ข้ามไปเนื้อหา

เฝิง โหย่วหลาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฝิง โหย่วหลาน
เกิด4 ธันวาคม ค.ศ. 1895(1895-12-04)
ตำบลถังเหอ, มณฑลเหอหนาน, จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990(1990-11-26) (94 ปี)
ปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยปักกิ่ง
มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
อาชีพนักปรัชญา
บุตรจงผู
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม馮友蘭
อักษรจีนตัวย่อ冯友兰

เฝิง โหย่วหลาน (ภาษาจีน : 冯友兰  –  4 ธันวาคม ค.ศ.1895 – 26 พฤศจิกายน ค.ศ.1990)   มีอีกชื่อหนึ่งว่า “จือเชิง” (芝生)   เป็นนักปรัชญาจีนและนักประวัติศาสตร์ปรัชญาจีน   เขาได้รับการขนามนามว่าเป็น “นักปรัชญาขงจื่อสมัยใหม่”

ครอบครัว

[แก้]

เฝิง โหย่วหลานเกิดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ.1895 (ตรงกับสมัยราชวงศ์ชิง รัชสมัยฮ่องเต้กวางซวี่ ปีที่ 21) ที่หมู่บ้านฉีอี๋  ตำบลถังเหอ เมืองหนานหยาง  มณฑลเหอหนาน  ตระกูลเฝิงเป็นตระกูลท้องถิ่นที่รวมตัวกันเป็นหมู่บ้าน มีพื้นที่กว่าหนึ่งพันหมู่ (亩) ปู่ของเขาชื่อว่า “เฝิงอวี้เหวิน” (冯玉文) มีอีกชื่อหนึ่งว่า “เชิ่งเจิง” (圣征) พ่อของเขาชื่อว่า “เฝิงไถอี้” (冯台异) มีอีกชื่อหนึ่งว่า “ชู่โห้ว” (树候)    แม่ของเขาชื่อว่า “อู๋ชิงจือ” (吴清芝) แม่เขาเคยทำงานเป็นหัวหน้าคณะกรรมการการศึกษาของสตรีที่ตำบลถังเหอ [1]


การศึกษา

[แก้]

เฝิง โหย่วหลานเริ่มเรียนหนังสือที่บ้านฟาเหมิงตอนอายุ 6 ขวบ    ในปี ค.ศ.1904  เฝิงไถอี้ทำงานเป็นพนักงานธุรการและบัญชีที่โรงเรียนท้องถิ่นอู่ชาง   เขาจึงย้ายบ้านตามพ่อไปที่ตำบลอู่ชาง    ปี ค.ศ.1907  เฝิงไถอี้ย้ายไปทำงานที่ตำบลฉงหยาง  มณฑลหูเป่ย์  ครอบครัวจึงย้ายตามท่านไปที่นั่น   ในช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ.1908 พ่อของเขาได้ล้มป่วยแล้วเสียชีวิตที่ตำบลฉงหยางในขณะที่เขาอายุเพียง 13 ปี    เฝิง โหย่วหลานจึงกลับไปศึกษาที่บ้านเก่าในตำบลถังเหอเช่นเดิม

ปี ค.ศ.1910 ได้เข้าศึกษาระยะสั้นที่โรงเรียนประถมประจำตำบลถังเหอเป็นเวลา 1 ปี   ต่อมาปี ค.ศ.1911  ได้ศึกษาต่อที่โรงเรี��นรัฐบาลแห่งหนึ่งในระดับชั้นมัธยมในตำบลจงโจว  เมืองไคเฟิง   ค.ศ.1912 ได้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนจีนอู่ชาง    ช่วงฤดูหนาวในปีเดียวกันได้เข้าศึกษาระยะสั้นที่มหาวิทยาลัยรัฐแห่งเซี่ยงไฮ้  ประเทศจีน    ต่อมาปี ค.ศ.1915  สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยปักกิ่ง คณะนิติศาสตร์ได้   ในระหว่างที่เข้าศึกษานั้นเขาตัดสินใจเปลี่ยนไปเรียนคณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาปรัชญาจีน    และสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ.1918   หลังจากนั้นได้สอนหนังสือที่วิทยาลัยเทคนิคไคเฟิง      ต่อมาปี ค.ศ.1919  เขากับเพื่อนได้ร่วมกันตีพิมพ์นิตยสารรายเดือน “เสียงของหัวใจ”《心声》  ในช่วงฤดูหนาวปีเดียวกันเขาสอบชิงทุนรัฐบาลแล้วมีสิทธิ์เรียนต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

ในเดือนมกราคม ปี ค.ศ.1920  เขาได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโททางด้านปรัชญาที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย  นครนิวยอร์ก  เขาได้เรียนกับจอห์น  ดิวอี้   ในช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ.1923  เขาผ่านการสอบวิทยานิพนธ์   ปีต่อมาวิทยานิพนธ์ของเขาได้รับการตีพิมพ์และได้รับใบปริญญาระดับมหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย  สาขาปรัชญา


ในช่วงปี 1923 – 1949

[แก้]

ปี 1923   เขาได้กลับประเทศจีนแล้วเริ่มต้นสอนหนังสือในตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านปรัชญา  ควบตำแหน่งคณบดีคณะอักษรศาสตร์และหัวหน้าภาควิชาปรัชญาแห่งมหาวิทยาลัยจงโจว (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเหอหนาน)    ในฤดูใบไม้ร่วงของปี 1925  ได้รับหน้าที่เป็นศาสตราจารย์และหัวหน้าภาควิชาปรัชญาแห่งมหาวิทยาลัยซุนยัดเซ็นเมืองกว่างโจว   ปลายปีเขาได้ย้ายไปสอนหนังสือที่ภาคเหนือของประเทศจีน    ปี ค.ศ.1926  เป็นศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเยียนจิง   ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ.1928  ได้รับหน้าที่เป็นศาสตราจารย์สอนปรัชญาและหัวหน้าภาควิชาปรัชญาแห่งมหาวิทยาลัยชิงหัว  และปีถัดไปได้รับตำแหน่งเป็นคณบดีคณะอักษรศาสตร์ควบไปด้วย

หนังสือ “ประวัติศาสตร์ปรัชญาจีน” 《中国哲学史》ของเฝิง โหย่วหลานมีสองเล่ม เล่มแรกได้ตีพิมพ์เมื่อปี 1931  ส่วนเล่มสองตีพิมพ์เมื่อปี 1934   ปรัชญาสำนักขงจื่อได้รับการยกย่องทางด้านการปกครองในประวัติศาสตร์ปรัชญาจีน

ปี ค.ศ.1934  เฝิง โหย่วหลานได้รับเชิญให้ไปเยือนที่ประเทศสาธารณรัฐเช็กและสหภาพโซเวียต     หลังจากที่กลับจากโซเวียตได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับความรู้เกี่ยวสหภาพโซเวียตและวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์     ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ฝ่ายพรรคก๊กมินตั๋งไม่พอใจและได้จับกุมตัวเขามาดำเนินคดี   แต่สุดท้ายก็ได้รับการปล่อยตัว    จากนั้นเขาก็เข้าหาฝ่ายก๊กมินตั๋งและเข้าร่วมพรรคก๊กมินตั๋งในที่สุด     และปี ค.ศ.1935  เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนของสภาพรรคก๊กมินตั๋งในการประชุมครั้งที่ 5 ที่ประเทศจีน

ในปี ค.ศ.1937   สงครามจีน – ญี่ปุ่นได้ปะทุขึ้น   เฝิง โหย่วหลานได้ย้ายตามมหาวิทยาลัยชิงหัวไปยังเมืองฉางชา  และย้ายไปที่เมืองคุนหมิงในภายหลัง    และได้รับหน้าที่เป็นศาสตราจารย์ด้านปรัชญาและคณบดีคณะอักษรศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยรวมซีหนาน      ต่อมาได้เกิดความแตกแยกกันของสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋ง   เฝิง โหย่วหลานจึงเข้าร่วมพรรคก๊กมินตั๋งอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ.1939     ในระหว่างที่ได้พำนักที่เมืองคุนหมิง   เขาได้ตีพิมพ์หนังสือ “ซินหลี่เสว”《新理学》ในปี 1939,  “ซินชื่อลุ่น”《新事论》ในปี 1940,  “ซินชื่อซวิ่น”《新事训》ในปี 1940,  “ซินหยวนเหริน”《新原人》ในปี 1943,  “ซินหยวนเต้า”《新厡道》ในปี 1944,  “ซินจือเหยียน”《新知言》ในปี 1946   รวมทั้งหมด 6 เล่ม  เรียกหนังสือทั้งหมดนี้ว่า “หนังสือชุดเจินหยวน 6 เล่ม” (贞元六书)   เขาได้ยกย่องลัทธิขงจื่อดั้งเดิมต่อไป  และได้รวบรวมแนวคิดของลัทธิขงจื่อ    แล้วได้เข้าร่วมขบวนการการเคลื่อนไหวชีวิตใหม่กับพรรคก๊กมินตั๋ง    ในช่วงเวลาที่สอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยรวมซีหนาน  เฝิง โหย่วหลานมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับขุนพลระดับสูงของพรรคก๊กมินตั๋ง    ปี ค.ศ.1942  เขาไปสอนหนังสือให้สมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งที่ฉงชิ่ง    ปี 1943  เขามีชื่อเสียงโด่งดังจากมหาวิทยาลัยซีหนาน   เขาได้ส่งจดหมาย “ครองใจประชาชน” ไปให้เจียงไคเช็กอ่าน   เจียงอ่านว่า “เคลื่อนไหวเพื่อประชาชน หลั่งน้ำตาเพื่อประชาชน (为之动容,为之泪下)”     ปี ค.ศ. 1945  เฝิง โหย่วหลานได้รับเลือกให้เป็นประธานการประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติของพรรคก๊กมินตั๋ง ครั้งที่ 6 [2]

ในปี ค.ศ.1946  จีนประกาศชัยชนะสงครามต่อต้านญี่ปุ่น  มหาวิทยาลัยรวมซีหนานได้แยกตัวออกมา  แล้วมหาวิทยาลัยชิงหัวได้กลับไปตั้งอยู่ที่นครเป่ย์ผิง(ปักกิ่งในปัจจุบัน)    เฝิง โหย่วหลานได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย  ประเทศสหรัฐอเมริกา   ให้ไปเป็นศาสตราจารย์พิเศษเป็นระยะเวลา 1 ปี     เขาได้ตีพิมพ์หนังสือ “ประวัติศาสตร์ปรัชญาจีนฉบับสังเขป” ซึ่งได้มาจากการรวบรวมการบรรยายในแต่ละครั้ง    ปี ค.ศ.1948  เขาเดินทางกลับประเทศจีนแล้วไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยชิงหัวโดยทำหน้าที่เป็นศาสตราจารย์ด้านปรัชญา คณบดีคณะอักษรศาสตร์และหัวหน้าภาควิชาปรัชญาเช่นเดิม    ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นนักวิชาการประจำสถาบันวิจัยแห่งชาติเป็นคนแรก (ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)[3] และเป็นนักวิจารณ์ในการประชุมพิจารณ์ที่สถาบันวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 3 [4]

ในช่วงปี 1949 – 1976

[แก้]

วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1949  ได้สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน   และวันที่ 5 ตุลาคม เฝิง โหย่วหลานได้เขียนจดหมายเรียกร้องถึงเหมาเจ๋อตงว่า “สมัยก่อนการเรียนปรัชญาเพื่อส่งเสริมระบบศักดินาจะเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่พรรคก๊กมินตั๋ง  ตอนนี้ข้าพเจ้าได้เปลี่ยนความคิดแล้วว่าเรียนลัทธิมาร์กซิสต์ดีกว่า”[5]   เหมาเจ๋อตงตอบจดหมายกลับมาว่า “ในอดีตเคยทำผิดพลาดมาก่อน”  แล้วเตือนว่า “จงใช้ความซื่อสัตย์อย่างเหมาะสม”  เฝิง โหย่วหลานตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งคณบดีคณะอักษรศาสตร์และหัวหน้าภาควิชาปรัชญาแห่งมหาวิทยาลัยชิงหัว     และภายในปี 1950  เขาถูกส่งตัวไปเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงสังคมที่เขตชนบท     ปี 1952  เขาถูกย้ายไปทำงานที่ภาควิชาปรัชญาแห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง     หลังจากที่สร้างชาติเฝิง โหย่วหลานก็ได้ทบทวนปัญหาทางประวัติศาสตร์ด้วยตนเองอยู่หลายครั้ง   โดยประกาศต่อสาธารณชนทั้งในและนอกประเทศว่า “ลัทธิขงจื่อใหม่เป็นศัตรูของลัทธิมาร์กซ์ – เลนิน และลัทธิเหมา...[6] เป็นศัตรูของประชาชน...[7] เป็นการสนับสนุนสังคมกึ่งศักดินากึ่งอาณานิคมของจีนในยุคนั้นและเป็นการสยบต่ออำนาจของรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋ง...[8]    ผลงานที่ผ่านมาของข้าพเจ้าล้วนไม่มีคุณค่าใดๆ ทั้งนั้น...[9] ข้าพเจ้าได้สำนึกผิดต่อตำราที่ได้เขียนขึ้นทั้งหมดในช่วงยุค 1940’s ”   เขาได้แสดงท่าทีร่วมมือกับรัฐบาลคอมมิวนิสต์   เขาได้หาคำพูดของลัทธิมาร์กซิสต์มาใช้ในการแสดงความคิดเห็น   และได้เขียนหนังสือ “ประวัติศาสตร์ปรัชญาจีน ฉบับใหม่”  ออกมา 2 เล่ม    ปี 1955  เขาได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองและร่วมอภิปรายกับหูชื่อและเหลียงชู่หมิง    ปี 1962  มีการจัดประชุมขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยสภากรรมการที่ปรึกษาแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน  หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมเฝิง โหย่วหลานได้เขียนบทกลอนให้แก่ท่านประธานเหมาว่า “คฤหาสน์หวยเหรินกำเนิดบุหงาบานสะพรั่ง สายลมแห่งวสันตฤดูส่งกลิ่นหวนหอม (怀仁堂后百花香,浩荡春风感众芳)”[10]

เมื่อเริ่มปฏิวัติวัฒนธรรมในปี 1966   ผลงานเฝิง โหย่วหลานถูกคัดลอกไว้ในนิตยสาร “คอกวัว” (牛棚)  จนกระทั่งปี 1968 จึงยกเลิกการคัดลอก   ปี 1973  ได้เกิดขบวนการวิพากษ์วิจารณ์แนวคิดขงจื่อและหลินเปียวอย่างรุนแรง   เฝิง โหย่วหลานได้รับหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาของทีมงานที่เขียนผลงาน “เหลียงเซี่ยว” (粱效) เพื่อให้แก๊งสี่สหายเข้าใจว่า “จงออกมาจากกรอบความคิดโบราณแล้วทำลายลัทธิขงจื่อซะ”     แล้วตีพิมพ์บทความ “วิจารณ์ความคิดลัทธิขงจื่อที่ข้าพเจ้าเคยสนับสนุน” และ “การต่อสู้ระหว่างแนวคิดโบราณกับแนวคิดสมัยใหม่” ในหนังสือพิมพ์รายวันกวางหมิง《光明日报》  ต่อมาก็ได้ผลิตผลงาน “บทวิจารณ์ขงจื่อ” เพื่อสนับสนุนแก๊งสี่สหายของเจียงชิง    ในหนังสือเหล่านี้ เฝิง โหย่วหลานได้กล่าวว่า “ลัทธิขงจื่อในช่วงก่อนปี 1949 เสริมสร้างให้คนมีอำนาจและมีฐานะร่ำรวย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของพรรคก๊กมินตั๋ง...   หลังจากปี 1949  ลัทธิขงจื่อถูกใช้เป็นเครื่องมือในการต่อต้านการปฏิวัติของหลินเส้าฉีและหลินเปียว”[11]   ผู้ที่สามารถเข้าร่วมขบวนการวิจารณ์ขงจื่อนับว่าเป็นความสุขที่แท้จริง [12] มีนักปรัชญาขงจื่อรุ่นหนึ่งกล่าวว่า “ถึงเวลาที่ต้องส่งเสียงวิจารณ์ขงจื่อ”[13] เฝิง โหย่วหลานได้ทำงานใกล้ชิดกับเจียงชิง  จนกระทั่งปี 1976  แก๊งสี่สหายของเจียงชิงสูญเสียอำนาจ  ทีมงานที่ผลิตผลงาน “เหลียงเซี่ยว” ถูกเซ้ง  ส่วนเฝิง โหย่วหลานก็ถูกดำเนินคดีแล้วติดคุกเป็นเวลานาน

ช่วงบั้นปลายชีวิต

[แก้]

ตั้งแต่ปี 1980  มีคำสั่งจากทางการให้เฝิง โหย่วหลานเขียนหนังสือ “ประวัติศาสตร์ปรัชญาจีน ฉบับใหม่” ขึ้นมาอีกครั้ง  โดยให้ลูกศิษย์เขียนตามคำพุดของเขา เงื่อนไขคือ “ให้เขียนประวัติศาสตร์ปรัชญาจีนโดยมีลัทธิมาร์กซิสต์ที่มีอิทธิพลในตอนนี้อยู่รวมไปด้วย   รวมไปถึงความเข้าใจและประสบการณ์ทางวัฒนธรรม”[14]   จนกระทั่งเขียนเสร็จสมบูรณ์ในปี 1989   ลัทธิมาร์กซิสต์และแนวคิดการต่อสู้ทางชนชั้นก็ได้รวมอยู่ในหนังสือทั้งเล่ม

วันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ.1990  เฝิง โหย่วหลานล้มป่วยและเสียชีวิตที่โรงพยาบาลมิตรภาพปักกิ่ง  ด้วยอายุ 95 ปี

เกร็ดความรู้

[แก้]

เฝิง โหย่วหลานกับหูชื่อมีมุมมองทางวิชาการและจุดยืนทางการเมืองที่แตกต่างกันมาก    หูชื่อเคยพูดต่อหน้าเฉียนมู่ (钱穆) ว่า “ใต้หล้ามีแต่คนโง่เขลาเท่านั้นที่ไม่เลือกเส้นทางที่ถูกต้อง”[15] เหอปิ่งตี้ได้จดจำผลงาน “อิทธิพลของแนวคิดหูชื่อที่มีต่อวัฒนธรรมจีนในช่วงก่อนปี 1927” ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาโทจากวิทยาลัยสมิทซ์ของเฝิง โหย่วหลาน  ผลงานนี้ได้กล่าวถึงสวี่ย่าเฟินภรรยาของหยางเส้าเจิ้นด้วย    เฝิง โหย่วหลานได้ยินเข้าก็กล่าวว่า “ผล...  ผล...  ผลงานชิ้นนี้ยอด...  ยอด... ยอดเยี่ยมไปเลย   เพราะหลังปี 1927   เขาก็ไม่...  ไม่... ไม่มีอิทธิพลแล้วล่ะ”[16]

ผลงานชิ้นสำคัญ

[แก้]

เฝิง โหย่วหลานได้ผลิตผลงานรวมกันหลายชิ้นเรียกว่า “หนังสือประวัติศาสตร์ 3 ชุด  หนังสือชุดเจินหยวน 6 เล่ม”   อันเป็นการรวบรวมผลงานที่น่าภาคภูมิใจ    หนังสือประวัติศาสตร์ปรัชญาจีนมีทั้งหมด 3 ชุด  ได้แก่  “ประวัติศาสตร์ปรัชญาจีน”   “ประวัติศาสตร์ปรัชญาจีน ฉบับสังเขป”   “ประวัติศาสตร์ปรัชญาจีน ฉบับใหม่”    หนังสือชุดเจินหยวนเป็นหนังสือปรัชญาที่รวบรวมขึ้นมาเป็นชุด มีทั้งหมด 6 เล่ม อันได้แก่  “ซินหลี่เสว”,  “ซินชื่อซวิ่น”,  “ซินชื่อลุ่น”,  “ซินหยวนเหริน”,  “ซินหยวนเต้า” และ “ซินจือเหยียน”

《中国哲学史上下册》หนังสือประวัติศาสตร์ปรัชญาจีน มีสองเล่ม  เล่มแรกตีพิมพ์เมื่อปี 1931  เล่มสองตีพิมพ์เมื่อปี 1934   หนังสือชุดนี้เป็นผลงานประวัติศาสตร์ปรัชญาจีนชุดแรกที่เขียนผ่านมุมมองของปรัชญาตะวันตก     มีหลายแนวคิดที่ได้ข้อสรุปออกมาอย่างชัดเจนซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากนักวิชาการรุ่นหลัง    เรียกได้ว่าเป็น “ผลงานที่เป็นรากฐานสำคัญของประวัติศาสตร์ปรัชญาจีน”

《中国哲学简史》 หนังสือประวัติศาสตร์ปรัชญาจีน ฉบับสังเขป  รวบรวมจากตำราเรียนที่เขาจัดทำขึ้นตอนที่เป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย  ประเทศสหรัฐอเมริกา   ผลงานชิ้นนี้ได้รับการแปลจาก 10 กว่าประเทศทั่วโลก   และขายได้หลายล้านเล่ม     เป็นตำราเรียนสำคัญที่ต้องใช้ในรายวิชาประวัติปรัชญาจีนของมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศแถบตะวันตก  และเป็นการบุกเบิกวงการปรัชญาจีนให้ตื่นตัวในโลกตะวันตกและทำให้ชาวตะวันตกเข้าใจแนวคิดของคนจีนอีกด้วย

《中国哲学史新编七册》หนังสือชุดประวัติศาสตร์ปรัชญาจีน ฉบับใหม่ มีทั้งหมด 7 เล่ม  เป็นผลงานปรัชญาชิ้นสำคัญที่เฝิง โหย่วหลานให้ลูกศิษย์เขียนขึ้นตามคำพูดของเขา    เนื่องจากช่วงนั้นเขากลายเป็นคนหูหนวกตาบอด    เขาจึงให้ลูกศิษย์เขียนผลงานชุดนี้ตั้งแต่ตอนที่เขาอายุ  84 – 95 ปี  รวมเป็น 11  ปี  และเขียนเสร็จเมื่อปี 1990   เขาต้องเข้านอนโรงพยาบาลทุกปี  แล้วลูกศิษย์ของเขาก็ได้จดบันทึกหนังสือประวัติศาสตร์ปรัชญาจีนเอาไว้ตามคำพูดของเขา

《贞元六书》หนังสือชุดเจินหยวนเป็นชุดหนังสือปรัชญาที่มีทั้งหมด  6  เล่ม     แบ่งออกเป็น “ซินหลี่เสว”,  “ซินชื่อซวิ่น”.  “ซินชื่อลุ่น”, “ซินหยวนเหริน”,  “ซินหยวนเต้า”  และ “ซินจือเหยียน”   5 เล่มหลัง ได้แบ่งออกเป็นบทต่างๆ  ส่วนมากกล่าวถึงปรัชญาบริสุทธิ์   《新世训》“ซินชื่อซวิ่น” เป็นผลงานที่วิเคราะห์ปัญหาทางสังคมผ่านมุมมองของลัทธิขงจื่อใหม่   《新事论》“ซินชื่อลุ่น” เป็นผลงานที่กล่าวถึงหลักการใช้ชีวิตและการปลูกฝังคุณธรรม    《新原人》  เป็นปรัชญาชีวิตที่ได้กล่าวว่าชีวิตคนแบ่งออกเป็น 4 ช่วงอายุ  《新原道》“ซินหยวนเต้า”  เป็นการวิเคราะห์พัฒนาการของปรัชญาจีนโดยผ่านมุมมองของประวัติศาสตร์ปรัชญา 《新知言》“ซินจือเหยียน”  เป็นประวัติศาสตร์ปรัชญาตะวันตกฉบับย่อที่สรุปออกมาโดยใช้ระเบียบวิธีการวิทยาทางปรัชญา

《三松堂全集》 เป็นผลงานชีวประวัติของเฝิง โหย่วหลาน  มีทั้งหมด 15 เล่ม

ในช่วงที่รัฐบาลไต้หวันประกาศกฎอัยการศึก (วันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1949 – 14 กรกฎาคม ค.ศ.1987)  ผลงานของเฝิง โหย่วหลานเคยเป็นหนังสือต้องห้ามในไต้หวัน


อ้างอิง

[แก้]
  1. 陈来 (2008). "冯友兰先生小传". 燕园问学记. 北京大学出版社. p. 20. ISBN 978-7-301-13291-3.
  2. "45年国民党"最优秀教授党员":华罗庚陈寅恪冯友兰". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-25. สืบค้นเมื่อ 2019-09-15.
  3. 中央研究院逝世院士一覽表(2009年9月8日查詢)
  4. 中央研究院歷屆評議員一覽表(2009年9月8日查詢)
  5. 5.0 5.1 5.2 《毛澤東書信選集》,北京:人民出版社,1983年,第344页
  6. 蔡仲德,《馮友蘭先生年譜初編》,鄭州:河南人民出版社,1994年,第374页
  7. 馮友蘭,《三松堂全集》十四卷,郑州:河南人民出版社,1994年,第143页
  8. 蔡仲德,《馮友蘭先生年譜初編》,鄭州:河南人民出版社,1994年,第443页
  9. 蔡仲德,《馮友蘭先生年譜初編》,鄭州:河南人民出版社,1994年,第371页
  10. 馮友蘭,《我與毛澤東的交往》,《文匯報》(香港),2005年05月22日
  11. 11.0 11.1 馮友蘭,《論孔丘》,北京:人民出版社,1975年,第5页
  12. 馮友蘭,《論孔丘》,北京:人民出版社,1975年,第2页
  13. 汪東林,《梁漱溟問答錄》,武漢:湖北人民出版社
  14. 馮友蘭,《中国哲学史新编》第一卷,北京:人民出版社,1986年,自序部分
  15. 钱穆:《师友杂忆》
  16. 何炳棣:《讀史閱世六十年》