มด
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
มด ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 100–0Ma[1] ช่วงอายุแอลเบียนตอนปลาย–ปัจจุบัน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อาณาจักร: | Animalia | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ไฟลัม: | Arthropoda | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชั้น: | Insecta | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อันดับ: | Hymenoptera | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อันดับย่อย: | Apocrita | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วงศ์ใหญ่: | Vespoidea | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วงศ์: | Formicidae Latreille, 1809 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Subfamilies | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Cladogram of subfamilies
A phylogeny of the extant ant subfamilies.[2][3] |
มด เป็นแมลงในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่น ๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้
กายวิภาคของมด
[แก้]1 = หนวด,2 = ปล้องหนวด, 3 = ฐานหนวด, 4 = ที่พักหนวด, 5 = ตารวม,6 = ฐานริมฝีปากบน,7 = กราม,8 = สันหน้า,9 = พูหน้า,10 = ร่องหนวด, 11 = ตาเดี่ยว, 12 = อกปล้องที่ 1, 13 = อกปล้องที่ 2, 14 = แอ่งสันอกปล้องที่ 3 15 = propodeum, 16 = ก้าน, 17 = ปุ่ม, 18 = ระยางค์ใต้ petiole, 19 = pygidium,20 = เหล็กใน, 21 = coxa, 22 = trochanter, 23 = femur, 24 = tibia, 25 = tarsus,26 = เล็บ, 27 = tibial spur,28 = ส่วนท้อง[5]
ส่วนหัว
[แก้]ส่วนหัวมด เป็นส่วนแรกของลำตัว มีรูปร่างหลายแบบ เช่น ห้าเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม วงรี หรือหัวใจ เป็นที่ตั้งของอวัยวะที่สำคัญบางชนิด ได้แก่
หนวด
[แก้]หนวด เป็นลักษณะหนึ่งที่แตกต่างไปจากแมลงกลุ่มอื่น คือ เป็นแบบหักข้อศอก (geniculate) โดยทั่วไปจำนวนปล้องหนวดของมดงานอยู่ในช่วง 4-12 ปล้อง ส่วนใหญ่มี 12 ปล้อง ปล้องแรกเรียกว่า ฐานหนวด (scape) มีลักษณะค่อนข้างยาวกว่า ปล้องที่เหลือรวมกัน พบได้ในมดงานและราชินี ส่วนเพศผู้ ส่วนมากมีฐานหนวดสั้นมากกว่าปล้องที่เหลือรวมกัน ปล้องที่เหลือ จากฐานหนวดเรียกว่า ปล้องหนวด (funiculus) มีจำนวน 3-11 ปล้อง แต่ละปล้องโดยทั่วไปสั้นกว่ามากเมื่อเทียบกับฐานหนวด หนวดส่วนใหญ่ทำหน้าที่ในการสื่อสารต่างๆ จัดเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในการรับความรู้สึก - ตา แบ่งออกได้เป็นตาเดี่ยวกับตารวม มดส่วนใหญ่จะมีตารวม บางชนิดไม่มีตารวม ตั้งอยู่บริเวณส่วนหน้าหรือด้านข้า ของส่วนหัว มีขนาดตั้งแต่เป็นจุดเล็กๆจนถึงขนาดใหญ่ ส่วนมากเป็นรูปวงกลม มีบ้างที่เป็นรูปวงรีหรือรูปไต มีหน้าที่สำหรับการมองเห็น ส่วนตาเดี่ยว โดยทั่วไปมี 3ตา อยู่เหนือระหว่างตารวม ส่วนมากพบในเพศผู้และราชินี สำหรับมดงานพบมากในมดเขตหนาวไม่ได้ใช้ในการมองเห็น [6][7]
ตา
[แก้]แบ่งได้เป็นสองประเภท คือ ไม่มีตารวมและตาเดี่ยว
- ตารวม คือ ตาที่มีอยู่เป็นคู่ อาจมีลักษณะอื่น ๆ ด้วย เช่น ตาเป็นมีตา 2 คู่ และไม่จำเป็นต้องอยู่บริเวณข้างหน้าเสมอไป มดส่วนใหญ่จะมีตาเป็นประเภทตารวม
- ตาเดี่ยว คือ ตาที่ไม่ได้มีอยู่เป็นคู่ ส่วนใหญ่จะมีสามตา และอยู่บริเวณล่างของหนวด
มดส่วนใ���ญ่จะมีตารวม บางชนิดไม่มีตารวมตั้งอยู่บริเวณส่วนหน้า หรือด้านข้างของส่วนหัว มีขนาดตั้งแต่เป็นจุดเล็ก ๆ จนถึงขนาดใหญ่ ส่วนมากเป็นรูปวงกลม มีบ้างที่เป็นรูปวงรีหรือรูปไต มีหน้าที่สำหรับการมองเห็น ส่วนตาเดี่ยวโดยทั่วไปมี 3 ตา อยู่เหนือระหว่างตารวม ส่วนมากพบในเพศผู้และราชินี สำหรับมดงาน พบมากในมดเขตหนาว ไม่ได้ใช้ในการมองเห็น
ปาก
[แก้]ปากของมดจะมีอยู่สองลักษณะ คือ แบบกัดกิน (Thorix) และปากแบบลักษะดูด (Thorase)
- ปากแบบกัดกิน จะมีลักษณะเป็นฟันสองซี่ จะคมมาก มีกรามที่แข็งแรงและขนาดใหญ่ เป็นส่วนที่เห็นชัดที่สุดรูปสามเหลี่ยม กึ่งสามเหลี่ยมหรือเป็นแนวตรงถือเป็นอวัยวะที่สำคัญในการจับเหยื่อและ ป้องกันตัว ทำให้มดส่วนใหญ่เป็นพวกกินสัตว์ พบได้ในมดงาน
- ปากแบบลักษณะดูด จะมีไว้สำหรับ ดูดน้ำหวาน ตามเกสร พบในมดเพศเมีย และมดราชินี
- ร่องพักหนวด เป็นร่วมหรือแอ่งยาวคล้ายรอยพิมพ์ อยู่บริเวณหน้าของส่วนหัว เป็นที่เก็บหนวดขณะที่ไม่ใด้ใช้ โดยทั่วไปมี 1 คู่ มีลักษณะแตกต่างกันตั้งแต่เป็นร่องตื้น ๆ ไปถึงร่องลึกเห็นชัดเจน บางชนิดไม่มีร่องพักหนวดนี้
ส่วนอก
[แก้]ส่วนอกเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่าง ส่วนท้อง และส่วนหัว โดยมากจะเป็นทรงกระบอก อาจมีตุ่มหนามอยู่ด้วย เป็นส่วนที่สองของลำตัวมดเป็นรูปทรงกระบอก อกของมดจะไม่ใช้คำว่า thorax แต่จะใช้ alitrunk แทน เนื่องจากอกของมดประกอบด้วย อกปล้องแรก อกปล้องที่ 2 และอกปล้องที่ 3 แต่อกปล้องที่ 3 นี้จะรวมกับท้องปล้องที่ 1 ซึ่งเรียกว่า propodeum ส่วนอกจะเป็นที่ตั้งของส่วนขาและปีก (สำหรับราชินีและมดเพศผู้) มดงานจะมีส่วนอกปกติ ยกเว้นมดราชินีมีอกขนาดใหญ่กวา ปีกจะพบที่มดเพศผู้และมดเพศเมียเท่านั้น มดบางชนิดอกปล้องที่ 1 อกปล้องที่ 2 เชื่อมติดกันเชื่อมติดกัน เช่นเดียวกับอกปล้องที่ 3 กับปล้องที่ 1 มดบางชนิดสันหลังอกมีหนามหรือตุ่มหนาม บางชนิดอาจเป็นแผ่นคล้ายโล่ห์ ขาของมดส่วนมากค่อนข้างยาว ทำให้เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วว่องไวมาก ความยาวของขาและรูปร่างของมดนั้นจะถูกกำหนดโดยพฤติกรรมต่างๆ
ส่วนท้อง
[แก้]เป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดของมด บางชนิดจะแตกออกเป็น 2 ส่วน เรียกว่า Wasted twin ซึ่งมดบางชนิดอาจมีเหล็กใน และบางชนิดก็มีช่องไว้ปล่อยสารป้องกันตัว เป็นส่วนที่ 3 มดมี 1 หรือ 2ปล้องขึ้นอยู่กับกลุ่มมด อาจมี 1ปล้องคือ Petioleเป็นปล้องที่ 2 ของส่วนท้องอาจเป็นปุ่ม หรือแผ่น ส่วนถ้ามี 2 ปล้องคือ Petiole และ Postpetiole เป็นปล้องที่ 2กับปล้องที่ 3 Postpetiole อาจเป็นปุ่มหรือรูปทรงกระบอกก็ได้ มดบางชนิด petiole มีหนาม 1 คู่ ส่วนท้ายของลำตัว เรียก gaster โดยทั่วไปมีรูปร่างกลม แต่บางชนิดเป็นรูปหัวใจ หรือรูปทรงกระบอก ปลายส่วนท้องของมดงานส่วนใหญ่มีเหล็กไน บางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ สำหรับบางชนิดไม่มีเหล็กไน ก็จะเปิดเป็นช่อง สำหรับขับสาร
พฤติกรรม
[แก้]มดหลายชนิดมีพฤติกรรมในการทำการเกษตรหรือเพาะปลูกพืชหรือเชื้อราบางชนิดเพื่อใช้เป็นอาหาร โดยเชื่อว่า มีพฤติกรรมเช่นนี้มานานถึง 30 ล้านปีแล้ว โดยการศึกษาของนักกีฏวิทยาพบว่า มดหลายชนิดมีพฤติกรรมการรู้จักการเพาะปลูกในเชิงสลับซับซ้อนคล้ายกับการเพาะปลูกของมนุษย์ รู้จักที่จะฝังเมล็ดพืชลงสู่พื้นดินอย่างไรถึงจะให้ผลผลิตที่ใช้เป็นอาหารได้ อีกทั้งรู้จักหลักในการควบคุมอุณหภูมิหรือความชื้นอีกด้วย[8]
สังคมของมด
[แก้]มดเป็นแมลงสังคมที่แท้จริง (Eusocial insect) อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (colony) ในแต่ละชนิด มีหลายรุ่นใน 1 กลุ่ม ภายใน กลุ่มแบ่งออกเป็นวรรณะต่างๆ (ภาพที่ 2 ) ดังนี้ ราชินี (queen) มี 1 หรือมากกว่า 1 ตัว เป็นเพศเมียที่ที่สืบพันธุ์ได้ มดเพศผู้ (male)
วรรณะต่างๆของมด
[แก้]- 1.มดราชินี (Queen Ant)
- 2.มดเพศผู้ (Male Ant) มีหนวดประมาณ 117-163 ปล้อง
- 3.มดเพศเมีย (Female Ant) มีหนวดประมาณ 131-155 ปล้อง
- 4.มดงาน (Worker Ant) มีหนวดประมาณ 83 -117 ปล้อง
- มดที่พบส่วนมากจะเป็นเพศเมียที่เป็นหมัน ในมดบางชนิดมีวรรณะทหาร (intermediate castes) เป็นเพศเมียที่เป็นหมันแต่มีขนาดใหญ่กว่า major worker ส่วนวรรณะมดงานที่มีขนาดเล็กเรียกว่า minor worker ทำให้มดงานมีหลายลักษณะ ถ้ามดงานมีขนาดและรูปร่างเหมือนกันทั้งกลุ่มจะเรียกว่า monomorphic พบได้ในมดส่วนใหญ่ ถ้ามดงานมีรูปร่างและขนาดสองแบบจะเรียกว่า dimorphic และถ้ามดงานมีหลายรูปแบบ เรียกว่า polymorphic มดทั้งหมดจะอาศัยอยู่ในกลุ่มและทุกๆวรรณะในกลุ่มนี้จะมีหน้าที่ที่จำเพาะเท่านั้น
- 5.มดทหาร มี2แบบ 5.1major ant 5.2 soldier ant
การจำแนก
[แก้]ปัจจุบัน มีการค้นพบมดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมากในเขตร้อนของโลก เฉพาะในภูมิภาคอาเซียน ประมาณว่ามีมด 1,300-1,500 ชนิด สำหรับในประเทศไทยเริ่มมีการศึกษามดอย่างจริงจังในปี ค.ศ. 1997 พบมดแล้วกว่า 700 ชนิด และคาดว่าอาจมีมากได้ถึง 1,000 ชนิด[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อphyl2006
- ↑ Ward, Philip S (2007). "Phylogeny, classification, and species-level taxonomy of ants (Hymenoptera: Formicidae)" (PDF). Zootaxa. 1668: 549–563. doi:10.11646/zootaxa.1668.1.26.
- ↑ Rabeling C, Brown JM, Verhaagh M (September 2008). "Newly discovered sister lineage sheds light on early ant evolution". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 105 (39): 14913–7. Bibcode:2008PNAS..10514913R. doi:10.1073/pnas.0806187105. PMC 2567467. PMID 18794530.
- ↑ Brady SG, Fisher BL, Schultz TR, Ward PS (May 2014). "The rise of army ants and their relatives: diversification of specialized predatory doryline ants". BMC Evolutionary Biology. 14: 93. doi:10.1186/1471-2148-14-93. PMC 4021219. PMID 24886136.
- ↑ กายวิภาคมด
- ↑ เรื่องของมด
- ↑ กายวิภาคมด
- ↑ หน้า 7 โลกาภิวัฒน์ GLOBALIZATION, มดทำเกษตรกรรมก่อนมนุษย์เมื่อ 30 ล้านปีก่อน. "โลกโศภิณ". ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21638: วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560 แรม 8 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา
- ↑ สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่า 'มด' , "จุดประกาย". กรุงเทพธุรกิจปีที่ 28 ฉบับที่ 9562: วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557