ข้ามไปเนื้อหา

เท็นรีวจิ

พิกัด: 35°00′56″N 135°40′25″E / 35.01556°N 135.67361°E / 35.01556; 135.67361
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เท็นรีวจิ
天龍寺
สวนในเท็นรีวจิ
ข้อมูลทั่วไป
นามภูเขาเรงิซัง
นิกายเซน สำนักรินไซ
ศรัทธาต่อพระโคตมพุทธเจ้า
สร้างเมื่อพ.ศ. 1888
สร้างโดยอาชิกางะ ทากาอูจิ
บรรพชิตแรกมูโซ โซเซกิ
ที่อยู่68 Saga Tenryuji Susukinobaba-chō, Ukyō-ku, Kyoto, Kyoto Prefecture
ประเทศ ญี่ปุ่น
เว็บไซต์http://www.tenryuji.com

เท็นรีวจิ (ญี่ปุ่น: 天龍寺โรมาจิTenryū-ji) หรือ วัดมังกรสวรรค์ เป็นวัดเอกของนิกายเซน สำนักรินไซ สาขาเท็นรีว ตั้งอยู่ในเขตอูเกียว ในนครเกียวโต วัดนี้ถูกสร้างขึ้นโดยอาชิกางะ ทากาอูจิ โชกุนคนแรกแห่งอาชิกางะ เริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ. 1339 จนแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1345 ทั้งนี้ในปี ค.ศ. 1994 เท็นรีวจิได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก ในฐานะส่วนหนึ่งของอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เกียวโตโบราณ

ประวัติ

[แก้]
ใบไม้เปลี่ยนสีที่เท็นรีวจิ

ต้นยุคเฮอัง จักรพรรดินีคาจิโกะ พระอัครมเหสีในจักรพรรดิซางะ ได้ทรงสถาปนาวัดขึ้นแห่งหนึ่งนามว่า "วัดดันริง" ขึ้นในบริเวณเดียวกับที่เท็นรีวจิตั้งอยู่ในปัจจุบัน ผ่านไป 400 ปี วัดดันริงทรุดโทรมเกินกว่าจะบูรณะได้

กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 จักรพรรดิโกซางะและพระราชโอรสคือจักรพรรดิคาเมยามะ ทรงเปลี่ยนให้พื้นที่บริเวณนี้กลายเป็นเขตพระราชฐาน และตั้งพระตำหนักไว้ ซึ่งเรียกว่า พระราชวังคาเมยามะ การที่ใช้ชื่อ คาเมยามะ (亀山) ที่มีความหมายว่า "ภูเขาเต่า" นั้น ก็เนื่องจากภูเขาโองูระที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเท��นรีวจินั้น มีลักษณะเหมือนหลังเต่า

พระราชวังได้ถูกเปลี่ยนสภาพกลายเป็นวัด ในตอนต้นยุคมูโรมาจิ อันเนื่องมาจากบัญชาของโชกุนอาชิกางะ ทากาอูจิ ที่ต้องการจะใช้เท็นรีวจิเป็นอนุสรณ์สถานต่อจักรพรรดิโกไดโงะ ก่อนหน้านั้นทากาอูจิ แข็งขืนต่อแผนปฏิรูปเค็มมุ ที่จักรพรรดิริเริ่มและมีพระราชโองการให้ตามล่าตัวตระกูลอาชิกางะมารับโทษ อย่างไรก็ตามแผนการณ์นั้นล้มเหลวและทากาอูจิได้ขึ้นเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1338 และจักรพรรดิโกไดโงะเสด็จสวรรคตในปีถัดมาที่หมู่บ้านโยชิโนะ แม้จักรพรรดิโกไดโงะจะเป็นศัตรูของทากาอูจิ แต่เมื่อก่อนทั้งสองก็เคยเป็นสหายรักกัน ทากาอูจิจึงให้มูโซ โซเซกิ ภิกษุนิกายเซน ดำเนินการก่อสร้างวัดเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่จักรพรรดิโกไดโงะ

ในตอนแรก วัดจะถูกตั้งชื่อว่า เรียกูโอชิเซเซ็นจิ (ญี่ปุ่น: 暦応資聖禅寺โรมาจิRyakuō Shiseizen-ji) ซึ่งเป็นนามรัชสมัยของจักรพรรดิในราชวงศ์เหนือขณะนั้น แต่เนื่องจากทาดาโยชิน้องชายของทากาอูจิ ได้ฝันถึงมังกรทองที่กำลังบินผ่านแม่น้ำโออิ (อีกชื่อคือแม่น้ำโฮซุ) ที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัด วัดจึงได้รับการตั้งชื่อว่า เท็นรีวจิ ที่แปลว่า วัดมังกรสวรรค์

ระเบียงภาพ

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

35°00′56″N 135°40′25″E / 35.01556°N 135.67361°E / 35.01556; 135.67361