ข้ามไปเนื้อหา

เสียงหยุด ริมฝีปาก ไม่ก้อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสียงหยุด ริมฝีปาก
ไม่ก้อง
p
หมายเลขไอพีเอ101
การเข้ารหัส
เอนทิตี (ฐาน 10)p
ยูนิโคด (ฐาน 16)U+0070
เอกซ์-แซมปาp
เคอร์เชินบอมp
ตัวอย่างเสียง

 

เสียงหยุด ริมฝีปาก ไม่ก้อง (อังกฤษ: voiceless bilabial stop) หรือ เสียงระเบิด ริมฝีปาก ไม่ก้อง (voiceless bilabial plosive) เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัญลักษณ์ในชุดสัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ ⟨p⟩ และสัญลักษณ์เอกซ์-แซมปาที่ตรงกันคือ p

  • ภาษาไทย - ในภาษาไทยมีหน่วยเสียงพยัญชนะหยุด ริมฝีปาก ไม่ก้อง 2 แบบ คือ
    • หน่วยเสียงพ่นลม /pʰ/ เขียนแทนด้วยตัวอักษร , และ (ในตำแหน่งพยัญชนะต้น) เช่น ผูพั,
    • หน่วยเสียงไม่พ่นลม /p/ ซึ่งมีหน่วยเสียงย่อย 2 หน่วย คือ
      • เสียงระเบิด [p] เมื่อปรากฏต้นพยางค์ เขียนแทนด้วยตัวอักษร (ในตำแหน่งพยัญชนะต้น) เช่น าก
      • เสียงอุบ [p̚] เมื่อปรากฏท้ายพยางค์ เขียนแทนด้วยตัวอักษรในมาตราตัวสะกดแม่กบ เช่น กรอรู, เท, เสิร์, ลา
  • ภาษาอังกฤษ - มีหน่วยเสียงพยัญชนะหยุด ริมฝีปาก ไม่ก้อง เพียงแบบเดียว โดยมีหน่วยเสียงย่อยสำคัญ 2 หน่วย คือ เสียงพ่นล�� [pʰ] และเสียงไม่พ่นลม [p]

โดยเมื่อ /p/ เกิดที่ต้นพยางค์เน้น เช่นในคำ print, support เวลาออกเสียงจะมีกลุ่มลมตามออกมาด้วยเสมอ แต่หาก /p/ เกิดที่ต้นพยางค์ไม่เน้น เช่นในคำ occupant, rapid, keeper รวมทั้ง /p/ ที่เกิดในพยัญชนะควบกล้ำ โดยตามหลัง /s/ เช่นในคำ spin, sprain, suspend จะออกเสียงแบบไม่พ่นลม ส่วน /p/ ที่เกิดท้ายคำ เช่นในคำ tip, wasp, telescope ก็มักจะเป็นเสียงไม่พ่นลมเช่นกัน

  • ภาษาญี่ปุ่น - แสดงด้วยตัวอักษรในแถว , , , และ
  • พินอินในภาษาจีน เสียงพ่นลม [pʰ] จะเขียนแทนด้วยตัวอักษร p ส่วนเสียงไม่พ่นลม [p] จะเขียนแทนด้วยตัวอักษร b