ข้ามไปเนื้อหา

ไอโหเฬ

พิกัด: 16°1′08″N 75°52′55″E / 16.01889°N 75.88194°E / 16.01889; 75.88194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่โบราณสถานที่ไอโหเฬ
ทุรคามนเทียร ไอโหเฬ
ที่ตั้งอำเภอพคัลโกฏ รัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย
นครใกล้สุดหุนาคูนฑ์
พิกัด16°1′08″N 75°52′55″E / 16.01889°N 75.88194°E / 16.01889; 75.88194
พื้นที่5 ตารางกิโลเมตร (1.9 ตารางไมล์)
ความสูงจากระดับน้ำทะเล810 m (2,657 ft)
สร้างเมื่อศตวรรษที่ 4-12
สถาปัตยกรรมฮินดู, ไชนะ, พุทธ
ผู้ดูแลเอเอสไอ
ไอโหเฬตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
ไอโหเฬ
ตำแหน่งที่ตั้งหมู่โบราณสถานที่ไอโหเฬในประเทศอินเดีย
ไอโหเฬตั้งอยู่ในรัฐกรณาฏกะ
ไอโหเฬ
ไอโหเฬ (รัฐกรณาฏกะ)

ไอโหเฬ (อักษรโรมัน: Aihole) หรือ ไอหัฬ (กันนาดา: ಐಹೊಳೆ) หรือชื่ออื่น ๆ ไอวัฬฬี, อารยปุระ, อหิโวฬาฬ เป็นแหล่งโบราณสถานที่ประกอบด้วยหมู่ศานสถานของศาสนาพุทธ, ไชนะ และ ศาสนาฮินดู สร้างขึ้นในราวศตวรรษที่ 6-12[1][2][3] ซากของสิ่งปลูกสร้างที่พบในปัจจุบันส่วนใหญ่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 7-10[4] หมู่สิ่งปลูกสร้างไอโหเฬประกอบด้วยวิหารหินและถ้ำวิหารมากกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบแห่ง กระจายตัว��ปทั่วที่ราบลุ่มแม่น้ำมัลลประภา ในอำเภอภคัลโกฏ โดยมีหมู่บ้านใกล้สุดคือหุนาคุณฑ์ ซึ่งห่างออกไป 35 กิโลเมตร[5]

ไอโหเฬตั้งอยู่ 35 กิโลเมตร (22 ไมล์) ห่างจากพทามี และราย 9.7 กิโลเมตร (6.0 ไมล์) จากปัฏฏทกัล ซึ่งล้วนเป็นแหล่งสำคัญของสถาปัตยกรรมจาลุกยะ ทั้งไอโหเฬและพทามีเฟื่องฟูขึ้นในศตวรรษที่ 6 ในบานะแหล่งปลูกสร้างสถาปัตยกรรมสำคัญของจาลุกยะ[6][7][8]

ในบรรดาวิหารของไอโหเฬประกอบด้วยราวหนึ่งร้อยวิหารที่เป็นมนเทียรของศาสนาฮินดู, สองสามหลังเป็นของไชนะ และหนึ่งหลังเป็นของศาสนาพุทธ ทั้งหมดล้วนสร้างให้อยู่ร่วมกันและตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน บนพื้นที่กว่า 5 ตารางกิโลเมตร (1.9 ตารางไมล์)[9] มนเทียรของฮินดูประกอบด้วยมนเทียรบูชาพระศิวะ, พระวิษณุ, พระทุรคา, พระสูรยะ และเทพเจ้าฮินดูองค์อื่น ๆ ส่วนวิหารไชนะบูชามหาวีระ, ปารศวนาถ, เนมินาถ และตีรถังกรองค์อื่น ๆ[10] ส่วนของพุทธเป็นอารามและวัดขนาดเล็ก นอกวิหารแล้วยังมีอาราม กุฏิ บ่อน้ำ บ่อน้ำขั้นบันได ที่ตั้งอยู่ประกอบกับวิหารสำคัญ ๆ[8][11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Himanshu Prabha Ray (2010). Archaeology and Text: The Temple in South Asia. Oxford University Press. pp. 17–18, 27. ISBN 978-0-19-806096-3.
  2. Heather Elgood 2000, p. 151.
  3. Jeffery D. Long (2011). Historical Dictionary of Hinduism. Scarecrow. p. 29. ISBN 978-0-8108-7960-7., Quote: "AIHOLE. Pronounced "Eye-ho-lé", village in northern Karnataka that, from the fourth to the sixth centuries CE, was a major city (...)"
  4. Michell, George (1990), The Penguin Guide to the Monuments of India, Volume 1: Buddhist, Jain, Hindu, pp. 331–335, 1990, Penguin Books, ISBN 0140081445
  5. Maurizio Forte; Stefano Campana; Claudia Liuzza (2010). Space, Time, Place: Third International Conference on Remote Sensing in Archaeology. Archaeopress. pp. 343–344. ISBN 978-1-4073-0659-9.
  6. Centre, UNESCO World Heritage. "Evolution of Temple Architecture – Aihole-Badami- Pattadakal". UNESCO World Heritage Centre.
  7. World Heritage Sites – Pattadakal – More Detail, Archaeological Survey of India, Government of India (2012)
  8. 8.0 8.1 Michell 2017, pp. 12–29, 78–86.
  9. Maurizio Forte; Stefano Campana; Claudia Liuzza (2010). Space, Time, Place: Third International Conference on Remote Sensing in Archaeology. Archaeopress. pp. 343–344. ISBN 978-1-4073-0659-9.
  10. Michell 2017, pp. 12–19.
  11. Himanshu Prabha Ray (2010). Archaeology and Text: The Temple in South Asia. Oxford University Press. pp. 24–26. ISBN 978-0-19-806096-3.

บรรณานุกรม

[แก้]