พ.ศ. 2436
หน้าตา
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2436 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1893 MDCCCXCIII |
Ab urbe condita | 2646 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1342 ԹՎ ՌՅԽԲ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6643 |
ปฏิทินบาไฮ | 49–50 |
ปฏิทินเบงกอล | 1300 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2843 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 56 Vict. 1 – 57 Vict. 1 |
พุทธศักราช | 2437 |
ปฏิทินพม่า | 1255 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7401–7402 |
ปฏิ��ินจีน | 壬辰年 (มะโรงธาตุน้ำ) 4589 หรือ 4529 — ถึง — 癸巳年 (มะเส็งธาตุน้ำ) 4590 หรือ 4530 |
ปฏิทินคอปติก | 1609–1610 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3059 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1885–1886 |
ปฏิทินฮีบรู | 5653–5654 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 1949–1950 |
- ศกสมวัต | 1815–1816 |
- กลียุค | 4994–4995 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11893 |
ปฏิทินอิกโบ | 893–894 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1271–1272 |
ปฏิทินอิสลาม | 1310–1311 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเมจิ 26 (明治26年) |
ปฏิทินจูเช | N/A |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 12 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4226 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | 19 ก่อน ROC 民前19年 |
พุทธศักราช 2436 (นับแบบใหม่) ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1893 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน
- ปีมะเส็ง เบญจศก จุลศักราช 1255 (วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- เจ้าประเทศราช:
- เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่: พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (พ.ศ. 2416 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440)
- เจ้าประเทศราช:
เหตุการณ์
[แก้]- 11 เมษายน - รัชกาลที่ 5 เสด็จเปิดทางรถไฟสายปากน้ำซึ่งป็นทางรถไฟสายแรกของสยาม
- 20 เมษายน - ส่งทหารไปเมืองลาวกาว (อุบลราชธานี) 34 นายเพราะฝรั่งเศสล้ำแดนด้านนั้นอยู่
- 26 เมษายน - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสภากาชาดไทย
- 22 พฤษภาคม - ทหารฝรั่งเศสยกพลขึ้นบกทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ยึดแก่งหลี่ผีได้
- 5 มิถุนายน - พระยอดเมืองขวาง เจ้าเมืองคำม่วนได้ต่อสู้รักษาเมืองฆ่าทหารญวนและฝรั่งเศสตาย 19 คนกลายเป็นจุดเริ่มต้นคดีพระยอดเมืองขวาง
- 19 มิถุนายน - ตั้งกองพระยาฤทธิรณวรเฉทที่ปราจีนบุรีเพื่อรักษาพระราชอาณาเขตด้านทิศตะวันออก
- 21 มิถุนายน - เรือรบฝรั่งเศสทุกลำเดินทางถึงไซ่ง่อนเตรียมพร้อมสำหรับกรณี ร.ศ. 112
- 23 มิถุนายน - สยามเรียกทหารอาสาสมัคร 1,000 คน
- 29 มิถุนายน - มีการประชุมในรัฐสภาอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องฝรั่งเศส-สยาม
- 12 กรกฎาคม - รัฐบาลสยามห้ามไม่ให้เรือรบของต่างชาติล่องขึ้นมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาโดยเด็ดขาด
- 13 กรกฎาคม - วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112: เรือรบฝรั่งเศส 2 ลำ รุกเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดการยิงต่อสู้กัน และนำไปสู่การสูญเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
- 14 กรกฎาคม - ฝรั่งเศสรุกเข้ายึดเกาะดงสมในแม่น้ำโขง
- 17 กรกฎาคม - วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 :กองกำลังสยามที่แม่น้ำโขงยอมยกธงขาวขอเจรจาตามคำสั่งจากกรุงเทพฯ
- 20 กรกฎาคม - วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 :ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้สยามชดใช้ค่าเสียหายภายใน 48 ชั่วโมง
- 29 กรกฎาคม - วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 :นายพลเรือฮือมานต์เข้ายึดเกาะสีชัง ปิดปากน้ำจันทบุรี
- 3 สิงหาคม - วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112: นายพลเรือฮือมานต์ ยกเลิกการปิดปากอ่าวไทย
- 23 สิงหาคม - วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112:สยามถอนกำลังออกจากเมืองสี่พันดอน
- 15 กันยายน - ฝรั่งเศสเข้ายึดครองสี่พันดอน
- 3 ตุลาคม - วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112: ฝรั่งเศสบังคับให้สยามลงนามในสนธิสัญญาซึ่งทำให้เสียทั้งเงิน กำลังคน และดินแดน
- 5 ธันวาคม - งานฉลองการครองราชย์ครบ 25 ปีของรัชกาลที่ 5
- 24 ธันวาคม - เริ่มพิจารณาคดีพระยอดเมืองขวาง
วันเกิด
[แก้]- 1 สิงหาคม - พระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งกรีซ (สวรรคต 25 ตุลาคม พ.ศ. 2463)
- 3 สิงหาคม - หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล (สิ้นชีพิตักษัย 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2513)
- 1 ตุลาคม - ยิปมัน ปรมาจารย์กังฟูหย่งชุน (เสียชีวิต 2 ธันวาคม พ.ศ. 2515)
- 15 ตุลาคม - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช (สิ้นพระชนม์ 20 กันยายน พ.ศ. 2452)
- 8 พฤศจิกายน - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี (สวรรคต 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484)
- 26 ธันวาคม - เหมาเจ๋อตุง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน (เสียชีวิต 9 กันยายน พ.ศ. 2519)
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- 10 มีนาคม - เจ้าพรหมาภิพงษธาดา เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร