่าวเยาวชนไทย โรงเรียนเทพลีลา, ห้องประชุมพิพัฒน์ปริยัติสุนทร, ห้อง Multimedia, ห้องสำนักงานกลุ่มบริหารงานทั่วไป, สำนักงานกลุ่มบริหารงบประมาณ, ห้องวัดผลและประเมินผล, ห้องประชุมเกียรติยศ และห้องสมุดอิเล็คทรอนิกส์ (สื่อทัศน์รัฐประสิทธิ์)

อาคาร เทพพัฒนา

[แก้]

มีจำนวนทั้งสิ้น 4 ชั้น เป็นอาคารที่ใช้เป็นห้องปฏิบัติการตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น ห้องดนตรีไทย, ห้องดนตรีสากล, ห้องศิลปะ, ห้องนาฏศิลป์, ห้องศูนย์สุขศึกษาและพลศึกษา, ห้องศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น (Friends Corner), ห้องประกอบอาหาร, ห้องศูนย์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 2

อาคาร กาญจนาภิเษก

[แก้]

มีจำนวนทั้งสิ้น 2 ชั้น เป็นอาคารที่ตั้งของหน่วยงานศูนย์กลางของโรงเรียน เช่น ห้องประชาสัมพันธ์, ห้องกลุ่มบริหารงานบุคคล และยังเป็นที่ประดิษฐานของ พระพุทธรูปประจำโรงเรียน คือ พระเทพลีลาเมตตาประชานาถ ตลอดจนประดิษฐานอนุสาวรีย์ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนีย์)

อาคาร กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

[แก้]

มีจำนวนทั้งสิ้น 2 ชั้น ชั้นบนเป็นอาคารที่ตั้งของงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น งานกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ฯลฯ ชั้นล่างเป็นเรือนงานช่าง ห้องเก็บของ และโซนห้องน้ำใหญ่

อาคารโรงฝึกงาน

[แก้]

เป็นอาคารชั้นเดียวใช้ในการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ในด้านงานช่าง งานไม้ เป็นต้น

อาคาร ที่พักบุคลากร

[แก้]

มีจำนวนทั้งสิ้น 5 ชั้น ใช้เป็นที่พักครูและอาจารย์ตลอดจนแม่บ้านนักการภารโรง

ลานกิจกรรมกีฬา และสวนหย่อม

[แก้]

ลานกิจกรรมกีฬาและสวนพักผ่อนหย่อนใจ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  1. สนามกีฬาโรงเรียนเทพลีลา เป็นสนามฟุตบอล สนามตะกร้อ สนามบาสเก็ตบอล และกีฬาทุกประเภท
  2. สวนหย่อมโรงเรียนเทพลีลา อยู่ในบริเวณหลังอาคารเทพธรรมมา เป็นสวนพืช และต้นไม้ประจำโรงเรียน และ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่อง "น้ำหมักชีวภาพ" ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  3. ลานใต้อาคารเทพธรรมมา เป็นลานที่ใช้ทำกิจกรรมการเรียนการสอน และเป็นลานสำหรับนั่งพักผ่อน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 [1][ลิงก์เสีย] ผลงานของนักเรียนสมาชิกศูนย์ข่าวเยาวชนไทยทั่วประเทศร่วมกับ ผลิตสกู๊ปข่าวรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์" ]
  2. [2] เก็บถาวร 2016-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รายชื่อศูนย์พัฒนาคุณภาพวิชาการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2" ]
  3. [3] 362โรงเรียนยอดนิยมใช้สูตรรับน.ร.50/50" ]
  4. คู่มือผู้ปกครองและนักเรียน ปีการศึกษา 2553 หน้า 9

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]