ข้ามไปเนื้อหา

โซนี่มิวสิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โซนี่ มิวสิก)
Sony Music Entertainment Operating (Thailand) Co.,Ltd
ประเภทบริษัทจำกัด
อุตสาหกรรมดนตรี
การบันเทิง
ก่อตั้ง17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 (ก่อตั้ง)
2 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (รวบรวมสำเร็จ)
สำนักงานใหญ่,
ผลิตภัณฑ์ดนตรี และ การบันเทิง
รายได้7,270,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2560) Edit this on Wikidata
รายได้จากการดำเนินงาน
1,160,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2560) Edit this on Wikidata
พนักงาน
8,578 (พ.ศ. 2563) Edit this on Wikidata
บริษัทในเครือBakery Music
Dojo City
Black sheep
Loveis
เว็บไซต์sonymusic.co.th (ไทย)[ต้องการอ้างอิง]

โซนี่ มิวสิค เอนเทอร์เทนเมนต์โอเปอร์เรติ้ง (ประเทศไทย)[1] หรือ โซนี่ มิวสิก เป็นหนึ่งในสี่ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ของโลกภายใต้การควบคุมของบริษัทโซนี่ สหรัฐอเมริกา การควบรวมธุรกิจของโซนี่ที่ได้ซื้อหุ้นอีก 50% จากบริษัทเบอร์เทลสแมนในโซนี บีเอ็มจี ที่ได้ลงทุนร่วมกันกลายเป็นของโซนี่ทั้งหมด จึงได้เปลี่ยนชื่อกลับเป็น โซนี่ มิวสิก เช่นเดิมในปลายปี พ.ศ. 2551

การควบรวมครั้งแรกในชื่อ โซนี่ มิวสิก บีอีซี-เทโร

[แก้]

บริษัท โซนี่ มิวสิก มีความพยายามที่จะเจาะตลาดเพลงไทยสากล เพราะเป็นตลาดใหญ่ มีส่วนแบ่งประมาณ 70% ของอุตสาหกรรมเพลงรวม ขณะที่บีอีซี เทโรฯ ก็ต้องการพา ทาทา ยัง นักร้องในสังกัดให้เป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศ

การจัดตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ของ 2 ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ คือ บริษัท โซนี่ มิวสิก ประเทศไทย จำกัด และบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งขณะนั้นเป็นบริษัทในเครือของบริษัท บีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยบริษัทใหม่นี้ใช้ชื่อว่า โซนี่ บีอีซี-เทโร มิวสิก เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ซึ่งเริ่มดำเนินธุรกิจตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 มีทุนจดทะเบียนอยู่ระหว่าง 70-100 ล้านบาท โดยโซนี่ มิวสิค เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 60% ส่วนบีอีซี-เทโร ถือหุ้นส่วน 40 % ที่เหลือ

การควบรวมครั้งที่ 2 และยุคสมัยของโซนี่ บีเอ็มจี

[แก้]

ปลายปี พ.ศ. 2547 โซนี่ มิวสิก และบีเอ็มจี มิวสิคในต่างประเทศได้รวบรวมกิจการ มีผลให้ทั้ง 2 บริษัทในประเทศไทยต้องมีการรวบรวมกันโดยปริยาย แต่ในขณะนั้นโซนี่ มิวสิคในประเทศไทย คือ โซนี่ มิวสิค บีอีซี เทโร และบีเอ็มจี มิวสิค ที่มีบริษัทลูกคือเบเกอรี่ มิวสิค นั้นมีปัญหาเรื่องหุ้นส่วน จึงได้ตกลงกันอยู่เป็นเวลาพอสมควร โดย บีอีซี-เทโร ได้ถอนหุ้���ไปก่อน จากนั้นการรวบรวมกันทำให้เปลี่ยนชื่อเป็นโซนี่ บีเอ็มจีในเวลาต่อมา

ในปี พ.ศ. 2556 บีอีซี-เทโร ได้รวบรวมกิจการกับ โซนี่ มิวสิก ประเทศไทย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น บีอีซี-เทโร มิวสิค แต่ในปี พ.ศ. 2563 บีอีซีเวิลด์ได้ถอนหุ้นออกจากบีอีซี-เทโร ส่งผลให้บริษัทแม่เปลี่ยนชื่อเป็น เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ มีผลให้บริษัทลูกถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เทโร ทั้งหมด จึงเปลี่ยนชื่อ บีอีซี-เทโร มิวสิค เป็น เทโร มิวสิค โดยอัตโนมัติ

บริษัทย่อย

[แก้]

ศิลปินในสังกัด

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]