ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2566
| |||||||
วันที่ | 5 สิงหาคม 2566 18:00[1] | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
สนาม | ราชมังคลากีฬาสถาน, เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร | ||||||
ผู้เล่นยอดเยี่ยม ประจำนัด | นิติพงษ์ เสลานนท์[2] | ||||||
ผู้ตัดสิน | ต่อพงษ์ สมสิงห์ (ไทย) | ||||||
ผู้ชม | 10,824 คน | ||||||
สภาพอากาศ | มีเมฆเป็นบางส่วน 29 °C (84 °F) ความชื้นสัมพัทธ์ 72% | ||||||
ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2566 (หรือ ไดกิ้นไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ ตามชื่อผู้สนับสนุน)[3] เป็นการแข่งขันไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพครั้งที่ 7 เป็นการพบกันระหว่างบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลรีโว่ ไทยลีก และช้าง เอฟเอคัพ ในฤดูกาลที่ผ่านมา กับทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด ทีมรองชนะเลิศของทั้ง 2 รายการดังกล่าว ในฐานะทีมรองชนะเลิศของรีโว่ ไทยลีก โดยบุรีรัมย์ได้เข้าร่วมแข่งขันรายการนี้เป็นครั้งที่ 4 ต่อจากปี พ.ศ. 2561, พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2565 โดยในปีที่แล้ว พวกเขาพ่ายแพ้ให้กับบีจี ปทุม ยูไนเต็ด ไป 2–3 ขณะที่ทรูแบงค็อกเข้าร่วมแข่งขันในรายการนี้เป็นครั้งแรก โดยไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2566 นี้ จะแข่งขันในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566[4] ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน ในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร[5]
สนามแข่งขัน
[แก้]การแข่งขันไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพครั้งนี้ จะแข่งขันกันที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน ในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร โดยเป็นสนามแห่งที่ 6 ที่ใช้จัดการแข่งขันรายการนี้ ต่อจากสนามศุภชลาศัย, สนามกีฬากองทัพบก, ธันเดอร์โดมสเตเดียม, สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี และสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 และนับเป็นการแข่งขันรายการนี้ในกรุงเทพมหานครครั้งแรกในรอบ 3 ปี[5]
ปัจจุบันสนามราชมังคลากีฬาสถานเป็นสนามเหย้าของทีมฟุตบอลทีมชาติไทย และเคยเป็นสนามหลักในเอเชียนเกมส์ 1998 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
ภูมิหลัง
[แก้]สโมสร | การเข้ารอบ | การแข่งขันครั้งที่ผ่านมา (ตัวหนาคือชนะเลิศ) |
---|---|---|
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | ชนะเลิศไทยลีก ฤดูกาล 2565–66 และช้าง เอฟเอคัพ 2565–66 | 3 (2561, 2562, 2565) |
ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด | รองชนะเลิศไทยลีก ฤดูกาล 2565–66 และช้าง เอฟเอคัพ 2565–66 | ไม่เคย |
การถ่ายทอดสด
[แก้]การแข่งขัน
[แก้]บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
|
ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด
|
ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
ธเนศ ชูชื่น
ราเชนทร์ ศรีชัย
ผู้ตัดสินที่สี่:
วิศเวศ สังข์นคร
ผู้ช่วย วีเออาร์:
กชภูมิ มีศรีเดชา
อภิชิต โนพวน
กติกาการแข่งขัน
|
สถิติ
[แก้]
|
|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "พีพีทีวี ยิงสด ฟุตบอล ไทยแลนด์ แชมเปี้ยน คัพ 2023". พีพีทีวี. 2023-07-14. สืบค้นเมื่อ 2023-07-15.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Man of the match of the Daikin Thailand Champions Cup 2023 (in Thai)". facebook.com – True Bangkok United. 5 August 2023.
- ↑ "ไดกิ้นแชมเปี้ยนคัพ 2566-2567 บุรีรัมย์ดวลทรูแบงค็อก". แนวหน้า. 2023-07-12. สืบค้นเมื่อ 2023-07-12.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ไทยลีก เตะ 11 เดือน เปิดฉากฤดูกาล 2566-67 เดือนสิงหาคม". พีพีทีวี ออนไลน์. พีพีทีวี. 2023-06-07. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 5.0 5.1 "เคาะ ราชมังคลากีฬาสถาน เตะไทยแลนด์ แชมเปี้ยน คัพ 2023". พีพีทีวี. 2023-07-12. สืบค้นเมื่อ 2023-07-12.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)