ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ

พิกัด: 13°46′06″N 100°31′48″E / 13.768200°N 100.529923°E / 13.768200; 100.529923
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ
The Bangkok School for The blind
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ประเภทเอกชน ดำเนินการโดย มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยฯ
คำขวัญใฝ่ศึกษา พึ่งพาตนได้ รับใช้สังคม สั่งสมคุณธรรม
สถาปนา12 มกราคม พ.ศ. 2482
ผู้อำนวยการประสงค์ สุบรรณพงษ์
สีดำ-เหลือง
เพลงเพลงพระราชนิพนธ์ยิ้มสู้
เว็บไซต์www.blind.or.th

โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ เป็นโรงเรียนสอนคนตาบอดแห่งแรกในประเทศไทย ภายใต้การดำเนินงานของ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์

ประวัติ

[แก้]

มิสเจนีวีฟ คอล์ฟิลด์ สตรีตาบอดชาวอเมริกัน ได้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียน เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2482 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสอนคนตาบอด โดยใช้บ้านหลังเล็กๆ ที่ ถนนคอชเช่ ศาลาแดง นับว่าเป็น โรงเรียนสอนเด็กพิการแห่งแรกในประเทศไทย นักเรียนคนแรก คือ หม่อมเจ้าพวงมาศผกา ดิศกุล ได้มีผู้มีจิตกุศล ช่วยเหลือ และสนับสนุน โดยตั้งเป็น มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 นับเป็น มูลนิธิสงเคราะห์คนพิการ แห่งแรกในประเทศไทย ต่อมา ได้ย้าย โรงเรียนสอนคนตาบอด ไปอยู่ตามที่ต่างๆ เนื่องจากมีนักเรียนเพิ่มมากขึ้น และเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2

จนในที่สุดปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม อนุมัติให้เช่าที่ดินของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เนื้อที่ 8 ไร่เศษ ณ สี่แยกตึกชัย ถนนราชวิถี เป็นที่ตั้งของ โรงเรียนสอนคนตาบอด จนมาถึงปัจจุบัน

ปีการศึกษา 2503 โรงเรียนฯ ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2520 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ จัดเป็นโรงเ���ียนเอกชนการกุศล ปัจจุบันมีนักเรียนกว่า 250 คน ทั้งนักเรียน ประจำ - ไปกลับ โดยเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6 ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทางโรงเรียนจัดการศึกษา แบบเรียนร่วม เมื่อ ปีการศึกษา 2540

นอกจากจะให้การศึกษาตามหลักสูตรแล้ว โรงเรียนฯ ยังส่งเสริมนักเรียนในด้านภาษา ดนตรี กีฬา เทคโนโลยี และ อาชีพ ตลอดจนให้ได้รับการตรวจรักษาตา และได้รับการเอาใจใส่ดูแลด้านสุขภาพ เป็นอย่างดีด้วย

สัญลักษณ์

[แก้]

ตรารูปวงกลม 2 วงซ้อนกัน ด้านบน เป็นชื่อโรงเรียนภาษาไทย ส่วนด้านล่าง เป็นชื่อโรงเรียนภาษาอังกฤษ ภายในวงกลม มีคำว่า "สงเคราะห์" อยู่ด้านบนประภาคาร และคำว่า "คนตาบอด" อยู่ด้านล่างประภาคาร

ความหมาย ประภาคาร คือ กระโจมไฟ ที่ให้แสงสว่าง แก่ผู้ที่เดินทาง ในทะเลอันกว้างใหญ่ เปรียบเสมือนกับ โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ที่ให้แสงสว่าง และความหวัง แก่นักเรียนตาบอด

สีประจำโรงเรียน

[แก้]

สีดำ - เหลือง

  • สีดำ คือ ความมืด หมายถึง คนตาบอด
  • สีเหลือง คือ แสงสว่าง หมายถึง ความรุ่งโรจน์ ความหวัง สติปัญญาและคุณธรรม

สองสีรวมกัน หมายถึง การศึกษานำทางคนตาบอด ให้มีสติปัญญา และคุณธรรม ให้สามารถพึ่งพาตนได้

เพลงประจำโรงเรียน

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2495 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงพระราชนิพนธ์เพลง "ยิ้มสู้" เพื่อ สร้างขวัญ และ ก��ลังใจ แก่คนตาบอดทุกคน โดยทรงสอน เนื้อร้อง และ ทำนอง ให้ นักเรียนของโรงเรียนฯ ด้วยพระองค์เอง เพลงพระราชนิพนธ์ "ยิ้มสู้" จึงเป็น เพลงประจำโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ นับแต่นั้นมา

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°46′06″N 100°31′48″E / 13.768200°N 100.529923°E / 13.768200; 100.529923