โอโดริจิ
โอโดริจิ (ญี่ปุ่น: 踊り字, 躍り字; โรมาจิ: odoriji) หมายถึงเครื่องหมายซ้ำ เป็นเครื่องหมายวรรคตอน (หรือสัญลักษณ์) กลุ่มหนึ่งที่ใช้สำหรับซ้ำคำหรือพยางค์เป็นหลักในภาษาญี่ปุ่น มีหลายลักษณะเช่น 々 ヽ หรือ ゝ ขึ้นอยู่กับโอกาสในการใช้
โอโดริจิอาจมีชื่อเรียกอย่างอื่นเช่น โอโดริ (ญี่ปุ่น: おどり; โรมาจิ: odori), คูริกาเอชิฟูโง (ญี่ปุ่น: 繰り返し符号; โรมาจิ: kuri kaeshi fugō), คาซาเนจิ (ญี่ปุ่น: 重ね字; โรมาจิ: kasaneji), โอกูริจิ (ญี่ปุ่น: 送り字; โรมาจิ: okuriji), ยูซูริจิ (ญี่ปุ่น: 揺すり字; โรมาจิ: yusuriji), จูจิ (ญี่ปุ่น: 重字; โรมาจิ: jūji), จูเต็ง (ญี่ปุ่น: 重点; โรมาจิ: jūten), โจจิ (ญี่ปุ่น: 畳字; โรมาจิ: jōji) ซึ่งทั้งหมดก็แปลว่าเครื่องหมายซ้ำเหมือนกัน
ประวัติ
[แก้]ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของราชวงศ์ซาง เมื่ออักษรจีนมีคำเดียวกันสองคำเขียนติดกัน มันจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ตัวหนึ่งที่ใช้แทนการซ้ำ เป็นจุดเริ่มต้นเครื่องหมายซ้ำ [1][2] เครื่องหมายซ้ำในสมัยนั้นใช้คำว่า 二 ขนาดเล็กกำกับลงไปแทนคำที่ซ้ำ พบได้ในวลี 子二孫二寶用 บนเครื่องสำริด (ประมาณ 900 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีความหมายเดียวกับ 子子孫孫寶用 (ของใช้สมบัติลูก ๆ หลาน ๆ)
แต่วัฒนธรรมจีนในเวลาต่อมา ก็ไม่ได้สานต่อการใช้เครื่องหมายซ้ำในลักษณะนี้อีก จะมีใช้ก็แต่เพียงภาษาญี่ปุ่นซึ่งใช้อย่างเป็นทางการในปัจจุบัน
โดโนจิเต็ง
[แก้]โดโนจิเต็ง (ญี่ปุ่น: 同の字点, อักษรโรมัน: do no jiten) คือเครื่องหมายซ้ำลักษณะดังนี้ ญี่ปุ่น: 々 (U+3005) มีรูปร่างคล้ายอักษรจีน (หรือคันจิ) โดยทฤษฎีหนึ่งว่าแปรมาจากคำว่า 仝 แปลว่า เหมือนกัน อีกทฤษฎีหนึ่งว่าแปรมาจากจุดสองจุด (หรือขีดสองขีด) จุดประสงค์หลักของเครื่องหมายนี้เพื่อย่อการเขียนคันจิ ตัวมันเองไม่มีเสียงอ่าน นั่นคือเวลาอ่านต้องอ่านคำเต็ม
วิธีใช้คือวางเครื่องหมายหลังคันจิที่ต้องการซ้ำแทนที่คันจิตัวที่สอง เช่น
- ญี่ปุ่น: 時時 → 時々; โรมาจิ: tokidoki (โทกิโดกิ, บางครั้งบางคราว)
- ญี่ปุ่น: 明明白白 → 明々白々; โรมาจิ: meimeihakuhaku (เมเมฮากุฮากุ, เข้าใจแจ่มแจ้ง)
- ญี่ปุ่น: 赤裸裸 → 赤裸々; โรมาจิ: sekirara (เซกิราระ, เรื่องโป๊เปลือย)
- ญี่ปุ่น: 複複複線 → 複々々線; โรมาจิ: fukufukufukusen (ฟูกูฟูกูฟูกูเซ็ง, ทางรถไฟหกราง)
- ญี่ปุ่น: 小小小支川 → 小々々支川; โรมาจิ: shōshōshōshisen (โชโชโชชิเซ็ง, ลำน้ำสาขาย่อยอันดับสาม)
ตามหลักการแล้ว คำที่มีความหมายแยกกันไม่สามารถใช้โดโนจิเต็ง เช่นวลี ญี่ปุ่น: 会社社長; โรมาจิ: kaisha shachō (ไคชาชาโจ ประธานบริษัท) และ ญี่ปุ่น: 民主主義; โรมาจิ: minsha shagi (มินชาชางิ ประชาธิปไตย) ในขณะที่ ญี่ปุ่น: 公演会々場; โรมาจิ: kōenkaikaijō (โคเอ็งไกไกโจ สถานที่จัดงาน) สามารถใช้ได้ นอกจากนี้ งานแต่งงานและงานศพในวัฒนธรรมญี่ปุ่น การเขียนคันจิซ้ำกันโดยตรงถือว่าไม่เป็นมงคล เนื่องจากหมายถึงการแต่งงานซ้ำอีก หรือความโชคร้ายซ้ำซาก ดังนั้นวลี ญี่ปุ่น: 結婚式々場; โรมาจิ: kekkonshiki shikijō (เค็กกนชิกิชิกิโจ สถานที่จัดงานแต่งงาน) และ ญี่ปุ่น: 告別式々場; โรมาจิ: kokubetsushiki shikijō (โคกูเบ็ตสึชิกิชิกิโจ สถานที่จัดงานศพ) จึงมักเขียนด้วยโดโนจิเต็ง
โดโนจิเต็งอาจใช้ได้กับวลีที่มีคันจิซ้ำกันทีละสองตัว ซึ่งก็ต้องใส่เครื่องหมายสองตัวเช่นกัน
- ญี่ปุ่น: 部分部分 → 部分々々; โรมาจิ: bubunbubun (บูบุมบูบุง, เป็นส่วน ๆ)
- ญี่ปุ่น: 後手後手 → 後手々々; โรมาจิ: gotegote (โกเตโงเตะ, ในท้ายที่สุด)
- ญี่ปุ่น: 馬鹿馬鹿しい → 馬鹿々々しい; โรมาจิ: bakabakashii (บากาบากาชี, ไร้สาระ, น่าขบขัน, โง่เง่า)
ถ้าคำที่ซ้ำกันจำเป็นต้องตัดขึ้นบรรทัดใหม่ระหว่างกลางเช่นการเขียนด้วยมือ กรณีนี้จะไม่ใช้เครื่องหมายซ้ำ ตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่น: 散々; โรมาจิ: sanzan (ซันซัง อย่างรุนแรง) เมื่อจำเป็นต้องเขียนแยกบรรทัดจะเขียน��ป็น 散散 แทน ดังนั้นการขึ้นต้นบรรทัดด้วย 々 จึงไม่ควรเกิดขึ้น ในโปรแกรมประยุกต์ที่มีคุณลักษณะการตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่ เมื่อมีการตัดคำท้ายบรรทัด โดโนจิเต็งจะต้องถูกเปลี่ยนเป็นคันจิตัวปกติ อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อยกเว้น นั่นคือกรณีที่เป็นชื่อเฉพาะของบุคคลเช่น ญี่ปุ่น: 佐々木; โรมาจิ: Sasaki (ซาซากิ) เมื่อถูกตัดคำระหว่างกลาง โดโนจิเต็งจะต้องคงอยู่อย่างนั้น
กรณีคันจิซ้ำกันสองตัวแต่อ่านไม่เหมือนกัน ปกติจะไม่ใช้โดโนจิเต็ง ตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่น: 湯湯婆; โรมาจิ: yutanpo (ยูตัมโปะ, ขวดใส่น้ำร้อน)
อิจิโนจิเต็ง
[แก้]อิจิโนจิเต็ง (ญี่ปุ่น: 一の字点; โรมาจิ: ichi no jiten) คือเครื่องหมายซ้ำที่มีลักษณะขีดเดียว ใช้กับคานะเท่านั้น โดยที่ฮิรางานะใช้แบบมีเส้นตวัด (ゝ) (U+309D) กับ (ゞ) (U+309E) ส่วนคาตากานะใช้แบบไม่มีเส้นตวัด (ヽ) (U+30FD) กับ (ヾ) (U+30FE) อิจิโนจิเต็งใช้สำหรับแทนพยางค์ที่ซ้ำในประโยคทั่วไปในชีวิตประจำวัน ในชื่อเฉพาะก็สามารถพบได้เช่นกัน
วิธีใช้คือวางเครื่องหมายหลังคานะที่ต้องการซ้ำแทนที่คานะตัวที่สอง เช่น
- ญี่ปุ่น: 学問のすすめ → 学問のすゝめ; โรมาจิ: gakumon no susume (กากูมนโนซูซูเมะ)
- ญี่ปุ่น: いすず → いすゞ; โรมาจิ: isuzu (อิซูซุ)
- ญี่ปุ่น: づつ → づゝ; โรมาจิ: dzutsu (ดสึสึ, แต่ละอย่าง, ทีละอย่าง) (สะกดแบบเก่าของずつ)
- ญี่ปุ่น: ぶぶ漬け → ぶゞ漬け; โรมาจิ: bubudzuke (บูบุดสึเกะ)
- ญี่ปุ่น: ところどころ → ところゞゝゝ; โรมาจิ: tokorodokoro (โทโกโรโดโกโระ, ที่นั่นที่นี่, หลาย ๆ ที่)
หลักการใช้ดากูเต็ง (เครื่องหมายเสียงก้อง ゛) กำกับหรือไม่กำกับอิจิโนจิเต็ง ถ้าใช้ ゝ หมายถึงบังคับให้พยางค์นั้นเป็นเสียงไม่ก้อง และถ้าใช้ ゞ หมายถึงบังคับให้เป็นเสียงก้อง
นิโนจิเต็ง
[แก้]นิโนจิเต็ง (ญี่ปุ่น: 二の字点; โรมาจิ: ni no jiten) คือเครื่องหมายซ้ำลักษณะดังนี้ (〻) (U+303B) มีรูปร่างคล้ายขีดสองขีดเขียนติดกันแบบหวัด ซึ่งมีที่มาจากอักษร 二 ขนาดเล็ก เครื่องหมายนี้เรียกอีกอย่างว่า ยูซูริเต็ง (ญี่ปุ่น: 揺すり点; โรมาจิ: yusuriten) ใช้สำหรับการเขียนแนวตั้งเป็นหลัก ใช้กำกับการอ่านอักษรที่อยู่ข้างบนในบรรทัด ความแตกต่างจากโดโนจิเต็งคือ ในขณะที่ 々 ใช้แทนอักษรที่เขียนมากกว่าหนึ่งครั้ง นิโนจิเต็งไม่ได้ใช้แทนตัวอักษรที่เขียนซ้ำ แต่ใช้แสดงการอ่านที่มีการซ้ำพยางค์ในตัวมัน ตัวอย่างเช่น 各 กับ 屡 เป็นอักษรหนึ่งตัวที่อ่านว่า โอโนโอโนะ กับ ชิบาชิบะ ตามลำดับ
- ญี่ปุ่น: 各 → 各
〻; โรมาจิ: onoono (โอโนโอโนะ, ทุก ๆ, แต่ละ) - ญี่ปุ่น: 屡 → 屡
〻; โรมาจิ: shibashiba (ชิบาชิบะ, บ่อยครั้ง, ทำแล้วทำอีก)
เมื่อนิโนจิเต็งถูกเขียน ตำแหน่งของมันอาจเยื้องไปทางซ้ายล่างเล็กน้อยกว่าตัวก่อนหน้าเมื่อเทียบกับบรรทัด (บรรทัดในที่นี้หมายถึงเส้นกำกับในแนวตั้ง) อย่างไรก็ตามการจัดตำแหน่งเช่นนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
การซ้ำประโยคด้วยเครื่องหมาย 〃 (บุพสัญญา) ซึ่งมีชื่อว่า โนโนเต็ง (ญี่ปุ่น: ノノ点; โรมาจิ: nonoten) หรือ โนโนจิเต็ง (ญี่ปุ่น: ノノ字点; โรมาจิ: nonojiten) แม้มีขีดสองขีดเหมือนกันแต่ก็มีลักษณะต่างจากนิโนจิเต็ง
คูโนจิเต็ง
[แก้]คูโนจิเต็ง (ญี่ปุ่น: くの字点, อักษรโรมัน: ku no jiten) คือเครื่องหมายซ้ำที่มีลักษณะคล้ายกับฮิรางานะ く (คุ) ที่เขียนยืดยาวออก มักจะสูงเท่ากับสองตัวอักษร ยูนิโคดจึงแบ่งเครื่องหมายนี้ออกเป็นครึ่งบนและครึ่งล่าง ได้แก่ 〳 (U+3033) 〴 (U+3034) และ 〵 (U+3035) ประกอบกันเป็นคูโนจิเต็งดังนี้ ญี่ปุ่น: 〳
〵 และ ญี่ปุ่น: 〴
〵 ใช้สำหรับการเขียนแนวตั้งเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมใช้ นอกจากนี้ ยูนิโคดก็ยังมีคูโนจิเต็งขนาดสูงหนึ่งตัวอักษรได้แก่ 〱 (U+3031) และ 〲 (U+3032)
เมื่อต้องการซ้ำลักษณะเดียวกันในการเขียนแนวนอน มักใช้ขีดขนานกันสองเส้นและมีดากูเต็งกำกับไว้ หรือใช้ へ (เฮะ) เขียนแบบยืดยาวออก คล้ายกับการหมุนคูโนจิเต็ง 90 องศาให้หันไปทางซ้าย
คูโนจิเต็งใช้เขียนแทนคานะ หรือคันจิกับคานะ ที่ซ้ำกันอย่างน้อยสองตัว เช่น
(มามา, ก็งั้น ๆ, เอาละ ๆ) |
(โดชิเตโดชิเตะ, ทำไม ๆ) |
(มิรูมิรุ, เร็วมาก, ชั่วพริบตา) |
เมื่อพยางค์ที่ซ้ำมีเสียงก้อง ก็จะใช้คูโนจิเต็งแบบมีดากูเต็ง
(ชิกาจิกะ, อย่างนี้อย่างนั้น) |
(ฮานาเรบานาเระ, แยกออกเป็นส่วน) |
ในกรณีที่พยางค์ต้นแบบเป็นเสียงก้องอยู่แล้ว คูโนจิเต็งอาจจะเติมดากูเต็งหรือไม่ก็ได้
(โบยาโบยะ, ไม่ระมัดระวัง, สะเพร่า) |
(บูรัมบูรัง) |
ถ้ามีการอ่านซ้ำสามครั้ง คูโนจิเต็งจะถูกใช้สองครั้ง และถ้ามีการอ่านสี่ครั้ง คูโนจิเต็งจะถูกใช้ ณ เสียงอ่านครั้งที่สองกับครั้งที่สี่ [3]
การใช้งานนอกประเทศญี่ปุ่น
[แก้]วัฒนธรรมญี่ปุ่นบนเกาะไต้หวันในสมัยที่ญี่ปุ่นครอบครอง ก็เคยมีการใช้ 々 ในภาษาจีน ตัวอย่างเช่น 謝謝 (เซี่ยเซี่ย, ขอบคุณ) จะถูกเขียนเป็น 謝々 แต่ไม่ถูกใช้ในการสะกดในเอกสารทางการ นอกจากนี้โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนก็อาจใช้ 〃 หรือตัวเลข 2 เขียนเป็น 謝〃 หรือ 謝2 ซึ่งเยี่ยงอย่างเหล่านี้สามารถพบเห็นได้แม้ในประเทศญี่ปุ่นเอง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 戦国楚簡研究会 (บ.ก.), 書誌情報用語解説, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-05, สืบค้นเมื่อ 2008-06-13
- ↑ Richter, Matthias (2006), Database of Selected Characters from Guodian and Mawangdui Manuscripts — Introduction (PDF), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-02-27, สืบค้นเมื่อ 2008-06-13
- ↑ ตัวอย่างการเขียนซ้ำเช่นนี้แสดงให้เห็นได้ในหนังสือ อากาอิโตริ (ญี่ปุ่น: 赤い鳥; โรมาจิ: akai tori) เล่มที่ 1 บทที่ 1
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- 文部省、1946年『くりかへし符号の使ひ方 をどり字法 案 เก็บถาวร 2010-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน』 (ญี่ปุ่น)