ข้ามไปเนื้อหา

A23a

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เส้นทางของ A23a ที่ถูกติดตามโดยหอสังเกตการณ์โลกของนาซ่า[1]

ภูเขาน้ำแข็ง A23a เป็นแผ่นภูเขาน้ำแข็��ขนาดใหญ่ที่เกิดจากการแยกตัวออกจากแผ่นน้ำแข็งฟิลช์เนอร์-รอนเน ในปี ค.ศ. 1986 มันติดอยู่กับพื้นทะเลมาหลายปีจนกระทั่งเริ่มเคลื่อนที่ในปี ค.ศ. 2020 มีพื้นที่ประมาณ 3,900 ตารางกิโลเมตร (1,500 ตารางไมล์) ทำให้มันเป็นภูเขาน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนี้[2][3]

ฐานดรุจนายาที่ 1 ซึ่งเดิมตั้งอยู่บนแผ่นน้ำแข็งฟิลช์เนอร์-รอนเน แต่เมื่อมันแตกออก ฐานนี้ก็อยู่บนภูเขาน้ำแข็งด้วย[2] หลังจากนั้นจึงมีภารกิจช่วยเหลือโดยเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1987 และในที่สุดได้ย้าย/เปลี่ยนชื่อฐานเป็นดรุจนายาที่ 3[4]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 A23a ถูกติดตามว่าเคลื่อนผ่านปลายด้านเหนือของคาบสมุทรแอนตาร์กติก และมุ่งหน้าไปยังมหาสมุทรใต้[5] เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2023 ภูเขาน้ำแข็งถูกพบโดเรือสำรวจขั้วโลก อาร์อาร์เอส เซอร์ เดวิด แอตเทนโบโรห์ ที่นอกสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก[6] ด้วยความเร็ว 10 นอต เรือใช้เวลาหลายชั่วโมงในการแล่นตามสองด้านของภูเขาน้ำแข็ง[6] A23a คาดว่าจะปล่อยฝุ่นแร่จำนวนมากเมื่อมันละลาย ดังนั้นเรือจึงเก็บตัวอย่างน้ำรอบขอบภูเขาน้ำแข็ง[6]

เมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2024 โครงสร้างส่วนโค้งที่แปลกตาซึ่งเกิดจากการกระทำของคลื่นบน A23a ถูกบันทึกโดยโดรนที่ควบคุมโดยริชาร์ด ซิดีย์ และหัวหน้าคณะสำรวจ เอียน สตราชาน ภาพที่พวกเขาบันทึกไว้ถูกเผยแพร่อย่างกว้างขวางโดย บีบีซี และ ซีเอ็นเอ็น[7] ในช่วงต้นเดือนเมษายน ค.ศ. 2024 ภูเขาน้ำแข็งได้เข้าสู่กระแสน้ำหมุนรอบแอนตาร์กติก แต่ยังคงอยู่ในที่เดิมเนื่องจากติดอยู่ในเทย์เลอร์คอลัมน์ — ซึ่งได้รับการยืนยันในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 — เหนือภูเขาใต้ทะเลแบงก์พิรี ใกล้หมู่เกาะเซาท์ออร์คนีย์ห่างจากคาบสมุทรแอนตาร์กติกประมาณ 375 ไมล์ โดยหมุนทวนเข็มนาฬิกาประมาณ 15 องศาในแต่ละวัน[8][9][10] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2024 บริติชแอนตาร์กติกเซอร์เวย์ (BAS) รายงานว่า ภูเขาน้ำแข็งได้ออกจากเทย์เลอร์คอลัมน์ และเริ่มเคลื่อนที่ไปทางเหนือผ่านมหาสมุทรใต้[11]

บีเอเอสคาดว่า A23a จะตามกระแสน้ำหมุนเวียนรอบแอนตาร์กติกไปยังเกาะเกาะเซาท์จอร์เจียในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ ที่ซึ่งมันจะเผชิญกับน้ำที่อุ่นขึ้นและแตกออกเป็นภูเขาน้ำแข็งขนาดเล็กลง[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Antarctic Iceberg Sails Away". NASA Earth Observatory. 28 November 2023.
  2. 2.0 2.1 Amos, Jonathan (24 November 2023). "A23a: World's biggest iceberg on the move after 30 years". BBC News.
  3. "Largest iceberg (current)". Guinness World Records. 23 February 2024. สืบค้นเมื่อ 14 December 2024.
  4. Shabad, Theodore (22 February 1987). "Russians Recover Lost Ice Station". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2014. สืบค้นเมื่อ 4 August 2024.
  5. Smith, Stephen (24 November 2023). "World's largest iceberg – 3 times the size of New York City – "on the move" for the first time in 37 years". CBS News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 25 November 2023.
  6. 6.0 6.1 6.2 Amos, Jonathan (4 December 2023). "Attenborough ship encounters mammoth iceberg". BBC News.
  7. Amos, Jonathan (16 January 2024). "A23a: Spectacular arches, caves as monster iceberg decays". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 22 January 2024.
  8. Tumin, Remy (7 August 2024). "After Breaking Free, World's Largest Iceberg Is Stuck Spinning in Circles". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2024. สืบค้นเมื่อ 10 August 2024.
  9. Amos, Jonathan; Rivault, Erwan (4 August 2024). "World's biggest iceberg spins in ocean trap". BBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2024.
  10. Kim, Juliana (10 August 2024). "The world's largest iceberg is stuck twirling in an ocean vortex". NPR. สืบค้นเมื่อ 14 December 2024.
  11. Sandeman, George (14 December 2024). "World's biggest iceberg heads north after escaping vortex". BBC News. สืบค้นเมื่อ 14 December 2024.
  12. "World's largest iceberg A23a breaks free". British Antarctic Survey (Press release). 13 December 2024. สืบค้นเมื่อ 14 December 2024.