ข้ามไปเนื้อหา

ไทกีไซคลีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทกีไซคลีน
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียง/ˌtɡəˈskln/
ชื่อทางการค้าTygacil
AHFS/Drugs.comTigecycline monograph
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: D
  • US: D (มีความเสี่ยง)
ช่องทางการรับยาหลอดเลือดดำเท่านั้น
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • AU: S4 (ต้องใช้ใบสั่งยา)
  • US: ℞-only
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
การจับกับโปรตีน71–89%
การเปลี่ยนแปลงยาไม่ถูกเมทาบอลิซึม
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ42.4 ชั่วโมง
การขับออก59% น้ำดี, 33% ไต
ตัวบ่งชี้
  • N-[(5aR,6aS,7S,9Z,10aS) -9- (amino-hydroxy-methylidene) -4,7-bis (dimethylamino) -1,10a,12-trihydroxy-8,10,11-trioxo-5a,6,6a,7-tetrahydro-5H-tetracen-2-yl]-2- (tert-butylamino) acetamide[1]
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.211.439
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC29H39N5O8
มวลต่อโมล585.65 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • CC (C) (C) NCC (=O) Nc1cc (c2C[C@H]3C[C@H]4[C@H](N (C) C) C (\O) =C (\C (N) =O) C (=O) [C@@]4 (O) C (/O) =C3/C (=O) c2c1O) N (C) C
  • InChI=1S/C29H39N5O8/c1-28 (2,3) 31-11-17 (35) 32-15-10-16 (33 (4) 5) 13-8-12-9-14-21 (34 (6) 7) 24 (38) 20 (27 (30) 41) 26 (40) 29 (14,42) 25 (39) 18 (12) 23 (37) 19 (13) 22 (15) 36/h10,12,14,21,31,36,38-39,42H,8-9,11H2,1-7H3, (H2,30,41) (H,32,35)/t12-,14-,21-,29-/m0/s1 checkY
  • Key:FPZLLRFZJZRHSY-HJYUBDRYSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

ไทกีไซคลีน (อังกฤษ: Tigecycline) เป็นยาปฏิชีวนะที่ถูกใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบทีเรีย[2][3] จัดอยู่ในกลุ่มไกลซิลไซคลีน ในปัจจุบันยานี้มีเพียงรูปแบบที่ใช้สำหรับการฉีดเข้าหลอดเลือดดำเท่านั้น ทั้งนี้ ไทกีไซคลีนถูกคิดค้นพัฒนาขึ้นมาเนื่องมาจากการมีอุบัติการณ์การดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่มีอัตราค่อนข้างสูงในปัจจุบัน เช่น Staphylococcus aureus, Acinetobacter baumannii, และ Escherichia coli เป็นต้น[2] เนื่องด้วยยานี้เป็นหนึ่งในยากลุ่มเตตราไซคลีน การดัดแปลงโครงสร้างของยาจึงสามารถเพิ่มขอบข่ายการออกฤทธิ์ของยาให้ครอบคลุมได้ทั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ รวมไปถึงเชื้อแบคทีเรียบางสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายขนาน (multi-drug resistance bacteria) ด้วย

ปัจจุบันไทกีไซคลินอยู่ภายใต้การดำเนินการทางการตลอดของไฟเซอร์ ภายใต้ชื่อการค้า Tygacil ยานี้ได้ถูกยื่นให้องค์การอาการและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาพิจารณารับรองการใช้ในมนุษย์อย่างเร่งด่วน (fast-track approve) เนื่องจากปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่มีมากขึ้น และได้รับการรับรองจากองค์กรดังกล่าวในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2005[2][3]

การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

[แก้]

ไทกีไซคลีนถูกใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน (complicated skin and structure infections), การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน (complicated intra-abdominal infections) และ โรคปอดอักเสบชุมชนที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (community-acquired bacterial pneumonia) ขอบข่ายการออกฤทธิ์ของไทกีไซคลีน ดังแสดงต่อไปนี้

การบริหารยาไทกีไซคลีนนั้นสามารถบริหารยาได้เฉพาะการฉีดเข้าหลอดเลือดดำเท่านั้น โดยยานี้มีขอบข่ายการออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบหลายสายพันธุ์ นอกจากนี้แล้วยังออกฤทธิ์ครอบคลุมถึงจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจนได้บางชนิด โดยส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะอื่นที่มีใช้อยู่ก่อน เช่น methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และ Acinetobacter baumannii แต่ไม่มีผลต่อเชื้อสกุล Pseudomonas spp. และ Proteus spp. ปัจจุบันไทกีไซคลินผ่านการทดลองทางคลินิกในขั้นที่ 3 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้รับการรับรองให้ใช้ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน, การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน และ โรคปอดอักเสบชุมชนที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยพบว่ายานี้ในรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำมีประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อนได้เทียบเท่ากับแวนโคมัยซินและแอซทรีโอนัมรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำเป็นอย่างน้อย และมีประสิทธิภาพเทียบเคียงได้กับอิมมิพีเนม/ซิลลาสตาตินในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน[5]

สมาคมโรคติดเชื้อและจุลชีววิทยาคลินิกแหล่งสหภาพยุโรป (European Society of. Clinical Microbiology and Infectious Diseases; ESCMID) ได้แนะนำให้ใช้ไทกีไซคลินเป็นทางเลือกที่สำคัญในการรักษาการติดเชื้อ Clostridium difficile ที่มีอาการรุนแรง และ/หรือซับซ้อน หรือดื้อยา[6]

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ไทกีไซคลีนได้ในกลุ่มประชรกรที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ได้แก่ ผู้ป่วย���าวะคุ้มกันบกพร่อง, ผู้ป่วยมะเร็ง,[6] ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์[7]

ข้อมูลความไวขอเชื้อแบคทีเรียต่อยา

[แก้]

เป้ามหายการออกฤทธิ์ของไทกีไซคลีนนั้นคือทั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ รวมไปถึงเชื้อแบคทีเรียที่พบเห็นการดื้อยาได้บ่อยอีกบางสายพันธุ์ ข้อมูลความเข้มข้นของยาในระดับต่ำสุด (ในหลอดทดลอง) ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่สำคัญบางชนิด (Minimal Inhibitory Concentration; MIC) ของไทกีไซคลีน ดังแสดงต่อไปนี้ได้:

  • Escherichia coli: 0.015 μg/mL — 4 μg/mL
  • Klebsiella pneumoniae: 0.06 μg/mL — 16 μg/mL
  • Staphylococcus aureus (methicillin-resistant) : 0.03 μg/mL — 2 μg/mL[8]

ทั้งนี้ ไทกีไซคลีนมีฤทธิ์ต้านเชื้อสายพันธุ์ Pseudomonas ได้น้อยมาก[9]

ขนาดยา

[แก้]

การบริหารยาไทกีไซคลียด้วยวิธีการฉีดเข้าหลอดเลือดดำนั้นควรบริหารยาอย่างช้าๆ (30 ถึง 60 นาที) โดยบริหารยาให้ผู้ป่วยทุก 12 ชั่วโมง ผู้ที่มีความปกติของการทำงานของตับจำเป็นต้องมีการปรับลดขนาดยาลงจากปกติ โดยเฉพาะในผู้ที่มีความผิดปกติของตับอย่างรุนแรงนั้นจำเป็นต้องได้รับการติดตามการใช้ยาอย่างใกล้ชิด ส่วนผู้ที่มีการทำงานของไตปกพร่อง รวมถึงผู้ที่ต้องทำการชำระเลือดผ่านเยื่อไม่จำเป็นต้องมีการปรับขนาดยา ยานี้ไม่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในเด็ก และไม่มียาในรูปแบบรับประทาน[4]

การดื้อยา

[แก้]

กลไกการดื้อต่อไทกีของเชื้อแบคทีเรียในวงศ์เอนเทอร์โรแบคทีเรียซีอี (เช่น E. coli) โดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ของยีน ทำให้มีการขับยาออกจากเซลล์ของแบคทีเรียมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มการขับยาออกผ่าน RND type efflux pump AcrAB เป็นต้น ในแบคทีเรียบางสายพันธุ์อย่าง Pseudomonas spp. นั้นสามารถดื้อต่อยาไทกีไซคลีนได้โดยธรรมชาติเดิมของเชื้อผ่านกระบวนการการเพิ่มการแสดงออกของยีนบางชนิด เช่น ยีนที่ควบคุมการขนส่งสารออกจากเซลล์ เป็นต้น เชื้อแบคทีเรียบางสายพันธุ์ในวงศ์เอนเทอร์โรแบคทีเรียซีอีพบว่ามีการกลายพันธุ์ของยีนบนไรโบโซมทีม่ชื่อว่า ยีน rpsJ  ซึ่งส่งผลให้เชื้อดังกล่าวดื้อต่อยาไทกีไซคลีนได้เข่นกัน[10]

ความปลอดภัยในการใช้ยา

[แก้]

อาการไม่พึงประสงค์

[แก้]

เนื่องด้วยไทกีไซคลีนเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มเตตราไซคลีน ทำให้ไทกีไซคลีนมีอาการไม่พึงประสงค์เช่นเดียวกันกับอนุพันธุ์ของเตตราไซคลีนอื่นๆ ในกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร[6]

อาการไม่พึงประสงค์ของไทกีไซคลีนที่พบได้บ่อย ได้แก่ คลื่นไส้และอาเจียน[11] ซึ่งเกิดขึ้นได้ประมาณร้อยละ 26 และ 18 ของผู้ที่ได้รับไทกีไซคลีน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงดังกล่าวนั้นส่วนใหญ่มักอยู่ในระดับรุนแรงน้อยถึงปานกลาง และมักพบเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงสองวันแรกของการใช้ยาเท่านั้น[12]

ส่วนอาการไม่พึงประสงค์อื่นที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่พบอุบัติการณ์ค่อนข้างน้อย (น้อยกว่าร้อยละ 2) ได้แก่ บวม, ปวด และการระคายเคืองตรงตำแหน่งที่ได้รับการบริหารยา, เบื่ออาหาร, ดีซ่าน, การทำงานของตับผิดปกติ, คัน, ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน, และมีการเพิ่มขึ้นของระยะเวลาโปรทรอมบิน[12]

ข้อควรระวัง

[แก้]

การใช้ยาไทกีไซคลินนั้นจำเป็นต้องมีการระมัดระวังและเฝ้าติดตามเป็นพิเศษในผู้ที่มีภาวะภูมิไวเกินต่อยากลุ่มเตตราไซคลิน, หญิงตั้งครรภ์, และเด็ก ทั้งนี้พบว่าไทกีไซคลินนั้นสามารถก่อให้เกิดพิษต่อทารกในครรภ์ได้ จึงได้มีการจัดลำดับขั้นของยาต่อการตั้งครรภ์ของไทกีไซคลีนให้อยู่ในระดับ D[4] การศึกษาในหนูและกระต่ายพบว่าไทกีไซคลีนสามารถแพร่ผ่านรกเข้าไปยังเนื้อเยื่อของทารกในครรภ์ได้ และมีความสัมพันธุ์กับของการมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์ของทารก รวมไปถึงการเกิดการกลายเป็นกระดูกที่ช้ากว่าปกติ ถึงแม้การศึกษานี้จะไม่พบว่าไทกีไซคลีนนั้นก่อให้เกิดพิษกับตัวอ่อนในครรภ์ แต่การพิจารณาใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์ควรชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบระหว่างโทษที่อาจเกิดขึ้นกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการรักษาเสมอ[12] นอกจากนี้ การใช้ไทกีไซคลีนในเด็กอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของฟันเป็นสีเหลือง เทา หรือน้ำตาลได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในเด็กยกเว้นมีข้อบ่งใช้ที่จำเป็นและไม่มียาอื่นทดแทน ยิ่งไปกว่านั้น มีรายงานทางคลินิกที่พบว่า การได้รับไทกีไซคลีนมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีโรคซิสติก ไฟโบรซิสร่วมด้วย[13]

การใช้ไทกีไซคลีนมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของอัตราการตายในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในโรงพยาบาล (hospital-acquired pneumonia; HAP) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใส่ท่อช่วยหายใจ (ventilator-associated pneumonia; VAP) ซึ่งเป็นการใช้ยานี้นอกเหนือข้อบ่งใช้ที่มีการรับรอง แต่การใช้ยานี้ภายใต้ข้อบ่งใช้ที่ได้รับการรับรองอย่าง การติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน, การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน และผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลติดเชื้อแบคทีเรียที่เท้านั้นก็มีอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน[12] แต่ความแตกต่างของการเพิ่มขึ้นของอัตราการเสียชีวิตนี้ไม่ได้มีความแตกต่างกันกับกลุ่มที่มีสภาวะโรคเดียวกันแต่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอื่นจนถึงระดับที่มีนัยสำคัญทางสถิติแต่อย่างใด แต่อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยไทกีไซคลีนนั้นมีค่าสูงกว่ากลุ่มอื่นในทุกๆโรคที่ทำการศึกษา องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาจึงได้มีบังคับให้มีการระบุคำเตือนถึงผลข้างเคียงที่ร้ายแรง (black box warning) ไว้ในเอกสารกำกับยาของไทกีไซคลีน[14]

อาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรง

[แก้]

องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้มีการระบุคำแจ้งเตือนถึงอาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรง (black box warning) จากการใช้ยาไทกีไซคลีนในเดือนกันยายน ค.ศ. 2010 ว่า การใช้ไทกีไซคลีนนั้นทำให้มีความเสี่ยงต่อชีวิตมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยาปฏิชีวนะอื่นที่เหมาะสมในข้อบ่งใช้เดียวกัน[12][15] การเพิ่มขึ้นของอัตราการเสียชีวิตนี้ (ไม่ทราบสาเหตุอื่นที่แน่ชัด) ทำให้มีการสงวนไทกีไซคลีนไว้เป็นการรักษาทางเลือกรองเมื่อได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอื่นที่เหมาะสมแล้วไม่ได้ผลเท่านั้น[4][15]

อันตรกิริยาระหว่างยา

[แก้]

ไทกีไซคลีนสามารถเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับยาอื่นได้ เช่น:

กลไกการออกฤทธิ์

[แก้]

ไทกีไซคลีนจัดเป็นยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้าง (broad-spectrum antibiotic) ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการการสังเคราะห์โปรตีนของเซลล์ ยาจะยับยั้งการเจริญของเชื้อโดยจับกับหน่วยย่อย 30 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย ซึ่งจะส่งผลให้อะมิโนเอซิลทีอาร์เอ็นเอ (aminoacyl-tRNA) เข้าจับที่ตำแหน่ง A site บนไรโบโซมไม่ได้[17] นอกจากนี้ ไทกีไซคลินยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ S. pneumoniae และ L. pneumophila อีกด้วย[12]

ทั้งนี้ ไทกีไซคลีนจัดเป็นยากลุ่มเตตราไซคลีนรุ่นที่ 3 ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มย่อยไกลซิลไซคลีน โดยมีลักษณะโครงสร้างที่พิเศษคือ มีส่วนของโมเลกุล N,N-dimethyglycylamido (DMG) ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 9 ของเตตราไซคลีนวง D[18] ซึ่งเป็นส่วนของโมเลกุลที่พบได้เช่นกันในมิโนไซคลีน โดยโครงสร้างส่วนนี้จะทำให้ค่าความเข้มข้นของยาในระดับต่ำสุด (ในหลอดทดลอง) ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (minimal inhibitory concentrations) ทั้งแกรมบวกและแกรมลบลดน้อยลง เมื่อเปรียบกับยาอื่นในกลุ่มเดียวกัน[18]

เภสัชจลนศาสตร์

[แก้]

ไทกีไซคลีนถูกเมแทบอลิซึมผ่านปฏิกิริยากลูคูโรนิเดชันไปเป็นสารประกอบกลูคูโรนิด (glucuronid conjugates) และ N-acetyl-9-aminominocycline[19] ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับที่ผิดปกติขั้นรุนแรงจึงจำเป็นต้องมีการปรับลดขนาดยาเมื่อจำเป็นต้องใช้ยานี้[12] โดยยาจะถูกขับออกมากับอุจจาระและปัสสาวะในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นส่วนใหญ่[19] จึงไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยานี้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง

สังคมและวัฒนธรรม

[แก้]

การประกาศรับรอง

[แก้]

ไทกีไซคลีนได้รับการรับรองให้ใช้ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน (complicated skin and soft tissue infections; cSSTI), การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน (complicated intra-abdominal infections; cIAI) และ โรคปอดอักเสบชุมชนที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (community-acquired bacterial pneumonia; CAP) ในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป[2][3][19][12] ในสหราชอาณาจักร ยานี้ได้รับการรับรองให้ใช้ได้ในผู้ใหญ่และเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไปในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน (ไม่รวมถึงแผลเบาหวานติดเชื้อแบคทีเรียที่เท้า) และการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน เฉพาะกรณีที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะอื่นที่มีข้อข่งใช้เดียวกัน[20]

ชื่อการค้าและชื่อสามัญอื่น

[แก้]
  • GAR-936[21]
  • Tygacil
  • Tigeplug (โดยบริษัท Biocon, ประเทศอินเดีย)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "EP2181330". European Patent Office. สืบค้นเมื่อ 29 September 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Rose W, Rybak M (2006). "Tigecycline: first of a new class of antimicrobial agents". Pharmacotherapy. 26 (8): 1099–110. doi:10.1592/phco.26.8.1099. PMID 16863487.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 3.2 Kasbekar N (2006). "Tigecycline: a new glycylcycline antimicrobial agent". Am J Health Syst Pharm. 63 (13): 1235–43. doi:10.2146/ajhp050487. PMID 16790575.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "TYGACIL U.S. Physician Prescribing Information". Pfizer. สืบค้นเมื่อ 2015-10-31.
  5. Scheinfeld, N (2005). "Tigecycline: a review of a new glycylcycline antibiotic". Journal of Dermatological Treatment. 16 (4): 207–12. doi:10.1080/09546630510011810. PMID 16249141.
  6. 6.0 6.1 6.2 Kaewpoowat, Quanhathai; Ostrosky-Zeichner, Luis (2015-02-01). "Tigecycline: a critical safety review". Expert Opinion on Drug Safety. 14 (2): 335–342. doi:10.1517/14740338.2015.997206. ISSN 1474-0338. PMID 25539800.
  7. Skrtić, M; Sriskanthadevan, S; Jhas, B; Gebbia, M; Wang, X; Wang, Z; Hurren, R; Jitkova, Y; Gronda, M; Maclean, N; Lai, CK; Eberhard, Y; Bartoszko, J; Spagnuolo, P; Rutledge, AC; Datti, A; Ketela, T; Moffat, J; Robinson, BH; Cameron, JH; Wrana, J; Eaves, CJ; Minden, MD; Wang, JC; Dick, JE; Humphries, K; Nislow, C; Giaever, G; Schimmer, AD (2011). "Inhibition of mitochondrial translation as a therapeutic strategy for human acute myeloid leukemia". Cancer Cell. 20 (5): 674–688. doi:10.1016/j.ccr.2011.10.015.
  8. "Tigecycline : Susceptibility and Minimum Inhibitory Concentration (MIC) Data" (PDF). Toku-e.com. สืบค้นเมื่อ 2017-03-13.
  9. Tygacil [package insert]. Philadelphia, PA: Wyeth Pharmaceuticals; 2005. Updated July 2010.
  10. Pournaras, Spyros; Koumaki, Vasiliki; Spanakis, Nicholas; Gennimata, Vasiliki; Tsakris, Athanassios. "Current perspectives on tigecycline resistance in Enterobacteriaceae: susceptibility testing issues and mechanisms of resistance". International Journal of Antimicrobial Agents. 48 (1): 11–18. doi:10.1016/j.ijantimicag.2016.04.017.
  11. Muralidharan, Gopal (January 2005). "Pharmacokinetics of tigecycline after single and multiple doses in healthy subjects". Antimicrobial Agents and Chemotherapy. 49: 220–229. doi:10.1128/aac.49.1.220-229.2005. PMC 538906. PMID 15616299. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-06. สืบค้นเมื่อ 2018-01-07.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 12.7 12.8 Wyeth Pharmaceuticals Inc. "Food and Drug Administration, TYGACIL® (tigecycline) FOR INJECTION for intravenous use Prescribing Information" (PDF). FDA U.S. Food and Drug Administration. U.S. Department of Health & Human Services. p. 16.
  13. Hemphill MT, Jones KR (2015). "Tigecycline-induced acute pancreatitis in a cystic fibrosis patient: A case report and literature review". J Cyst Fibros. 15 (1): e9–11. doi:10.1016/j.jcf.2015.07.008. PMID 26282838.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  14. "FDA Drug Safety Communication: Increased risk of death with Tygacil (tigecycline) compared to other antibiotics used to treat similar infections". Fda.gov. 2013-09-27. สืบค้นเมื่อ 2017-03-13.
  15. 15.0 15.1 Dixit, Deepali (March 6, 2014). "The role of tigecycline in the treatment of infections in light of the new black box warning". Expert Review of Anti-infective Therapy. 12 (4): 397–400. doi:10.1586/14787210.2014.894882. PMID 24597542.
  16. Zimmerman, James J.; Raible, Donald G.; Harper, Dawn M.; Matschke, Kyle; Speth, John L. (2008-07-01). "Evaluation of a Potential Tigecycline-Warfarin Drug Interaction". Pharmacotherapy: the Journal of Human Pharmacology and Drug Therapy (ภาษาอังกฤษ). 28 (7): 895–905. doi:10.1592/phco.28.7.895. ISSN 1875-9114.
  17. Tigecycline: A Novel Broad-Spectrum Antimicrobial: Pharmacology and Mechanism of Action Christine M. Slover, PharmD, Infectious Diseases Fellow, Keith A. Rodvold, PharmD and Larry H. Danziger, PharmD, Professor, Department of Pharmacy Practice, University of Illinois at Chicago, Chicago, IL
  18. 18.0 18.1 Nguyen, Fabian (May 2014). "Tetracycline antibiotics and resistance mechanisms". Biol Chem. 395 (5). doi:10.1515/hsz-2013-0292.
  19. 19.0 19.1 19.2 Hoffman, Matthew (May 25, 2007). "Metabolism, Excretion, and Pharmacokinetics of [14C]Tigecycline, a First-In-Class Glycylcycline Antibiotic, after Intravenous Infusion to Healthy Male Subjects". Drug Metabolism and Disposition. 35 (9): 1543–1553. doi:10.1124/dmd.107.015735.
  20. "Tygacil 50mg powder for solution for infusion - Summary of Product Characteristics (SPC) - (eMC)". Medicines.org.uk. สืบค้นเมื่อ 2017-03-13.
  21. Betriu C, Rodríguez-Avial I, Sánchez BA, Gómez M, Picazo JJ (2002). "Comparative in vitro activities of tigecycline (GAR-936) and other antimicrobial agents against Stenotrophomonas maltophilia". J Antimicrob Chemother. 50 (5): 758–59. doi:10.1093/jac/dkf196. PMID 12407139.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)