Clostridium botulinum
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนี้มีชื่อบทความเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไม่มีชื่อสามัญเป็นภาษาไทย |
Clostridium botulinum | |
---|---|
Clostridium botulinum ย้อมด้วยเจนเชียนไวโอเลต | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | Bacteria |
ชั้น: | Clostridia |
อันดับ: | Clostridiales |
วงศ์: | Clostridiaceae |
สกุล: | Clostridium |
สปีชีส์: | C. botulinum |
ชื่อทวินาม | |
Clostridium botulinum van Ermengem, 1896 |
Clostridium botulinum เป็นแบคทีเรียชนิดแกรมบวก รูปร่างเซลล์เป็นแท่งทรงกระบอก หายใจโดยไม่ใช้ออกซิเจน แบคทีเรียนี้เป็นประเภท obligate anaerobe เนื่องจากแก๊สออกซิเจนถือว่าเป็นพิษต่อเซลล์แบคทีเรียชนิดนี้ อย่างไรก็ตาม C. botulinum สามารถทนต่อสภาวะที่มีออกซิเจนได้บ้างเพราะว่ามีการพัฒนาเอนไซม์ superoxide dismutase (SOD) และสืบพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์
ลักษณะทั่วไปของ Botulinum
[แก้]เป็นแบคทีเรียชนิดแกรมบวก รูปร่างเป็นท่อน สร้างสปอร์ซึ่งทนต่ออุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ได้นาน 5-10 ชั่วโมง เจริญเติบโตได้ที่อุณหภูมิ 30-37 องศาเซลเซียส ในสภาวะที่ไม่มีอากาศ พบทั่วไปในสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ น้ำทะเล บ่อปลา อาหารสด [1]เป็นแบคทีเรียที่มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องอาหารกระป๋องไม่ถูกสุขลักษณะนั้น ก็อาจได้รับอันตรายได้ จากสภาพความเป็นกรดที่ต่ำในอาหารกระป๋อง ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคจาก botulinum ที่สามารถสร้างสารพิษที่มีผลต่อระบบประสาท ระบบหายใจถึงขั้นเสียชีวิตได้ [2]
การจัดจำแนก
[แก้]จากการศึกษาในทางอนุกรมวิธาน สามารถแยกกลุ่ม (phenotype) ของ C. botulinum ได้เป็น 4 กลุ่ม (I–IV) โดยแบ่งตามความสามารถในการสลายโปรตีนโครงสร้างใหญ่ต่างชนิดกัน การศึกษาสารพันธุกรรมก็สนับสนุนข้อสรุปนี้เช่นกัน C. botulinum ที่ก่อโรคในมนุษย์ได้แก่กลุ่มที่ I และ II ส่วนกลุ่มที่ III พบว่าสามารถก่อโรคได้ในสัตว์อื่นๆ หลายประเภท
พบแบคทีเรียนี้ได้ทั่วไปในธรรมชาติ ทั้งในดินและในน้ำทะเล สามารถเจริญได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นกรดอ่อนๆ (pH อยู่ในช่วง 4.8 – 7) เชื้อนี้มีความสามารถในการแพร่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ง่าย เช่น ผ่านการปนเปื้อนในดินที่เพาะปลูกพืช ในเศษดินที่ติดมากับผัก หรือในลำไส้ของปลา รวมทั้งในสัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่แบคทีเรียชนิดนี้จะสามารถผลิตสารพิษ botulinum toxin ได้เฉพาะช่วงสร้างสปอร์ ซึ่งจะเกิดในภาวะที่ไม่มีออกซิเจนเท่านั้น นอกจากนี้มีสิ่งมีชีวิตอีกหลายชนิดที่สามารถสร้าง neurotoxin ลักษณะเดียวกันนี้ได้ เช่น สิ่งมีชีวิตที���จัดอยู่ในวงศ์ Clostridium และสิ่งมีชีวิตที่แม้จะมีลักษณะภายนอกที่ต่างกัน ก็สามารถสร้างพิษชนิดนี้ได้เช่นกัน กลุ่มของ C. botulinum และสายพันธุ์ใกล้เคียงที่สร้างสาร botulinum toxin ได้มีดังตารางนี้
I | II | III | IV* | C. buritii | C. butyricum | |
---|---|---|---|---|---|---|
ชนิดสารพิษ | A, B, F | B, E, F | C, D | G | F | E |
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญ (°C) | 35-40 | 18-25 | 40 | 37 | 30-37 | 30-45 |
อุณหภูมิต่ำสุดที่จะเจริญได้ (°C) | 12 | 3.3 | 15 | 10 |
C. argentinense has been proposed for VI group (Hatheway, 1995).
โรคจากโบตูลินัม
[แก้]เรียกว่า โรคโบทูลิซึม (Botulism|Botulism) ทำให้มองเห็นภาพซ้อน คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด เป็นอัมพาต หายใจขัด และ เสียชีวิตเนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว ผู้ได้รับเชื้ออาการจะเกิดภายใน 12-36 ชั่วโมง หลังการบริโภคอาหาร และอาจ เสียชีวิตภายใน 3-6 วันซึ่งโบทูลิสซึมเป็นโรคที่มีความรุนแรง แต่พบได้ไม่บ่อย เกิดจากทอกซินหรือสารพิษ ทอกซินนี้จะมีผลต่อระบบ ประสาท (neurotoxin) ทำให้เกิดโรคแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ โรคอาหารเป็นพิษโบทูลิสซึม (foodborne botulism) โรคโบทูลิสซึมในลำไส้ (intestinal botulism) และโรคโบทูลิสซึมที่บาดแผล (wound botulism) [3]
กลไกการเกิดพิษของ Botulinum toxin
[แก้]สารพิษจากโบตูลินัมจะมีผลยับยั้งการทำงานที่ปลายประสาทของเซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์ (presynaptic nerve terminal) โดยไปยับยั้งการปล่อยสารสื่อประสาท (Neurotransmitter) หรือไปลดการหลั่งสาร acetylcholine (ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท) ที่ปลายประสาท ทำให้ไม่สามารถสร้างกระแสประสาทส่งต่อไปยังเซลล์ต่าง ๆ ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ทำงานไม่ได้ ซึ่งกลไกนี่เองที่ทำให้กล้ามเนื้อในร่างกายไม่สามารถทำงานได้ (หมดแรง อ่อนล้า) จะเห็นว่าผู้ป่วยที่ได้รับพิษเข้าไปมาก ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจทำงานติดขัดด้วย ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจกับผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้ [4]
การป้องกันการสร้างพิษของเชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินัม
[แก้]ทำได้โดยการทำลายเซลล์และสปอร์ของเชื้อให้หมด หรือยับยั้งสปอร์ไม่ให้งอกเป็นเซลล์ ทำให้ไม่มีการเพิ่มจำนวนของเซลล์ และไม่มีการสร้างสารพิษปนเปื้อนสู่อาหาร ซึ่งในขบวนการผลิตอาหารกระป๋องสามารถป้องกันการสร้างสารพิษ ได้แก่ การให้ความร้อน การใช้ความเป็นกรด การควบคุมค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ (aw) การควบคุมโดยใช้ความเย็น [5]
เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มักจะพบได้ทั้งในน้ำและในดิน ควรระวังในเรื่องความสะอาด สำหรับอาหารที่มีการพบเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้บ่อยครั้ง ก็คือ ในอาหารกระป๋อง ดังนั้นในการรับประทานอาหารกระป๋อง ควรนำอาหารกระป๋องออกจากกระป๋อง ใส่ภาชนะอื่น ๆ และนำมาปรุงเพื่อผ่านความร้อนฆ่าเชื้อก่อนรับประทาน ไม่ควรชิมอาการกระป๋องหลังจากเปิดกระป๋องทันที และควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารกระป๋องที่เมื่อเปิดกระป๋องแล้วพบว่ามีฟองก๊าซ หรือมีกลิ่นเหม็นแปลก ๆ [6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ [1]."คลอสตริเดียม โบทูลินัม" เชื้อโรคร้ายในอาหารกระป๋อง
- ↑ [2] เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.ภัยที่มากับอาหาร
- ↑ [3] เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.โรคโบทูลิสซึม (Botulism)
- ↑ [4].Botulinum Toxin สารพิษจากเชื้อแบคทีเรียในหน่อไม้ปี๊บ
- ↑ [5]."คลอสตริเดียม โบทูลินัม" เชื้อโรคร้ายในอาหารกระป๋อง
- ↑ [6].Botulinum Toxin สารพิษจากเชื้อแบคทีเรียในหน่อไม้ปี๊บ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Pathema-Clostridium Resource
- Jeremy Sobel (2005). "Botulism". Clinical Infectious Diseases. 41 (8): 1167–1173. doi:10.1086/444507. PMID 16163636.
- Current research on Clostridium botulinum at the Norwich Research Park เก็บถาวร 2012-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน