ข้ามไปเนื้อหา

Trichomonas vaginalis

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Trichomonas vaginalis
Trichomonas vaginalis observed by scanning electron microscopy
Trichomonas vaginalis บนกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดสแกน แสดงส่วน axostyle (ax), anterior flagella (af) และ undulating membrane (rf)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
ไฟลัม: เมทาโมนาด
Metamonada
อันดับ: Trichomonadida
วงศ์: Trichomonadidae
สกุล: Trichomonas

(Donné 1836)
สปีชีส์: Trichomonas vaginalis
ชื่อทวินาม
Trichomonas vaginalis
(Donné 1836)

Trichomonas vaginalis เป็นปรสิตโปรตัวซัวชนิดมีแฟลกเจลลาแอนแอรอบิก ตัวก่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เรีกยว่าไตรโชโมนีอาสิส (trichomoniasis) โดยเป็นโปรโตซัวก่อโรคที่พบบ่อยที่สุดในประเทศอุตสาหกรรม[2] อัตราการติดเชื้อพอกันในมนุษย์ทั้งเพศชายและหญิง กระนั้นเป็นเพศหญิงที่มักแสดงอาการมากกว่า ในขณะที่การติดเชื้อในเพศชายมักไม่แดสงอาการ การติดต่อมักผ่านทางการสัมผัสแนบชิดโดยตรงระหว่างคนที่มีเชื้อ โดยเฉพาะผ่านการมีเพศสสัมพันธ์แบบสอดใส่ทางช่องคลอด WHO คาดการณ์ว่ามีการติดเชื้อใหม่ 160 รายทุกปี[3] ในอเมริกาเหนือประมาณการณ์อยู่ที่ 5 ถึง 8 ล้านการติดเชื้อใหม่ทุกปี โดยที่อัตราผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการอาจสูงถึง 50%[4] การรักษามักใช้ยาปฏิชีวนะเมโทรนีดาโซล และ ทีนีดาโซล[5]

อัลเฟรด ฟรังซัว ดอนเน (1801–1878) เป็นบุคคลแรกที่บรรยายถึงกระบวนการในการวินิจฉัยภาวะไตรโชโมนีอาสิส (trichomoniasis) ผ่านการใช้กล้องจุลทรรศน์ "พบโปรโตซัวที่เคลื่อนที่ได้ จากสารคัดหลั่งทางช่องคลอด" ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1836 ในวารสารภาษาฝรั่งเศส[6] ในการตีพิมพ์เดียวกันนี้ เขายังตั้งชื่อทวินามของปรสิตนี้ไว้ว่า Trichomonas vaginalis[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dias-Lopes G, Saboia-Vahia L, Margotti ET, Fernandes NS, Castro CL, Oliveira FO, Peixoto JF, Britto C, Silva FC, Cuervo P, Jesus JB (October 2017). "Morphologic study of the effect of iron on pseudocyst formation in Trichomonas vaginalis and its interaction with human epithelial cells". Memórias do Instituto Oswaldo Cruz. 112 (10): 664–673. doi:10.1590/0074-02760170032. PMC 5607515. PMID 28953994.
  2. Soper, D (2004). "Trichomoniasis: under control or undercontrolled?". American Journal of Obstetrics and Gynecology. 190 (1): 281–90. doi:10.1016/j.ajog.2003.08.023. PMID 14749674.
  3. Harp, Djana F.; Chowdhury, Indrajit (2011). "Trichomoniasis: Evaluation to execution". European Journal of Obstetrics & Gynecology and Reproductive Biology. 157 (1): 3–9. doi:10.1016/j.ejogrb.2011.02.024. PMC 4888369. PMID 21440359.
  4. Hook, Edward W. (1999). "Trichomonas vaginalis—No Longer a Minor STD". Sexually Transmitted Diseases. 26 (7): 388–9. doi:10.1097/00007435-199908000-00004. PMID 10458631.
  5. W Evan Secor. "Trichomonas Vaginalis". MedScape.
  6. Donné, A. (19 September 1836). "Animalcules observés dans les matières purulentes et le produit des sécrétions des organes génitaux de l'homme et de la femme". Comptes Rendus Hebdomadaires des Séances de l'Académie des Sciences (ภาษาฝรั่งเศส). 3: 385–386.
  7. Diamantis, Aristidis; Magiorkinis, Emmanouil; Androutsos, George (2009). "Alfred Francois Donné (1801-78): a pioneer of microscopy, microbiology and haematology". Journal of Medical Biography. 17 (2): 81–87. doi:10.1258/jmb.2008.008040. ISSN 0967-7720. PMID 19401511. S2CID 9287263.