วิกิพีเดีย:แม่แบบ
หมายเหตุ: การปะข้อความของแม่แบบลงในหน้า ให้ใช้รูปแบบ {{ชื่อของแม่แบบ}} เช่น {{โครงจังหวัด}}
หน้านี้ให้ดัชนีสำหรับมุมมองกว้าง ๆ ของแม่แบบมาตรฐานซึ่งใช้ในวิกิพีเดีย ไม่ว่าคุณกำลังจะเพิ่มข้อความใหม่ลงไปหรือติ���ป้ายบทความ เพิ่มแท็ก หรือเพิ่มแม่แบบ หน้านี้จะให้มุมมองกว้าง ๆ ของเนื้อหาซึ่งครอบคลุมในแต่ละหัวเรื่อง
มีสองวิธีหลักในการใช้แม่แบบในบทความ: transclusion หรือ "inclusion" (สามารถทำได้โดยใช้รูปแบบ {{ชื่อของแม่แบบ}}) และ subclusion หรือ "substitution" การใช้งานแบบแรกจะเป็นการรวมเนื้อหาของแม่แบบที่คุณนำมาใส่บนบทความเมื่อมันโหลดเสร็จ ในขณะที่อย่างหลังจะเป็นการนำเนื้อหาของแม่แบบมาเพิ่มในบทความเป็นการถาวร ซึ่งไม่ว่าเนื้อหาในแม่แบบจะมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง แต่เนื้อหาที่คุณได้เพิ่มลงไปแล้วก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด รูปแบบโดยทั่วไปของการใช้แม่แบบคือแบบแรก ในขณะที่ในแบบหลัง คุณสามารถลอกโค้ดของแม่แบบมายังตำแหน่งที่คุณต้องการ หรืออาจใช้ subst:
แม่แบบ หรือ เทมเพลต (template) คือชื่อเรียกของหน้าวิกิพีเดียที่มีการใช้ซ้ำกันมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไป โดยประโยชน์ของแม่แบบคือ
- เขียนครั้งเดียวใช้งานได้หลายครั้ง
- ป้องกันปัญหาการแก้ไขข้อมูลซ้ำซ้อน โดยการแก้ไข 2 หน้าที่ไม่เหมือนกัน
- ช่วยให้ผู้อ่านสามารถเชื่อมโยงระหว่างบทความ ที่ใกล้เคียงกันได้ (สำหรับแม่แบบเชื่อมโยงหัวข้อ)
- สะดวกสำหรับการตรวจสอบ โดยแต่ละแม่แบบสามารถเชื่อมโยงถึงกันในหมวดหมู่ของแม่แบบนั้น
แม่แบบแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
- แม่แบบแสดงข้อความ ใช้สำหรับแสดงข้อมูลที่มีการใช้หลาย ๆ ครั้ง
- แม่แบบเชื่อมโยงหัวข้อ เป็นแม่แบบใช้แสดงข้อความชนิดหนึ่ง แต่แสดงข้อความที่มีการเชื่อมโยง ไปหาข้อความอื่นที่มีลักษณะเนื้อหาใกล้เคียงกัน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านเพิ่มบทความที่ใกล้เคียงกันได้
แม่แบบแสดงข้อความ
[แก้]- ดูรายชื่อแม่แบบแสดงข้อความที่สร้างไว้แล้วที่ วิกิพีเดีย:รายการแม่แบบแสดงข้อความ
แม่แบบแสดงข้อความ ใช้สำหรับแสดงข้อความที่มีการเรียกใช้มากกว่า 1 บทความ โดยแบ่งรูปแบบการใช้งานดังนี้
แสดงข้อมูล
[แก้]ถ้าต้องการแสดงข้อมูลถึงผู้อ่าน สามารถเขียน {{โครงความรู้}} สำหรับเรียกใช้ แม่แบบ:โครงความรู้
แจ้งข้อมูล
[แก้]ในกรณีที่ต้องการแจ้งข้อมูลถึงชาววิกิพีเดียคนอื่น ๆ เราสามารถใส่แม่แบบแจ้งข้อมูลไว้ที่หัวบท��วามหรือส่วนที่ต้องการแจ้ง เช่น เขียน {{ช่วยดูหน่อย}} สำหรับเรียกใช้ แม่แบบ:ช่วยดูหน่อย และ {{ตรวจความเป็นกลาง}} สำหรับเรียกใช้ แม่แบบ:ตรวจความเป็นกลาง
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:รายการแม่แบบแสดงข้อความ สำหรับแม่แบบแสดงข้อความอื่น ๆ
แม่แบบเชื่อมโยงหัวข้อ
[แก้]- ดูรายชื่อแม่แบบเชื่อมโยงหัวข้อที่สร้างไว้แล้ว รายการแม่แบบเชื่อมโยงหัวข้อ
แม่แบบเชื่อมโยงหัวข้อ มีลักษณะเพื่อการแสดงผลโดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงบทความสองบทความขึ้นไปโดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ แบบป้ายกลุ่มบทความ และ แบบกล่องข้อมูล
ป้ายกลุ่มบทความ
[แก้]แม่แบบเชื่อมโยงหัวข้อเป็นแม่แบบใช้แสดงข้อความชนิดหนึ่ง แต่แสดงข้อความที่มีการเชื่อมโยง ไปหาข้อความอื่นที่มีลักษณะเนื้อหาใกล้เคียงกัน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านเพิ่มบทความที่ใกล้เคียงกันได้ โดยปกติจะใส่ไว้ที่ส่วนท้ายของบทความ ตัวอย่างเช่นแม่แบบรายสตาร์ วอร์ส ภาคต่าง ๆ จาก (แม่แบบ:สตาร์ วอร์ส) เรียกใช้โดยเขียน {{สตาร์ วอร์ส}} จะแสดงข้อความดังนี้
กล่องข้อมูล
[แก้]แม่แบบกล่องข้อมูล แม่แบบชนิดนี้ใช้สำหรับช่วยในการใส่ข้อมูลที่มีลักษณะเดียวกันให้ง่ายขึ้น ใช้ส่วนมากสำหรับแม่แบบที่มีลักษณะเป็นตาราง โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใส่โค้ดของการสร้างตาราง ตัวอย่างเช่น
โค้ดที่ใส่ | การแสดงผล | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
{{ตารางวรรณคดี |
|
วิธีการเรียกใช้
[แก้]วิธีการเรียกใช้แม่แบบ ทำได้โดยการใส่ชื่อแม่แบบ (โดยไม่มีคำว่า แม่แบบ) ไว้ในเครื่องหมายปีกกาคู่ ในลักษณะ {{__ชื่อแม่แบบ__}} สำหรับแม่แบบธรรมดา และ {{__ชื่อแม่แบบ__|__ตัวแปร1__|__ตัวแปร2__|__ตัวแปร3__}}สำหรับแม่แบบที่ต้องการตัวแปร
- สำหรับแม่แบบธรรมดา มีตัวอย่างดังนี้ เช่นเขียน {{เสียรส}} สำหรับเรียกใช้ แม่แบบ:เสียรส หรือเขียน {{โครงความรู้}} สำหรับเรียกใช้ แม่แบบ:โครงความรู้
- สำหรับแม่แบบที่ต้องการตัวแปร ค่าตัวแปรที่ใส่จะปรากฏในส่วนหนึ่งส่วนใดของการแสดงผล หรือปรากฏในลิงก์ของแม่แบบนั้น มีตัวอย่างดังนี้ เช่นเขียน {{รวม|_ตัวอย่าง_กขฃคฅ_}} สำหรับเรียกใช้ แม่แบบ:รวม โดยมีความประสงค์ที่จะรวมบทความหนึ่งเข้ากับอีกบทความหนึ่ง โดยแสดงผลดังนี้
มีการแนะนำว่า หน้านี้หรือส่วนนี้ควรย้ายไปรวมกับบทความ _ตัวอย่าง_กขฃคฅ_ (อภิปราย) |
มีการแนะนำว่า _ตัวอย่าง_กขฃคฅ_ ควรย้ายมารวมกับหน้านี้หรือส่วนนี้ (อภิปราย) |
วิธีสร้างแม่แบบ
[แก้]- ดูวิธีการสร้างแม่แบบและการใช้ตัวแปรทั้งหมดที่ วิกิพีเดีย:วิธีการสร้างแม่แบบ
เนื่องจากแม่แบบเปรียบเสมือนบทความหนึ่ง ๆ การสร้างแม่แบบ มีลักษณะการสร้างเช่นเดียวกับบทความปกติ แต่ชื่อแม่แบบทุกแม่แบบจะต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า "แม่แบบ:" (คำว่า แม่แบบ กับเครื่องหมายโคลอน) เสมอ เช่น แม่แบบ:เสียรส หรือ แม่แบบ:โครงความรู้
การจัดหมวดหมู่
[แก้]แม่แบบใด ที่มีการจัดหมวดหมู่โดยใช้ [[หมวดหมู่:__ชื่อหมวดหมู่__]] บทความที่นำแม่แบบไปใช้นั้น จะถูกจัดเข้าหมวดหมู่ที่กำหนดในแบบนั้น ๆ
ปัญหาที่พบบ่อย
[แก้]- ถ้ามีการแก้ไขหมวดหมู่ในแม่แบบ หมวดหมู่ที่ปรากฏในบทความที่อ้างจากแม่แบบจะไม่มีการแก้ไข นอกจากบทความนั้นได้ทำการแก้ไข หลังจากแก้ไขหมวดหมู่แล้ว