ข้ามไปเนื้อหา

เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix II (CITES)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: เหยี่ยว
Accipitriformes
วงศ์: เหยี่ยวและนกอินทรี
Accipitridae
สกุล: Haliaeetus

(Horsfield, 1821)
สปีชีส์: Haliaeetus ichthyaetus
ชื่อทวินาม
Haliaeetus ichthyaetus
(Horsfield, 1821)
ชื่อพ้อง
  • Ichthyophaga ichthyaetus

เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา (อังกฤษ: Grey-headed fish eagle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ichthyophaga ichthyaetus) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง ในวงศ์เหยี่ยวและอินทรี (Accipitridae) ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[2] จัดเป็นเหยี่ยวขนาดใหญ่ลำตัวยาวถึง 72 เซนติเมตร มีลักษณะสังเกตได้ง่าย คือ ส่วนหัวสีเทา ลำตัวสีน้ำตาล ส่วนท้องตอนล่างและหางสีขาว เฉพาะที่หางตอนปลายมีแถบสีดำคาด นกอายุน้อยลำตัวสีน้ำตาลอ่อน มีลายขีดน้ำตาลใต้ท้องและลายประสีน้ำตาลบนส่วนหาง จะงอยปากสีน้ำตาลปนเทา แข้งและเท้าสีเทาอ่อน ชอบเกาะอยู่ตามยอดไม้สูง คอยจ้องลงโฉบจับปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ กินเป็นอาหาร สร้างรังอยู่ตามต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ใกล้แหล่งน้ำ รังอยู่สูง 10-30 เมตรหรืออยู่บนยอดของต้นไม้ วางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง

ตัวผู้ขณะบิน

พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงซูลาเวซี มีพฤติกรรมอาศัยอยู่โดดเดี่ยวตามลำน้ำใหญ่ในป่า, อ่างเก็บน้ำ , นาข้าวตามชายฝั่งทะเล และในป่าพรุที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ หรือน้ำนิ่ง ในประเทศในอดีตพบได้ทั่วทุกภาค แต่ในปัจจุบัน มีรายงานพบในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าป่าพรุ จังหวัดนราธิวาส และพบจำกัดอยู่ในเฉพาะบริเวณป่าระดับต่ำและอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้ว ยังไม่มีรายงานยืนยันแน่ชัดว่าเหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทาจะสามารถใช้แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยการทำเขื่อนเก็บน้ำเพื่อการชลประทานและการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้หรือไม่ ในประเทศสิงคโปร์พบว่าทำรังอยู่ริมอ่างเก็บน้ำในเดือนมกราคม[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 BirdLife International (2016) [amended version of 2017 assessment]. "Ichthyophaga ichthyaetus". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T22695163A116996769. สืบค้นเมื่อ 4 February 2022.
  2. Robson, C. (2000). A Field Guide to the Birds of South-East Asia. UK: New Holland Publishers.
  3. Ferguson-Lees, James (2005). Raptors of the World: A Field Guide (Helm Field Guides). Christopher Helm Publishers Ltd. ISBN 0713669578. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]