ข้ามไปเนื้อหา

2 พงศาวดาร 11

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2 พงศาวดาร 11
หน้าของหนังสือพงศาวดาร (1 และ 2 พงศาวดาร) ในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือพงศาวดาร
หมวดหมู่เคทูวีม
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์14

2 พงศาวดาร 11 (อังกฤษ: 2 Chronicles 11) เป็นบทที่ 11 ของหนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2 ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หรือส่วนที่ 2 ของหนังสือพงศาวดารในคัมภีร์ฮีบรู[1][2] หนังสือพงศาวดารรวบรวมจากแหล่งข้อมูลที่เก่ากว่าโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ทราบตัวตน ซึ่งนักวิชาการสมัยใหม่เรียกว่าเป็น "ผู้เขียนหนังสือพงศาวดาร" (the Chronicler) และมีรูปร่างสุดท้ายที่ทำขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 5 หรือ 4 ก่อนคริสตกาล[3] บทที่ 11 ของ 2 พงศาวดารเป็นส่วนหนึ่งของตอนที่เน้นไปที่ราชอาณาจักรยูดาห์จนกระทั่งถูกทำลายโดยชาวบาบิโลนภายใต้กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ และการเริ่มต้นฟื้นฟูใหม่ภายใต้กษัตริย์ไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซีย (2 พงศาวดาร 10 ถึง 36)[1] จุดเน้นของบทนี้คือผลที่ตามมาจาการแบ่งแยกราชอาณาจักรอิสราเอลในช่วงต้นรัชสมัยของเรโหโบอัม[4]

ต้นฉบับ

[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 23 วรรค

พยานต้นฉบับ

[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[5]

สำเนาต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[6][a]

การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม

[แก้]
  • 2 พงศาวดาร 11:1–4: 1 พงศ์กษัตริย์ 12:20–24[10]

เรโหโบอัมเสริมกำลังยูดาห์ (11:1–12)

[แก้]

วรรค 1–4 คล้ายกับ 1 พงศ์กษัตริย์ 12:21-24 แต่วรรค 5–12 ไม่คล้ายกับที่อื่นใด[11] เรโหโบอัมทรงระงับการโจมตีเยโรโบอัมเพราะการแทรกแซงจากพระวจนะ (วรรค 4) การทรงเชื่อฟังของเรโหโบอัมทำให้พระองค์ทรงได้รับรางวัล[4] เรโหโบอัมทรงเปลี่ยนมาเสริมกำลังของบางเมืองให้เป็นป้อมปราการ (วรรค 6–10) ทุกเมืองยกเว้นอาโดราอิมถูกกล่าวถึงที่อื่นในคัมภีร์ฮีบรู[4]

วรรค 4

[แก้]
" 'พระยาห์เวห์ตรัสดังนี้ว่า
พวกเจ้าอย่าขึ้นไปสู้รบกับพี่น้องของเจ้า จงกลับบ้านของตนทุกคนเถิด เพราะสิ่งนี้เป็นมาจากเรา' "
แล้วพวกเขาจึงเชื่อฟังพระวจนะของพระยาห์เวห์ และกลับไปโดยไม่ได้สู้รบกับเยโรโบอัม[12]
  • "สิ่งนี้เป็นมาจากเรา": เปรียบเทียบกับ 2 พงศาวดาร 10:15 "เหตุการณ์นี้เป็นมาจากพระเจ้า"[13]

ผู้สนับสนุนและพระราชตระกูลของเรโหโบอัม (11:13–23)

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: 1 พงศ์กษัตริย์ 1, 1 พงศ์กษัตริย์ 10, 1 พงศ์กษัตริย์ 11, 1 พงศ์กษัตริย์ 12, 1 พงศาวดาร 6, 1 พงศาวดาร 18, 1 พงศาวดาร 22, 1 พงศาวดาร 29
  • หมายเหตุ

    [แก้]
    1. หนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2 ทั้งเล่มขาดหายไปจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่[7][8][9]

    อ้างอิง

    [แก้]
    1. 1.0 1.1 Ackroyd 1993, p. 113.
    2. Mathys 2007, p. 268.
    3. Ackroyd 1993, pp. 113–114.
    4. 4.0 4.1 4.2 Mathys 2007, p. 288.
    5. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    6. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    7. Würthwein, Ernst (1988). Der Text des Alten Testaments (2nd ed.). Stuttgart: Deutsche Bibelgesellschaft. p. 85. ISBN 3-438-06006-X.
    8. Swete, Henry Barclay (1902). An Introduction to the Old Testament in Greek. Cambridge: Macmillan and Co. pp. 129–130.
    9. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    10. 2 Chronicles 11 Berean Study Bible. Biblehub
    11. Coogan 2007, p. 634 Hebrew Bible.
    12. 2 พงศาวดาร 11:4 THSV11
    13. Ellicott, C. J. (Ed.) (1905). Ellicott's Bible Commentary for English Readers. 2 Chronicles 11. London : Cassell and Company, Limited, [1905-1906] Online version: (OCoLC) 929526708. Accessed 28 April 2019.

    บรรณานุกรม

    [แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น

    [แก้]