แนวมาฌีโน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
แนวมาฌีโน | |
---|---|
Ligne Maginot | |
ตะวันออกของฝรั้งเศส | |
แผนที่แสดงแนวมาฌีโน | |
ประเภท | แนวป้องกันข้าศึก |
ข้อมูล | |
ควบคุมโดย | ฝรั่งเศส |
เปิดสู่ สาธารณะ | ไม่ |
สภาพ | ส่วนใหญ่ยังคงสภาพเดิม โดยผ่านการบูรณะของรัฐบาลฝรั่งเศส |
ประวัติศาสตร์ | |
สร้าง | 1929–1938 |
การใช้งาน | ค.ศ. 1935–1969 |
การต่อสู้/สงคราม | สงครามโลกครั้งที่สอง
|
แนวมาฌีโน (ฝรั่งเศส: Ligne Maginot) ตั้งชื่อตามรัฐมนตรีการสงครามของฝรั่งเศส อ็องเดร มาฌีโน เป็นแนวป้องกัน, ป้อมปราการคอนกรีต, สิ่งกีดขวาง ซึ่งติดตั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1930 เพื่อยับยั้งการรุกรานโดยเยอรมนีและบังคับให้พวกเขาเคลื่อนไหวอยู่รายรอบป้อมปราการ
แนวมาฌีโนถือเป็นแนวป้องกันที่แน่นหนาต่อการถูกโจมตีทุกรูปแบบ แต่อย่างไรก็ตาม เยอรมันได้ทำการรุกรานผ่านกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ โดยผ่านทางเหนือของแนวป้องกัน หลังจากนั้นแนวป้องกันถูกอุปมาเป็นการทุ่มเททั้งเม็ดเงินมหาศาลและความพยายามที่จะหยุดยั้งการุรกรานจากเยอรมันแบบวิธี
แนวมาฌีโนถูกสร้างในอาณาเขตฝรั่งเศส โดยตั้งอยู่ห่างราวสิบถึงยี่สิบกิโลเมตรจากแนวพรมแดนที่ติดกับอิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี และลักเซมเบิร์ก แนวป้องกันนี้ไม่ได้ขยายไปยังช่องแคบอังกฤษ เนื่องจากกลยุทธ์ของฝรั่งเศสที่ได้คาดการณ์การเคลื่อนทัพเข้าสู่เบลเยียมเพื่อตอบโต้การโจมตีของเยอรมัน จากประสบการณ์ของฝรั่งเศสด้วยการทำสงครามสนามเพลาะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แนวมาฌีโนขนาดใหญ่ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ภายหลังการประชุมโลคาร์โน ได้ก่อให้เกิด "จิตวิญญาณแห่งโลคาร์โน" ผู้เชี่ยวชาญทางทหารของฝรั่งเศสได้ยกย่องแนวป้องกันนี้เป็นผลงานอัจฉริยะที่สามารถยับยั้งการรุกรานของเยอรมัน เพราะจะทำให้การรุกรานชะลอตัวนานพอที่กองทัพหลักของฝรั่งเศสจะสามารถระดมพลและตอบโต้กลับ
แนวมาฌีโนนี้ไม่ได้ให้อนุญาตให้มีการโจมตีมากที่สุด รวมทั้งการทิ้งระเบิดทางอากาศและการยิงปืนรถถังและมีรถไฟใต้ดินเป็นกองสนับสนุน นอกจากนี้สภาพความเป็นอยู่ที่ทันสมัยสำหรับทหารประจำการ การจัดส่งเสบียงทางอากาศที่จำกัด และพื้นที่การกินสำหรับความสะดวกสบายของพวกเขา แทนที่จะโจมตีโดยตรง เยอรมันได้บุกเข้าโจมตีกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ โดยก้าวข้ามแนวทางตอนเหนือ เจ้าหน้าที่ทหารฝรั่งเศสและอังกฤษได้คาดการณ์ไว้แล้ว เมื่อเยอรมนีได้เข้ารุกรานเนเธอร์แลนด์ และเบลเยียม พวกเขาได้ดำเนินวางแผนด้วยการรุกไปยังแนวรบข้างหน้าเพื่อตัดผ่านเบลเยียมและเชื่อมต่อกับแนวมาฌีโน อย่างไรก็ตาม, แนวป้องกันฝรั่งเศสมีจุดที่เปราะบางอยู่ใกล้กับป่าอาร์แดน ด้วยความเชื่อของฝรั่งเศสว่าบริเวณนั้นเป็นพื้นที่ขรุขระ เป็นเส้นทางของการรุกรานของกองทัพเยอรมันที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ ถ้าบุกเข้ามาจริงก็จะทำให้เกิดความล่าช้าที่จะช่วยให้เวลาแก่ฝรั่งเศสเพื่อเตรียมกองกำลังสำรองและตอบโต้กลับ กองทัพเยอรมัน ได้กำหนดแผนใหม่ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง-กลายเป็นความตระหนักถึงและใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนในแนวป้องกันฝรั่งเศส การรุกอย่างรวดเร็วผ่านป่าและก้าวข้ามแม่น้ำมิวส์เข้าตีโอบล้อมส่วนใหญ่ของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร ส่งผลให้กองกำลังขนาดใหญ่ได้เริ่มต้นด้วยการอพยพที่ดันเคิร์ก ทิ้งเหลือเพียงกองกำลังทางใต้ที่ไม่สามารถต้านทานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อการรุกรานฝรั่งเศสของเยอรมัน
แนวป้องกันนี้นับเป็นคำอุปมาเปรียบเทียบสำหรับความพยายามที่แสนราคาแพงซึ่งก่อให้เกิดความผิดพลาดในการรักษาความปลอดภัย