ข้ามไปเนื้อหา

โรงพยาบาลหัวเฉียว

พิกัด: 13°45′00″N 100°30′55″E / 13.7499°N 100.5153°E / 13.7499; 100.5153
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลหัวเฉียว
Hua Chiew Hospital
แผนที่
ประเภทโรงพยาบาลเอกชน (ไม่มุ่งแสวงหาผลกำไร) ในสังกัดมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง
ที่ตั้ง665 ถนนบำรุงเมือง แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้งพ.ศ. 2481
ผู้อำนวยการน.อ. นายแพทย์ภาณุรัตน์ ธัญญสิริ
จำนวนเตียง338 เตียง[1]
เว็บไซต์โรงพยาบาลหัวเฉียว

โรงพยาบาลหัวเฉียว เป็นโรงพยาบาลเอกชนทั่วไป (General Hospital) ที่ไม่มุ่งแสวงหาผลกำไร ในสังกัดมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ให้บริการทุกสาขาการแพทย์โรงพยาบาลหัวเฉียว ก่อตั้งโดยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เริ่มจากเป็นสถานพยาบาลผดุงครรภ์เล็ก ๆ เปิดให้บริการทำคลอด ทั้งในและนอกสถานที่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2481 มีสถิติคนไข้นอกเพิ่มขึ้นเป็นลำดับจนสถานที่ไม่สามารถรองรับผู้มารักษาได้ แม้แต่ใน ช่วง พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ ถูกโจมตี แพทย์และพยาบาลยังคงให้บริการทำคลอดและรักษาพยาบาลอย่างไม่ย่อท้อ

เมื่อสงครามสิ้นสุดลงเนื่องจากประชากรในกรุงเทพฯเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คณะกรรมการบริหารมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งดำริให้ย��ายโรงพยาบาลฯ จากบริเวณหลังวัดเทพศิรินทราวาสมายังสถานที่ตั้งปัจจุบัน โดยหันหน้าออกทางถนนกรุงเกษม และเริ่มต้นโครงการก่อสร้างอาคารถาวรและทันสมัยสมบูรณ์แบบขึ้นเพื่อรองรับ การบริการรักษาพยาบาลครอบคลุมทุกสาขาโรคโดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ศาสนาและฐานะ

อาคาร 22 ชั้น จึงได้กำเนิดขึ้นใน พ.ศ. 2513 ด้วยความร่วมมือและแรงใจของผู้มีจิตศรัทธา บริจาคทรัพย์สมทบทุนก่อสร้างและจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างไม่ขาดสาย การก่อสร้างเสร็จสิ้นลงใน พ.ศ. 2521 และเปิดบริการในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2521

วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร 22 ชั้น โรงพยาบาลหัวเฉียว อย่างเป็นทางการ

ปัจจุบัน โรงพยาบาลหัวเฉียว เติบโตก้าวหน้าขึ้นเป็นโรงพยาบาลทั่วไป (GENERAL HOSPITAL) ให้บริการทุกสาขาการแพทย์ และมุ่งมั่นที่จะดำเนินตามรอยปณิธานของหลวงปู่ไต้ฮง พร้อมให้บริการด้วยคุณภาพมาตรฐาน HA (Hospital Accreditation)[2]

รายชื่อ

[แก้]
คณะกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง
ดร.วิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการ
นายกอบชัย ซอโสตถิกุล รองประธานกรรมการ
ดร.สุทัศน์ เตชะวิบูลย์ รองประธานกรรมการ
นายสัก กอแสงเรือง รองประธานกรรมการ
นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ
นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ
นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร กรรมการและรองเลขาธิการ
นายจารุรัตน์ คุณัตถานนท์ กรรมการและเหรัญญิก
นายสุรพงศ์ เสรฐภักดี กรรมการและรองเหรัญญิก
นางจินดา บุญลาภทวีโชค กรรมการตรวจสอบ
ศ.ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการ
นายธนา เสนาวัฒนกุล กรรมการ
นายนิพนธ์ ลีละศิธร กรรมการ
นายนิพนธ์ โชคภิรมย์วงศา กรรมการ
นายสุหัทย์ ไพรสานฑ์กุล กรรมการ
นายอรัญ เอี่ยมสุรีย์ กรรมการ
นายชาญกิจ วิทยาวรากรณ์ กรรมการ
นายอุกฤษฏ์ อัษฎาธร กรรมการ
นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ กรรมการ
นายบุศรินทร์ วนาสวัสดิ์ กรรมการ


คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลหัวเฉียว
ดร.วิเชียร เตชะไพบูลย์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมการบริหาร
นายกอบชัย ซอโสตถิกุล ประธานคณะกรรมการบริหาร
นายกำสิน เสรฐภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหาร คนที่ 1
นายสุธี เกตุศิริ รองประธานคณะกรรมการบริหาร คนที่ 2
ดร.สุทัศน์ เตชะวิบูลย์ กรรมการบริหาร
ศ.ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการบริหาร
นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล กรรมการบริหาร
นพ.สามารถ ตันอริยกุล กรรมการบริหาร
นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการบริหาร
นายชูเดช เตชะไพบูลย์ กรรมการบริหาร
นายกฤษกร เตชะวิบูลย์ กรรมการบริหาร
นายอรัญ เอี่ยมสุรีย์ กรรมการบริหาร


ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลหัวเฉียว
นายสุธี เกตุศิริ ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2542 – 2563
นางประภัสสร รุจิรากรสกุล ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-30. สืบค้นเมื่อ 2021-01-03.
  2. "โรงพยาบาลหัวเฉียว--HUA CHIEW HOSPITAL". www.hc-hospital.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-26. สืบค้นเมื่อ 2021-01-03.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′00″N 100°30′55″E / 13.7499°N 100.5153°E / 13.7499; 100.5153