การถอนทัพที่เดิงแกร์ก
การถอนทัพที่เดิงแกร์ก / ปฏิบัติการไดนาโม | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่ฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
นาซีเยอรมนี | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท |
การถอนทัพที่เดิงแกร์ก (อังกฤษ: Dunkirk evacuation) หรือชื่อเยอรมันคือ ปฏิบัติการไดนาโม (เยอรมัน: Operation Dynamo) หรือรู้จักกันในนาม ปาฏิหาริย์แห่งเดิงแกร์ก เป็นการอพยพทหารฝ่ายสัมพันธมิตรจากหาดและท่าเรือเดิงแกร์ก ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคมถึงเช้ามืดวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1940 เพราะหน่วยทหารบริติช ฝรั่งเศสและเบลเยียมถูกกองทัพเยอรมันตัดขาดระหว่างยุทธการที่เดิงแกร์กในสงครามโลกครั้งที่สอง[7][8] มีคำสั่งอพยพเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม[9] วินสตัน เชอร์ชิลล์กล่าวสุนทรพจน์ "เราจะสู้บนหาด" (We shall fight on the beaches) ต่อสภาสามัญชนเรียกเหตุการณ์ในประเทศฝรั่งเศสว่า "หายนะทางการทหารที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์"[10] เขายกย่องการช่วยเหลือทหารเหล่านี้ว่าเป็น "ปาฏิหาริย์การปลดปล่อย"[11]
ตั้งแต่วันที่ 28–31 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 เหตุการณ์ซึ่งรู้จักกันในชื่อ การล้อมที่ลีลเกี่ยวข้องกับกำลังพลที่เหลืออยู่ 40,000 คน แห่งกองทัพฝรั่งเศสที่หนึ่งซึ่งครั้งหนึ่งเคยเกรียงไกร ในการปฏิบัติอันล่าช้าต่อเจ็ดกองพันของเยอรมนี ซึ่งรวมสามกองพันยานเกราะ ที่กำลังพยายามตัดขาดและทำลายกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรที่เดิงแกร์ก เชอร์ชิลล์ว่า "เป็นช่วงเวลา 4 วันวิกฤตที่บุรุษชาวฝรั่งเศสเหล่านี้ ภายใต้การนำอย่างกล้าหาญของนายพลมอลีนีเยร์ สามารถยันพวกเยอรมันไว้ได้ไม่น้อยกว่า 7 กองพลที่อาจไปร่วมวงที่เดิงแกร์ก นี่คือผลงานอันยอดเยี่ยมที่เปิดทางให้บรรดาสหายซึ่งมีโชคกว่าตลอดจนกองทหารบริติชสามารถหนีรอดได้"[12]
ในวันแรก มีทหารได้รับการอพยพเพียง 7,011 นาย แต่ ในวันที่เก้า ทหารทั้งสิ้น 338,226 นาย (เป็นทหารบริติช 198,229 นาย ทหารฝรั่งเศส 139,997 นาย)[13] ได้รับการช่วยเหลือจากกองเรือ 993 ลำที่ประชุมอย่างเร่งด่วน หน่วยทหารจำนวนมากสามารถลงเรือจากกำแพงหินของท่าเรือสู่เรือประจัญบานและเรือใหญ่อื่นของบริติช 42 ลำ ขณะที่หน่วยทหารอื่น ๆ ต้องลุยน้ำหาเรือ รอหลายชั่วโมงเพื่อขึ้นเรือในน้ำที่สูงถึงไหล่ บางหน่วยโดยสารเรือจากหาดสู่เรือลำใหญ่กว่า และทหารหลายพันคนถูกพากลับสหราชอาณาจักรโดย "กองเรือน้อยแห่งเดิงแกร์ก" (little ships of Dunkirk) อันขึ้นชื่อ ซึ่งเป็นกองเรือเดินสมุทรพาณิชย์ เรือประมง เรือเพื่อสันทนาการ และเรือกู้ชีพของสถาบันเรือกู้ชีพแห่งชาติราวเจ็ดร้อยลำ ซึ่งลูกเรือพลเรือนของเรือเหล่านี้ถูกเรียกเข้ารับราชการเป็นการฉุกเฉิน "ปาฏิหารย์แห่งเรือน้อย" ยังเป็นความทรงจำพื้นบ้านที่โดดเด่นในสหราชอาณาจักร[14][15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Biswas 2017.
- ↑ Shephard 2003, p. 169.
- ↑ 3.0 3.1 Sweeting 2010.
- ↑ McIntyre 2017.
- ↑ Encyclopædia Britannica.
- ↑ Ellis 2004, p. 197.
- ↑ "1940: Dunkirk rescue is over – Churchill defiant." BBC, 2008. Retrieved 25 July 2010.
- ↑ Longden 2009, p. 1.
- ↑ Longden 2009, p. 48.
- ↑ Winston Churchill 2003, p. 212.
- ↑ Safire 2004, p. 146.
- ↑ Winston Churchill 1949, p. 86.
- ↑ Taylor 1965
- ↑ Knowles, David J. "The 'miracle' of Dunkirk". BBC News, 30 May 2000. Retrieved 18 July 2009.
- ↑ "History". The Association of Dunkirk Little Ships. Retrieved 11 April 2008.