โชโกลาเต
![]() | |
ประเทศต้นกำเนิด | ![]() |
---|---|
สี | น้ำตาล |
รสชาติ | ช็อกโกแลต |
ส่วนผสม | ช็อกโกแลต นม (หรือ น้ำ) น้ำตาล |
สินค้าที่เกี่ยวข้อง | ช็อกโกแลตร้อน |
โชโกลาเต (ตากาล็อก: Tsokolate สัทอักษรสากล: [tʃoko'late] choh-koh-lah-teh บางครั้งสะกดว่า chocolate) เป็นเครื่องดื่มช็อกโกแลตร้อนของฟิลิปปินส์ โชโกลาเต ทำจากเมล็ดโกโก้ที่คั่วและอัดเป็นก้อนซึ่งเรียกว่า ตับลียา (tabliya) ซึ่งนำไปละลายในน้ำและนม ตามธรรมเนียมแล้วโชโกลาเตจะทำในกาเฉพาะที่เรียกว่า โชโกลาเตรา และคนอย่างแรงให้เข้ากันด้วยไม้คนที่เรียกว่าโมลีนิลโล คล้ายคลึงกับช็อกโกแลตร้อนแบบสเปนหรือแบบเม็กซิโก ซึ่งจะทำให้เครื่องดื่มที่ได้มีฟองฟูทั่ว โชโกลาเต จะปรุงแต่งรสให้หวานโดยใช้น้ำตาลมัสโกวาโด และมีเนื้อสัมผัสที่หยาบเป็นเอกลักษณ์[1][2]
โชโกลาเต นิยมดื่มในมื้อเช้าเคียงกับขนมหวานที่เรียกว่า กากานิน ขนมปัง ปันเดซัล หรือขนมอบอื่น ๆ นอกจากนี้ยังนิยมดื่มในช่วงเทศกาลคริสต์มาส โดยเฉพาะเด็ก[2][3]
ชื่อ
[แก้]โชโกลาเต ในภาษากาปัมปางัน เรียกว่า ซุกลาตี (suklati) ในภาษามากินดาเนา เรียกว่า ซีกูลาเต (sikulate) และในภาษากลุ่มวิซายัน เรียกว่า ซิกวาเต (sikwate) หรือ ซีกูวาเต (sikuwate) ซึ่งต่างก็มีรากศัพท์มาจาก โชโกลาเต (chocolate) ในภาษาสเปน ซึ่งมาจาก โชโกลัตล์ (xocolātl) ในภาษานาวัตล์[1]
ตับลียา
[แก้]
ตับลียา (tabliya) ตับเลยา (tableya) หรือตับเลอา (tablea) เป็นชื่อเรียกเม็ดหรือก้อนโกโก้ที่ได้จากการคั่ว บด และอัดเองภายในบ้าน ชื่อนี้มาจากคำว่า ตาบลิยา (tablilla) ในภาษาสเปน การทำ ตับลียา จะเริ่มต้นจากการนำเมล็ดจากผลโกโก้สุกไปตากแห้งสองถึงสามวัน จากนั้นจึงนำไปกะเทาะเปลือกและคั่ว แล้วจึงนำไปบดให้เหลวข้นเป็นเนื้อเดียวกัน ปั้นขึ้นรูปเป็นแผ่นหรือก้อน แล้วนำไปผึ่งให้แห้ง[4][5][6]
ตับลียา ยังสามารถนำไปใช้ทำอาหารหวานชนิดอื่นนอกเหนือจาก โชโกลาเต ได้ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ ชัมโปราโด ซึ่งเป็นข้าวต้มที่ทำจากข้าวเหนียวปรุงรสช็อกโกแลต[4][7]
การเตรียม โชโกลาเต
[แก้]
โชโกลาเต ตามธรรมเนียมดั้งเดิมจะเริ่มต้นจากการต้มน้ำและนมในกาคอสูงที่เรียกว่า โชโกลาเตรา โดยเมื่อเริ่มเกิดฟองแล้วจะยก โชโกลาเตรา ออกจากไฟแล้วใส่ก้อน ตับลียา ลงไปสองสามก้อน จากนั้นจึงเติมน้ำตาลมัสโกวาโด นมหรือครีมเพิ่มลงไปตามชอบ หลังจากนั้นจึงใช้ไม้คนที่เรียกว่า โมลีนิลโล สอดเข้าไปทางด้านบนแล้วใช้ฝ่ามือสองข้างปั่นหมุน โมลีนิลโล อย่างรวดเร็วเพื่อตีฟอง แล้วจึงรินเสิร์ฟในถ้วย[8][9]
ในยุคปัจจุบันอาจจะใช้อุปกรณ์ชนิดอื่นเช่นที่ตีไข่ เครื่องปั่น หรือเครื่องทำฟองนมเพื่อตีฟองแทน โมลีนิลโล ได้ นอกจากนี้ยังสามารถเติมส่วนผสมอื่นลงไปได้ เช่น อบเชย วานิลลา ข้าวเม่าแบบฟิลิปปินส์ที่เรียกว่า ปีนีปิก หรือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างรัม หรือเตกิลา เป็นต้น อย่าง���รก็ตาม ช็อกโกแลตที่ใช้ต้องอยู่ในรูป ตับลียา เท่านั้น ผงโกโก้นำมาใช้แทนไม่ได้เนื่องจากจะให้เนื้อสัมผัสหรือรสชาติที่ไม่เหมือนกับเมื่อใช้ ตับลียา[2][3][9]
คุณค่าเชิงวัฒนธรรม
[แก้]โชโกลาเต นิยมดื่มในมื้อเช้าหรืออาหารว่างมื้อบ่าย อาหารที่นิยมรับประทานเคียงกับ โชโกลาเต ได้แก่ ปันเดซัล ปูโตมายา ปูโตบุมโบง ชูร์โร เอนไซมาดา บุนยูเอโล ซูมัน เคโซงปูติ และ บีบิงกา เป็นต้น นอกจากนี้ยังนิยมดื่มในช่วงเทศกาลคริสต์มาส โดยเฉพาะเด็ก[2]
ในนวนิยาย อันล่วงละเมิดมิได้ โดยโฮเซ รีซัล นักเขียนคนสำคัญและวีรบุรุษแห่งประเทศฟิลิปปินส์ บาทหลวงซัลวีซึ่งเป็นตัวร้ายของเรื่องถูกกล่าวหาว่าจงใจเสิร์ฟ โชโกลาเต ที่เข้มข้น (espeso) ให้แขกคนสำคัญ และเสิร์ฟอย่างเจือจาง (aguado) ให้แขกที่เขาคิดว่าไม่สำคัญ โดยพูดเป็นนัยกับคนรับใช้ว่า "chocolate, eh?" หรือ "chocolate, ah?" โดยที่ "eh" และ "ah" ที่จริงแล้วนั้นย่อมาจาก espeso และ aguado ผู้บรรยายในเรื่องเล่าว่าไม่แน่ใจว่าเป็นแค่ข้อเหยียดหยันหรือไม่เพราะว่าเรื่องเล่าแบบเดียวกันก็ถูกใช้กับบาทหลวงคนอื่น ๆ หรืออาจจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของคณะฟรันซิสกันที่บาทหลวงซัลวีสังกัดอยู่ก็ได้ วลี "Chocolate Eh" และ "Chocolate Ah" จากนวนิยายเรื่องนี้ได้ถูกร้านอาหารบางแห่งนำไปปรับใช้[10]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Polistico, Edgie (2017). Philippine Food, Cooking, & Dining Dictionary. Anvil Publishing, Incorporated. ISBN 9786214200870.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Cabrera, Maryanne (January 27, 2018). "sokolate (Filipino Hot Chocolate)". The Little Epicurean. สืบค้นเมื่อ December 13, 2018.
- ↑ 3.0 3.1 "Tsokolate". Kawaling Pinoy. December 8, 2014. สืบค้นเมื่อ December 13, 2018.
- ↑ 4.0 4.1 "Home-based business idea: How to make 'tablea'". Entrepreneur Philippines. December 12, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-14. สืบค้นเมื่อ December 13, 2018.
- ↑ Sarmiento, Prime (October 14, 2017). "Filipinos' love of chocolates helps to revive cacao industry". Nikkei Asian Review. สืบค้นเมื่อ December 13, 2018.
- ↑ Perez, Ace June Rell S. (October 4, 2015). "Redefining the taste of tablea". SunStar Philippines. สืบค้นเมื่อ December 13, 2018.
- ↑ "Tablea Tsokolate or Cacao Chocolate". Batangas-Philippines.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 23, 2020. สืบค้นเมื่อ December 13, 2018.
- ↑ "Batidor, Batirol, Molinillo, Chocolatera, atbp". Market Manila. August 18, 2007. สืบค้นเมื่อ December 13, 2018.
- ↑ 9.0 9.1 Garcia, Bianca (January 4, 2012). "How to Make Tsokolate (Filipino Hot Chocolate)… and a Giveaway!". Confessions of a Chocoholic. สืบค้นเมื่อ December 13, 2018.
- ↑ Santos-Taylor, L. Marcelline (2017). "Soul Comforts: Kapeng Barako and Tsokolate". ใน Maranan, Edgar; Maranan-Goldstein, Len (บ.ก.). A Taste of Home: Pinoy Expats and Food Memories. Anvil Publishing, Incorporated. ISBN 9789712733031.