ข้ามไปเนื้อหา

โพลาไรเซชันแบบวงกลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เวกเตอร์สนามไฟฟ้าของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเคลื่อนที่แผ่โดยมีโพลาไรเซชันเป็นแบบวงกลม
พื้นผิวด้านนอกของด้วงกุหลาบซึ่งสะท้อนแสงโพลาไรซ์เป็นวงกลมเกือบทั้งหมด

ในทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า โพลาไรเซชันแบบวงกลม (polarización circular) ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นโพลาไรเซชันที่สนามไฟฟ้าของคลื่นที่แผ่ไปไม่เปลี่ยนความเข้ม แต่จะเปลี่ยนแปลงทิศทางไปในลักษณะการหมุนเท่านั้น

ในวิชาพลศาสตร์ไฟฟ้า ความแรงและทิศทางของสนามไฟฟ้าจะถูกกำหนดโดยสิ่งที่เรียกว่าเวกเตอร์สนามไฟฟ้า ดังที่เห็นในภาพเคลื่อนไหวประกอบ ในกรณีของคลื่นที่โพลาไรซ์แบบวงกลมนั้น ส่วนปลายของเวกเตอร์สนามไฟฟ้า ณ จุดหนึ่ง ๆ ในปริภูมินั้นบรรยายได้ในลักษณะเป็นวงกลมที่เคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป สนามเวกเตอร์ไฟฟ้าของคลื่นที่เวลาหนึ่ง ๆ จะบรรยายได้เป็นในลักษณะเป็นเกลียวตามทิศทางของการแผ่

โพลาไรเซชันแบบวงกลมเป็นกรณีเฉพาะของโพลาไรเซชันแบบวงรีซึ่งเป็นรูปทั่วไปกว่า ส่วนอีกรูปแบบกรณีเฉพาะที่เข้าใจง่ายที่สุดคือโพลาไรเซชันแบบเส้นตรง

ปรากฏการณ์โพลาไรเซชันเกิดขึ้นจากความจริงที่ว่ารังสีแม่เหล็กไฟฟ้ามีพฤติกรรมในแบบคลื่นตามขวางในสองมิติ

การหมุนของโพลาไรเซชันมีไครัลลิตี อาจหมุนแบบตามเท็มนาฬิกา คือตามกฎมือขวา หรือทวนเข็มนาฬิกา คือตามกฎมือซ้าย

ชื่อเรียกโพลาไรเซชันในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งเส้นตรง วงกลม และวงรี นั้นถูกใช้เป็นครั้งแรกโดยโอกุสแต็ง-ฌ็อง แฟรแนลในปี 1822[1][2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. A. Fresnel, "Mémoire sur la double réfraction que les rayons lumineux éprouvent en traversant les aiguilles de cristal de roche suivant les directions parallèles à l'axe", read 9  ธันวาคม 1822; ตีพิมพ์ใน H. de Senarmont, E. Verdet, and L. Fresnel (eds.), Oeuvres complètes d'Augustin Fresnel, vol. 1 (1866), pp. 731–51
  2. Académie des Sciences, Procès-verbaux des séances de l'Académie tenues depuis la fondation de l'Institut jusqu'au mois d'août 1835, vol. 7 (for 1820–23), Hendaye, Basses Pyrénées: Imprimerie de l'Observatoire d'Abbadia, 1916, p. 401.