ข้ามไปเนื้อหา

ไดโจไดจิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเทศญี่ปุ่นก่อนสมัยใหม่
ตราประจำราชวงศ์ญี่ปุ่น
ส่วนหนึ่งของชุดการเมืองการปกครองในยุคนะระและยุคเฮอัง

ไดโจกัง
(สภาอำมาตย์)
อัครมหาเสนาบดี  / ประธานสภา
ไดโจไดจิง
มหาเสนาบดีฝ่ายซ้ายซาไดจิง
มหาเสนาบดีฝ่ายขวาอูไดจิง
มหาเสนาบดีกลางไนไดจิง
อำมาตย์ใหญ่ไดนะงง
อำมาตย์กลางชูนะงง
อำมาตย์น้อยโชนะงง
กรมทั้งแปด
กรมบริหารกลาง
นะกะสึกะซะโช
กรมพิธีการชิคิบุโช
กรมอาลักษณ์จิบุโช
กรมมหาดไทยมิมบุโช
กรมกลาโหมเฮียวบุโช
กรมยุติธรรมเกียวบุโช
กรมคลังโอคุระโช
กรมวังคุไนโช

ไดโจไดจิง หรือ ดาโจไดจิง (ญี่ปุ่น: 太政大臣 Daijō-daijin/Dajō-daijin;[1] "อัครมหาเสนาบดี") เป็นตำแหน่งราชการในญี่ปุ่น เป็นหัวหน้าคณะเสนาบดีซึ่งเรียก "ไดโจกัง" ปรากฏในยุคนาระและยุคหลังจากนั้น แล้วสิ้นอำนาจไปช่วงหนึ่ง ก่อนจะรื้อฟื้นขึ้นมาในช่วงสั้น ๆ ตามรัฐธรรมนูญเมจิ แล้วยุบเลิกไปโดยสถาปนาตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขึ้นมาแทน

เจ้าชายโอโตโมะ (ค.ศ. 648–672) โอรสองค์โปรดของจักรพรรดิเท็นจิ (ค.ศ. 626–672) เป็นบุคคลแรกที่ได้รับตำแหน่งไดโจไดจิง โดยดำรงตำแหน่งนี้ในช่วงที่จักรพรรดิเท็นจิครองราชย์ (ค.ศ. 661–672)[2] ตำแหน่งนี้ปรากฏอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประมวลกฎหมายอาซูกะคิโยมิฮาระ ฉบับ ค.ศ. 689 ซึ่งให้มีหน่วยงานกลางที่เรียก "ไดโจกัง" ประกอบด้วยเสนาบดีสามคน คือ ไดโจไดจิง (อัครมหาเสนาบดี), ซาไดจิง (มหาเสนาบดีฝ่ายซ้าย), และอูไดจิง (มหาเสนาบดีฝ่ายขวา) ต่อมา ตำแหน่งเหล่านี้นำไปรวมอยู่ในประมวลกฎหมายไทโฮ ฉบับ ค.ศ. 702[3]

ไดโจไดจิงเป็นประธานไดโจกัง และมีอำนาจควบคุมดูแลข้าราชการทั้งปวง ครั้นตระกูลฟูจิวาระได้สำเร็จราชการแทนจักรพรรดิและมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ อำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในระบบไดโจกังก็ถดถอยลงตามลำดับ ปรากฏว่า ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไดโจไดจิงไม่มีอำนาจจะออกความเห็นในที่ประ��ุมราชการอีกแล้ว เว้นแต่ไดโจไดจิงกับผู้สำเร็จราชการเป็นบุคคลเดียวกัน หรือเว้นแต่เพื่อสนับสนุนตระกูลฟูจิวาระ จนคริสต์ศตวรรษที่ 12 ตำแหน่งนี้ก็สิ้นอำนาจโดยสิ้นเชิง และมักปล่อยให้ว่างไว้นาน ๆ[4]

รัฐธรรมนูญเมจิรื้อฟื้นตำแหน่งนี้ขึ้นมา ซึ่งทำให้เกิดการแต่งตั้งซันโจ ซาเนโตมิ เป็นไดโจไดจิงเมื่อ ค.ศ. 1871 แต่ใน ค.ศ. 1885 ก็ยุบเลิกตำแหน่งไดโจไดจิงไปใช้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kenkyusha's New Japanese-English Dictionary, Kenkyusha Limited, ISBN 4-7674-2015-6
  2. Ponsonby-Fane, Richard (1959). The Imperial House of Japan, p. 53.
  3. Hall, John Whitney et al.. (1993). The Cambridge History of Japan, p. 232.
  4. Dickson, Walter G. et al.. (1898). "The Eight Boards of Government" in Japan, p. 60., p. 60, ที่กูเกิล หนังสือ