แป็นเช็นลามะที่ 10 เชอกยี แกยแช็น
โลซัง ชินแล ลวินชุบ เชอกยี แกยแช็น ཆོས་ཀྱི་རྒྱལ་མཚན | |
---|---|
แป็นเช็นลามะที่ 10 | |
แป็นเช็นลามะเมื่อประมาณปี 1955 | |
แป็นเช็นลามะที่ 10 | |
ครองราชย์ | 3 มิถุนายน 1949 – 28 มกราคม 1989 |
ก่อนหน้า | ทุบแต็น เชอกยี ญีมา |
ถัดไป | เกตวิน เชอกยี ญีมา |
ประสูติ | 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1938 เทศมณฑลซุนฮวา มณฑลชิงไห่ สาธารณรัฐจีน Gönbo Cêdän |
สวรรคต | 28 มกราคม ค.ศ. 1989 ชีกัตเจ เขตปกครองตนเองทิเบต สาธารณรัฐประชาชนจีน | (50 ปี)
ฝังพระศพ | อารามตาชีลุงโป ชีกัตเจ |
คู่อภิเษก | Li Jie |
พระราชบุตร | Yabshi Pan Rinzinwangmo |
พระราชบิดา | Gonpo Tseten |
พระราชมารดา | Sonam Drolma |
ศาสนา | ศาสนาพุทธแบบทิเบต |
ลายพระอภิไธย |
ฉายทางธรรม: Lobsang Trinley Lhündrub Chökyi Gyaltsen | |||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 羅桑赤列倫珠確吉堅贊 | ||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 罗桑赤列伦珠确吉坚赞 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | 善慧事業運成法幢 | ||||||
| |||||||
ชื่อภาษาทิเบต | |||||||
อักษรทิเบต | བློ་བཟང་ཕྲིན་ལས་ལྷུན་གྲུབ་ཆོས་ཀྱི་རྒྱལ་མཚན་་ | ||||||
|
โลซัง ชินแล ลวินชุบ เชอกยี แกยแช็น (19 กุมภาพันธ์ 1938 – 28 มกราคม 1989) เป็นแป็นเช็นลามะที่สิบ แห่งสำนักเกอลุกในศาสนาพุทธแบบทิเบต ถือว่าเป็นรูปมนุษย์รูปหนึ่งของพระอมิตาภพุทธเจ้า และเป็นเจ้าอาวาสรูปที่สิบหกของอารามตาชิลฮุงโป[1]
ท่านเข้ารับสถาปนาตำแหน่งแป็นเช็นลามะในปี 1949 เมื่ออายุ 12 ปีตามระบบนับแบบทิเบต ที่อารามกุมปุม ในพิธีดังกล่าวมี กวาน จียู ประธานคณะกรรมการกิจการมองโกเลียและทิเบต และผู้ว่าการมณฑลชิงไห่ของก๊กมินตั๋ง มู ปูฟาง[2] ในขณะที่ทะไลลามะรับรองสถานะเป็นแป็นเช็นลามะอย่างเป็นทางการในไม่กี่ปีให้หลัง[3]
สงครามกลางเมืองจีน
[แก้]ในระหว่างสงครามกลางเมืองจีน พรรคก๊กมินตั๋ง ผู้นำสาธารณรัฐจีน ทำการวางแผนให้เขตคัมปาทั้ฝสามของทิเบตทำการต้านทานพวกคอมมิวนิสต์ด้วยความช่วยเหลือชองแป็นเช็นลามะ[4]
เมื่อรัฐบาลทางลาซาปฏิเสธอาณาเขตที่ตามธรรมเนียมแล้วเป็นของแป็นเช็นลามะปกครองแก่เชอกยี แกยแช็น เขาได้ร้องขอต่อ มา ปูฟาง ผู้ว่าการมณฑลชิงไห่ของก๊กมินตั๋ง ให้ช่วยนำกองทำรบกับทิเบตในปี 1949[5] มาพยายามโน้มน้าวให้แป็นเช็นลามะเดินทางมากับรัฐบาลของก๊กมินตั๋งไปยังไต้หวันเมื่อคราวก๊กมินตั๋งเพลี่ยงพล้ำแก่คอมมิวนิสต์ กระนั้น แป็นเช็นลามะประกาศตนว่าสนับสนุนรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของสาธารณรัฐประชาชนจีนแทน[6][7]
สาธารณรัฐประชาชนจีน
[แก้]แป็นเช็นลามะแสดงท่าทีประกาศตนสนับสนุนรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีน รวมถึงสนับสนุนการผนวกทิเบตเข้ากับจีน ตลอดจนนโยบายปฏิรูปต่าง ๆ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่จะนำมาใช้ในทิเบต[3] วิทยุปักกิ่งออกอากาศคำกล่าวของลามะที่เรียกร้องให้จีนเข้ามาปลดแอกทิเบต ซึ่งนำไปสู่ความกดดันต่อรัฐบาลที่ลาซาในการเข้าเจรจากับจีน แป็นเช็นลามะสนับสนุนแนวคิดการปฏิรูปทางสังคมและการเสริมสร้างความมั่นคงทางการเมืองในทิเบตผ่านการรวมทิเบตเข้ากับสาธารณรัฐประชาชนจีนของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทิเบตในเวลานั้นเต็มไปด้วยความไม่มั่นคงทางการเมืองและปัญหาทางสังคมต่าง ๆ
ในเดือนกันยายน 1954 ทะไลลามะและแป็นเช็นลามะเดินทางพร้อมกันไปยังปักกิ่งเพื่อเข้าร่วมการประชุมประชาชนแห่งชาติครั้งแรก รวมถึงเข้าพบเหมา เจ๋อตง[8][9] ต่อมาท่านได้รับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการถาวรของสภาประชาชนแห่งชาติ และในปลายปี 1954 เป็นรองประธานคณะกรรมการการประชุมปรึกษาหารือทางการเมืองของประชาชนจีน[10] ในปี 1959 ท่านได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการเตรียมเขตปกครองตนเองทิเบตจากรัฐบาลจีน[11]
ถูกจับกุม
[แก้]หลังเดินทางเยี่ยมทั่วทิเบตในปี 1962 แป็นเช็นลามะได้เขียนเอกสารส่งให้แก่นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล ประณามนโยบายและการกระทำอันละเมิดของสาธารณรัฐประชาชนจีนในทิเบต เอกสารดังกล่าวต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อคำร้อง 70,000 ตัวอักษร[12][13] ถือเป็น "การโจมตีที่ละเอียดและมีข้อมูลมากที่สุดต่อนโยบายของจีนในทิเบตที่เคยเขียนขึ้น"[14]
ในปี 1964 เขาถูกประณามและทำให้เสื่อมเสียในการประชุมโปลิตบูโร ถูกนำออกจากทุกตำแหน่งของรัฐ ถูกประกาศให้เป็นศัตรูของประชาชนทิเบต ถูกริบบันทึกความฝันซึ่งต่อมาถูกนำมาใช้ต่อต้านท่าน[15] ก่อนจะถูกจับกุม ขณะอายุได้ 26 ปี[16] ท่านได้รับการปล่อยตัวในปี 1977 แต่ถูกกักขังในบ้านที่ปักกิ่งจนถึงปี 1982[17]
ชีวิตช่วงปลาย
[แก้]ในปี 1978 ท่านลาสิกขาบวชและละทิ้งสมณศักดิ์ทั้งหมด เดินทางไปทั่วประเทศจีนและหาภรรยาเพื่อสร้างครอบครัว[18] เขาเริ่มคบหากับ ลี เจีย (Li Jie) หลานสาวของนายพลตง ชีวู ของกองทัพ PLA ที่นำการรบในสงครามเกาหลี ในเวลานั้นเธอเป็นนักศึกษาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ทหารที่สี่ในซีอาน ภรรยาของเติ้ง เสี่ยวผิง และภรรยาหม้ายของโจว เอินไหล เห็นคุณค่าเชิงสัญลักษณ์ของการแต่งงานระหว่างพระลามะทิเบตกับสตรีชาวฮั่น พวกเขาจึงเข้าไปแทรกแซงเพื่อจัดพิธีแต่งงานที่ยิ่งใหญ่ให้กับทั้งคู่ด้วยตนเองที่โถงประชาชนในปี 1979[19]
ในวันที่ 23 มกราคม 1989 เขากล่าวสุนทรพจน์ในลาซา ระบุว่า "ตั้งแต่มีการปลดแอกทิเบต การพัฒนานั้นมีขึ้นอย่างแน่นอน แต่ราคาที่ต้องจ่ายเพื่อการพัฒนานี้กลับมากกว่าผลสืบเนื่องอื่นที่ตามมา"[20][21] รวมถึงวิจารณ์ความเกินพอของการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในทิเบต และเชิดชูนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศในทศวรรษ 1980
การเสียชีวิต
[แก้]ห้าวันให้หลังจากการกล่าวสุนทรพจน์ ในวันที่ 28 มกราคม 1989 เขาเสียชีวิตในชีกัตเจ สิริอายุ 50 ปี[22] ทางการให้สาเหตุการเสียชีวิตว่าาจากหัวใจล้มเหลวฉับพลัน กระนั้นชาวทิเบตบางส่วนเชื่อว่าการเสียชีวิตนี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ[20] ทะไลลามะและอีกหลายคนเชื่อว่าเขาถูกเจ้าหน้าที่การแพทย์ส่วนตัววางยาพิษ[19]
ในเดือนสิงหาคม 1993 ได้ย้ายร่างไปยังอารามตาชีลุงโป โดยไว้ร่างในโลงศพที่ทำมาจากไม้จันทน์และไว้ในสถูปของอาราม[23]
ในปี 2011 ยวน ฮงปิง ประกาศว่า ฮู จินเตา ซึ่งในตอนนั้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ในทิเบต เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการลอบสังหาร[24]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Panchen Lama, Treasury of Lives, https://treasuryoflives.org/incarnation/Panchen-Lama
- ↑ Parshotam Mehra (2004). From conflict to conciliation: Tibetan polity revisited : a brief historical conspectus of the Dalai Lama-Panchen Lama Standoff, ca. 1904–1989. Otto Harrassowitz Verlag. p. 87. ISBN 3-447-04914-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2012. สืบค้นเมื่อ 9 April 2011.
- ↑ 3.0 3.1 Melvyn C. Goldstein, in McKay 2003, p. 222.
- ↑ Hsiao-ting Lin (2010). Modern China's ethnic frontiers: a journey to the west. Vol. 67 of Routledge studies in the modern history of Asia (illustrated ed.). Taylor & Francis. p. 117. ISBN 978-0-415-58264-3. สืบค้นเมื่อ 27 December 2011.
China's far northwest.23 A simultaneous proposal suggested that, with the support of the new Panchen Lama and his entourage, at least three army divisions of the anti-Communist Khampa Tibetans could be mustered in southwest China.
- ↑ "Exiled Lama, 12, Wants to Lead Army on Tibet". Los Angeles Times. 6 September 1949. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2012.
- ↑ Goldstein, Melvyn C. (2009). A History of Modern Tibet: The Calm Before the Storm: 1951–1955, Volume 2. University of California Press. pp. 272, 273. ISBN 978-0-520-25995-9.
- ↑ Hilton, Isabel (2001). The Search for the Panchen Lama. W. W. Norton & Company. p. 110. ISBN 0-393-32167-3.
- ↑ "Ngapoi recalls the founding of the TAR" เก็บถาวร 13 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Ngapoi Ngawang Jigme, China View, 30 August 2005.
- ↑ "Selected Foreign Dignitaries Met From Year 1954 to 1989" เก็บถาวร 9 พฤษภาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Goldstein, M.C., A History of Modern Tibet, Volume 2 – The Calm before the Storm: 1951–1955, p. 496
- ↑ Feigon 1996, p. 163
- ↑ "News Updates: Information and analysis of developments in Tibet - extract from Reports From Tibet, November 1990-February 1991 TIN News Update" (PDF). Columbia University. London: Tibet Information Network. 20 February 1991. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 18 April 2016.
- ↑ "World Tibet Network News: Secret Report on 1960s Tibet Published". Tibet.ca. Canada Tibet Committee. 12 February 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2015. สืบค้นเมื่อ 18 April 2016.
- ↑ Hilton, Isabel (2001) [1st pub. Norton:2000]. The Search for the Panchen Lama (1st American ed.). New York: W. W. Norton. p. 156. ISBN 978-0-393-32167-8. OCLC 48420207. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2017. สืบค้นเมื่อ 18 April 2016.
- ↑ Hilton 2000
- ↑ "Exploring Chinese History :: East Asian Region :: Tibet" เก็บถาวร 1 กรกฎาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ tibetanreview (15 February 2018). "China seeks new contributions from its Panchen Lama to strengthen its rule in Tibet". Tibetan Review (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 5 December 2023.
- ↑ Hilton, Isabel (21 March 2004). "The Buddha's Daughter". The New Yorker (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0028-792X. สืบค้นเมื่อ 5 December 2023.
- ↑ 19.0 19.1 Johnson, Tim (2011). Tragedy in Crimson: How the Dalai Lama Conquered the World But Lost the Battle with China. Nation Books. pp. 170–172.
- ↑ 20.0 20.1 Laird 2006, p. 355
- ↑ "Panchen Lama Poisoned arrow". BBC h2g2 – an encyclopaedic project contributed to by people from all over the world. 14 October 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2007. สืบค้นเมื่อ 29 April 2007.
- ↑ Hilton 2000, p. 1
- ↑ "Tashilhungpo Monastery: Residence of Panchen Lama". China Culture. สืบค้นเมื่อ 19 February 2024.
- ↑ Kalsang Rinchen, "Hu killed Panchen: Chinese dissident" เก็บถาวร 13 กันยายน 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Phayul.com, 16 March 2011