ข้ามไปเนื้อหา

ออร์กนีย์

พิกัด: 59°0′N 3°2′W / 59.000°N 3.033°W / 59.000; -3.033
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Orkney)
ออร์กนีย์
ชื่อภาษาแกลิกArcaibh
ชื่อภาษาสกอตOrkney
ชื่อภาษานอร์สเก่าOrkneyjar
ความหมายของชื่อ"ออร์ก" อาจมีที่มาจากภาษาเผ่าพิกติช แปลว่า 'หมูวัยอ่อน'[1]
ธง
ที่ตั้ง
ออร์กนีย์ตั้งอยู่ในสกอตแลนด์
ออร์กนีย์
ออร์กนีย์
ที่ตั้งของออร์กนีย์ในสกอตแลนด์
พิกัดภูมิศาสตร์59°0′N 3°2′W / 59.000°N 3.033°W / 59.000; -3.033
ภูมิศาสตร์กายภาพ
หมู่เกาะนอร์เทิร์นไอสส์
พื้นที่990 km2 (380 sq mi)
จุดที่สูงที่สุดวอร์ดฮิลล์
การปกครอง
รัฐเอกราชสหราชอาณาจักร
ประเทศสกอตแลนด์
พื้นที่สภาสภาเกาะออร์กนีย์
ประชากรศาสตร์
ประชากร22,100 (2017)
ความหนาแน่น20/km2 (52/sq mi)
นิคมใหญ่สุดเคิร์กวอลล์
Lymphad

ออร์กนีย์ (อังกฤษ: Orkney) หรือที่เรียกกันว่า "หมู่เกาะออร์กนีย์" (The Orkney Islands หรือ The Orkneys) เป็น "กลุ่มเกาะ" (archipelago) และที่ตั้งอยู่ทางเหนือของสกอตแลนด์ ตั้งอยู่ 16 กิโลเมตรเหนือฝั่งทะเลเคทเนสส์ (Caithness) ออร์กนีย์ประกอบด้วยเกาะทั้งหมด 70 เกาะและในจำนวนนั้น 20 มีผู้อยู่อาศัย เกาะที่ใหญ่ที่สุดของออร์กนีย์คือเกาะที่เรียกกันว่า "เมนแลนด์" (Mainland) ที่มีเนื้อที่ 523 ตารางกิโลเมตรซึ่งทำให้เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นที่หกของบรรดาเกาะของสกอตแลนด์ และใหญ่เป็นที่สิบของบรรดาเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะบริติช (British Isles) ที่ตั้งถิ่นฐานใหญ่ที่สุดที่เป็นศูนย์กลางของการปกครองอยู่ที่เคิร์กวอลล์ (Kirkwall)

ออร์กนีย์เป็นหนึ่งใน 32 มณฑลของสกอตแลนด์ ผู้ที่อาศัยอยู่ที่ออร์กนีย์เรียกว่า "ออร์เคเดียน"

ออร์กนีย์เป็นที่ตั้งถิ่นฐานมากว่า 5,500 ปี เดิมเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนเผ่าจากยุคหินใหม่ และต่อมาโดยชาวพิกต์ (Picts) ในที่สุดออร์กนีย์ก็ถูกรุกรานและผนวกเป็นส่วนหนึ่งของนอร์เวย์ในปี ค.ศ. 875 โดยมีชาวนอร์สมาตั้งถิ่นฐาน ต่อมาออร์กนีย์ก็ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสกอตแลนด์ในปี ค.ศ. 1472 เมื่อมาร์กาเร็ตแห่งเดนมาร์กไม่ทรงสามารถจ่ายค่าสินสอดทองหมั้นให้พระเจ้าเจมส์ที่ 3 แห่งสกอตแลนด์

ออร์กนีย์มีสิ่งก่อสร้างจากยุคหินใหม่ที่ยังอยู่ใ���สภาพดีที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป "หัวใจของยุคหินใหม่ออร์กนีย์" (Heart of Neolithic Orkney) ได้รับการสถาปนาให้เป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกใน ค.ศ. 1999

ใน ค.ศ. 2004 ออร์กนีย์มีประชากรทั้งหมดประมาณ19,590 คน โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ย 20 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร

อ้างอิง

[แก้]
  1. Waugh, Doreen J. "Orkney Place-names" in Omand (2003) p. 116.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]